แพะภูเขา “ซีเลีย”
30 กรกฎาคม ปี 2003 ทีมนักวิทยาศาสตร์สเปนและฝรั่งเศส ย้อนเวลาหาอดีตด้วยการคืนชีวิตให้สัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้วตัวหนึ่ง เพียงเพื่อเฝ้าดูมันสูญพันธุ์ไปอีกครั้ง สัตว์ที่พวกเขาคืนชีพให้คือแพะป่าชนิดหนึ่งที่เรียกว่า บูคาร์โด (Capra pyrenaica pyrenaica) หรือไอเบกซ์พันธุ์พิเรนีส (Pyrenean ibex) บูคาร์โดเป็นสัตว์รูปร่างใหญ่โต สง่างาม น้ำหนักตัวอาจมากถึง 99 กิโลกรัม และมีเขาโง้งยาวอ่อนช้อย เป็นเวลาหลายพันปีมาแล้วที่พวกมันอาศับนที่สูงของเทือกเขาพีเรนีส ซึ่งเป็นเป็นแนวพรมแดนธรรมชาติระหว่างฝรั่งเศสกับสเปน นักล่าทำให้ประชากรบูคาร์โดลดจำนวนลงตลอดหลายร้อยปี
ปี 1989 นักวิทยาศาสตร์ชาวสเปนสำรวจและสรุปว่า มีแพะภูเขาหลงเหลืออยู่เพียงสิบกว่าตัว สิบปีให้หลังบูคาร์โดเหลืออยู่เพียงตัวเดียวเป็นเพศเมียที่ได้ชื่อเล่นว่า “ซีเลีย” ทีมเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติออร์เดซาและมอนเตเปร์ดีโดภายใต้การนำของนายสัตวแพทย์ อัลแบร์โต เฟร์นันเดซ-อาเรียส ดักจับซีเลีย ใส่ปลอกคอวิทยุและปล่อยกลับเข้าป่า เก้าเดือนต่อมาซีเลียก็ตายพร้อมๆ กับที่บูคาร์โดได้สถานะสัตว์ที่สูญพันธุ์อย่างเป็นทางการ
แต่เซลล์ของซีเลียยังมีชีวิตอยู่ต่อไปโดยเก็บรักษาไว้ที่ห้องปฏิบัติการหลายแห่งในเมืองซาราโกซาและกรุงมาดริด สองสามปีต่อมา ทีมนักสรีรวิทยาระบบสืบพันธุ์นำโดยโคเซ โฟลช์ ฉีดนิวเคลียสที่ได้จากเซลล์เหล่านั้นเข้าสู่ไข่ของแพะที่สกัดดีเอ็นเอออกหมด แล้วนำไข่ไปฝังในตัวแม่แพะอุ้มบุญ
หลังจากฝังไข่ทั้งสิ้น 57 ครั้ง มีแพะเพียงเจ็ดตัวเท่านั้นที่ตั้งท้อง ในจำนวนนี้หกตัวแท้งลูก แต่แม่แพะตัวหนึ่งซึ่งเป็นลูกผสมระหว่างไอเบกซ์สเปนกับแพะบ้านตั้งท้องตัวโคลนของซีเลียจนครบกำหนดคลอด โฟลช์และเพื่อนร่วมงานผ่าตัดทำคลอดให้ลูกแพะภูเขาเพศเมียน้ำหนัก 2 กิโลกรัม
ขณะที่เฟร์นันเดซ-อาเรียสอุ้มบูคาร์โดแรกเกิดไว้ในอ้อมแขน เขาสังเกตว่ามันกระ
กระสนดิ้นรนหายใจจนลิ้นจุกปาก แม้จะพยายามทุกวิธีทางเพื่อช่วยให้มันหายใจแต่อีกเพียง 10 นาทีต่อมาโคลนของซีเลียก็ขาดใจตาย การผ่าพิสูจน์ในเวลาต่อมาเผยว่า ปอดข้างหนึ่งของมันมีกลีบปอดส่วนเกินขนาดใหญ่งอกออกมาและมีลักษณะแข็งเหมือนตับ โดยไม่มีเซลล์ที่ช่วยในการแลกเปลี่ยนก๊าซอย่างที่เนื้อเยื่อปอดควรจะมี อาจกล่าวได้ว่าตัวโคลนของซีเลียเข้าใกล้ความจริงของการชุบชีวิตสัตว์สูญพันธุ์มากที่สุด
เรื่อง คาร์ล ซิมเมอร์ ภาพถ่าย รอบบ์ เคนดริก
ข้อมูลจากนิตยสารเนชั่นแนลจีโอกราฟฟิก ฉบับภาษาไทย
http://www.ngthai.com/Index.aspx
Cr.
https://www.thairath.co.th/lifestyle/travel/340496
แมมมอธ "ลิวบา"
“ลิวบา” (Lyuba) คือซากแมมมอธที่มีสภาพสมบูรณ์ (Mammuthus primigenius) อายุประมาณ 2-3 เดือนก่อนเสียชีวิต บริเวณคาบสมุทรยามัลของรัสเซีย อยู่ในน้ำแข็งนาน 42,000 ปี
เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 เว็บไซต์เดลี่เมลของอังกฤษรายงานว่า มีกระแสการปลุกโครงการโคลนนิ่งลูกช้างแมมมอธให้มีชีวิตขึ้น หลังจากซากของลูกช้างแมมมอธซึ่งอยู่ในสภาพสมบูรณ์ ถูกค้นพบในเดือนพฤษภาคม 2007
Lyuba ลูกช้างแมมมอธจากยุคน้ำแข็งสมัยไพลสโตซีน อายุราว 42,000 พันปึ ถูกค้นพบโดยบังเอิญจากคนเลี้ยงสุนัขลากเลื่อนชาวไซบีเรีย ที่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของไซบีเรียที่แสนหนาวเหน็บ ผ่าอุปสรรคหลายด่านจนกระทั่งมันได้มาอยู่ในครอบครองของพิพิธภัณฑ์เชมานอฟสกี้ ที่เมืองซาเลกการ์ด ของเขตปกครองตนเองโอครุก แห่งรัสเซีย
นอกจากอวัยวะภายนอกอยู่ในสภาพเดิมแทบทุกประการ (ยกเว้นขนเท่านั้นที่ผุเปื่อยไปหมดแล้ว) อวัยวะภายในก็ยังคงถูกถนอมไว้เป็นอย่างดีไว้ด้วยจุลินทรีย์ในแอ่งโคลนที่มันจมลงไป และกลายเป็นผืนน้ำแข็งยักษ์ในเวลาต่อมา ซึ่งช่วยแช่แข็งรักษาสภาพซากได้อย่างยอดเยี่ยม ความสมบูรณ์ของลิวบาทำให้เกิดกระแสที่นักวิทยาศาสตร์ต้องการทดลองโคลนนิ่งมันขึ้นมาอีกครั้ง
การทดลองโคลนนิ่งลูกช้างแมมมอธจะต้องใช้แม่ช้างเอเชียสำหรับฝากตัวอ่อน เพราะมีความใกล้เคียงของสายพันธุ์กับแมมมอธมากที่สุด อย่างไรก็ดีการทดลองนี้ยังติดขัดอยู่ที่หลายแห่ง ทั้งเรื่องความซับซ้อนในกระบวนการ และประเด็นเรื่องจริยธรรม
แต่หลังจากที่เวลาผ่านไปเกือบ 8 ปี ในที่สุดเหล่านักวิทยาศาสตร์ก็ได้ออกมารายงานความคืบหน้าของการทดลองที่พวกเขาทำ โดยเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2019 ที่ผ่านมาเหล่านักวิทยาศาสตร์ก็ได้ออกมารายงานการ “คืนชีพ” ของเซลล์แมมมอธ หลังจากที่มีการปลูกถ่ายลงไปในไข่ของหนู
เป็นการทดลองที่จัดทำขึ้นโดยการนำนิวเคลียสที่มีความสมบูรณ์ค่อนข้างสูงของช้างแมมมอธสายพันธุ์ “Mammuthus primigenius” ไปปลูกถ่ายไว้ในไข่ของหนูทดลองเพื่อสังเกตความเปลี่ยนแปลงของเซลล์ดังกล่าว พบว่าการกระทำนี้จะทำให้โครโมโซมของช้างแมมมอธเกิดการปฏิกิริยาขึ้น และมีร่องรอยของการเริ่มต้นกระบวนการแบ่งตัวให้เห็น ซึ่งเป็นหลักฐานอย่างดีว่าแม้เวลาจะผ่านไปกว่า 28,000 ปี เซลล์ก็ยังมีโอกาสที่จะกลับมาทำงานได้อีกครั้ง
น่าเสียดายกระบวนการแบ่งตัวของเซลล์ช้างแมมมอธในไข่หนูกลับหยุดการทำงานลงกลางคันก่อนที่จะมีการแบ่งตัวเกิดขึ้นจริงๆ ซึ่งเป็นไปได้ว่ามีสาเหตุมาจากความเสียหายของเซลล์ที่นำมาใช้ ทีมนักวิทยาศาสตร์บอกว่าผลการทดลองที่ออกมานั้นทำให้พวกเขามั่นใจว่าเทคโนโลยีในปัจจุบันยังไม่มีความก้าวหน้ามากพอที่จะโคลนนิ่งช้างแมมมอธได้
ที่มา livescience, foxnews และ allthatsinteresting
Cr.
https://hilight.kapook.com/view/102612
Cr.
https://www.catdumb.com/woolly-mammoth-cells-revive-378/ By เหมียวศรัทธา
คืนชีพวัว auroch
ไม่มีใครรู้ชัดว่า มนุษย์เริ่มเลี้ยงวัวตั้งแต่เมื่อใด ภาพวาดวัวในยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่ปรากฏอยู่บนผนังถ้ำ Lascaux ในฝรั่งเศสเป็นภาพของฝูงวัวป่าพันธุ์ auroch การวัดอายุของสีที่ศิลปินถ้ำใช้ในการวาดภาพแสดงให้เห็นว่า ในอดีตเมื่อประมาณ 17,000 ปีก่อน จิตรกรถ้ำคงได้เห็นฝูงวัว auroch จำนวนมากอาศัยอยู่ในป่าเอเชียกลาง และยุโรป จึงได้ล่าตัวมาฆ่า เพื่อบริโภคเนื้อ และนม ส่วนหนังได้ถูกนำไปทำเครื่องนุ่งห่ม
ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 13 ชาวนาในฟาร์มแถบยุโรปตะวันออกยังมีการเลี้ยงวัว auroch อยู่บ้าง แต่จำนวนวัวได้ลดลงไปมากแล้ว เพราะถูกล่าและฆ่าโดยขุนนางชั้นสูง แม่ทัพทหาร และกษัตริย์เพื่อความบันเทิงและสนุกสนาน จนถึงปี 1627 วัว auroch ตัวสุดท้ายของโลกก็จบชีวิตลงในโปแลนด์
จนกระทั่งปี 1920 นักชีววิทยาชาวเยอรมันหลายคนจาก Berlin และ Munich ได้คิดจะคืนชีพวัว auroch อย่างจริงจังจึงนำวัวสายพันธุ์ต่างๆ ที่มีในเยอรมนี ฝรั่งเศส สเปน มาผสมพันธุ์กัน เพื่อให้ได้วัวที่มีรูปร่างคล้าย auroch มากที่สุด เพราะรู้ว่ายีน (gene) ของ auroch ยังมีหลงเหลืออยู่บ้างในวัวปัจจุบันบางสายพันธุ์
จากข้อมูลลักษณะบางประการของ auroch ที่มีในบันทึกของนักชีววิทยาว่า วัวพันธุ์นี้มีรูปร่างแข็งแรง นิสัยดุร้าย ลีลาท่าเดินสง่า ขายาว และสูงตั้งแต่ 1.55-1.8 เมตร ในการวัดจากกีบเท้าถึงไหล่ น้ำหนักตัวประมาณ 1 ตัน มีเขาโค้งที่ยาวประมาณ 130 เซนติเมตร และฐานเขามีความกว้างประมาณ 20 เซนติเมตร เขามีสีน้ำตาลอ่อน และปลายเขามีสีดำ กะโหลกมีขนาดใหญ่ หน้าผากมีขนยาวและหยิก ขนตามตัวเป็นสีน้ำตาลเข้ม จนถ้าดูเผินๆ จะดูดำ บริเวณหลังมีขนยาว และขนที่บริเวณปากมีสีน้ำตาลอ่อน
แม้ว่า auroch จะสูญพันธุ์ไปตั้งแต่เมื่อ 400 ปีก่อนก็ตาม แต่นักชีววิทยาปัจจุบันก็กำลังพยายามสร้าง auroch ขึ้นมาใหม่ โดยใช้เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมศาสตร์
ความพยายามจะคืนชีพ auroch อย่างเป็นทางการได้เริ่มในปี 1991 ที่ห้องปฏิบัติการเมือง Bad Sassendorf ในเยอรมนี โครเอเชีย โปรตุเกส สเปน และโรมาเนีย โดยนักชีววิทยาได้นำวัวพันธุ์ Chianina ของอิตาลี ซึ่งเป็นวัวที่สูงที่สุดในโลกมาผสมกับวัวพันธุ์ Sayaguesa ของสเปน ซึ่งมีกะโหลกศีรษะยาว และขนที่ปากมีสีขาว แต่ต้องใช้เวลาอีก 2-3 ปีจึงจะรู้ผลว่า ลูกวัวที่ได้มีรูปลักษณ์ตามที่ต้องการหรือไม่
(ภาพวาดวัว ออรอช วัวป่าขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งที่เคยอาศัยในยุโรปและสูญพันธุ์ไปแล้วเกือบ 400 ปี) (ภาพจาก en.academic.ru)
ด้านนักพันธุศาสตร์สัตว์แห่งมหาวิทยาลัย Wageningen ได้ถอดรหัสพันธุกรรมของวัวพันธุ์ต่างๆ และได้เปรียบเทียบ nucleotide polymorphism ซึ่งเป็น genetic marker ใน genome ของวัว auroch ที่ตายไปแล้วผลปรากฏว่า วัวอิตาเลียนพันธุ์ Maremmana และวัวสเปนพันธุ์ Sayaguesa มีรหัสพันธุกรรมใกล้เคียงกับวัว auroch มากที่สุด
โครงการนี้ได้วางแผนนำ genome ของวัวพันธุ์ต่างๆ มาสร้างวัวที่มีรูปลักษณ์ใกล้เคียงวัว auroch ให้มากที่สุดให้ได้ภายในเวลาอีก 10 ปี เพราะเชื่อว่า ข้อมูลพันธุศาสตร์จะชี้นำนักผสมพันธุ์วัวให้ประสบความสำเร็จ คือบรรลุเป้าหมาย การที่ต้องใช้เวลานาน เพราะต้องคอยให้วัวเติบโตมีอายุพอสมควร จึงจะรู้ชัดว่า วัวที่ผสมพันธุ์ใหม่มี DNA ของวัว auroch หรือไม่
อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่ความพยายามครั้งแรกของนักวิทยาศาสตร์ที่ตั้งใจจะเพาะพันธุ์วัวออรอชที่สูญพันธุ์ไปแล้วให้เกิดขึ้นมาใหม่ โดยครั้งล่าสุดก่อนหน้านี้ ในสมัยนาซีปกครองเยอรมนีเมื่อช่วงต้นศตวรรษที่ 20 รัฐบาลนาซีมีคำสั่งให้นักสัตววิทยาในเยอรมนีพยายามเพาะพันธุ์วัวออรอชให้ได้
ผลจากความพยายามในครั้งนั้น ทำให้ได้วัวสายพันธุ์ "เฮค" (Heck cattle) เกิดขึ้น ซึ่งแม้จะมีลักษณะภายนอกใกล้เคียงกับวัวออรอช แต่ลักษณะทางพันธุกรรมแตกต่างกันอย่างมาก
ผู้เขียน สุทัศน์ ยกส้าน
Cr.
https://mgronline.com/science/detail/9600000030230
สร้างศูนย์วิจัยแบบในภาพยนตร์ Jurassic Park
เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2018 สื่อต่างประเทศหลายสำนัก ได้รายงานข่าวตรงกันว่า รัฐบาลรัฐเซียเตรียมสนับสนุนให้จัดตั้งศูนย์วิจัยสัตว์โบราณที่สูญพันธุ์ไปแล้ว ซึ่งมีลักษณะเดียวกันกับศูนย์วิจัยในภาพยนตร์ชื่อดังเรื่อง จูราสสิค พาร์ค (Jurassic Park) เพื่อทำการโคลนนิ่งสัตว์ดึกดำบรรพ์ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว โดยจะโคลนนิ่งช้างแมมมอธ ขึ้นมาก่อน เป็นแผนเริ่มต้น จากนั้นจึงจะทยอยโคลนนิ่งสัตว์สายพันธุ์อื่นต่อไป
รายงานระบุว่าศูนย์วิจัยแห่งนี้ จะมีที่ตั้งอยู่ที่เมืองยากุ๊ตสค์ ของประเทศรัสเซีย (แต่ยังไม่เปิดเผยตำแหน่งที่ชัดเจน) ซึ่งโครงการนี้ได้รับความร่วมมือกับนักวิทยาศาสตร์จากมูลนิธิวิจัยชีวเคมีของเกาหลีใต้ (SOOAM) มีงบการก่อสร้างอยู่ที่ 5.9 ล้านดอลลาร์ (ราว 193 ล้านบาท) โดยประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน มีแผนเปิดตัวศูนย์วิจัยแห่งนี้ในงานประชุมด้านการลงทุน ที่จะถูกจัดขึ้นในวันที่ 11 กันยายน 2018
“ไม่มีสถานที่ใดบนโลกเหมาะสมเท่ากับที่นี่อีกแล้ว สัตว์กว่า 80% ที่เราค้นพบใต้ผืนน้ำแข็งไซบีเรีย (เพอร์มาฟรอสต์) ยังมีดีเอ็นเอหลงเหลืออยู่ เช่น ช้างแมมมอธ สิงโตยูเรเชีย แรดขน” – ดร.เลน่า กริกรอรีเอวา หัวหน้าโครงการ กล่าว
โดยก่อนหน้านี้ ศาสตราจารย์ จอร์จ เชิร์ช จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้ร่วมมือกับทางรัสเซียและเกาหลีใต้ ในการพยายามที่จะคืนชีพช้างแมมมอธ ให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง โดยเขาเชื่อว่าจะทำสำเร็จภายในปี 2020 ซึ่งถ้าทำสำเร็จมันจะถูกเรียกว่า แมมโมแฟนต์ (Mammophant) มาจาก Mammoth + Elephant
Cr.ภาพ
https://65blogs.com/entertainment/how-much-does-jurassic-park-cost-in-real-world/
Cr.
https://www.flagfrog.com/russia-made-jurassic-park/ โดย ManoshFiz
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)
โคงการคืนชีพสัตว์ดึกดำบรรพ์ที่เริ่มไปแล้ว
30 กรกฎาคม ปี 2003 ทีมนักวิทยาศาสตร์สเปนและฝรั่งเศส ย้อนเวลาหาอดีตด้วยการคืนชีวิตให้สัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้วตัวหนึ่ง เพียงเพื่อเฝ้าดูมันสูญพันธุ์ไปอีกครั้ง สัตว์ที่พวกเขาคืนชีพให้คือแพะป่าชนิดหนึ่งที่เรียกว่า บูคาร์โด (Capra pyrenaica pyrenaica) หรือไอเบกซ์พันธุ์พิเรนีส (Pyrenean ibex) บูคาร์โดเป็นสัตว์รูปร่างใหญ่โต สง่างาม น้ำหนักตัวอาจมากถึง 99 กิโลกรัม และมีเขาโง้งยาวอ่อนช้อย เป็นเวลาหลายพันปีมาแล้วที่พวกมันอาศับนที่สูงของเทือกเขาพีเรนีส ซึ่งเป็นเป็นแนวพรมแดนธรรมชาติระหว่างฝรั่งเศสกับสเปน นักล่าทำให้ประชากรบูคาร์โดลดจำนวนลงตลอดหลายร้อยปี
ปี 1989 นักวิทยาศาสตร์ชาวสเปนสำรวจและสรุปว่า มีแพะภูเขาหลงเหลืออยู่เพียงสิบกว่าตัว สิบปีให้หลังบูคาร์โดเหลืออยู่เพียงตัวเดียวเป็นเพศเมียที่ได้ชื่อเล่นว่า “ซีเลีย” ทีมเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติออร์เดซาและมอนเตเปร์ดีโดภายใต้การนำของนายสัตวแพทย์ อัลแบร์โต เฟร์นันเดซ-อาเรียส ดักจับซีเลีย ใส่ปลอกคอวิทยุและปล่อยกลับเข้าป่า เก้าเดือนต่อมาซีเลียก็ตายพร้อมๆ กับที่บูคาร์โดได้สถานะสัตว์ที่สูญพันธุ์อย่างเป็นทางการ
แต่เซลล์ของซีเลียยังมีชีวิตอยู่ต่อไปโดยเก็บรักษาไว้ที่ห้องปฏิบัติการหลายแห่งในเมืองซาราโกซาและกรุงมาดริด สองสามปีต่อมา ทีมนักสรีรวิทยาระบบสืบพันธุ์นำโดยโคเซ โฟลช์ ฉีดนิวเคลียสที่ได้จากเซลล์เหล่านั้นเข้าสู่ไข่ของแพะที่สกัดดีเอ็นเอออกหมด แล้วนำไข่ไปฝังในตัวแม่แพะอุ้มบุญ
หลังจากฝังไข่ทั้งสิ้น 57 ครั้ง มีแพะเพียงเจ็ดตัวเท่านั้นที่ตั้งท้อง ในจำนวนนี้หกตัวแท้งลูก แต่แม่แพะตัวหนึ่งซึ่งเป็นลูกผสมระหว่างไอเบกซ์สเปนกับแพะบ้านตั้งท้องตัวโคลนของซีเลียจนครบกำหนดคลอด โฟลช์และเพื่อนร่วมงานผ่าตัดทำคลอดให้ลูกแพะภูเขาเพศเมียน้ำหนัก 2 กิโลกรัม
ขณะที่เฟร์นันเดซ-อาเรียสอุ้มบูคาร์โดแรกเกิดไว้ในอ้อมแขน เขาสังเกตว่ามันกระกระสนดิ้นรนหายใจจนลิ้นจุกปาก แม้จะพยายามทุกวิธีทางเพื่อช่วยให้มันหายใจแต่อีกเพียง 10 นาทีต่อมาโคลนของซีเลียก็ขาดใจตาย การผ่าพิสูจน์ในเวลาต่อมาเผยว่า ปอดข้างหนึ่งของมันมีกลีบปอดส่วนเกินขนาดใหญ่งอกออกมาและมีลักษณะแข็งเหมือนตับ โดยไม่มีเซลล์ที่ช่วยในการแลกเปลี่ยนก๊าซอย่างที่เนื้อเยื่อปอดควรจะมี อาจกล่าวได้ว่าตัวโคลนของซีเลียเข้าใกล้ความจริงของการชุบชีวิตสัตว์สูญพันธุ์มากที่สุด
เรื่อง คาร์ล ซิมเมอร์ ภาพถ่าย รอบบ์ เคนดริก
ข้อมูลจากนิตยสารเนชั่นแนลจีโอกราฟฟิก ฉบับภาษาไทย http://www.ngthai.com/Index.aspx
Cr.https://www.thairath.co.th/lifestyle/travel/340496
แมมมอธ "ลิวบา"
“ลิวบา” (Lyuba) คือซากแมมมอธที่มีสภาพสมบูรณ์ (Mammuthus primigenius) อายุประมาณ 2-3 เดือนก่อนเสียชีวิต บริเวณคาบสมุทรยามัลของรัสเซีย อยู่ในน้ำแข็งนาน 42,000 ปี
เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 เว็บไซต์เดลี่เมลของอังกฤษรายงานว่า มีกระแสการปลุกโครงการโคลนนิ่งลูกช้างแมมมอธให้มีชีวิตขึ้น หลังจากซากของลูกช้างแมมมอธซึ่งอยู่ในสภาพสมบูรณ์ ถูกค้นพบในเดือนพฤษภาคม 2007
Lyuba ลูกช้างแมมมอธจากยุคน้ำแข็งสมัยไพลสโตซีน อายุราว 42,000 พันปึ ถูกค้นพบโดยบังเอิญจากคนเลี้ยงสุนัขลากเลื่อนชาวไซบีเรีย ที่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของไซบีเรียที่แสนหนาวเหน็บ ผ่าอุปสรรคหลายด่านจนกระทั่งมันได้มาอยู่ในครอบครองของพิพิธภัณฑ์เชมานอฟสกี้ ที่เมืองซาเลกการ์ด ของเขตปกครองตนเองโอครุก แห่งรัสเซีย
นอกจากอวัยวะภายนอกอยู่ในสภาพเดิมแทบทุกประการ (ยกเว้นขนเท่านั้นที่ผุเปื่อยไปหมดแล้ว) อวัยวะภายในก็ยังคงถูกถนอมไว้เป็นอย่างดีไว้ด้วยจุลินทรีย์ในแอ่งโคลนที่มันจมลงไป และกลายเป็นผืนน้ำแข็งยักษ์ในเวลาต่อมา ซึ่งช่วยแช่แข็งรักษาสภาพซากได้อย่างยอดเยี่ยม ความสมบูรณ์ของลิวบาทำให้เกิดกระแสที่นักวิทยาศาสตร์ต้องการทดลองโคลนนิ่งมันขึ้นมาอีกครั้ง
การทดลองโคลนนิ่งลูกช้างแมมมอธจะต้องใช้แม่ช้างเอเชียสำหรับฝากตัวอ่อน เพราะมีความใกล้เคียงของสายพันธุ์กับแมมมอธมากที่สุด อย่างไรก็ดีการทดลองนี้ยังติดขัดอยู่ที่หลายแห่ง ทั้งเรื่องความซับซ้อนในกระบวนการ และประเด็นเรื่องจริยธรรม
แต่หลังจากที่เวลาผ่านไปเกือบ 8 ปี ในที่สุดเหล่านักวิทยาศาสตร์ก็ได้ออกมารายงานความคืบหน้าของการทดลองที่พวกเขาทำ โดยเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2019 ที่ผ่านมาเหล่านักวิทยาศาสตร์ก็ได้ออกมารายงานการ “คืนชีพ” ของเซลล์แมมมอธ หลังจากที่มีการปลูกถ่ายลงไปในไข่ของหนู
เป็นการทดลองที่จัดทำขึ้นโดยการนำนิวเคลียสที่มีความสมบูรณ์ค่อนข้างสูงของช้างแมมมอธสายพันธุ์ “Mammuthus primigenius” ไปปลูกถ่ายไว้ในไข่ของหนูทดลองเพื่อสังเกตความเปลี่ยนแปลงของเซลล์ดังกล่าว พบว่าการกระทำนี้จะทำให้โครโมโซมของช้างแมมมอธเกิดการปฏิกิริยาขึ้น และมีร่องรอยของการเริ่มต้นกระบวนการแบ่งตัวให้เห็น ซึ่งเป็นหลักฐานอย่างดีว่าแม้เวลาจะผ่านไปกว่า 28,000 ปี เซลล์ก็ยังมีโอกาสที่จะกลับมาทำงานได้อีกครั้ง
น่าเสียดายกระบวนการแบ่งตัวของเซลล์ช้างแมมมอธในไข่หนูกลับหยุดการทำงานลงกลางคันก่อนที่จะมีการแบ่งตัวเกิดขึ้นจริงๆ ซึ่งเป็นไปได้ว่ามีสาเหตุมาจากความเสียหายของเซลล์ที่นำมาใช้ ทีมนักวิทยาศาสตร์บอกว่าผลการทดลองที่ออกมานั้นทำให้พวกเขามั่นใจว่าเทคโนโลยีในปัจจุบันยังไม่มีความก้าวหน้ามากพอที่จะโคลนนิ่งช้างแมมมอธได้
ที่มา livescience, foxnews และ allthatsinteresting
Cr.https://hilight.kapook.com/view/102612
Cr.https://www.catdumb.com/woolly-mammoth-cells-revive-378/ By เหมียวศรัทธา
คืนชีพวัว auroch
ไม่มีใครรู้ชัดว่า มนุษย์เริ่มเลี้ยงวัวตั้งแต่เมื่อใด ภาพวาดวัวในยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่ปรากฏอยู่บนผนังถ้ำ Lascaux ในฝรั่งเศสเป็นภาพของฝูงวัวป่าพันธุ์ auroch การวัดอายุของสีที่ศิลปินถ้ำใช้ในการวาดภาพแสดงให้เห็นว่า ในอดีตเมื่อประมาณ 17,000 ปีก่อน จิตรกรถ้ำคงได้เห็นฝูงวัว auroch จำนวนมากอาศัยอยู่ในป่าเอเชียกลาง และยุโรป จึงได้ล่าตัวมาฆ่า เพื่อบริโภคเนื้อ และนม ส่วนหนังได้ถูกนำไปทำเครื่องนุ่งห่ม
ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 13 ชาวนาในฟาร์มแถบยุโรปตะวันออกยังมีการเลี้ยงวัว auroch อยู่บ้าง แต่จำนวนวัวได้ลดลงไปมากแล้ว เพราะถูกล่าและฆ่าโดยขุนนางชั้นสูง แม่ทัพทหาร และกษัตริย์เพื่อความบันเทิงและสนุกสนาน จนถึงปี 1627 วัว auroch ตัวสุดท้ายของโลกก็จบชีวิตลงในโปแลนด์
จนกระทั่งปี 1920 นักชีววิทยาชาวเยอรมันหลายคนจาก Berlin และ Munich ได้คิดจะคืนชีพวัว auroch อย่างจริงจังจึงนำวัวสายพันธุ์ต่างๆ ที่มีในเยอรมนี ฝรั่งเศส สเปน มาผสมพันธุ์กัน เพื่อให้ได้วัวที่มีรูปร่างคล้าย auroch มากที่สุด เพราะรู้ว่ายีน (gene) ของ auroch ยังมีหลงเหลืออยู่บ้างในวัวปัจจุบันบางสายพันธุ์
จากข้อมูลลักษณะบางประการของ auroch ที่มีในบันทึกของนักชีววิทยาว่า วัวพันธุ์นี้มีรูปร่างแข็งแรง นิสัยดุร้าย ลีลาท่าเดินสง่า ขายาว และสูงตั้งแต่ 1.55-1.8 เมตร ในการวัดจากกีบเท้าถึงไหล่ น้ำหนักตัวประมาณ 1 ตัน มีเขาโค้งที่ยาวประมาณ 130 เซนติเมตร และฐานเขามีความกว้างประมาณ 20 เซนติเมตร เขามีสีน้ำตาลอ่อน และปลายเขามีสีดำ กะโหลกมีขนาดใหญ่ หน้าผากมีขนยาวและหยิก ขนตามตัวเป็นสีน้ำตาลเข้ม จนถ้าดูเผินๆ จะดูดำ บริเวณหลังมีขนยาว และขนที่บริเวณปากมีสีน้ำตาลอ่อน
แม้ว่า auroch จะสูญพันธุ์ไปตั้งแต่เมื่อ 400 ปีก่อนก็ตาม แต่นักชีววิทยาปัจจุบันก็กำลังพยายามสร้าง auroch ขึ้นมาใหม่ โดยใช้เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมศาสตร์
ความพยายามจะคืนชีพ auroch อย่างเป็นทางการได้เริ่มในปี 1991 ที่ห้องปฏิบัติการเมือง Bad Sassendorf ในเยอรมนี โครเอเชีย โปรตุเกส สเปน และโรมาเนีย โดยนักชีววิทยาได้นำวัวพันธุ์ Chianina ของอิตาลี ซึ่งเป็นวัวที่สูงที่สุดในโลกมาผสมกับวัวพันธุ์ Sayaguesa ของสเปน ซึ่งมีกะโหลกศีรษะยาว และขนที่ปากมีสีขาว แต่ต้องใช้เวลาอีก 2-3 ปีจึงจะรู้ผลว่า ลูกวัวที่ได้มีรูปลักษณ์ตามที่ต้องการหรือไม่
(ภาพวาดวัว ออรอช วัวป่าขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งที่เคยอาศัยในยุโรปและสูญพันธุ์ไปแล้วเกือบ 400 ปี) (ภาพจาก en.academic.ru)
ด้านนักพันธุศาสตร์สัตว์แห่งมหาวิทยาลัย Wageningen ได้ถอดรหัสพันธุกรรมของวัวพันธุ์ต่างๆ และได้เปรียบเทียบ nucleotide polymorphism ซึ่งเป็น genetic marker ใน genome ของวัว auroch ที่ตายไปแล้วผลปรากฏว่า วัวอิตาเลียนพันธุ์ Maremmana และวัวสเปนพันธุ์ Sayaguesa มีรหัสพันธุกรรมใกล้เคียงกับวัว auroch มากที่สุด
โครงการนี้ได้วางแผนนำ genome ของวัวพันธุ์ต่างๆ มาสร้างวัวที่มีรูปลักษณ์ใกล้เคียงวัว auroch ให้มากที่สุดให้ได้ภายในเวลาอีก 10 ปี เพราะเชื่อว่า ข้อมูลพันธุศาสตร์จะชี้นำนักผสมพันธุ์วัวให้ประสบความสำเร็จ คือบรรลุเป้าหมาย การที่ต้องใช้เวลานาน เพราะต้องคอยให้วัวเติบโตมีอายุพอสมควร จึงจะรู้ชัดว่า วัวที่ผสมพันธุ์ใหม่มี DNA ของวัว auroch หรือไม่
อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่ความพยายามครั้งแรกของนักวิทยาศาสตร์ที่ตั้งใจจะเพาะพันธุ์วัวออรอชที่สูญพันธุ์ไปแล้วให้เกิดขึ้นมาใหม่ โดยครั้งล่าสุดก่อนหน้านี้ ในสมัยนาซีปกครองเยอรมนีเมื่อช่วงต้นศตวรรษที่ 20 รัฐบาลนาซีมีคำสั่งให้นักสัตววิทยาในเยอรมนีพยายามเพาะพันธุ์วัวออรอชให้ได้
ผลจากความพยายามในครั้งนั้น ทำให้ได้วัวสายพันธุ์ "เฮค" (Heck cattle) เกิดขึ้น ซึ่งแม้จะมีลักษณะภายนอกใกล้เคียงกับวัวออรอช แต่ลักษณะทางพันธุกรรมแตกต่างกันอย่างมาก
ผู้เขียน สุทัศน์ ยกส้าน
Cr.https://mgronline.com/science/detail/9600000030230
สร้างศูนย์วิจัยแบบในภาพยนตร์ Jurassic Park
เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2018 สื่อต่างประเทศหลายสำนัก ได้รายงานข่าวตรงกันว่า รัฐบาลรัฐเซียเตรียมสนับสนุนให้จัดตั้งศูนย์วิจัยสัตว์โบราณที่สูญพันธุ์ไปแล้ว ซึ่งมีลักษณะเดียวกันกับศูนย์วิจัยในภาพยนตร์ชื่อดังเรื่อง จูราสสิค พาร์ค (Jurassic Park) เพื่อทำการโคลนนิ่งสัตว์ดึกดำบรรพ์ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว โดยจะโคลนนิ่งช้างแมมมอธ ขึ้นมาก่อน เป็นแผนเริ่มต้น จากนั้นจึงจะทยอยโคลนนิ่งสัตว์สายพันธุ์อื่นต่อไป
รายงานระบุว่าศูนย์วิจัยแห่งนี้ จะมีที่ตั้งอยู่ที่เมืองยากุ๊ตสค์ ของประเทศรัสเซีย (แต่ยังไม่เปิดเผยตำแหน่งที่ชัดเจน) ซึ่งโครงการนี้ได้รับความร่วมมือกับนักวิทยาศาสตร์จากมูลนิธิวิจัยชีวเคมีของเกาหลีใต้ (SOOAM) มีงบการก่อสร้างอยู่ที่ 5.9 ล้านดอลลาร์ (ราว 193 ล้านบาท) โดยประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน มีแผนเปิดตัวศูนย์วิจัยแห่งนี้ในงานประชุมด้านการลงทุน ที่จะถูกจัดขึ้นในวันที่ 11 กันยายน 2018
“ไม่มีสถานที่ใดบนโลกเหมาะสมเท่ากับที่นี่อีกแล้ว สัตว์กว่า 80% ที่เราค้นพบใต้ผืนน้ำแข็งไซบีเรีย (เพอร์มาฟรอสต์) ยังมีดีเอ็นเอหลงเหลืออยู่ เช่น ช้างแมมมอธ สิงโตยูเรเชีย แรดขน” – ดร.เลน่า กริกรอรีเอวา หัวหน้าโครงการ กล่าว
โดยก่อนหน้านี้ ศาสตราจารย์ จอร์จ เชิร์ช จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้ร่วมมือกับทางรัสเซียและเกาหลีใต้ ในการพยายามที่จะคืนชีพช้างแมมมอธ ให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง โดยเขาเชื่อว่าจะทำสำเร็จภายในปี 2020 ซึ่งถ้าทำสำเร็จมันจะถูกเรียกว่า แมมโมแฟนต์ (Mammophant) มาจาก Mammoth + Elephant
Cr.ภาพ https://65blogs.com/entertainment/how-much-does-jurassic-park-cost-in-real-world/
Cr.https://www.flagfrog.com/russia-made-jurassic-park/ โดย ManoshFiz
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)