( " Elizabeth Ann " เป็นสัตว์ในอเมริกาเหนือที่ใกล้สูญพันธุ์ชนิดแรกที่ถูกโคลน)
เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2021 ต้นปีที่ผ่านมา เว็บไซต์ Ladbible ได้มีรายงานจากสำนักงานประมงและสัตว์ป่าแห่งสหรัฐอเมริกา (The U.S. Fish & Wildlife Service หรือ USFWS) เปิดตัวสัตว์โลกตัวจิ๋วที่ชื่อว่า " Elizabeth Ann " เฟอเรตตีนดำสายพันธุ์หายาก ที่เกิดจากความความสำเร็จในการโคลนนิ่งครั้งสำคัญ โดยใช้เซลล์ที่เก็บรักษาไว้เป็นเวลานานจากตัวที่ตายแล้ว และถือเป็นครั้งแรกที่ทำโคลนนิ่งสำเร็จกับสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ในสหรัฐฯ
ความก้าวหน้าครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญของการอนุรักษ์เฟอร์เรตตีนดำ (Black-footed ferret) ซึ่งเป็นสัตว์ป่าพื้นเมืองชนิดเดียวในอเมริกาเหนือ สายพันธุ์นี้เคยถูกสำรวจพบในพื้นที่กว้างใหญ่ของอเมริกาตะวันตก แต่ในทศวรรษ 1970 พวกมันมีจำนวนลดน้อยลง เมื่อเกษตรกรและเจ้าของฟาร์มกำจัดอาหารหลักของพวกมันคือ แพร์รี่ด็อก พวกเขาคิดว่ามันสูญพันธุ์ไปแล้ว จนกระทั่งในปี 1981 สุนัขเลี้ยงแกะชื่อ Shep ในฟาร์มปศุสัตว์นำนักวิทยาศาสตร์ไปยังครอบครัวของเฟร์เรต 18 ตัวในไวโอมิง
เฟอเรตตีนดำ หรือ Black-footed ferret นั้น นอกจากจะมีสีดำโดดเด่นที่เท้าและปลายหาง อีกจุดสำคัญคือที่ใบหน้า บริเวณรอบตา จนบางครั้งถูกเรียกว่า เฟอเรตตาดำ (black-eyed ferret) เป็นฟอเรตสายพันธุ์พื้นเมืองในอเมริกาเหนือ และถูกจัดเป็นหนึ่งในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ใกล้สูญพันธุ์ที่สุดชนิดหนึ่งในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปอย่างรุนแรงและการคุกคามถิ่นที่อยู่อาศัย
นักวิทยาศาสตร์ Ben J. Novak จากสถาบันทางวิทยาศาสตร์ Revive and Restore
ได้เข้าเยี่ยม Elizabeth Ann ที่ศูนย์อนุรักษ์เฟอร์เรตตีนดำ เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2020 ซึ่งในภาพ มันมีอายุได้สามสัปดาห์
ภาพถ่าย COURTESY REVIVE & RESTORE
Pete Gober ผู้ประสานงานโครงการฟื้นฟูประชากรเฟอร์เรตตีนดำให้ข้อมูลว่า เฟอร์เรตที่รอดชีวิตเหล่านั้นกลายมาเป็นพ่อแม่พันธุ์ในโครงการผสมพันธุ์
ในกรงเลี้ยง ซึ่งบริหารจัดการโดยหน่วยบริการสัตว์ป่าและการประมงสหรัฐฯ ในรัฐโคโลราโด ซึ่งสัตว์ใกล้สูญพันธุ์เหล่านี้ถูกกระจายไปยังพื้นเพาะเลี้ยงในทุ่งหญ้า 8 แห่งทั่วรัฐ แต่มีเฟอร์เรตจาก 7 สถานที่เพาะเลี้ยงที่ผสมพันธุ์กัน ทำให้ประชากรที่มีชีวิตอยู่เป็นเครือญาติใกล้ชิดกันทั้งหมด ปัจจุบัน มีเฟอร์เรตตีนดำในธรรมชาติประมาณ 400 – 500 ตัว
สำหรับ Elizabeth Ann เกิดเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2020 ที่ศูนย์อนุรักษ์เฟอร์เรตตีนดำในรัฐโคโลราโด (ชื่อนี้ไม่ได้ถูกเลือกด้วยเหตุผลเฉพาะใด ๆ แต่เป็นหนึ่งในรายการชื่อสัตว์ของศูนย์อนุรักษ์เฟอร์เรตตีนดำ ที่รวบรวมไว้เพื่อตั้งชื่อสัตว์หลายชนิดที่เกิดที่นั่น) ผ่านกระบวนการโคลนนิ่งโดยสารพันธุกรรมแช่แข็งจากตัวอย่างเซลล์ผิวหนังของ " Willa " ที่ตายไปแล้วในปี 1988 (ประมาณกว่า 30 ปีก่อน) จากสวนสัตว์ Frozen Zoo
สวนสัตว์ Frozen Zoo ของ San Diego Zoo oyho เป็นคลังเก็บสารพันธุกรรมที่เก็บรักษาด้วยความเย็นจากสัตว์หลายร้อยชนิด และชนิดย่อย เมื่อครั้งที่นักพันธุศาสตร์ Kurt Benirschke ผู้ก่อตั้งสวนสัตว์ในปี 1975 เทคโนโลยีการโคลนนิ่งยังเพิ่งเริ่มต้น แต่ Benirschke ก็คิดว่าการเก็บเซลล์จากสัตว์ไว้สักวันหนึ่งอาจเป็นประโยชน์
Elizabeth Ann โคลนสปีชีส์ที่ใกล้สูญพันธุ์ตัวแรกของสหรัฐฯเมื่ออายุ 50 วัน
Cr.ภาพ: USFWS National Black-footed Ferret Conservation Center
จากการสืบเชื้อสายเดียวกันของเฟอร์เรตตีนดำดังกล่าว จะทำให้พวกมันมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคทางพันธุกรรม ความผิดปกติ และขนาดครอบครัวที่เล็กลง และตัวต้นแบบ Willa ที่ตายไปนานแล้วนี้ มีรูปแบบทางพันธุกรรมที่ไม่ซ้ำกันมากกว่าประชากรเฟอร์เรตตีนดำที่มีชีวิตอยู่ตอนนี้ถึงสามเท่า ซึ่งมีความแตกต่างกันทางพันธุกรรมมากพอจะช่วยเพิ่มความหลากหลายทางพันธุกรรม และความยืดหยุ่นของโรคได้
หมายความว่า Elizabeth Ann จะช่วยกระจายความหลากหลายทางพันธุกรรม โดยเชื่อว่าจะทำให้ความไวต่อโรคและความผิดปกติทางพันธุกรรมน้อยลง
จากการนำดีเอ็นเอ "ใหม่" มาใช้ในประชากรเฟอร์เรตตีนดำที่มีอยู่ และเนื่องจาก Willa ไม่มีลูกหลานที่มีชีวิต ดังนั้น DNA ของเธอจึงไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มยีนในปัจจุบัน
นักวิทยาศาสตร์ Ben J. Novak จากสถาบันทางวิทยาศาสตร์ Revive and Restore ระบุว่า จนถึงขณะนี้ การวิเคราะห์สุขภาพในด้านต่างๆ แสดงให้เห็นว่าเฟอร์เรตน้อยมีสุขภาพดี และจะได้รับการเลี้ยงดูต่อไป นักวิทยาศาสตร์หวังว่ามันจะผสมพันธุ์ได้ในที่สุด หากทุกอย่างเป็นไปด้วยดี ประชากรรุ่นต่อไปที่เกิดจาก Elizabeth Ann อาจได้รับการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติในปี 2024 หรือ 2025
การโคลนนิ่งนั้น ถูกนำมาใช้ในการเกษตรเพื่อให้เกษตรกรมีสำเนาของสัตว์ที่ดีที่สุดในฝูง ซึ่งจะถูกใช้เป็นสัตว์ผสมพันธุ์ แม้ว่าในอดีตกระบวนการนี้จะไม่มีประสิทธิภาพเต็มที่ และตัวอ่อนสัตว์ที่ถูกโคลนส่วนใหญ่ไม่เคยพัฒนาขึ้นเป็นสัตว์ที่มีสุขภาพดี อย่างเช่น ในปี 1996 ต้องใช้ความพยายามถึง 277 ครั้งในการโคลนแกะ Dolly ซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมตัวแรก
จากนั้น ในปี 2003 นักวิทยาศาสตร์จากสวนสัตว์ซานดิเอโก ได้โคลนลูกวัว Bantengs หรือวัวบาหลี ( Bos javanicus ) 2 ตัว ซึ่งเป็นวัวที่ใกล้สูญพันธุ์ที่มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งต้องกำจัดลูกวัวตัวหนึ่งออกไป เนื่องจากมีขนาดใหญ่ผิดปกติจากผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยของสัตว์ที่ถูกโคลน
โปรแกรมการกู้คืนทั้งหมดได้รับการสนับสนุนโดยศูนย์อนุรักษ์เฟอร์เร็ตแห่งชาติของ US Fish and Wildlife Service (บริการ) ทางตอนเหนือของโคโลราโด สถาบันชีววิทยาการอนุรักษ์สมิธโซเนียนของสวนสัตว์แห่งชาติ รวมถึงสถาบันสัตววิทยาใน Colorado Springs, Phoenix, Louisville และ Toronto ที่ทำงานร่วมกันเพื่อโคลนเฟอร์เรตตีนดำ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการอนุรักษ์สัตว์ใกล้สูญพันธุ์ โดยผลงานของทีมงานได้รับการบันทึกไว้ในเว็บไซต์ US Fish and Wildlife Service
Noren Walsh ผู้อำนวยการ USFWS หน่วย Mountain-Prairie Region กล่าวว่า แม้ว่าการโคลนนิ่งทางพันธุกรรมของสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ดังกล่าวนี้จะประสบความสำเร็จ และมีการคาดหวังว่าจะช่วยเพิ่มจำนวนประชากรของมันได้ แต่ไม่ได้หมายความว่า การจัดการกับภัยคุกคามของพวกมันในธรรมชาติจะถูกลดความสำคัญน้อยลง เพราะเป้าหมายสำคัญคือ ต้องการรักษาและพื้นฟูสายพันธุ์พวกมันให้ยืนยาวต่อไป และอย่างน้อย การโคลนก็สามารถช่วยให้ประชากรเฟอร์เรตตีนดำฟื้นตัว และอาจใช้เพื่อช่วยชีวิตสัตว์อื่น ๆ ให้พ้นจากการสูญพันธุ์
ร่างโคลนของของแกะ Dolly ซึ่งเสียชีวิตเมื่ออายุได้ 6 ปี
Banteng ซึ่งเป็นพันธุ์วัวที่ใกล้สูญพันธุ์จากชวา
ถูกโคลนในแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา ซึ่งมันอาศัยอยู่เป็นเวลา 7 ปี
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)
ความสำเร็จครั้งแรกในการโคลน " Elizabeth Ann " สัตว์ใกล้สูญพันธุ์ในอเมริกาเหนือ
เฟอเรตตีนดำ หรือ Black-footed ferret นั้น นอกจากจะมีสีดำโดดเด่นที่เท้าและปลายหาง อีกจุดสำคัญคือที่ใบหน้า บริเวณรอบตา จนบางครั้งถูกเรียกว่า เฟอเรตตาดำ (black-eyed ferret) เป็นฟอเรตสายพันธุ์พื้นเมืองในอเมริกาเหนือ และถูกจัดเป็นหนึ่งในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ใกล้สูญพันธุ์ที่สุดชนิดหนึ่งในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปอย่างรุนแรงและการคุกคามถิ่นที่อยู่อาศัย
ภาพถ่าย COURTESY REVIVE & RESTORE
ในกรงเลี้ยง ซึ่งบริหารจัดการโดยหน่วยบริการสัตว์ป่าและการประมงสหรัฐฯ ในรัฐโคโลราโด ซึ่งสัตว์ใกล้สูญพันธุ์เหล่านี้ถูกกระจายไปยังพื้นเพาะเลี้ยงในทุ่งหญ้า 8 แห่งทั่วรัฐ แต่มีเฟอร์เรตจาก 7 สถานที่เพาะเลี้ยงที่ผสมพันธุ์กัน ทำให้ประชากรที่มีชีวิตอยู่เป็นเครือญาติใกล้ชิดกันทั้งหมด ปัจจุบัน มีเฟอร์เรตตีนดำในธรรมชาติประมาณ 400 – 500 ตัว
สำหรับ Elizabeth Ann เกิดเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2020 ที่ศูนย์อนุรักษ์เฟอร์เรตตีนดำในรัฐโคโลราโด (ชื่อนี้ไม่ได้ถูกเลือกด้วยเหตุผลเฉพาะใด ๆ แต่เป็นหนึ่งในรายการชื่อสัตว์ของศูนย์อนุรักษ์เฟอร์เรตตีนดำ ที่รวบรวมไว้เพื่อตั้งชื่อสัตว์หลายชนิดที่เกิดที่นั่น) ผ่านกระบวนการโคลนนิ่งโดยสารพันธุกรรมแช่แข็งจากตัวอย่างเซลล์ผิวหนังของ " Willa " ที่ตายไปแล้วในปี 1988 (ประมาณกว่า 30 ปีก่อน) จากสวนสัตว์ Frozen Zoo
สวนสัตว์ Frozen Zoo ของ San Diego Zoo oyho เป็นคลังเก็บสารพันธุกรรมที่เก็บรักษาด้วยความเย็นจากสัตว์หลายร้อยชนิด และชนิดย่อย เมื่อครั้งที่นักพันธุศาสตร์ Kurt Benirschke ผู้ก่อตั้งสวนสัตว์ในปี 1975 เทคโนโลยีการโคลนนิ่งยังเพิ่งเริ่มต้น แต่ Benirschke ก็คิดว่าการเก็บเซลล์จากสัตว์ไว้สักวันหนึ่งอาจเป็นประโยชน์
หมายความว่า Elizabeth Ann จะช่วยกระจายความหลากหลายทางพันธุกรรม โดยเชื่อว่าจะทำให้ความไวต่อโรคและความผิดปกติทางพันธุกรรมน้อยลง
จากการนำดีเอ็นเอ "ใหม่" มาใช้ในประชากรเฟอร์เรตตีนดำที่มีอยู่ และเนื่องจาก Willa ไม่มีลูกหลานที่มีชีวิต ดังนั้น DNA ของเธอจึงไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มยีนในปัจจุบัน
นักวิทยาศาสตร์ Ben J. Novak จากสถาบันทางวิทยาศาสตร์ Revive and Restore ระบุว่า จนถึงขณะนี้ การวิเคราะห์สุขภาพในด้านต่างๆ แสดงให้เห็นว่าเฟอร์เรตน้อยมีสุขภาพดี และจะได้รับการเลี้ยงดูต่อไป นักวิทยาศาสตร์หวังว่ามันจะผสมพันธุ์ได้ในที่สุด หากทุกอย่างเป็นไปด้วยดี ประชากรรุ่นต่อไปที่เกิดจาก Elizabeth Ann อาจได้รับการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติในปี 2024 หรือ 2025
จากนั้น ในปี 2003 นักวิทยาศาสตร์จากสวนสัตว์ซานดิเอโก ได้โคลนลูกวัว Bantengs หรือวัวบาหลี ( Bos javanicus ) 2 ตัว ซึ่งเป็นวัวที่ใกล้สูญพันธุ์ที่มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งต้องกำจัดลูกวัวตัวหนึ่งออกไป เนื่องจากมีขนาดใหญ่ผิดปกติจากผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยของสัตว์ที่ถูกโคลน
โปรแกรมการกู้คืนทั้งหมดได้รับการสนับสนุนโดยศูนย์อนุรักษ์เฟอร์เร็ตแห่งชาติของ US Fish and Wildlife Service (บริการ) ทางตอนเหนือของโคโลราโด สถาบันชีววิทยาการอนุรักษ์สมิธโซเนียนของสวนสัตว์แห่งชาติ รวมถึงสถาบันสัตววิทยาใน Colorado Springs, Phoenix, Louisville และ Toronto ที่ทำงานร่วมกันเพื่อโคลนเฟอร์เรตตีนดำ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการอนุรักษ์สัตว์ใกล้สูญพันธุ์ โดยผลงานของทีมงานได้รับการบันทึกไว้ในเว็บไซต์ US Fish and Wildlife Service
Noren Walsh ผู้อำนวยการ USFWS หน่วย Mountain-Prairie Region กล่าวว่า แม้ว่าการโคลนนิ่งทางพันธุกรรมของสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ดังกล่าวนี้จะประสบความสำเร็จ และมีการคาดหวังว่าจะช่วยเพิ่มจำนวนประชากรของมันได้ แต่ไม่ได้หมายความว่า การจัดการกับภัยคุกคามของพวกมันในธรรมชาติจะถูกลดความสำคัญน้อยลง เพราะเป้าหมายสำคัญคือ ต้องการรักษาและพื้นฟูสายพันธุ์พวกมันให้ยืนยาวต่อไป และอย่างน้อย การโคลนก็สามารถช่วยให้ประชากรเฟอร์เรตตีนดำฟื้นตัว และอาจใช้เพื่อช่วยชีวิตสัตว์อื่น ๆ ให้พ้นจากการสูญพันธุ์