ทุกวันนี้ก็มีข่าวอาชญากรรมที่เยาวชนเป็นผู้ก่อเหตุกันมาก ผู้ต้องหาเยาวชนบางคนก็เคยมีประวัติก่อคดีในลักษณะเดียวกันมาแล้ว หรือบางคนก่อเหตุซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนมีหมายจับยาวเป็นหางว่าว ทุกวันนี้การหน้าที่การสอบสวนผู้ต้องหาที่เป้นเยาวชน คืออายุไม่เกิน 18 ปีบริบูรณ์ ยังต้องทำหน้าสหวิชาชีพที่มีทั้งนักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ และอัยการ สิ่ง ๆ หนึ่งคือกฎหมายมองแค่อายุของผู้ก่อเหตุ แต่ไม่มองถึงพฤติกรรมและเจตนาที่ก่อคดี เพราะบางคดีเรายังไม่อยากจะเชื่อว่าผู้ก่อเหตุเป็นเยาวชน
เราเลยมีแนวคิดว่าการสอบสวนผู้ต้องหาเยาวชน ยังต้องทำต่อหน้าสหวิชาชีพเช่นเดิม แต่เราขอให้เหล่าสหวิชาชีพมองถึงพฤติกรรมและเจตนาของผู้ต้องหาว่าควรจะยังให้เข้าสู่กระบวนการพิจารณาของศาลเยาวชนและครอบครัว หรือศาลยุติธรรมทั่วไป เพราะนั่นจะหมายความว่าแม้ผู้ต้องหาจะเป็นเยาวชน แต่ถ้าเข้าสู่การพิจารณาโดยศาลยุติธรรมทั่ว ๆ ไป ก็ต้องได้รับโทษเช่นผู้ใหญ่และต้องโทษในเรือนจำ
ซึ่งหลังจากที่เหล่าสหวิชาชีพได้ร่วมทำการสอบสวนกับพนักงานสอบสวนแล้ว ขอให้พนักงานสอบสวนเจ้าของคดีเห็นว่าคดีนี้ควรเข้าสู่การพิจารณาของศาลยุติธรรมทั่วไป มากกว่าศาลเยาวชนและครอบครัว ให้ทำความเห็นส่งมายังศาลเยาวชนและครอบครัวภายในภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ทำการสอบสวน ถ้าศาลเห็นว่าคดีนี้ควรเข้าสู่การพิจารณาศาลยุติธรรม ก็ให้พนักงานสอบสวนทำสำนวนคดีส่งฟ้องต่ออัยการและให้อัยการเอาไปฟ้องศาล แต่ถ้าไม่เห็นด้วย ก็ให้ทำสำนวนส่งอัยการคดีเยาวชนและส่งศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง
แต่ก็เพื่อความเป็น ถ้าตัวเยาวชนเห็นว่าคดีของตนควรขึ้นศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ก็ให้ทนายความมีสิทธิโต้แย้งต่อศาลได้
ทั้งนี้จะต้องมีการกำหนดฐานความผิด และพฤติการณ์ความผิด ที่สามารถโอนจากศาลเยาวชนและครอบครัวไปยังศาลยุติธรรมไว้ด้วย
แบบนี้ใครคิดอย่างเราบ้าง ?
เราอยากให้มีการแก้กฎหมายการดำเนินคดีกับเยาวชน
เราเลยมีแนวคิดว่าการสอบสวนผู้ต้องหาเยาวชน ยังต้องทำต่อหน้าสหวิชาชีพเช่นเดิม แต่เราขอให้เหล่าสหวิชาชีพมองถึงพฤติกรรมและเจตนาของผู้ต้องหาว่าควรจะยังให้เข้าสู่กระบวนการพิจารณาของศาลเยาวชนและครอบครัว หรือศาลยุติธรรมทั่วไป เพราะนั่นจะหมายความว่าแม้ผู้ต้องหาจะเป็นเยาวชน แต่ถ้าเข้าสู่การพิจารณาโดยศาลยุติธรรมทั่ว ๆ ไป ก็ต้องได้รับโทษเช่นผู้ใหญ่และต้องโทษในเรือนจำ
ซึ่งหลังจากที่เหล่าสหวิชาชีพได้ร่วมทำการสอบสวนกับพนักงานสอบสวนแล้ว ขอให้พนักงานสอบสวนเจ้าของคดีเห็นว่าคดีนี้ควรเข้าสู่การพิจารณาของศาลยุติธรรมทั่วไป มากกว่าศาลเยาวชนและครอบครัว ให้ทำความเห็นส่งมายังศาลเยาวชนและครอบครัวภายในภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ทำการสอบสวน ถ้าศาลเห็นว่าคดีนี้ควรเข้าสู่การพิจารณาศาลยุติธรรม ก็ให้พนักงานสอบสวนทำสำนวนคดีส่งฟ้องต่ออัยการและให้อัยการเอาไปฟ้องศาล แต่ถ้าไม่เห็นด้วย ก็ให้ทำสำนวนส่งอัยการคดีเยาวชนและส่งศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง
แต่ก็เพื่อความเป็น ถ้าตัวเยาวชนเห็นว่าคดีของตนควรขึ้นศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ก็ให้ทนายความมีสิทธิโต้แย้งต่อศาลได้
ทั้งนี้จะต้องมีการกำหนดฐานความผิด และพฤติการณ์ความผิด ที่สามารถโอนจากศาลเยาวชนและครอบครัวไปยังศาลยุติธรรมไว้ด้วย
แบบนี้ใครคิดอย่างเราบ้าง ?