คดีกราดยิงที่พารากอน เด็กผู้ก่อเหตุ อ้างป่วย ต่อสู้คดีหนีผิด

มีโอกาสที่จะรอด!!
สงสารครอบครัวผู้เสียชีวิต ที่สูญเสียคนที่รักไป😥😥


จากกรณีที่นายนาเคนทร์ ทองไพรวัลย์ รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด เปิดเผยว่า ตามที่พนักงานสอบสวน สถานีตำรวจนครบาลปทุมวัน ได้ส่งสำนวนการสอบสวนให้กับพนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีเยาวชนและครอบครัว 3 เมื่อวันที่ 20ธ.ค. 2566 โดยเป็นคดีกล่าวหา เด็กชาย พ. ซึ่งเป็นเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี ตกเป็นผู้ต้องหา ในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน พยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน มีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต พาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัวและยิงปืนในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุอันควร โดยเหตุเกิดภายในห้างพารากอน เมื่อวันที่ 3ต.ค. 2566 ที่ผ่านมานั้น
.
คดีดังกล่าว พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีเยาวชนและครอบครัว 3 ได้ตรวจสอบสำนวนการสอบสวนแล้วปรากฏข้อเท็จจริงในสำนวนการสอบสวนว่า เมื่อวันที่ 5ต.ค. 2566 พนักงานสอบสวนได้มีการส่งตัวผู้ต้องหาซึ่งเป็นเด็กไปยังสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ เพื่อทำการตรวจและบำบัดรักษา ซึ่งสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ได้รับตัวผู้ต้องหาซึ่งเป็นเด็กไว้บำบัด รักษา และตรวจวินิจฉัยทางนิติจิตเวชแบบผู้ป่วยใน เพราะเชื่อว่าผู้ต้องหามีอาการป่วยทางจิตและไม่สามารถต่อสู้คดีได้ และจากการตรวจสำนวนการสอบสวนยังปรากฏข้อเท็จจริงอีกว่า เมื่อวันที่ 3 พ.ย. 2566 ซึ่งอยู่ในช่วงระหว่างระยะเวลาที่แพทย์ทำการตรวจวินิจฉัยและประเมินความสามารถในการต่อสู้คดียังไม่เสร็จสิ้น
 .
พนักงานสอบสวนได้ดำเนินการแจ้งข้อกล่าวหาและสอบสวนคำให้การของผู้ต้องหาซึ่งเป็นเด็ก โดยที่พนักงานสอบสวนยังไม่ได้รับผลการตรวจประเมินและวินิจฉัยจากแพทย์สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ที่เปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นแต่อย่างใด อีกทั้งยังมิได้ดำเนินการสอบสวนแพทย์ผู้ตรวจการรักษาให้ได้ความโดยกระจ่างชัดเพื่อประกอบคดีนั้น
.
ล่าสุดเพจเฟซบุ๊ก ปราชญ์ สามสี ได้แสดงความคิดเห็นถึงกรณีนี้ไว้ด้วยว่า เรื่องคดี กราดยิงพารากอนของเด็ก14 ที่ล่าสุดดูเหมือนว่า จิตแพทย์เจ้าของไข้ทีมสหวิชาชีพ นิติจิตเวช ได้ตรวจวินิจฉัยและประเมินผลว่า “ผู้ต้องหาไม่มีความเข้าใจตระหนักรู้เรื่องของข้อกล่าวหา ไม่มีความสามารถในการพูดคุยและตอบคำถาม รวมทั้งไม่สามารถควบคุมอารมณ์และพฤติกรรมของตนได้ ผลการประเมินสรุปว่า ผู้ต้องหาซึ่งเป็นเด็กยังไม่สามารถต่อสู้คดีได้”
.
และตีกลับ การยื่นฟ้องโดยไม่มีคำวินิจฉัยของแพทย์นั้น
สำหรับข้าพเจ้า กลับมองเรื่องนี้ มันเป็นกลไกการต่อสู้ในศาล…เป็นไปตามปรกติ อนึ่งเมื่อรู้ว่าจำเลยป่วยก็ต้องนำคำวินิจฉัยมาประกอบการตัดสินเท่านั้น
.
สิ่งที่จะต้องพิสูจน์ให้ได้ของฝ่ายสืบสวนคือการหาพยานหลักฐานว่า การกระทำของจำเลยมีการไตร่ตรองและวางแผนเป็นขั้นตอนไว้ดีมาก มีสติชัดเจน แม้ว่าจะมีประวัติอาการป่วย ก็ไม่สามารถเบียดบังความสามารถในการวางแผนล่วงหน้าได้
.
แต่ทว่า ต้องยอมรับว่าตอนนี้ ปชช. ค่อนข้างสูญเสียความมั่นใจต่อระบบยุติธรรมไม่น้อย จากความเชื่อเรื่อง การใช้ผลทางการแพทย์ และ ข้อกฎหมายสมัยใหม่ในการอำนวยความสะดวก ให้กับ ผู้ต้องหา หรือผู้ต้องคดี ร้ายแรงแต่มีอาการป่วย ให้สามารถรักษาในตัวในระหว่างดำเนินคดีหรือหลังพิพากษาไปแล้ว….
.
สิ่งที่จะต้องทราบคือ คนป่วยจะอ้างความป่วยเพื่อพ้นผิดไม่ได้. ไม่มีคนป่วยใดจะมีสิทธิพิเศษในการอ้างเพื่อพ้นผิด …แต่ความป่วยเป็นอุปสรรคในการรับโทษ ต้องบำบัดให้เท่าที่จำเป็นเพื่อบรรเทาอาการและสามารถมีชีวิตอยู่ต่อไปได้แม้รับโทษ และควรรับโทษเท่าที่เขาสมควรได้รับ
 .
สิ่งผู้คนตั้งคำถามคือ เราจะมั่นใจได้อย่างไรที่ จำเลยซึ่งเป็นเยาวชนที่มีพฤติกรรมรุนแรงในสังคม จะสามารถใช้ชีวิตอยู่กับ ปชช.ตามปรกติได้โดย รับความกรุณาจากระบอบกฎหมาย …ที่มอบให้จำเลยที่มีปัญหาทางจิต… โดยที่จำเลยอาจมิได้สำนึกในความผิดของตนเอง
 .
เรื่องฝากทิ้งไว้ให้คบคิด และอยากให้เป็นแนวทางการพิพากษา ที่ประชาชนทั่วไปควรทราบ ….เพื่อป้องปรามพฤติกรรมการลอกเลียนแบบใดๆอีกครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่