สวัสดีครับ นี่ก็สองปีกว่าแล้วตั้งแต่ที่ผมเขียนกระทู้ลงพันทิปครั้งล่าสุดตั้งแต่ใช้ชื่อลอคอินเดิมว่า weejourney ในกระทู้เรื่องโครงการรื้อถอนแท่นขุดเจาะน้ำมันกลางทะเล โดยสมัยนั้นผมเป็นวิศวกรโครงการในบริษัทพลังงานข้ามชาติที่สหราชอาณาจักร
แชร์ประสบการณ์ทำงานโครงการรือถอนแท่นผลิตน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดในโลก
หลังจากลงกระทู้ที่แล้วผมก็รับงานใหม่ และย้ายครอบครัวมาทำงานในประเทศจีนจนถึงปัจจุบันได้สองปีกว่าแล้ว ด้วยความยุ่งของงานก็เลยไม่ได้มีเวลามาเขียนกระทู้เลย เมื่อไม่นานมานี้ผมเปิดเพจชื่อว่า “นายช่างต่างแดน” เพื่อใช้เป็นช่องทางแชร์ประสบการณ์การเรียน, การทำงาน และการใช้ชีวิตที่ต่างประเทศ ถ้าสนใจขอเชิญลองแวะไปดูครับ
เพจนายช่างต่างแดน - 9changtangdan
ช่วงนี้กระแส #ย้ายประเทศกันเถอะ กำลังมาแรง ในฐานะคนที่ใช้ชีวิตและทำงานในต่างประเทศมานานกว่าสิบปีในหลายประเทศ (อเมริกา, สหราชอาณาจักร, เยอรมันนี, ฟินแลนด์ และ จีน) ผมขอแสดงความเห็นส่วนตัว และมองข้อดีและข้อเสียหลักๆของการใช้ชีวิตในต่างประเทศนะครับ
ผมขอเดาว่าประเทศที่คนอยากย้ายไปคือประเทศพัฒนาแล้ว อย่างเช่น ประเทศในยุโรปส่วนมาก สหราชอาณาจักร อเมริกา แคนาดา แสกนดิเนเวีย ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ประมาณนี้
ลองมองข้อดีและข้อเสียหรืออุปสรรคอย่างละสามข้อนะครับ
เริ่มด้วยข้อเสียและอุปสรรค
1. ห่างครอบครัวห่างเพื่อนฝูง
อันนี้คือปัญหาใหญ่ที่สุดที่ต้องปรับตัวให้ได้ถ้าจะอยู่ต่างประเทศ ยิ่งถ้าหากมีพ่อแม่ที่อายุมากอยู่ที่ไทย ก็ต้องคิดว่าจะดูแลพ่อแม่ยังไง คนบางคนอาจจะมีญาติพี่น้องช่วยดูแลพ่อแม่ที่ไทย หรืออาจจะพยายามพาท่านไปอยู่ด้วยที่ต่างประเทศ (ซึ่งก็มีความยากในการปรับตัวของผู้ใหญ่)
สมัยนี้โซเชียลมีเดียช่วยให้โลกเราแคบลงแต่ยังไงก็ไม่เหมือนการที่สามารถเจอหน้าญาติพ่อแม่และเพื่อนฝูงเมื่อไหร่ก็ได้
2. การปรับตัวด้านภาษาและวัฒนธรรม
ผมคิดว่าเรื่องการปรับตัวด้านภาษานี่สำคัญมาก การที่เราไม่สามารถสื่อสารอย่างชัดเจนในภาษาหลักของประเทศที่เราอาศัยอยู่ จะส่งผลกระทบถึงความมั่นใจของเราและความสามารถในการเข้าสังคมและหาเพื่อนใหม่ด้วย ผมมองเรื่องวัฒนธรรมผมคิดว่ามันปรับกันได้ แต่ถ้าภาษาไม่ได้ก็จะทำให้การเรียนรู้วัฒนธรรมยากไปด้วย
อีกเรื่องที่ต้องปรับตัวก็คืออาหารเพราะคนไทยยังไงส่วนมากก็เคยชินกับรสชาติอาหารไทย แต่อาหารไทยที่ต่างประเทศเค้าถือว่าเป็นอาหารหายากจึงมีราคาแพง ในสหราชอาณาจักร ข้าวกะเพราไข่ดาวจานนึงก็ 500 กว่าบาทได้ ดังนั้นสิ่งที่มักจะเกิดขึ้นคือเราก็ต้องเรียนรู้การทำอาหารเองเพราะซื้อกินทุกมื้อไม่ไหว นอกจากนี้วัตถุดิบเครื่องปรุงต่างๆก็อาจจะหาไม่ได้ซะทั้งหมด ก็ต้องปรับรสชาติกันไป
นอกจากนี้ความที่เราไม่ใช่คนท้องถิ่นของประเทศนั้นๆ ก็ทำให้มีโอกาสสูงขึ้นที่จะพบเจอการเหยียดเชื้อชาติจากคนบางกลุ่ม ส่วนตัวผมไม่ค่อยเจอมานานแล้ว แต่ในทุกประเทศถึงแม้ว่าจะพัฒนาแล้วก็ตามก็มักจะมีคนกลุ่มนึงที่งี่เง่าอยู่เสมอ (ignorant) อันที่จริงผมคิดว่าคนไทยเองก็มีคนบางกลุ่มที่เหยียดเชื้อชาติเช่นกัน ลองนึกอย่างตอนผมเด็กๆ ก็มีการใช้คำว่าลาวในความหมายว่าล้าสมัย เพียงแต่ว่าในไทยเราเป็นคนหมู่มากเราอาจจะไม่รู้สึก แต่ใน ตปท เราเป็นคนกลุ่มน้อย ความคิดเรื่องการเหยียดเชื้อชาติสีผิวผมคิดว่าเป็นความคิดที่ล้าสมัยและควรหยุดได้แล้ว
3. การแก้ปัญหาต่างๆด้วยตนเอง
การออกจากสังคมที่คุ้นเคยและห่างเพื่อนและครอบครัว ยังหมายความว่าเวลามีปัญหา เราก็ต้องเรียนรู้ที่จะแก้ปัญหาต่างๆด้วยตัวเองเป็นหลัก เราไม่สามารถโทรบอกเพื่อนหรือญาติให้มาช่วยแก้ปัญหาได้ อย่างมากที่สุดก็โทรไปบ่นได้แค่นั้น นอกจากนี้ค่าใช้จ่ายในงานบริการต่างๆ อย่างเช่นพวกช่างน้ำช่างไฟ ในต่างประเทศมีราคาแพงมาก ดังนั้นโดยมากชาวต่างชาติจะเรียนรู้การทำงานซ่อมแซมเล็กๆน้อยๆด้วยตนเอง (DIY – do it yourself)
ผมคิดว่าการเรียนรู้การแก้ปัญหาต่างๆด้วยตัวเองในต่างประเทศเป็นเรื่องที่ดี แต่ก็เป็นเรื่องที่ต้องใช้การปรับตัวเยอะ
มามองข้อดีกันบ้าง
1. ระบบการเมืองที่โปร่งใสกว่า
โดยส่วนมากประเทศที่เจริญแล้วจะมีระบอบการเมืองที่โปร่งใสและตรวจสอบได้ และถึงเราไม่ได้เป็นคนที่ออกไปเคลื่อนไหวทางการเมือง การที่ประเทศมีระบบทางการเมืองที่ตรวจสอบได้วิจารณ์ได้ ก็จะช่วยป้องกันการทำงานที่ไม่โปร่งใสของรัฐซึ่งสร้างความหงุดหงิดและกระทบการใช้ชีวิต ตัวอย่างเช่น ระบบการเลือกตั้งที่ไม่เป็นธรรมและการตั้งระบบการเลือกตั้งแบบล็อคผล, การล้มเหลวในการปฏิรูปการศึกษา, หรือการใช้จ่ายงบประมาณที่ไม่เมคเซนส์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวิกฤติโควิด
2. ระบบสวัสดิการที่ดีกว่า
ประเทศที่พัฒนาแล้วแม้จะเก็บภาษีแพงกว่าแต่โดยทั่วไปก็จะมีระบบสวัสดิการที่ดีกว่าด้วย คือผมมองว่าระบบสวัสดิการนั้นจะเหมือนเป็น safety net ให้กับทุกคน อย่างเช่น สวัสดิการการศึกษาขั้นพื้นฐาน การรักษาพยาบาล เงินช่วยเหลือคนตกงาน ฯลฯ คือผมไม่ได้บอกว่าระบบสวัสดิการในต่างประเทศดีไปหมดทุกอย่างนะครับ แต่สำหรับเวลาลำบากเหมือนมี safety net คอยช่วยเหลืออยู่ การมีระบบสวัสดิการยังช่วยให้โอกาสคนที่ไม่มีเงินได้รับการศึกษาและช่วยยกระดับทางสังคมและคุณภาพชีวิต ซึ่งช่วยให้ความเหลื่อมล้ำทางสังคมลดลง
3. ระบบการศึกษาที่ดีกว่า
แทนที่จะบรรยายว่าการศึกษาในประเทศพัฒนาแล้วดียังไง ผมขอยกตัวอย่างที่ผมเจอเองตอนไปเรียนต่างประเทศครั้งแรกนะครับ
ผมเองเรียนและโตมาในโรงเรียนและมหาวิทยาลัยไทยในหลักสูตรปกติตั้งแต่เด็กจนจบตรี โดยผมได้ไปเจอระบบการศึกษาในชาติพัฒนาแล้วครั้งแรกตอนไปเรียนแลกเปลี่ยนเป็นระยะเวลาหนึ่งปีตอนเรียนปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมเคมีที่อเมริกา ตอนนั้นผมจำได้เลยว่าคาบแรกที่เข้าเรียนวิชาวิศวกรรมออกแบบ อาจารย์สอนแค่ 5 นาที ประมาณนี้
อาจารย์: นักเรียนจงให้ไปออกแบบถังเก็บน้ำมันในรถยนต์มา โดยให้เลือกว่ารูปทรงไหนของถังดีที่สุด ระหว่าง 1. ถังทรงกลม 2. ถังทรงกระบอก 3. ถังทรงกล่องสี่เหลี่ยม ส่งงานและเจอกันสัปดาห์หน้า จบคาบ!
ผม: ช็อค
เพื่อนๆในชั้น: ทุกคนดูเคยชินและแยกย้ายกันไป
หลังจากจบคาบด้วยความลน ผมก็ไปไล่ถามเพื่อนๆว่าทำยังไงดี พวกนายรู้จักวิธีคำนวณเหรอ ทำไมอาจารย์ไม่สอนหรืออาจารย์สอนไปแล้วเทอมก่อน บลาๆ สิ่งที่ผมพบคือทุกคนก็ไม่เคยเรียนเช่นกัน แต่ทุกคนก็ไปสืบหาในเนตว่าว่าถังน้ำมันในรถปกติมีความจุเท่าไหร่ สูตรวิธีคำนวณความหนาของถังแต่ละทรงทำยังไง พอได้แล้วก็ทำการคำนวณว่าด้วยความจุน้ำมันเท่ากัน ถังน้ำมันรูปทรงไหนจะต้องใช้เหล็กมากที่สุด ซึ่งแปลว่า หนักสุด แพงสุด ฯลฯ
สำหรับผมในตอนนั้นที่เรียนมาในระบอบการศึกษาที่เราได้รับการป้อนทฤษฎีต่างๆเพื่อทำโจทย์และเพื่อสอบทำคะแนน การเรียนแบบแก้ปัญหาเอง คิดเอง มันเป็นอะไรที่เปิดโลกมากๆ ผมมองว่าถ้ามีลูกและเลือกได้ผมก็อยากให้เค้าโตแบบคิดเองทำเองแบบนี้ ผมคิดว่าการศึกษาไทยยังมีพื้นที่ในการพัฒนาอีกมาก และการศึกษานี่แหละคือพื้นฐานที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาคนและสังคม
สรุป
ที่เขียนมานี้ ผมไม่ได้บอกว่าเราควรจะย้ายไปอยู่ต่างประเทศดีกว่าหรือยังไง เพราะมันมีข้อดีข้อเสียต่างๆและทุกคนก็มีเหตุผลและความจำเป็นต่างๆกัน ยังไงก็ตามอยากฟังความเห็นว่าชาวพันทิปคิดยังไงเรื่อง #ย้ายประเทศกันเถอะ กันบ้างครับ
ป.ล. ผมเองตอนนี้ถือสองสัญชาติคือบริติช(UK) และไทย ลองไปอ่านที่เพจนายช่างต่างแดน @9changtangdan ดูได้เรื่องการขอสัญชาติบริติชนะครับ
มองข้อดีข้อเสียของการใช้ชีวิตในต่างประเทศ ในกระแส “ย้ายประเทศกันเถอะ” โดย วิศวกรไทยในต่างแดน
แชร์ประสบการณ์ทำงานโครงการรือถอนแท่นผลิตน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดในโลก
หลังจากลงกระทู้ที่แล้วผมก็รับงานใหม่ และย้ายครอบครัวมาทำงานในประเทศจีนจนถึงปัจจุบันได้สองปีกว่าแล้ว ด้วยความยุ่งของงานก็เลยไม่ได้มีเวลามาเขียนกระทู้เลย เมื่อไม่นานมานี้ผมเปิดเพจชื่อว่า “นายช่างต่างแดน” เพื่อใช้เป็นช่องทางแชร์ประสบการณ์การเรียน, การทำงาน และการใช้ชีวิตที่ต่างประเทศ ถ้าสนใจขอเชิญลองแวะไปดูครับ เพจนายช่างต่างแดน - 9changtangdan
ช่วงนี้กระแส #ย้ายประเทศกันเถอะ กำลังมาแรง ในฐานะคนที่ใช้ชีวิตและทำงานในต่างประเทศมานานกว่าสิบปีในหลายประเทศ (อเมริกา, สหราชอาณาจักร, เยอรมันนี, ฟินแลนด์ และ จีน) ผมขอแสดงความเห็นส่วนตัว และมองข้อดีและข้อเสียหลักๆของการใช้ชีวิตในต่างประเทศนะครับ
ผมขอเดาว่าประเทศที่คนอยากย้ายไปคือประเทศพัฒนาแล้ว อย่างเช่น ประเทศในยุโรปส่วนมาก สหราชอาณาจักร อเมริกา แคนาดา แสกนดิเนเวีย ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ประมาณนี้
ลองมองข้อดีและข้อเสียหรืออุปสรรคอย่างละสามข้อนะครับ
เริ่มด้วยข้อเสียและอุปสรรค
1. ห่างครอบครัวห่างเพื่อนฝูง
อันนี้คือปัญหาใหญ่ที่สุดที่ต้องปรับตัวให้ได้ถ้าจะอยู่ต่างประเทศ ยิ่งถ้าหากมีพ่อแม่ที่อายุมากอยู่ที่ไทย ก็ต้องคิดว่าจะดูแลพ่อแม่ยังไง คนบางคนอาจจะมีญาติพี่น้องช่วยดูแลพ่อแม่ที่ไทย หรืออาจจะพยายามพาท่านไปอยู่ด้วยที่ต่างประเทศ (ซึ่งก็มีความยากในการปรับตัวของผู้ใหญ่)
สมัยนี้โซเชียลมีเดียช่วยให้โลกเราแคบลงแต่ยังไงก็ไม่เหมือนการที่สามารถเจอหน้าญาติพ่อแม่และเพื่อนฝูงเมื่อไหร่ก็ได้
2. การปรับตัวด้านภาษาและวัฒนธรรม
ผมคิดว่าเรื่องการปรับตัวด้านภาษานี่สำคัญมาก การที่เราไม่สามารถสื่อสารอย่างชัดเจนในภาษาหลักของประเทศที่เราอาศัยอยู่ จะส่งผลกระทบถึงความมั่นใจของเราและความสามารถในการเข้าสังคมและหาเพื่อนใหม่ด้วย ผมมองเรื่องวัฒนธรรมผมคิดว่ามันปรับกันได้ แต่ถ้าภาษาไม่ได้ก็จะทำให้การเรียนรู้วัฒนธรรมยากไปด้วย
อีกเรื่องที่ต้องปรับตัวก็คืออาหารเพราะคนไทยยังไงส่วนมากก็เคยชินกับรสชาติอาหารไทย แต่อาหารไทยที่ต่างประเทศเค้าถือว่าเป็นอาหารหายากจึงมีราคาแพง ในสหราชอาณาจักร ข้าวกะเพราไข่ดาวจานนึงก็ 500 กว่าบาทได้ ดังนั้นสิ่งที่มักจะเกิดขึ้นคือเราก็ต้องเรียนรู้การทำอาหารเองเพราะซื้อกินทุกมื้อไม่ไหว นอกจากนี้วัตถุดิบเครื่องปรุงต่างๆก็อาจจะหาไม่ได้ซะทั้งหมด ก็ต้องปรับรสชาติกันไป
นอกจากนี้ความที่เราไม่ใช่คนท้องถิ่นของประเทศนั้นๆ ก็ทำให้มีโอกาสสูงขึ้นที่จะพบเจอการเหยียดเชื้อชาติจากคนบางกลุ่ม ส่วนตัวผมไม่ค่อยเจอมานานแล้ว แต่ในทุกประเทศถึงแม้ว่าจะพัฒนาแล้วก็ตามก็มักจะมีคนกลุ่มนึงที่งี่เง่าอยู่เสมอ (ignorant) อันที่จริงผมคิดว่าคนไทยเองก็มีคนบางกลุ่มที่เหยียดเชื้อชาติเช่นกัน ลองนึกอย่างตอนผมเด็กๆ ก็มีการใช้คำว่าลาวในความหมายว่าล้าสมัย เพียงแต่ว่าในไทยเราเป็นคนหมู่มากเราอาจจะไม่รู้สึก แต่ใน ตปท เราเป็นคนกลุ่มน้อย ความคิดเรื่องการเหยียดเชื้อชาติสีผิวผมคิดว่าเป็นความคิดที่ล้าสมัยและควรหยุดได้แล้ว
3. การแก้ปัญหาต่างๆด้วยตนเอง
การออกจากสังคมที่คุ้นเคยและห่างเพื่อนและครอบครัว ยังหมายความว่าเวลามีปัญหา เราก็ต้องเรียนรู้ที่จะแก้ปัญหาต่างๆด้วยตัวเองเป็นหลัก เราไม่สามารถโทรบอกเพื่อนหรือญาติให้มาช่วยแก้ปัญหาได้ อย่างมากที่สุดก็โทรไปบ่นได้แค่นั้น นอกจากนี้ค่าใช้จ่ายในงานบริการต่างๆ อย่างเช่นพวกช่างน้ำช่างไฟ ในต่างประเทศมีราคาแพงมาก ดังนั้นโดยมากชาวต่างชาติจะเรียนรู้การทำงานซ่อมแซมเล็กๆน้อยๆด้วยตนเอง (DIY – do it yourself)
ผมคิดว่าการเรียนรู้การแก้ปัญหาต่างๆด้วยตัวเองในต่างประเทศเป็นเรื่องที่ดี แต่ก็เป็นเรื่องที่ต้องใช้การปรับตัวเยอะ
มามองข้อดีกันบ้าง
1. ระบบการเมืองที่โปร่งใสกว่า
โดยส่วนมากประเทศที่เจริญแล้วจะมีระบอบการเมืองที่โปร่งใสและตรวจสอบได้ และถึงเราไม่ได้เป็นคนที่ออกไปเคลื่อนไหวทางการเมือง การที่ประเทศมีระบบทางการเมืองที่ตรวจสอบได้วิจารณ์ได้ ก็จะช่วยป้องกันการทำงานที่ไม่โปร่งใสของรัฐซึ่งสร้างความหงุดหงิดและกระทบการใช้ชีวิต ตัวอย่างเช่น ระบบการเลือกตั้งที่ไม่เป็นธรรมและการตั้งระบบการเลือกตั้งแบบล็อคผล, การล้มเหลวในการปฏิรูปการศึกษา, หรือการใช้จ่ายงบประมาณที่ไม่เมคเซนส์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวิกฤติโควิด
2. ระบบสวัสดิการที่ดีกว่า
ประเทศที่พัฒนาแล้วแม้จะเก็บภาษีแพงกว่าแต่โดยทั่วไปก็จะมีระบบสวัสดิการที่ดีกว่าด้วย คือผมมองว่าระบบสวัสดิการนั้นจะเหมือนเป็น safety net ให้กับทุกคน อย่างเช่น สวัสดิการการศึกษาขั้นพื้นฐาน การรักษาพยาบาล เงินช่วยเหลือคนตกงาน ฯลฯ คือผมไม่ได้บอกว่าระบบสวัสดิการในต่างประเทศดีไปหมดทุกอย่างนะครับ แต่สำหรับเวลาลำบากเหมือนมี safety net คอยช่วยเหลืออยู่ การมีระบบสวัสดิการยังช่วยให้โอกาสคนที่ไม่มีเงินได้รับการศึกษาและช่วยยกระดับทางสังคมและคุณภาพชีวิต ซึ่งช่วยให้ความเหลื่อมล้ำทางสังคมลดลง
3. ระบบการศึกษาที่ดีกว่า
แทนที่จะบรรยายว่าการศึกษาในประเทศพัฒนาแล้วดียังไง ผมขอยกตัวอย่างที่ผมเจอเองตอนไปเรียนต่างประเทศครั้งแรกนะครับ
ผมเองเรียนและโตมาในโรงเรียนและมหาวิทยาลัยไทยในหลักสูตรปกติตั้งแต่เด็กจนจบตรี โดยผมได้ไปเจอระบบการศึกษาในชาติพัฒนาแล้วครั้งแรกตอนไปเรียนแลกเปลี่ยนเป็นระยะเวลาหนึ่งปีตอนเรียนปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมเคมีที่อเมริกา ตอนนั้นผมจำได้เลยว่าคาบแรกที่เข้าเรียนวิชาวิศวกรรมออกแบบ อาจารย์สอนแค่ 5 นาที ประมาณนี้
อาจารย์: นักเรียนจงให้ไปออกแบบถังเก็บน้ำมันในรถยนต์มา โดยให้เลือกว่ารูปทรงไหนของถังดีที่สุด ระหว่าง 1. ถังทรงกลม 2. ถังทรงกระบอก 3. ถังทรงกล่องสี่เหลี่ยม ส่งงานและเจอกันสัปดาห์หน้า จบคาบ!
ผม: ช็อค
เพื่อนๆในชั้น: ทุกคนดูเคยชินและแยกย้ายกันไป
หลังจากจบคาบด้วยความลน ผมก็ไปไล่ถามเพื่อนๆว่าทำยังไงดี พวกนายรู้จักวิธีคำนวณเหรอ ทำไมอาจารย์ไม่สอนหรืออาจารย์สอนไปแล้วเทอมก่อน บลาๆ สิ่งที่ผมพบคือทุกคนก็ไม่เคยเรียนเช่นกัน แต่ทุกคนก็ไปสืบหาในเนตว่าว่าถังน้ำมันในรถปกติมีความจุเท่าไหร่ สูตรวิธีคำนวณความหนาของถังแต่ละทรงทำยังไง พอได้แล้วก็ทำการคำนวณว่าด้วยความจุน้ำมันเท่ากัน ถังน้ำมันรูปทรงไหนจะต้องใช้เหล็กมากที่สุด ซึ่งแปลว่า หนักสุด แพงสุด ฯลฯ
สำหรับผมในตอนนั้นที่เรียนมาในระบอบการศึกษาที่เราได้รับการป้อนทฤษฎีต่างๆเพื่อทำโจทย์และเพื่อสอบทำคะแนน การเรียนแบบแก้ปัญหาเอง คิดเอง มันเป็นอะไรที่เปิดโลกมากๆ ผมมองว่าถ้ามีลูกและเลือกได้ผมก็อยากให้เค้าโตแบบคิดเองทำเองแบบนี้ ผมคิดว่าการศึกษาไทยยังมีพื้นที่ในการพัฒนาอีกมาก และการศึกษานี่แหละคือพื้นฐานที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาคนและสังคม
สรุป
ที่เขียนมานี้ ผมไม่ได้บอกว่าเราควรจะย้ายไปอยู่ต่างประเทศดีกว่าหรือยังไง เพราะมันมีข้อดีข้อเสียต่างๆและทุกคนก็มีเหตุผลและความจำเป็นต่างๆกัน ยังไงก็ตามอยากฟังความเห็นว่าชาวพันทิปคิดยังไงเรื่อง #ย้ายประเทศกันเถอะ กันบ้างครับ
ป.ล. ผมเองตอนนี้ถือสองสัญชาติคือบริติช(UK) และไทย ลองไปอ่านที่เพจนายช่างต่างแดน @9changtangdan ดูได้เรื่องการขอสัญชาติบริติชนะครับ