คดีรถชน กระบวนการทางกฎหมายที่บิดเบี้ยว

เมื่อวันก่อน   มีผู้ใหญ่ฝากให้ไปร่วมการไกล่เกลี่ยคดีอุบัติเหตุรถยนต์ชนกับจักรยานยนต์
  
ซึ่งก่อนไปก็ดูพยานหลักฐานกล้องหน้ารถ   และสอบคดีเบื้องต้นแล้ว   

จักรยานยนต์ล้มตัวผู้ขับกระเด็นมารถชนต์ทับ  ความเร็วไม่เกิน  อยู่ในช่องทางเดินรถปกติ

รวมกับพยานหลักฐานด้านอื่นๆ ถือว่าเป็นเหตุสุดวิสัย    แต่ก็ได้ขอคำปรึกษาคดีความกับบุคคลที่

มีความชำนาญด้านกฎหมายก็ได้ความเห็นเช่นเดียวกัน  (มักเตรียมข้อมูลก่อนไปดำเนินการเสมอ)

วันร่วมไกล่เกลี่ย   ทางฝั่งผู้ตาย  อยากให้ผู้ขับรถยนต์รับผิด  เพื่อจะไปขอเบิกประกันให้ผู้ตาย   

และยืนยันว่าจะไม่เรียกร้องอะไรกับผู้ต้องหา   อธิบายตามหลักทายาทว่าจะสละ   

ก็ได้แต่นั่งฟัง  เออ ออ  เพื่อความสบายใจของเขา  ให้เขาได้พูด   ตามหลักการเจรจาไกล่เกลี่ย

ผมถามว่าทำแบบนี้มันถูกต้องใช่ไหม    ทำไมไม่ยึดความถูกต้องสุจริต    ผิดถูกว่าไปตามจริง    หากพนักงานสอบสวนเห็นว่าผิดก็ควรสั่งฟ้อง   

ไม่ผิดก็ควรมีคำสั่งไม่ฟ้อง       หากจะให้ผู้ต้องหา   และประกันจ่ายตามสิทธิมนุษยธรรมก็ว่าไป   ผู้เสียหายไม่ติดใจ  พนักงานสอบสวนก็สั่งไม่ฟ้องไป     

(ความประมาทของคนอื่น  แต่เพื่อมนุษยธรรมก็ต้องจ่าย   ถามว่า....มันยุติธรรมไหม  ก็ไม่  (ไม่แน่ใจฝั่งผู้ตายคิดเหมือนกันไหม))   

ทางออกตามกฎหมายมันมี   ไม่ใช่ใช้ทางออกที่ซ่อนปัญหาไว้ใต้โต๊ะ   และผลักปัญหาให้ผู้ต้องหาที่เขาไม่ได้กระทำมากเกินไป   

ในส่วนวิธีการของ พนักงานสอบสวนถ้าเล่นด้วย  ผมไม่พูดละกันว่ามันทำได้    และถูกต้องหรือไม่   หรือเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นหรือไม่ 

กระบวนการความคิดที่เห็นแก่ตัว   กระบวนการกฎหมายที่บิดเบี้ยว     
ทำไมกระบวนการเดิมๆ ในบ้านเรา   อดีตเคยเป็นอย่างไร    ปัจจุบันยังเป็นอย่างนั้น      
ผู้มีอำนาจน่าจะหยิบยกมาแก้ไขผมว่าจะเป็นประโยชน์ไม่น้อย

"ลำพังเพียงกฎหมายไม่อาจจะยุติธรรมได้   หากปราศจากผู้ใช้ที่ซื่อสัตย์สุจริต
และแม้ว่าความซื่อสัตย์สุจริตนั้น  อาจจะไม่ได้ทำให้เราร่ำรวยได้   แต่มันทำให้เรายืนอยู่บนโลก
ใบนี้ได้อย่างไม่ละอายใคร  แหงนมองฟ้า  มองดินก็ไม่ละอายใจ"     

จิตใจมนุษย์อยากแท้หยั่งถึง   เราควรใช้ชีวิตอย่างระมัดระวัง   อย่าประมาท
เคารพกฎจราจร    อย่าคิดว่าเราไม่ผิด    แล้วจะไม่เป็นปัญหา

ด้วยความปราถนาดี  ฝากไว้ให้คิดกันนะครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่