ทำไมตถาคตเรียก ร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง

ตถาคตเรียก ร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง
เพราะ 
ธัมมายตนะนั้น องค์ธรรมได้แก่
สุขุมรูป ๑๖,
เจตสิก ๕๒
และนิพพาน ๑
รวมเป็นธรรม ๖๙ ด้วยกัน

จิต วิญญาณ เจตสิค เกิดที่มนายตนะ
ธัมมายตนะนั้น องค์ธรรมได้แก่
สุขุมรูป ๑๖,
เจตสิก ๕๒
และนิพพาน ๑
รวมเป็นธรรม ๖๙ ด้วยกัน

มนายตนะ คือ จิตใจเป็นเครื่องต่อ
 โดยเฉพาะในที่นี้หมายถึงทวาร
องค์ธรรมได้แก่ มโนทวาร เป็นนามธรรม (นามจิต)

 โดยประเภทแห่งทวาร       เป็นอายตนะภายใน ๖            
  โดยประเภทแห่งอารมณ์    เป็นอายตนะภายนอก ๖

มนายตนะ     ต่อกับ      ธัมมายตนะ

ดังนี้ จะเห็นได้ว่า
อายตนะเป็นเครื่องต่อที่สำคัญอันทำให้สัตว์ต้องเวียนว่าย
ตายเกิดไม่มีที่สิ้นสุด และเมื่อเกิดมาแล้ว
ก็อายตนะนี้เองเป็นปัจจัยให้ประพฤติเป็น
ไปในเหตุที่จะให้เกิดทุกข์ หรือจะให้พ้นทุกข์
ขึ้นชื่อว่าสัตว์แล้วจะไม่ต้องอาศัย
อายตนะเลยนั้น เป็นไม่มี

อายตนะ แปลอย่างสั้นที่สุดก็ว่า
เครื่องต่อ และมีความหมายหลายนัย คือ

๑. สญฺชาติเทสฏฺฐ
เป็นที่เกิด หมายความว่า ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
ได้ชื่อ ว่า อายตนะ เป็นเครื่องต่อให้เกิดจิตและเจตสิก
ถ้าไม่มีอายตนะแล้ว ก็ไม่มีเครื่อง ต่อให้เกิดจิตและเจตสิก
ไม่มีวิถีจิต ไม่มีบุญไม่มีบาป

๒. นิวาสฏฺฐ เป็นที่อยู่
หมายความว่า อายตนะเป็นที่อาศัยอยู่ของจิตและ เจตสิก
จิตเจตสิกไม่ได้อาศัยอยู่ที่อื่นเลย

๓. อากรฏฺฐ เกิดแก่สัตว์ทั่วไป
หมายความว่า อายตนะนี้เกิดแก่สัตว์ทั้งหลาย ไม่เลือกชั้นวรรณะ

๔. สโมสรฏฺฐ เป็นที่ประชุม หมายความว่า
อายตนะภายในกับอายตนะภาย นอกมาประชุมกัน มาร่วมกัน
มาต่อกันเมื่อใด จิตและเจตสิกก็จะเกิดขึ้นเมื่อนั้น
ถ้าอายตนะไม่ประชุมกัน ไม่ต่อกัน
จิตเจตสิกก็เกิดขึ้นไม่ได้เลย

๕. การณฏฺฐ เป็นเหตุให้เกิด
หมายความว่า ถ้าไม่มีอายตนะเป็นเหตุเป็น ปัจจัยแล้ว
จิตเจตสิกก็เกิดขึ้นไม่ได้ เมื่อมีอายตนะเป็นเหตุเป็นปัจจัย
จิตเจตสิกก็ เกิดขึ้น เป็นเหตุให้เกิดบุญหรือบาปต่อไป

ฉะนั้น จิตจึงเป็นมนายตนะ เป็นที่ประชุมของสภาพธรรมที่กำลังปรากฎ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่