สศช.แถลงภาวะสังคมไทยไตรมาสแรกปี 65 แรงงานปรับตัวดีขึ้น
เผยแพร่: 23 พ.ค. 2565 18:38 ปรับปรุง: 23 พ.ค. 2565 18:38 โดย: ผู้จัดการออนไลน์
วันนี้ (23 พ.ค.) นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงภาวะสังคมไทยไตรมาส 1/2565 ว่า พบความเคลื่อนไหวสำคัญภาพรวมสถานการณ์ด้านแรงงานปรับตัวดีขึ้น อัตราการว่างงานลดลงอยู่ที่ ร้อยละ 1.53 ต่ำที่สุดตั้งแต่มีการระบาดของโควิด-19 หนี้สินครัวเรือนยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่ความสามารถในการชำระหนี้ยังอยู่ในเกณฑ์ดี สำหรับการเจ็บป่วยด้วยโรคเฝ้าระวังปรับตัวดีขึ้น เช่นเดียวกับด้านการก่ออาชญากรรม และอุบัติเหตุจราจรทางบก
สำหรับสถานการณ์แรงงานมีแนวโน้มดีขึ้นนั้น การจ้างงานที่ขยายตัวได้ดี ทั้งในและนอกภาคเกษตร ชั่วโมงการทำงานปรับตัวเพิ่มขึ้น การว่างงานในภาพรวมมีแนวโน้มลดลง ส่วนนอกภาคเกษตรกรรม มีการจ้างงาน 27.3 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 โดยสาขาที่มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น ได้แก่ สาขาการผลิต เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 จากอัตราการใช้กำลังการผลิตที่สูงสุดในช่วงโควิด-19 และการส่งออกที่ขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง สำหรับสาขาการขายส่งและขายปลีก และสาขาการขนส่ง เก็บสินค้า ขยายตัวได้ร้อยละ 5.8 และร้อยละ 16.2 ตามลำดับ
https://mgronline.com/uptodate/detail/9650000048992
อัตราการว่างงานลดลง มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น
หนึ้ครัวเรือนขยายตัว แต่มีการชำระหนี้ที่ดี
แสดงว่าประชาชนมีการใช้เงินจับจ่ายเพื่อคุณภาพชีวิต
อย่างมีศักยภาพ
ผลงานรัฐบาลดีขึ้นนะคะ
💛มาลาริน/ผลงานรัฐบาลดีขึ้นนะ..สภาพัฒนการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แถลงภาวะสังคมไทยไตรมาส 1/2565ว่า พบแรงงานปรับตัวดีขึ้น
เผยแพร่: 23 พ.ค. 2565 18:38 ปรับปรุง: 23 พ.ค. 2565 18:38 โดย: ผู้จัดการออนไลน์
วันนี้ (23 พ.ค.) นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงภาวะสังคมไทยไตรมาส 1/2565 ว่า พบความเคลื่อนไหวสำคัญภาพรวมสถานการณ์ด้านแรงงานปรับตัวดีขึ้น อัตราการว่างงานลดลงอยู่ที่ ร้อยละ 1.53 ต่ำที่สุดตั้งแต่มีการระบาดของโควิด-19 หนี้สินครัวเรือนยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่ความสามารถในการชำระหนี้ยังอยู่ในเกณฑ์ดี สำหรับการเจ็บป่วยด้วยโรคเฝ้าระวังปรับตัวดีขึ้น เช่นเดียวกับด้านการก่ออาชญากรรม และอุบัติเหตุจราจรทางบก
สำหรับสถานการณ์แรงงานมีแนวโน้มดีขึ้นนั้น การจ้างงานที่ขยายตัวได้ดี ทั้งในและนอกภาคเกษตร ชั่วโมงการทำงานปรับตัวเพิ่มขึ้น การว่างงานในภาพรวมมีแนวโน้มลดลง ส่วนนอกภาคเกษตรกรรม มีการจ้างงาน 27.3 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 โดยสาขาที่มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น ได้แก่ สาขาการผลิต เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 จากอัตราการใช้กำลังการผลิตที่สูงสุดในช่วงโควิด-19 และการส่งออกที่ขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง สำหรับสาขาการขายส่งและขายปลีก และสาขาการขนส่ง เก็บสินค้า ขยายตัวได้ร้อยละ 5.8 และร้อยละ 16.2 ตามลำดับ
https://mgronline.com/uptodate/detail/9650000048992
อัตราการว่างงานลดลง มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น
หนึ้ครัวเรือนขยายตัว แต่มีการชำระหนี้ที่ดี
แสดงว่าประชาชนมีการใช้เงินจับจ่ายเพื่อคุณภาพชีวิต
อย่างมีศักยภาพ
ผลงานรัฐบาลดีขึ้นนะคะ