ตอนที่ 3 สาระสำคัญร่างพระราชบัญญัติมาตรการแทนการฟ้องคดีอาญา พ.ศ. ....
ตอนที่ 1
http://ppantip.com/topic/34957148
ตอนที่ 2
http://ppantip.com/topic/34957259
สาระสำคัญร่างพระราชบัญญัติมาตรการแทนการฟ้องคดีอาญา พ.ศ. ....
เครดิต
https://w-dog.net/wallpaper/judge-hammer-law-rights-wood/id/351122/
1. กำหนดบทนิยามคำว่า “การไกล่เกลี่ยคดีอาญา” “คู่กรณี” “ผู้ไกล่เกลี่ย” และ “การชะลอการฟ้อง”
2. กำหนดให้นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และอัยการสูงสุด รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ในส่วนที่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของตน
3. กำหนดมาตรการแทนการฟ้องคดีอาญา ได้แก่ การไกล่เกลี่ยคดีอาญาและการชะลอการฟ้อง โดยไม่ให้ใช้บังคับคดีที่อยู่ในอำนาจศาลเยาวชนและครอบครัว แต่คดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหารและมีเหตุที่อาจใช้มาตรการแทนการฟ้องคดีอาญาได้ ให้ใช้บังคับได้โดยอนุโลม ส่วนในคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวง เมื่อมีคำสั่งให้ใช้มาตรการแทนการฟ้องคดีอาญา มิให้นำบทบัญญัติในเรื่องการฟ้องและการผัดฟ้องมาใช้บังคับ และเมื่อได้มีคำสั่งให้ใช้มาตรการแทนการฟ้องคดีอาญาแล้ว ให้ถือเป็นเหตุอายุความสะดุดหยุดอยู่ ตลอดจนห้ามมิให้รับฟังพยานหลักฐาน คำรับสารภาพ หรือข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการใช้มาตรการแทนการฟ้องคดีอาญา เป็นพยานหลักฐานในการดำเนินคดี
4. กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการไกล่เกลี่ย เช่น กำหนดคดีความผิดที่สามารถไกล่เกลี่ยได้ (คดีความผิดอันยอมความได้ คดีความผิดลหุโทษ และคดีความผิดที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกินห้าปีตามพระราชบัญญัตินี้ (เช่น ความผิดฐานปลอมแปลงเอกสารความผิดฐานทำร้ายร่างกายความผิดฐานลักทรัพย์ความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ความผิดฐานรับของโจรความผิดฐานบุกรุก เป็นต้น) กำหนดพฤติการณ์ของการกระทำที่ได้รับการไกล่เกลี่ย กำหนดการไกล่เกลี่ยคดีกรณีที่มีผู้เสียหายหลายคน รวมทั้งกำหนดอำนาจจัดการแทนผู้เสียหาย
5. กำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของบุคคลที่จะได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นผู้ไกล่เกลี่ย และกำหนดให้การยื่นคำขอ การรับขึ้นทะเบียน และการตรวจคุณสมบัติ การถอนชื่อ ให้กำหนดในกฎกระทรวง
6. กำหนดกระบวนการไกล่เกลี่ยคดีอาญา เช่น กำหนดระยะเวลานัดไกล่เกลี่ย ระยะเวลาไกล่เกลี่ยคดีอาญาให้แล้วเสร็จ การจัดหาล่าม กำหนดให้ผู้ไกล่เกลี่ยยุติการไกล่เกลี่ยเมื่อมีเหตุตามที่กำหนด
7. กำหนดเกี่ยวกับผลของการไกล่เกลี่ยคดีอาญา เช่น ผู้เสียหายจะฟ้องคดีมิได้จนกว่าพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการจะมีคำสั่งให้ดำเนินคดีต่อไป การไกล่เกลี่ยไม่ตัดอำนาจพนักงานสอบสวนที่จะทำการสอบสวนต่อไป
8. กำหนดให้เมื่อการไกล่เกลี่ยคดีอาญาแล้วเสร็จ ให้ผู้ไกล่เกลี่ยส่งบันทึกข้อตกลงให้พนักงานสอบสวน เพื่อให้พนักงานสอบสวนส่งบันทึกข้อตกลงดังกล่าวพร้อมด้วยสำนวนการสอบสวนและเอกสารที่เกี่ยวข้องไปยังพนักงานอัยการ เพื่อตรวจสอบว่าการไกล่เกลี่ยเป็นไปตามกฎหมายหรือไม่ โดยเมื่อได้มีการปฏิบัติตามข้อตกลงไกล่เกลี่ยคดีอาญาจะมีผลให้สิทธิในการนำคดีอาญามาฟ้องเป็นอันระงับ
9. กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการชะลอการฟ้อง เช่น กำหนดมูลเหตุที่พนักงานอัยการอาจพิจารณามีคำสั่งให้ชะลอการฟ้องได้ กำหนดคดีความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท คดีที่มีโทษปรับสถานเดียว หรือความผิดที่มีอัตราโทษจำคุกไม่เกินห้าปี พนักงานอัยการอาจพิจารณามีคำสั่งให้ชะลอการฟ้องได้ เมื่อปรากฏว่าผู้ต้องหาและผู้เสียหายยินยอมให้มีการชะลอการฟ้องได้
10. กำหนดให้เมื่อพนักงานอัยการพิจารณาแล้วเห็นว่าการชะลอการฟ้องเป็นประโยชน์ต่อผู้เสียหาย ผู้ต้องหา และสังคม ให้พนักงานอัยการมีคำสั่งให้ชะลอการฟ้องและส่งคำสั่งดังกล่าวไปยังอัยการสูงสุด และเมื่อผู้ต้องหาปฏิบัติตามเงื่อนไขคุมประพฤติครบถ้วนแล้ว ให้พนักงานอัยการสั่งยุติการดำเนินคดี และให้สิทธินำคดีมาฟ้องเป็นอันระงับ
11. กำหนดเกี่ยวกับผลของคำสั่งชะลอการฟ้อง เช่น ให้ปล่อยตัวผู้ต้องหาในกรณีที่ถูกคุมขังอยู่ ผู้เสียหายจะฟ้องคดีมิได้จนกว่าพนักงานอัยการจะมีคำสั่งให้ดำเนินคดีต่อไป กำหนดมูลเหตุที่พนักงานอัยการจะพิจารณาสั่งให้ดำเนินคดีอาญาต่อไป
ร่างพระราชบัญญัติมาตรการแทนการฟ้องคดีอาญา พ.ศ. ....
เจาะ 11 ประเด็น ร่างพระราชบัญญัติมาตรการแทนการฟ้องคดีอาญา พ.ศ. ....
ตอนที่ 1 http://ppantip.com/topic/34957148
ตอนที่ 2 http://ppantip.com/topic/34957259
สาระสำคัญร่างพระราชบัญญัติมาตรการแทนการฟ้องคดีอาญา พ.ศ. ....
เครดิต https://w-dog.net/wallpaper/judge-hammer-law-rights-wood/id/351122/
1. กำหนดบทนิยามคำว่า “การไกล่เกลี่ยคดีอาญา” “คู่กรณี” “ผู้ไกล่เกลี่ย” และ “การชะลอการฟ้อง”
2. กำหนดให้นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และอัยการสูงสุด รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ในส่วนที่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของตน
3. กำหนดมาตรการแทนการฟ้องคดีอาญา ได้แก่ การไกล่เกลี่ยคดีอาญาและการชะลอการฟ้อง โดยไม่ให้ใช้บังคับคดีที่อยู่ในอำนาจศาลเยาวชนและครอบครัว แต่คดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหารและมีเหตุที่อาจใช้มาตรการแทนการฟ้องคดีอาญาได้ ให้ใช้บังคับได้โดยอนุโลม ส่วนในคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวง เมื่อมีคำสั่งให้ใช้มาตรการแทนการฟ้องคดีอาญา มิให้นำบทบัญญัติในเรื่องการฟ้องและการผัดฟ้องมาใช้บังคับ และเมื่อได้มีคำสั่งให้ใช้มาตรการแทนการฟ้องคดีอาญาแล้ว ให้ถือเป็นเหตุอายุความสะดุดหยุดอยู่ ตลอดจนห้ามมิให้รับฟังพยานหลักฐาน คำรับสารภาพ หรือข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการใช้มาตรการแทนการฟ้องคดีอาญา เป็นพยานหลักฐานในการดำเนินคดี
4. กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการไกล่เกลี่ย เช่น กำหนดคดีความผิดที่สามารถไกล่เกลี่ยได้ (คดีความผิดอันยอมความได้ คดีความผิดลหุโทษ และคดีความผิดที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกินห้าปีตามพระราชบัญญัตินี้ (เช่น ความผิดฐานปลอมแปลงเอกสารความผิดฐานทำร้ายร่างกายความผิดฐานลักทรัพย์ความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ความผิดฐานรับของโจรความผิดฐานบุกรุก เป็นต้น) กำหนดพฤติการณ์ของการกระทำที่ได้รับการไกล่เกลี่ย กำหนดการไกล่เกลี่ยคดีกรณีที่มีผู้เสียหายหลายคน รวมทั้งกำหนดอำนาจจัดการแทนผู้เสียหาย
5. กำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของบุคคลที่จะได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นผู้ไกล่เกลี่ย และกำหนดให้การยื่นคำขอ การรับขึ้นทะเบียน และการตรวจคุณสมบัติ การถอนชื่อ ให้กำหนดในกฎกระทรวง
6. กำหนดกระบวนการไกล่เกลี่ยคดีอาญา เช่น กำหนดระยะเวลานัดไกล่เกลี่ย ระยะเวลาไกล่เกลี่ยคดีอาญาให้แล้วเสร็จ การจัดหาล่าม กำหนดให้ผู้ไกล่เกลี่ยยุติการไกล่เกลี่ยเมื่อมีเหตุตามที่กำหนด
7. กำหนดเกี่ยวกับผลของการไกล่เกลี่ยคดีอาญา เช่น ผู้เสียหายจะฟ้องคดีมิได้จนกว่าพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการจะมีคำสั่งให้ดำเนินคดีต่อไป การไกล่เกลี่ยไม่ตัดอำนาจพนักงานสอบสวนที่จะทำการสอบสวนต่อไป
8. กำหนดให้เมื่อการไกล่เกลี่ยคดีอาญาแล้วเสร็จ ให้ผู้ไกล่เกลี่ยส่งบันทึกข้อตกลงให้พนักงานสอบสวน เพื่อให้พนักงานสอบสวนส่งบันทึกข้อตกลงดังกล่าวพร้อมด้วยสำนวนการสอบสวนและเอกสารที่เกี่ยวข้องไปยังพนักงานอัยการ เพื่อตรวจสอบว่าการไกล่เกลี่ยเป็นไปตามกฎหมายหรือไม่ โดยเมื่อได้มีการปฏิบัติตามข้อตกลงไกล่เกลี่ยคดีอาญาจะมีผลให้สิทธิในการนำคดีอาญามาฟ้องเป็นอันระงับ
9. กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการชะลอการฟ้อง เช่น กำหนดมูลเหตุที่พนักงานอัยการอาจพิจารณามีคำสั่งให้ชะลอการฟ้องได้ กำหนดคดีความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท คดีที่มีโทษปรับสถานเดียว หรือความผิดที่มีอัตราโทษจำคุกไม่เกินห้าปี พนักงานอัยการอาจพิจารณามีคำสั่งให้ชะลอการฟ้องได้ เมื่อปรากฏว่าผู้ต้องหาและผู้เสียหายยินยอมให้มีการชะลอการฟ้องได้
10. กำหนดให้เมื่อพนักงานอัยการพิจารณาแล้วเห็นว่าการชะลอการฟ้องเป็นประโยชน์ต่อผู้เสียหาย ผู้ต้องหา และสังคม ให้พนักงานอัยการมีคำสั่งให้ชะลอการฟ้องและส่งคำสั่งดังกล่าวไปยังอัยการสูงสุด และเมื่อผู้ต้องหาปฏิบัติตามเงื่อนไขคุมประพฤติครบถ้วนแล้ว ให้พนักงานอัยการสั่งยุติการดำเนินคดี และให้สิทธินำคดีมาฟ้องเป็นอันระงับ
11. กำหนดเกี่ยวกับผลของคำสั่งชะลอการฟ้อง เช่น ให้ปล่อยตัวผู้ต้องหาในกรณีที่ถูกคุมขังอยู่ ผู้เสียหายจะฟ้องคดีมิได้จนกว่าพนักงานอัยการจะมีคำสั่งให้ดำเนินคดีต่อไป กำหนดมูลเหตุที่พนักงานอัยการจะพิจารณาสั่งให้ดำเนินคดีอาญาต่อไป
ร่างพระราชบัญญัติมาตรการแทนการฟ้องคดีอาญา พ.ศ. ....