ชนิดของวัคซีน COVID-19 มีทั้งหมด 4 กลุ่ม ได้แก่
1. วัคซีนชนิดเชื้อตาย (Inactivated virus) เช่น Sinovac, Sinopharm
2. วัคชีนชนิดไวรัสเวคเตอร์ ซึ่งเป็นไวรัสที่ยังมีชีวิตแต่ไม่สามารถแบ่งตัวได้ (Non replicating viral vector)
เช่น AstraZeneca, Johnson & Johnson, Gamaleya (Sputnik)
3. วัคซีนชนิด mRNA เช่น Pfizer, Moderna
4. วัคซีนชนิดส่วนประกอบของโปรตีน (Protein-based vaccine) เช่น Novavax
คำแนะนำเรื่องวัคซีน COVID-19 สำหรับผู้ป่วยโรคไต
ผู้ป่วยโรคไตรื้อรัง ผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต (ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม หรือ ล้างไตทางช่องท้อง) และผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายไต ถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อ COVID-19 และอาจจะมีอาการป่วยรุนแรง จึงเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่มีความจำเป็นต่อการได้รับวัคซีน อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังไม่มีผลการศึกษารายงานถึงประสิทธิภาพของวัคซีน COVID-19 แบบเฉพาะเจาะจงในกลุ่มผู้ป่วยโรคไต
เนื่องจากการฉีดวัคซีนโรคอื่น ๆ ในผู้ป่วยกลุ่มนี้ จะกระตุ้นให้เกิดการสร้างภูมิคุ้มกันได้น้อยกว่าคนทั่วไป จึงอาจทำให้การฉีดวัคซีน COVID-19 เกิดภูมิคุ้มกันได้น้อยกว่าเช่นกัน ซึ่งทำให้ป้องกันโรคได้ไม่เต็มที่ แต่อย่างไรก็ตาม การฉีดวัคซีนยังมีประโยชน์คือช่วยลดอัตราการเสียชีวิตและความรุนแรงของโรคได้ในคนทั่วไป ดังนั้นสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต และผู้ป่วยปลูกถ่ายไต จึงยังคงแนะนำให้ได้รับการฉีดวัดซีน ด้วยเช่นกัน
ภายหลังฉีดวัคซีนแล้วผู้ป่วยทุกคนยังมีโอกาสติดเชื้อได้ ดังนั้นผู้ป่วยจึงมีความจำเป็นต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคเหมือนเดิมเช่น ใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือ และเว้นระยะห่างทางสังคม เป็นต้น
หมายเหตุ
- *Sinovac ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลการศึกษาถึงประสิทธิภาพของวัคซีนในผู้สูงอายุ ≥ 60 ปี
- วัคซีนชนิดเชื้อตาย ชนิด mRNA และชนิดส่วนประกอบของโปรตีน สามารถให้ได้ในผู้ป่วยที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน
- วัคซีนชนิดไวรัสเวคเตอร์ เช่น AstraZeneca จากข้อมูลในต่างประเทศแนะนำว่า สามารถให้ได้ในผู้ป่วยที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน แต่ผู้เชี่ยวชาญบางท่าน แนะนำให้หลีกเสี่ยงวัคชีนกลุ่มนี้ในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำมาก (เช่น ผู้ป่วยที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกันที่ฤทธิ์กดภูมิรุนแรงหรือมีขนาดสูง)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ที่มา: สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย
คำแนะนำการฉีดวัคซีน COVID-19 ในผู้ป่วยโรคไต ข้อมูลจาก https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/may-2021/direction-vaccine-covid-19-patients-kidney-disease
คำแนะนำการฉีดวัคซีน COVID-19 ในผู้ป่วยโรคไต
1. วัคซีนชนิดเชื้อตาย (Inactivated virus) เช่น Sinovac, Sinopharm
2. วัคชีนชนิดไวรัสเวคเตอร์ ซึ่งเป็นไวรัสที่ยังมีชีวิตแต่ไม่สามารถแบ่งตัวได้ (Non replicating viral vector)
เช่น AstraZeneca, Johnson & Johnson, Gamaleya (Sputnik)
3. วัคซีนชนิด mRNA เช่น Pfizer, Moderna
4. วัคซีนชนิดส่วนประกอบของโปรตีน (Protein-based vaccine) เช่น Novavax
คำแนะนำเรื่องวัคซีน COVID-19 สำหรับผู้ป่วยโรคไต
ผู้ป่วยโรคไตรื้อรัง ผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต (ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม หรือ ล้างไตทางช่องท้อง) และผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายไต ถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อ COVID-19 และอาจจะมีอาการป่วยรุนแรง จึงเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่มีความจำเป็นต่อการได้รับวัคซีน อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังไม่มีผลการศึกษารายงานถึงประสิทธิภาพของวัคซีน COVID-19 แบบเฉพาะเจาะจงในกลุ่มผู้ป่วยโรคไต
เนื่องจากการฉีดวัคซีนโรคอื่น ๆ ในผู้ป่วยกลุ่มนี้ จะกระตุ้นให้เกิดการสร้างภูมิคุ้มกันได้น้อยกว่าคนทั่วไป จึงอาจทำให้การฉีดวัคซีน COVID-19 เกิดภูมิคุ้มกันได้น้อยกว่าเช่นกัน ซึ่งทำให้ป้องกันโรคได้ไม่เต็มที่ แต่อย่างไรก็ตาม การฉีดวัคซีนยังมีประโยชน์คือช่วยลดอัตราการเสียชีวิตและความรุนแรงของโรคได้ในคนทั่วไป ดังนั้นสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต และผู้ป่วยปลูกถ่ายไต จึงยังคงแนะนำให้ได้รับการฉีดวัดซีน ด้วยเช่นกัน
ภายหลังฉีดวัคซีนแล้วผู้ป่วยทุกคนยังมีโอกาสติดเชื้อได้ ดังนั้นผู้ป่วยจึงมีความจำเป็นต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคเหมือนเดิมเช่น ใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือ และเว้นระยะห่างทางสังคม เป็นต้น
หมายเหตุ
- *Sinovac ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลการศึกษาถึงประสิทธิภาพของวัคซีนในผู้สูงอายุ ≥ 60 ปี
- วัคซีนชนิดเชื้อตาย ชนิด mRNA และชนิดส่วนประกอบของโปรตีน สามารถให้ได้ในผู้ป่วยที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน
- วัคซีนชนิดไวรัสเวคเตอร์ เช่น AstraZeneca จากข้อมูลในต่างประเทศแนะนำว่า สามารถให้ได้ในผู้ป่วยที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน แต่ผู้เชี่ยวชาญบางท่าน แนะนำให้หลีกเสี่ยงวัคชีนกลุ่มนี้ในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำมาก (เช่น ผู้ป่วยที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกันที่ฤทธิ์กดภูมิรุนแรงหรือมีขนาดสูง)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้