'สภาพัฒน์' เผย โควิดฉุดว่างงาน ไตรมาส 1/64 เพิ่ม 7.6 แสนคน
https://www.matichon.co.th/economy/news_2739344
‘สภาพัฒน์’ เผย โควิดฉุดว่างงาน ไตรมาส 1/64 เพิ่ม 7.6 แสนคน
เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม นาย
ดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยระหว่างการแถลงภาวะสังคมไทยไตรมาสที่ 1/2564 ว่า จากการประเมินอัตราการว่างงาน ในช่วงไตรมาสที่ 1/2564 พบว่ามีจำนวนผู้ว่างงานมีจำนวนเพิ่มขึ้น 7.6 แสนคน คิดเป็นอัตราการว่างงาน 1.96% สูงขึ้นอีกครั้ง หลังจากชะลอตัวลงในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 สะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบจากโควิดที่ยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ส่วนการจ้างงานในช่วงไตรมาสที่ 1/2564 พบว่ามีการขยายตัวเล็กน้อย หรือเพิ่มขึ้น 0.4% จากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของการจ้างงานในภาคเกษตรตามภาวะราคาสินค้าเกษตรที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่วนการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรม การท่องเที่ยวยังหดตัวเนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา
นาย
ดนุชา กล่าวอีกว่า ขณะที่จำนวนชั่วโมงการทำงานรวมอยู่ที่ 40.1 ชั่วโมง/สัปดาห์ ลดลง 1.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 6 การทำงานต่ำระดับเพิ่มขึ้นถึง 129.1% เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 4 ทั้งนี้ จากภาพรวมที่ผู้มีงานทำเพิ่มขึ้นแต่ชั่วโมงการทำงานลดลง สะท้อนการจ้างงานและการทำงานที่ไม่เต็มเวลา ซึ่งจะทำให้แรงงานมีรายได้ลดลง โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพอิสระซึ่งเป็นกลุ่มที่มีรายได้ไม่แน่นอน นอกจากนี้ ยังมีความกังวลว่าตำแหน่งงานอาจไม่เพียงพอรองรับเด็กจบใหม่ เนื่องจากภาคธุรกิจได้รับผลกระทบต่อเนื่อง อาจไม่มีกำลังทรัพย์ที่จะจ้างแรงงานใหม่ ซึ่งคาดว่าจะกระทบต่อการจ้างงานของเด็กจบใหม่กว่า 4.9 ล้านคน
นาย
ดนุชา กล่าวว่า ในส่วนของการประเมินหนี้ครัวเรือนในช่วงไตรมาสที่ 4/2563 พบว่าหนี้ครัวเรือนมีมูลค่า 14.02 ล้านล้านบาท ขยายตัว 3.9% จาก คิดเป็นสัดส่วน 89.3% ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (จีดีพี) เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่หดตัว แม้หนี้ครัวเรือนจะขยายตัวในอัตราที่ช้าลงสะท้อนให้เห็นว่าครัวเรือนยังระมัดระวังในการก่อหนี้ ขณะที่คุณภาพสินเชื่อปรับตัวดีขึ้น แต่ยังต้องเฝ้าระวังเนื่องจากสัดส่วนสินเชื่อ ค้างชำระไม่เกิน 3 เดือน ยังอยู่ในระดับสูง
นาย
ดนุชา กล่าวอีกว่า ด้านความสามารถในการชำระหนี้ ของครัวเรือนปรับตัวดีขึ้นแต่ยังต้องเฝูาระวัง เนื่องจากสัดส่วนสินเชื่อค้างชำระไม่เกิน 3 เดือน ยังอยู่ในระดับสูง โดยในไตรมาส 4/2563 สัดส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอลเอส) ของสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคต่อสินเชื่อรวมอยู่ที่ 2.84% ลดลงจาก 2.91% ในไตรมาสก่อน เป็นผลจากการดำเนินมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ในช่วง ที่ผ่านมาของสถาบันการเงิน อย่างไรก็ตาม สินเชื่อกล่าวถึงพิเศษยังอยู่ในระดับสูง หรือมีสัดส่วนต่อสินเชื่อรวม 6.8% เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 3/2563 สะท้อนถึงความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือนบางกลุ่มด้อยลง และมีโอกาสที่จะกลายเป็นหนี้เสียมากขึ้น
นาย
ดนุชา กล่าวต่อว่า สำหรับแนวโน้มการก่อหนี้ของครัวเรือนในปี 2564 คาดว่าสัดส่วนหนี้สินครัวเรือนต่อจีดีพีจะยังคงอยู่ในระดับสูง จากภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวกลับไปในระดับก่อนโควิด-19 ประกอบกับตลาดแรงงานอาจได้รับผลกระทบที่รุนแรงขึ้น ซึ่งจะกระทบต่อรายได้ของแรงงานและทำให้ครัวเรือนประสบปัญหาการขาดสภาพคล่องมากขึ้น โดยเฉพาะครัวเรือนที่มีรายได้น้อย
ttb ชี้โควิดระลอก 3 สะเทือน 'เงินฝาก' ธุรกิจ-รายย่อย แห่โยกเงินซบ 'ออมทรัพย์’
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/939720
ทีทีบี ชี้เงินฝากในระบบธนาคารพาณิชย์ทุบสถิติสูงสุด 15 ล้านล้านบาท พบธุรกิจ รายย่อย แห่โยกเงินจาก เงินฝาก “ประจำ” เข้าบัญชี “ออมทรัพย์”เพิ่ม ไม่หวั่นดอกเบี้ยต่ำ ด้านไทยพาณิชย์พบ นักลงทุนปรับพอร์ตหนี้ประจำ เหตุสำรองเงินไว้ใช้ฉุกเฉินพุ่ง
นาย
อารักษ์ สุธีวงศ์ ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า จากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา สายพันธ์ใหม่ หรือโควิด-19 ระลอก 3 ส่งผลให้สภาพคล่อง หรือเงินฝากในระบบปรับตัวสูงมาก ที่ฝากไว้กับระบบธนาคาร
โดยเฉพาะผ่านบัญชีออมทรัพย์ ที่เพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก จากการเตรียมพร้อมรองรับสถานการณ์ฉุกเฉิน และการสำรองเงินไว้ใช้ช่วงจำเป็นมากขึ้น ทำให้อาจเห็นการปรับพอร์ตจากประจำมาสู่ออมทรัพย์เพิ่มสูงขึ้น
“หากดูสภาพคล่องในระบบธนาคารวันนี้สูงมาก โดยเฉพาะออมทรัพย์ ที่เดิมอาจเห็นการฝากไว้ในบัญชีเงินฝากประจำ มาลงในออมทรัพย์เพิ่มขึ้น เพื่อรองรับการใช้จ่ายฉุกเฉิน แต่คาดว่าเมื่อเศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัว การกู้เงินเพิ่มขึ้น สภาพคล่องในระบบก็น่าจะลดลงในระยะต่อไปได้”
นาย
นริศ สถาผลเดชา หัวหน้าศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี (ttb analytics) กล่าวว่า หากดูสถิติด้านเงินฝากของระบบธนาคารพาณิชย์ สิ้นมี.ค. 2564 ถือว่าเงินฝากในระบบสูงสุดทุบสถิติ หากเทียบกับอดีตที่ผ่านมา โดยเงินฝากรวมเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 15.8 ล้านล้านบาท ส่วนนี้เป็นฝากออมทรัพย์ 10.2 ล้านล้านบาท และเงินฝากประจำที่ 4.6 ล้านล้านบาท
ทั้งนี้หากดูเงินฝากที่เพิ่มขึ้น หรือลดลง ในรอบ 1ปีที่ผ่านมา หากเทียบตั้งแต่สิ้นมี.ค.ปี 2563 ถึงสิ้น มี.ค. 2564 พบว่า เงินฝากรวมเพิ่มขึ้น 5.83 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 4% เงินฝากออมทรัพย์เพิ่มขึ้น 1.23ล้านล้านบาท หรือ14% ส่วนเงินฝากประจำเงินไหลออกราว 7.64 แสนล้านบาท หรือ 14%
หากดูจากพฤติกรรมของกลุ่มผู้ฝากเงิน พบว่าในช่วง 1ปีที่ผ่านมา ภาคธุรกิจ มีการฝากเงินในระบบเพิ่มขึ้น 3.55 แสนล้านบาท เข้าสู่บัญชีออมทรัพย์ 3.68 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น15% ต่างจากพอร์ต เงินฝากประจำ ที่มีการโยกเงินออกราว 9.6 แสนล้านบาท หรือราว 7%
เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา ที่พบว่ามีการโยกเงินมาฝากบัญชีออมทรัพย์มากขึ้น เป็น 9.8 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 7% แต่มีการโยกจากพอร์ตเงินฝากประจำราว 4.51 แสนล้านบาท หรือลดลง 15%
โดยการโยกเงินมาฝากในออมทรัพย์มากขึ้น ส่วนหนึ่งเชื่อว่ามาจากผลกระทบโควิด-19 ที่ส่งผลให้ธุรกิจ และรายย่อยหันมาปรับพอร์ต สู่บัญชีออมทรัพย์ ที่เป็นบัญชีถอนง่าย สภาพคล่องสูง แม้ดอกเบี้ยต่ำ
อีกทั้งเห็นการเซฟเงินระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น ส่งผลให้พอร์ตออมทรัพย์ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
JJNY : ว่างงานไตรมาส1/64เพิ่ม7.6แสน│ttbชี้โควิดสะเทือนเงินฝาก│ปูดพาณิชย์ ส่อเอื้อทุจริต│"แจ๊ค หม่า"เตรียมลาออกอีกตำแหน่ง
https://www.matichon.co.th/economy/news_2739344
‘สภาพัฒน์’ เผย โควิดฉุดว่างงาน ไตรมาส 1/64 เพิ่ม 7.6 แสนคน
เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยระหว่างการแถลงภาวะสังคมไทยไตรมาสที่ 1/2564 ว่า จากการประเมินอัตราการว่างงาน ในช่วงไตรมาสที่ 1/2564 พบว่ามีจำนวนผู้ว่างงานมีจำนวนเพิ่มขึ้น 7.6 แสนคน คิดเป็นอัตราการว่างงาน 1.96% สูงขึ้นอีกครั้ง หลังจากชะลอตัวลงในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 สะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบจากโควิดที่ยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ส่วนการจ้างงานในช่วงไตรมาสที่ 1/2564 พบว่ามีการขยายตัวเล็กน้อย หรือเพิ่มขึ้น 0.4% จากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของการจ้างงานในภาคเกษตรตามภาวะราคาสินค้าเกษตรที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่วนการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรม การท่องเที่ยวยังหดตัวเนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา
นายดนุชา กล่าวอีกว่า ขณะที่จำนวนชั่วโมงการทำงานรวมอยู่ที่ 40.1 ชั่วโมง/สัปดาห์ ลดลง 1.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 6 การทำงานต่ำระดับเพิ่มขึ้นถึง 129.1% เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 4 ทั้งนี้ จากภาพรวมที่ผู้มีงานทำเพิ่มขึ้นแต่ชั่วโมงการทำงานลดลง สะท้อนการจ้างงานและการทำงานที่ไม่เต็มเวลา ซึ่งจะทำให้แรงงานมีรายได้ลดลง โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพอิสระซึ่งเป็นกลุ่มที่มีรายได้ไม่แน่นอน นอกจากนี้ ยังมีความกังวลว่าตำแหน่งงานอาจไม่เพียงพอรองรับเด็กจบใหม่ เนื่องจากภาคธุรกิจได้รับผลกระทบต่อเนื่อง อาจไม่มีกำลังทรัพย์ที่จะจ้างแรงงานใหม่ ซึ่งคาดว่าจะกระทบต่อการจ้างงานของเด็กจบใหม่กว่า 4.9 ล้านคน
นายดนุชา กล่าวว่า ในส่วนของการประเมินหนี้ครัวเรือนในช่วงไตรมาสที่ 4/2563 พบว่าหนี้ครัวเรือนมีมูลค่า 14.02 ล้านล้านบาท ขยายตัว 3.9% จาก คิดเป็นสัดส่วน 89.3% ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (จีดีพี) เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่หดตัว แม้หนี้ครัวเรือนจะขยายตัวในอัตราที่ช้าลงสะท้อนให้เห็นว่าครัวเรือนยังระมัดระวังในการก่อหนี้ ขณะที่คุณภาพสินเชื่อปรับตัวดีขึ้น แต่ยังต้องเฝ้าระวังเนื่องจากสัดส่วนสินเชื่อ ค้างชำระไม่เกิน 3 เดือน ยังอยู่ในระดับสูง
นายดนุชา กล่าวอีกว่า ด้านความสามารถในการชำระหนี้ ของครัวเรือนปรับตัวดีขึ้นแต่ยังต้องเฝูาระวัง เนื่องจากสัดส่วนสินเชื่อค้างชำระไม่เกิน 3 เดือน ยังอยู่ในระดับสูง โดยในไตรมาส 4/2563 สัดส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอลเอส) ของสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคต่อสินเชื่อรวมอยู่ที่ 2.84% ลดลงจาก 2.91% ในไตรมาสก่อน เป็นผลจากการดำเนินมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ในช่วง ที่ผ่านมาของสถาบันการเงิน อย่างไรก็ตาม สินเชื่อกล่าวถึงพิเศษยังอยู่ในระดับสูง หรือมีสัดส่วนต่อสินเชื่อรวม 6.8% เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 3/2563 สะท้อนถึงความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือนบางกลุ่มด้อยลง และมีโอกาสที่จะกลายเป็นหนี้เสียมากขึ้น
นายดนุชา กล่าวต่อว่า สำหรับแนวโน้มการก่อหนี้ของครัวเรือนในปี 2564 คาดว่าสัดส่วนหนี้สินครัวเรือนต่อจีดีพีจะยังคงอยู่ในระดับสูง จากภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวกลับไปในระดับก่อนโควิด-19 ประกอบกับตลาดแรงงานอาจได้รับผลกระทบที่รุนแรงขึ้น ซึ่งจะกระทบต่อรายได้ของแรงงานและทำให้ครัวเรือนประสบปัญหาการขาดสภาพคล่องมากขึ้น โดยเฉพาะครัวเรือนที่มีรายได้น้อย
ttb ชี้โควิดระลอก 3 สะเทือน 'เงินฝาก' ธุรกิจ-รายย่อย แห่โยกเงินซบ 'ออมทรัพย์’
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/939720
ทีทีบี ชี้เงินฝากในระบบธนาคารพาณิชย์ทุบสถิติสูงสุด 15 ล้านล้านบาท พบธุรกิจ รายย่อย แห่โยกเงินจาก เงินฝาก “ประจำ” เข้าบัญชี “ออมทรัพย์”เพิ่ม ไม่หวั่นดอกเบี้ยต่ำ ด้านไทยพาณิชย์พบ นักลงทุนปรับพอร์ตหนี้ประจำ เหตุสำรองเงินไว้ใช้ฉุกเฉินพุ่ง
นายอารักษ์ สุธีวงศ์ ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า จากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา สายพันธ์ใหม่ หรือโควิด-19 ระลอก 3 ส่งผลให้สภาพคล่อง หรือเงินฝากในระบบปรับตัวสูงมาก ที่ฝากไว้กับระบบธนาคาร
โดยเฉพาะผ่านบัญชีออมทรัพย์ ที่เพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก จากการเตรียมพร้อมรองรับสถานการณ์ฉุกเฉิน และการสำรองเงินไว้ใช้ช่วงจำเป็นมากขึ้น ทำให้อาจเห็นการปรับพอร์ตจากประจำมาสู่ออมทรัพย์เพิ่มสูงขึ้น
“หากดูสภาพคล่องในระบบธนาคารวันนี้สูงมาก โดยเฉพาะออมทรัพย์ ที่เดิมอาจเห็นการฝากไว้ในบัญชีเงินฝากประจำ มาลงในออมทรัพย์เพิ่มขึ้น เพื่อรองรับการใช้จ่ายฉุกเฉิน แต่คาดว่าเมื่อเศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัว การกู้เงินเพิ่มขึ้น สภาพคล่องในระบบก็น่าจะลดลงในระยะต่อไปได้”
นายนริศ สถาผลเดชา หัวหน้าศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี (ttb analytics) กล่าวว่า หากดูสถิติด้านเงินฝากของระบบธนาคารพาณิชย์ สิ้นมี.ค. 2564 ถือว่าเงินฝากในระบบสูงสุดทุบสถิติ หากเทียบกับอดีตที่ผ่านมา โดยเงินฝากรวมเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 15.8 ล้านล้านบาท ส่วนนี้เป็นฝากออมทรัพย์ 10.2 ล้านล้านบาท และเงินฝากประจำที่ 4.6 ล้านล้านบาท
ทั้งนี้หากดูเงินฝากที่เพิ่มขึ้น หรือลดลง ในรอบ 1ปีที่ผ่านมา หากเทียบตั้งแต่สิ้นมี.ค.ปี 2563 ถึงสิ้น มี.ค. 2564 พบว่า เงินฝากรวมเพิ่มขึ้น 5.83 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 4% เงินฝากออมทรัพย์เพิ่มขึ้น 1.23ล้านล้านบาท หรือ14% ส่วนเงินฝากประจำเงินไหลออกราว 7.64 แสนล้านบาท หรือ 14%
หากดูจากพฤติกรรมของกลุ่มผู้ฝากเงิน พบว่าในช่วง 1ปีที่ผ่านมา ภาคธุรกิจ มีการฝากเงินในระบบเพิ่มขึ้น 3.55 แสนล้านบาท เข้าสู่บัญชีออมทรัพย์ 3.68 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น15% ต่างจากพอร์ต เงินฝากประจำ ที่มีการโยกเงินออกราว 9.6 แสนล้านบาท หรือราว 7%
เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา ที่พบว่ามีการโยกเงินมาฝากบัญชีออมทรัพย์มากขึ้น เป็น 9.8 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 7% แต่มีการโยกจากพอร์ตเงินฝากประจำราว 4.51 แสนล้านบาท หรือลดลง 15%
โดยการโยกเงินมาฝากในออมทรัพย์มากขึ้น ส่วนหนึ่งเชื่อว่ามาจากผลกระทบโควิด-19 ที่ส่งผลให้ธุรกิจ และรายย่อยหันมาปรับพอร์ต สู่บัญชีออมทรัพย์ ที่เป็นบัญชีถอนง่าย สภาพคล่องสูง แม้ดอกเบี้ยต่ำ
อีกทั้งเห็นการเซฟเงินระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น ส่งผลให้พอร์ตออมทรัพย์ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง