เดือนตุลาคมปีนี้ จะถึงกำหนดที่รฟท.ต้องส่งมอบแอร์พอร์ตลิงค์ให้เอกชนเข้าไปบริหารจัดการ ภายใต้สัญญาในโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) โดยสิทธิ์ที่เอกชนผู้ร่วมลงทุนจะได้รับนั้น ครอบคลุมถึงสิทธิ์ในการบริหารจัดการแอร์พอร์ตลิงค์ และการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน แต่ก็ใช่ว่าจะเป็นสิทธิ์ที่ยกให้กันฟรี ๆ เพราะเอกชนต้องจ่ายค่าสิทธิ์กว่า 10,671 ล้านบาท
นอกจากค่าสิทธิ์ในการบริหารแอร์พอร์ตลิงค์ ที่เอกชนจะต้องจ่ายแล้ว ยังต้องลงทุนอีกหลักพันล้านบาท ในการปรับปรุงตัวรถ สถานี (รวมถึงรางรถไฟ เพื่อรองรับรถไฟความเร็วสูง) ตลอดจนบริการต่าง ๆ ของแอร์พอร์ตลิงค์ ยังไม่นับรวมภาระที่ต้องแบกรับกับรายได้จากค่าโดยสารที่ลดลงจากจำนวนผู้โดยสารที่ลดลง ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เรียกว่า แค่มาถึง ก็ต้องอึ้งไปพักใหญ่ อย่าว่าแต่กำไร รายได้ยังมองไม่เห็น
เป็นที่รู้กันว่า ตลอด 10 ปีของการให้บริการ แอร์พอร์ตลิงค์ขึ้นชื่อในเรื่องปัญหาด้านการบริการและการบริหารจัดการ ขาดทั้งคนมือดีมาบริหาร ขาดทั้งงบประมาณมาสะสางปัญหา แม้จะมีความพยายามในการค่อย ๆ แก้ไขปัญหาเล็ก ๆ น้อย ๆ เรื่อยมา แต่ปัญหาที่คนรถไฟมองว่าเป็นปัญหาหลักเพียงอย่างเดียว ถ้าแก้จุดนี้ได้ ทุกอย่างก็จบ
(จริงเหรอ?) ก็คือการเพิ่มขบวนรถให้เพียงพอต่อการให้บริการ ซึ่งไม่สามารถแก้ไขได้จนถึงปัจจุบัน เคยมีความพยายามในการสั่งซื้อรถขบวนใหม่เข้ามา แต่ก็ต้องพับโครงการไว้ไม่เป็นท่า เพราะติดปัญหาความไม่โปร่งใสบ้าง ติดเรื่องงบประมาณบ้าง ติดเรื่องผู้บริหารบ้าง สารพัดจะสะดุด
นอกจากปัญหาที่กระทบผู้ใช้บริการแล้ว ยังมีปัญหาใหญ่ภายในองค์กร คือการมีหนี้สะสมก้อนโต ที่ยากจะหาทางออกได้ ดังนั้นจึงมีความเห็นที่ตรงกันมานานหลายปี ทั้งจากผู้ใช้บริการ ผู้เชี่ยวชาญด้านการขนส่ง และผู้ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ว่า ควรจะหาเอกชนเข้ามาบริหารจัดการแอร์พอร์ตลิงค์ ดีกว่าปล่อยไว้สภาพเดิมต่อไป เพราะมองไม่เห็นหนทางเยียวยาให้ดีขึ้น มีแต่หนี้จะพอกพูน ปัญหาด้านบริการจะสะสมเป็นปมใหญ่ไปอีก
แต่อีกด้านหนึ่ง คนที่ไม่เห็นด้วยก็เปรียบเปรยว่า สิบปีแอร์พอร์ตลิงค์มีความสมบูรณ์พร้อมเต็มที่ เหมือนมีลูกวัยสาวสะพรั่งแต่งตัวให้สวยดูดี แต่กลับยกให้ผู้ชายไปฟรี ๆ ประเด็นนี้จริงหรือไม่ คำตอบอยู่ข้างบน
(ไม่น่าจะฟรีนะ เสียเงินบานเลย) แต่ข้อพิสูจน์ที่ผ่านมาแอร์พอร์ตลิงค์ยังไม่สามารถทำให้ผู้ใช้บริการเกิดความพึงพอใจได้ ก็ถ้าถ้าลูกสาวจะสวยแต่รูป จูบแล้วไม่หอม อย่างนั้นคงดีกว่า ที่จะหาผู้ชายดี ๆ ยอมออกเงินก้อนโต ยกเครื่องรีแพร์ลูกสาวกันใหม่ให้สวยสดใสไฉไลกว่าเดิม
รอเวลายกเครื่องรีแพร์แอร์พอร์ตลิงค์
นอกจากค่าสิทธิ์ในการบริหารแอร์พอร์ตลิงค์ ที่เอกชนจะต้องจ่ายแล้ว ยังต้องลงทุนอีกหลักพันล้านบาท ในการปรับปรุงตัวรถ สถานี (รวมถึงรางรถไฟ เพื่อรองรับรถไฟความเร็วสูง) ตลอดจนบริการต่าง ๆ ของแอร์พอร์ตลิงค์ ยังไม่นับรวมภาระที่ต้องแบกรับกับรายได้จากค่าโดยสารที่ลดลงจากจำนวนผู้โดยสารที่ลดลง ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เรียกว่า แค่มาถึง ก็ต้องอึ้งไปพักใหญ่ อย่าว่าแต่กำไร รายได้ยังมองไม่เห็น
เป็นที่รู้กันว่า ตลอด 10 ปีของการให้บริการ แอร์พอร์ตลิงค์ขึ้นชื่อในเรื่องปัญหาด้านการบริการและการบริหารจัดการ ขาดทั้งคนมือดีมาบริหาร ขาดทั้งงบประมาณมาสะสางปัญหา แม้จะมีความพยายามในการค่อย ๆ แก้ไขปัญหาเล็ก ๆ น้อย ๆ เรื่อยมา แต่ปัญหาที่คนรถไฟมองว่าเป็นปัญหาหลักเพียงอย่างเดียว ถ้าแก้จุดนี้ได้ ทุกอย่างก็จบ (จริงเหรอ?) ก็คือการเพิ่มขบวนรถให้เพียงพอต่อการให้บริการ ซึ่งไม่สามารถแก้ไขได้จนถึงปัจจุบัน เคยมีความพยายามในการสั่งซื้อรถขบวนใหม่เข้ามา แต่ก็ต้องพับโครงการไว้ไม่เป็นท่า เพราะติดปัญหาความไม่โปร่งใสบ้าง ติดเรื่องงบประมาณบ้าง ติดเรื่องผู้บริหารบ้าง สารพัดจะสะดุด
นอกจากปัญหาที่กระทบผู้ใช้บริการแล้ว ยังมีปัญหาใหญ่ภายในองค์กร คือการมีหนี้สะสมก้อนโต ที่ยากจะหาทางออกได้ ดังนั้นจึงมีความเห็นที่ตรงกันมานานหลายปี ทั้งจากผู้ใช้บริการ ผู้เชี่ยวชาญด้านการขนส่ง และผู้ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ว่า ควรจะหาเอกชนเข้ามาบริหารจัดการแอร์พอร์ตลิงค์ ดีกว่าปล่อยไว้สภาพเดิมต่อไป เพราะมองไม่เห็นหนทางเยียวยาให้ดีขึ้น มีแต่หนี้จะพอกพูน ปัญหาด้านบริการจะสะสมเป็นปมใหญ่ไปอีก
แต่อีกด้านหนึ่ง คนที่ไม่เห็นด้วยก็เปรียบเปรยว่า สิบปีแอร์พอร์ตลิงค์มีความสมบูรณ์พร้อมเต็มที่ เหมือนมีลูกวัยสาวสะพรั่งแต่งตัวให้สวยดูดี แต่กลับยกให้ผู้ชายไปฟรี ๆ ประเด็นนี้จริงหรือไม่ คำตอบอยู่ข้างบน (ไม่น่าจะฟรีนะ เสียเงินบานเลย) แต่ข้อพิสูจน์ที่ผ่านมาแอร์พอร์ตลิงค์ยังไม่สามารถทำให้ผู้ใช้บริการเกิดความพึงพอใจได้ ก็ถ้าถ้าลูกสาวจะสวยแต่รูป จูบแล้วไม่หอม อย่างนั้นคงดีกว่า ที่จะหาผู้ชายดี ๆ ยอมออกเงินก้อนโต ยกเครื่องรีแพร์ลูกสาวกันใหม่ให้สวยสดใสไฉไลกว่าเดิม