สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 25
ขอมาตอบในอีกมุมมองนึงนะครับ อาจไม่ถูกใจใครหลายคน
ผมเป็นคนที่ทำงานบริษัทเดียวมาตลอด 30 กว่าปี ไม่เคยเปลี่ยนงาน ทำตั้งแต่เป็นพนักงานระดับปฏิบัติงานตัวเล็ก ๆ เงินเดือนไม่กี่พัน จนขึ้นมาเป็นผู้บริหารระดับกลาง เงินเดือนหกหลัก ทำตั้งแต่บริษัทเปิดใหม่แบบเช่าอู่ซ่อมรถเก่าทำงาน จนกลายเป็นบริษัทมหาชนในตลาดหลักทรัพย์
...ช่วงเริ่มต้นทำงานใหม่ ๆ รักองค์กรหรือเปล่าไม่รู้ แต่เอาเป็นว่ารักงานที่ทำ รักเจ้านาย รักเพื่อนร่วมงาน แบบทำงาน จันทร์-เสาร์ เช้าถึงเย็น แต่พอถึงวันอาทิตย์ไม่รู้ไปไหน เจ้านายโทรมาตามให้ขับรถพาแวะไปดูหน้าโรงงานแบบเข้าไปทำงานไม่ได้เพราะไม่มีกุญแจ ตอนนั้นเข้าใจอารมณ์หนุ่ม ๆ เลยที่ว่า ไม่เห็นหน้าสาว เห็นหลังคาบ้านก็ชื่นใจแล้ว
ผมเข้าใจอารมณ์เด็กรุ่นใหม่ ทำงานแลกผลประโยชน์ แต่ก็อยากแชร์ความรู้สึกของคนรุ่นเก่า ทำงานแบบเติบโตมาพร้อม ๆ กับองค์กร พอองค์กรใหญ่ขึ้น เราก็มีตำแหน่งหน้าที่การงานที่ดีขึ้น ถึงวันนี้ที่เรามีพร้อมทุกอย่าง มีครอบครัว มีบ้าน มีรถ มีเงินเก็บ มันจะรู้สึกว่ามีวันนี้ได้ก็เพราะองค์กรนี่แหละ ช่วงต้มยำกุ้งปี 40 คนอื่นออก เราก็อยากออก (หวังเงินชดเชย) แต่นายพูดดึงไว้ไม่ให้ออก เราก็ไม่ออก พอผ่านวิกฤตบริษัทฯ เติบโต เราก็โตมาแบบกลายเป็นคนทำงานรุ่นเก่าในยุคบุกเบิกที่ยังเหลืออยู่ไม่กี่คน
วันนี้ถึงวิกฤตโควิด กลายเป็นว่าต่อให้บริษัทล้ม เราก็ไม่เจ็บตัวหรืออดตาย เพราะเก็บไว้จนพอเหลือ มีที่ทางปลูกต้นไม้ มีลู่ทางทำกิน มีเงินเก็บสะสม ปลูกกล้วยปลูกอ้อย เลี้ยงไก่กินไข่ แต่ก็ไม่เคยลืมว่ามีวันนี้เพราะองค์กร
...มนุษย์เงินเดือน จำเป็นต้องรักองค์กรมั้ย...อยากให้ลองหลับตานึกว่าถ้าเราไม่ใช่มนุษย์เงินเดือน ถ้าเราเป็นเจ้าของกิจการ เราจะรักกิจการของเรามั้ย นั่นแหละครับ...มนุษย์เงินเดือนทุกคนก็เป็นเจ้าของกิจการนั่นแหละครับ เราขายความสามารถของเรา แล้วองค์กรก็เป็นลูกค้าที่ซื้อความสามารถของเรา โดยจ่ายเงินค่าความสามารถของเราเป็นเงินเดือน...มันก็ง่าย ๆ แบบนั้นแหละครับ...
ผมเป็นคนที่ทำงานบริษัทเดียวมาตลอด 30 กว่าปี ไม่เคยเปลี่ยนงาน ทำตั้งแต่เป็นพนักงานระดับปฏิบัติงานตัวเล็ก ๆ เงินเดือนไม่กี่พัน จนขึ้นมาเป็นผู้บริหารระดับกลาง เงินเดือนหกหลัก ทำตั้งแต่บริษัทเปิดใหม่แบบเช่าอู่ซ่อมรถเก่าทำงาน จนกลายเป็นบริษัทมหาชนในตลาดหลักทรัพย์
...ช่วงเริ่มต้นทำงานใหม่ ๆ รักองค์กรหรือเปล่าไม่รู้ แต่เอาเป็นว่ารักงานที่ทำ รักเจ้านาย รักเพื่อนร่วมงาน แบบทำงาน จันทร์-เสาร์ เช้าถึงเย็น แต่พอถึงวันอาทิตย์ไม่รู้ไปไหน เจ้านายโทรมาตามให้ขับรถพาแวะไปดูหน้าโรงงานแบบเข้าไปทำงานไม่ได้เพราะไม่มีกุญแจ ตอนนั้นเข้าใจอารมณ์หนุ่ม ๆ เลยที่ว่า ไม่เห็นหน้าสาว เห็นหลังคาบ้านก็ชื่นใจแล้ว
ผมเข้าใจอารมณ์เด็กรุ่นใหม่ ทำงานแลกผลประโยชน์ แต่ก็อยากแชร์ความรู้สึกของคนรุ่นเก่า ทำงานแบบเติบโตมาพร้อม ๆ กับองค์กร พอองค์กรใหญ่ขึ้น เราก็มีตำแหน่งหน้าที่การงานที่ดีขึ้น ถึงวันนี้ที่เรามีพร้อมทุกอย่าง มีครอบครัว มีบ้าน มีรถ มีเงินเก็บ มันจะรู้สึกว่ามีวันนี้ได้ก็เพราะองค์กรนี่แหละ ช่วงต้มยำกุ้งปี 40 คนอื่นออก เราก็อยากออก (หวังเงินชดเชย) แต่นายพูดดึงไว้ไม่ให้ออก เราก็ไม่ออก พอผ่านวิกฤตบริษัทฯ เติบโต เราก็โตมาแบบกลายเป็นคนทำงานรุ่นเก่าในยุคบุกเบิกที่ยังเหลืออยู่ไม่กี่คน
วันนี้ถึงวิกฤตโควิด กลายเป็นว่าต่อให้บริษัทล้ม เราก็ไม่เจ็บตัวหรืออดตาย เพราะเก็บไว้จนพอเหลือ มีที่ทางปลูกต้นไม้ มีลู่ทางทำกิน มีเงินเก็บสะสม ปลูกกล้วยปลูกอ้อย เลี้ยงไก่กินไข่ แต่ก็ไม่เคยลืมว่ามีวันนี้เพราะองค์กร
...มนุษย์เงินเดือน จำเป็นต้องรักองค์กรมั้ย...อยากให้ลองหลับตานึกว่าถ้าเราไม่ใช่มนุษย์เงินเดือน ถ้าเราเป็นเจ้าของกิจการ เราจะรักกิจการของเรามั้ย นั่นแหละครับ...มนุษย์เงินเดือนทุกคนก็เป็นเจ้าของกิจการนั่นแหละครับ เราขายความสามารถของเรา แล้วองค์กรก็เป็นลูกค้าที่ซื้อความสามารถของเรา โดยจ่ายเงินค่าความสามารถของเราเป็นเงินเดือน...มันก็ง่าย ๆ แบบนั้นแหละครับ...
ความคิดเห็นที่ 9
รักองค์กร ก็เหมือนกับเรา รักที่ที่เราอยู่ค่ะ เหมือนรักบ้าน รักโรงเรียน รักประเทศ รักโลก รักเพื่อนร่วมโลก
เราตีความแบบนี้ รักคืออยากพัฒนาให้ดี ให้เติบโต พัฒนา มีผลกำไร เอาเงินและเวลาของบริษัทไปช่วยสังคมได้ถ้าบริษัทมีศักยภาพ มาเพิ่มสวัสดีการพนักงาน มีการจ้างงานมากขึ้น เปิดรับเด็กฝึกงาน ทำให้ที่ทำงานมีคุณค่ากับชุมชน
ตัวเราเองทำเพื่อเงินก็ใช่ แต่เราก็อยากมีความภูมิใจ ที่ได้มีส่วนทำเพื่อตัวเอง เพื่อครอบครัว และสังคมในเวลาเดียวกัน…มันฟังดูสวยหรูก็จริง แต่มันเป็นทัศนคติที่บางคนมีได้จริงกับที่ทำงานของเค้าค่ะ
เราตีความแบบนี้ รักคืออยากพัฒนาให้ดี ให้เติบโต พัฒนา มีผลกำไร เอาเงินและเวลาของบริษัทไปช่วยสังคมได้ถ้าบริษัทมีศักยภาพ มาเพิ่มสวัสดีการพนักงาน มีการจ้างงานมากขึ้น เปิดรับเด็กฝึกงาน ทำให้ที่ทำงานมีคุณค่ากับชุมชน
ตัวเราเองทำเพื่อเงินก็ใช่ แต่เราก็อยากมีความภูมิใจ ที่ได้มีส่วนทำเพื่อตัวเอง เพื่อครอบครัว และสังคมในเวลาเดียวกัน…มันฟังดูสวยหรูก็จริง แต่มันเป็นทัศนคติที่บางคนมีได้จริงกับที่ทำงานของเค้าค่ะ
ความคิดเห็นที่ 3
พนักงานในองค์กรไม่จำเป็นต้องรักองค์กรครับ
ควรใช้คำว่า "ซื่อสัตย์กับองค์กร" มากกว่าคำว่า "รักองค์กร" เพราะการที่จะรักสิ่งใดสิ่งหนึ่งมันต้องมีทั้งความผูกพัน ทั้งความสุข ความทุกข์ และเวลาที่อยู่ร่วมกันมาไม่ได้เกิดขึ้นแค่ วันสองวัน หรือเดือนสองเดือน แต่คำว่าซื่อสัตย์ จะเหมาะสมกว่ามาก เพราะเขาจ่ายเงินให้เรา เราก็ต้องคืนด้วยความซื่อสัตย์ ตั้งใจทำงาน รักษาผลประโยชน์ ปฏิบัติตามกฎ ขององค์กรนั้นๆ ซึ่งต้องทำทันทีเมื่อเป็นพนักงานขององค์กรนั้นๆ เห็นไหม เรื่องเวลาที่เข้ามาไม่เกี่ยวข้องกันเลย
ดังนั้นผู้บริหารคนใดคนหนึ่ง พูดว่า ให้รักองค์กร ผมจะดูว่าเขาอยู่นานแค่ไหน ถ้าเพิ่งเข้า ผมก็คงเดาได้ว่าเขาก็พูดตามแพทเทิร์นตามๆกัน แต่ถ้าอยู่มานาน ตำแหน่งเติบโตมาเรื่อยๆกับองค์กรนั้นๆ ก็คงอนุมานได้ว่า สิ่งที่เขาพูดมาจริง ก็คงฟังเขาพูดคำต่อๆมา
ควรใช้คำว่า "ซื่อสัตย์กับองค์กร" มากกว่าคำว่า "รักองค์กร" เพราะการที่จะรักสิ่งใดสิ่งหนึ่งมันต้องมีทั้งความผูกพัน ทั้งความสุข ความทุกข์ และเวลาที่อยู่ร่วมกันมาไม่ได้เกิดขึ้นแค่ วันสองวัน หรือเดือนสองเดือน แต่คำว่าซื่อสัตย์ จะเหมาะสมกว่ามาก เพราะเขาจ่ายเงินให้เรา เราก็ต้องคืนด้วยความซื่อสัตย์ ตั้งใจทำงาน รักษาผลประโยชน์ ปฏิบัติตามกฎ ขององค์กรนั้นๆ ซึ่งต้องทำทันทีเมื่อเป็นพนักงานขององค์กรนั้นๆ เห็นไหม เรื่องเวลาที่เข้ามาไม่เกี่ยวข้องกันเลย
ดังนั้นผู้บริหารคนใดคนหนึ่ง พูดว่า ให้รักองค์กร ผมจะดูว่าเขาอยู่นานแค่ไหน ถ้าเพิ่งเข้า ผมก็คงเดาได้ว่าเขาก็พูดตามแพทเทิร์นตามๆกัน แต่ถ้าอยู่มานาน ตำแหน่งเติบโตมาเรื่อยๆกับองค์กรนั้นๆ ก็คงอนุมานได้ว่า สิ่งที่เขาพูดมาจริง ก็คงฟังเขาพูดคำต่อๆมา
แสดงความคิดเห็น
มนุษย์เงินเดือน จำเป็นต้องรักองค์กร??
อย่างไรก็ตามแล้วถ้าองค์กรนั้นไม่รักในตัวพนักงาน ลูกจ้าง ไม่ใส่ใจ ไม่เห็นค่าหรือให้ความสำคัญแม้แต่ที่จะให้โอกาสเติบโตก้าวหน้า สวัสดิการที่ดี
รวมถึงการจ่ายค่าตอบแทนที่โอเค ฉะนั้น จำเป็นหรือครับ....ที่ต้องปลูกฝังพยามให้รักองค์กร
รึในมุมมองอาจเห็นเป็นแค่ฟันเฟืองที่สามารถหาใหม่มาทดแทนได้ ตามประโยคที่ได้ยินบ่อยๆนั้นรึป่าว...
หลักๆเลยคิดว่าทำงานเพื่อแลกเงินแค่นั้น ถ้าจะให้รัก หรือการ respect คิดว่าขอเน้นไปที่ตัวบุคคลคงดีกว่า