สวัสดีครับ ช่วงที่ผ่านมามีเหตุการณ์ต่อจิตใจประชาโอตะกันพอสมควร วันนี้ผมอยากมาขอปรับเปลี่ยนอารมณ์ ดึงทุกคนมาร่วมกันมอง BNK48 ในเชิงวิชาการ เชิงวิเคราะห์ ที่ปราศจากอารมณ์ชั่วคราว หวังว่าจะจุดประเด็นแลกเปลี่ยนความรู้และสนทนากันคร่าว ๆ สองประเด็นใหญ่ ๆ ครับ
ปล. มุมมองและการวิเคราะห์ต่อนี้ไม่ได้เป็นการมองผ่านเลนส์ หรือประเด็นทางด้านคุณธรรม จริยธรรม แต่เป็นมุมมองทางด้านธุรกิจเท่านั้น เพราะกระทู้เกี่ยวข้องกับด้านนั้นเยอะแล้วครับ
ประเด็น Crisis Management and Planning
ประเด็นนี้ อฟช. ที่มีการวางแผนและดำเนินการในประเด็นล่าสุดอย่างเฉียบขาดและแยบยลทางด้านการบริหารจัดการ เพราะผมเชื่อว่าลำดับเหตุการณ์ทั้งหมดถูกว่าไว้อย่างตั้งใจโดยดีแล้ว ทั้งกำหนดการวันที่ส่งจดหมายแจ้งการสิ้นสภาพให้เมมเบอร์ การแจ้งอย่างเป็นทางการบนเพจให้กับแฟนคลับ และการจัดงาน We Talk to You
เห็นได้ว่าประเด็นนี้สำคัญมากครับในเชิงธุรกิจ ที่จะต้องรับมือผลกระทบในเชิงพาณิชย์ให้เป็นลำดับและลดแรงกระแทกให้ได้มากที่สุด เพราะการที่มีการจบการศึกษาของเมมเบอร์นั้นย่อมมีแรงกระแทกแน่นอน และยิ่งเป็นการสิ้นสภาพจากการลงโทษร้ายแรงยิ่งมีแรงกระแทกตามมาเยอะ จึงนำไปสู่การวางแผนเหตุการณ์ทั้งหมดในวันเดียวกัน เพื่อลดแรงกระแทกลง ซึ่งทุกท่านก็เห็นสำเร็จด้วยดีมาก
คล้ายกับตอนที่เขาปล่อย Myujikkii มาวันกีฬาสีคราวที่แล้ว แต่ต่างกันที่ตอนนั้นเป็นเหตุเฉพาะหน้า โดยคราวนี้เป็นการวางแผนมาซักระยะแล้ว
ในมุมมองการบริการ อฟช. หาทางลงที่ดีที่สุด ที่เจ็บน้อยที่สุด กับทุกฝ่าย ผมเชื่อว่าพัฒนาการด้านการบริหารดีขึ้นมากจากในอดีต เพราะตัวบริษัทมีการบริหารจัดการที่เป็นมืออาชีพมากขึ้น จากการว่าจ้างมืออาชีพมาร่วมบริหาร เช่น คุณ บุญจิรา และ พี่เลี้ยงอย่าง PlanB ที่ประสบความสำเร็จมากมายด้านอุตสาหกรรมสื่อ
จึงเป็นนิมิตรหมายที่ดีว่าความยั่งยืนของบริษัททางด้านการบริหารดูมีภาพลักษณ์และแนวโน้มที่ดีขึ้นกว่าอดีต
ประเด็นที่ผมอยากจะฟังจากทุกท่านคือมีเหตุการณ์ใดที่ท่านไม่พอใจด้าน Crisis Managment ของ อฟช. และหากเป็นท่านจะแก้ไขอย่างไร
ประเด็น We Talk to You
เป็นไอเดียที่ดีมากทางธุรกิจ เพราะถ้าหากเรามาวิเคราะห์ร่วมกัน จะเห็นได้ว่างานนี้มีผลต่อการรักษาฐานลูกค้าเก่า (Customer Retention) อย่างมาก เนื่องจากเสน่ห์ของ 48 Group คือการได้เห็นพัฒนาการของเมมเบอร์ที่ตนชื่นชอบ การที่มีการออกมาประกาศแผนงานทำให้โอตะได้เห็นผลลัพธ์และพัฒนาการที่เป็นรูปธรรม โดยไม่ต้องนั่งคิด นั่งรอ นั่งมโนไปวัน ๆ
คนเราอยู่ได้ด้วยความหวัง แต่หากความหวังนั้นเป็นเพียงความหวังลม ๆ แล้ง ๆ ที่ไม่มีความชัดเจนจะทำให้หมดกำลังใจที่จะหวัง และเลิกหวังในที่สุด จนปลีกตัวออกไปได้ ซึ่งหมายถึงการเสียลูกค้า ดังนั้นตัวงาน We Talk to You จึงเป็นเหมือนการจุดประกายความหวังที่จะติดตามต่อในส่วนลูกค้าเก่าได้
การผสมรวมกันของการป้อนข้อมูลที่มีทั้งส่วนที่เปิดเผยทั้งหมด เปิดเผยบางส่วน และวางความลับไว้ให้ตื่นเต้น รอคอย ก็เป็นการกระทำมีผลบวกต่อการติดตามต่อของเหล่าโอตะมาก การสื่อสารกับลูกค้าตลอดเวลาเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นหากทางบริษัทไม่เก็บทุกอย่างเป็นความลับ จึงไม่ใช่รูปแบบการบริหารความคาดหวังที่ถูกต้องนัก เพราะอาจจะทำให้ผู้รอล้มเลิกไปเสียก่อน ศิลปะการหาจุดสมดุลในการบริหารจัดการการสื่อสารจึงสำคัญมาก
ส่วนนี้ผมอยากรู้ว่าทุกท่านคิดว่าควรมีการสื่อสารให้พวกเราแบบนี้ ปีละครั้ง พอไหม แล้วอยากให้มีการสื่อสารถึงเรื่องอะไรในงานนี้เพิ่มเติม
ขอเปิดประเด็น ขำ ๆ แค่นี้ก่อนเพื่อรับฟังพี่ ๆ น้อง ๆ มากแลกเปลี่ยนมุมมองครับ
หากผมไม่ขี้เกียจ จะทำกระทู้เพิ่มเติมในประเด็น ผลประกอบการปี 2563 ที่ขาดทุนไป 6 ล้านบาท สถานการณ์ลงทุนในบริษัทต่าง ๆ ของ iAm48 มุมมองความยั่งยืน และ Data Science Utilization
มุมมอง Crisis management และ We Talk to You ของ iAm48
ปล. มุมมองและการวิเคราะห์ต่อนี้ไม่ได้เป็นการมองผ่านเลนส์ หรือประเด็นทางด้านคุณธรรม จริยธรรม แต่เป็นมุมมองทางด้านธุรกิจเท่านั้น เพราะกระทู้เกี่ยวข้องกับด้านนั้นเยอะแล้วครับ
ประเด็น Crisis Management and Planning
ในมุมมองการบริการ อฟช. หาทางลงที่ดีที่สุด ที่เจ็บน้อยที่สุด กับทุกฝ่าย ผมเชื่อว่าพัฒนาการด้านการบริหารดีขึ้นมากจากในอดีต เพราะตัวบริษัทมีการบริหารจัดการที่เป็นมืออาชีพมากขึ้น จากการว่าจ้างมืออาชีพมาร่วมบริหาร เช่น คุณ บุญจิรา และ พี่เลี้ยงอย่าง PlanB ที่ประสบความสำเร็จมากมายด้านอุตสาหกรรมสื่อ
ประเด็น We Talk to You
เป็นไอเดียที่ดีมากทางธุรกิจ เพราะถ้าหากเรามาวิเคราะห์ร่วมกัน จะเห็นได้ว่างานนี้มีผลต่อการรักษาฐานลูกค้าเก่า (Customer Retention) อย่างมาก เนื่องจากเสน่ห์ของ 48 Group คือการได้เห็นพัฒนาการของเมมเบอร์ที่ตนชื่นชอบ การที่มีการออกมาประกาศแผนงานทำให้โอตะได้เห็นผลลัพธ์และพัฒนาการที่เป็นรูปธรรม โดยไม่ต้องนั่งคิด นั่งรอ นั่งมโนไปวัน ๆ