แห้วเป็นแสน! ยืนยันสิทธิ'ม33'ล่ม-ลงทะเบียนไม่สำเร็จ
https://www.dailynews.co.th/politics/831151
ยืนยันสิทธิม33ล่ม คนนับแสนแห้วลงไม่ทะเบียนไม่สำเร็จ หลังผู้ประกันตนจำนวนมากแห่กดรับสิทธิ แนะให้ผู้ประกันตนพลาดหวังไปยืนยันสิทธิที่ สนง.ประกันสังคมทุกพื้นที่ ด้าน “เสี่ยเฮ้ง” รับเรื่องสั่งแก้ไขด่วน
เมื่อวันที่ 15 มี.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานสืบเนื่องจากกรณีที่รัฐบาล โดยกระทรวงแรงงาน เปิดโอกาสให้ผู้ประกันตนมาตรา 33 จำนวน 9.27 ล้านคน ลงทะเบียนรับเงินเยียวยา 4 พันบาท เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่วันที่ 27 ก.พ.-7 มี.ค. ซึ่งมีผู้ลงทะเบียนสำเร็จประมาณ 8 ล้านคนเศษ ซึ่งวันนี้ (15 มี.ค.) เป็นวันแรกให้เปิดให้ผู้ประกันตนที่ลงทะเบียนสำเร็จเข้ามาตรวจสอบการรับสิทธิ์ผ่าน 2 ช่องทางคือแอพพลิเคชั่น “
เป๋าตัง” และเว็บไซต์ “www.33เรารักกัน.com ขณะเดียวกันก็เปิดโอกาสให้ผู้ประกันตนที่ลงทะเบียนรับสิทธิไม่ทันอีกกว่า 1 ล้านคน ได้ยื่นทบทวนสิทธิ
อย่างไรก็ตาม ปรากฏว่าเว็บไซต์ดังกล่าวเกิดปัญหา มีการขึ้นข้อความที่หน้าจอว่า “ขณะนี้ธนาคารกรุงไทยอยู่ระหว่างการปรับปรุงระบบของแอพ “เป๋าตังค์” เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการใช้งาน จึงทำให้ไม่สามารถยืนยันตัวตนผ่านแอพได้ แต่สามารถตรวจสอบรายชื่อผู้ได้รับสิทธิได้ตั้งแต่วันที่ 15-21 มี.ค.นี้ ผ่านช่องทาง www.33เรารักกัน.com “ทำให้ผู้ประกันตนไม่สามารถดำเนินการการยืนยันสิทธิสำเร็จ มีจำนวน 1 แสนคน เนื่องจากระบบเลข 13 หลักมีปัญหา จึงขอให้ตรวจสอบสถานะบัตรประชาชนกับหน่วยงานรัฐผู้ออกบัตรก่อนทบทวนสิทธิ
และให้ถือบัตรประชาชนไปยืนยันที่สำนักงานประกันสังคมในพื้นที่แทน อย่างไรก็ตาม มีรายงานข่าวแจ้งว่าในเรื่องของการปรับปรุงระบบนั้น ทางธนาคารกรุงไทยมีการแจ้งมายังสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ให้ทราบแล้วตั้งแต่วันที่ 14 มี.ค. เพื่อให้ สปส. แจ้งผู้ประกันตนให้ทราบล่วงหน้า จะได้วางแผนทยอยกดรับสิทธิต่อไป แต่ สปส.ไม่ทันได้แจ้งก็เกิดปัญหาดังที่ปรากฏ
ทั้งนี้ นาย
สุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงาน ทราบเรื่องจึงได้สั่งการให้ สปส. เร่งตรวจสอบระบบฐานข้อมูลว่าเกิดเหตุขัดข้องอะไรหรือไม่ แล้วรีบดำเนินการแก้ไขต่อไป.
เปิดคำวินิจฉัยกลาง ชี้ชัดแก้รธน.15/1เท่ากับเลิกรธน.60 สภาต้องทำประชามติเสียก่อน
https://www.matichon.co.th/politics/news_2625178
เปิดคำวินิจฉัยกลาง ปมอำนาจรัฐสภาแก้รธน. ชี้ ชัดการแก้รธน.ต้องอยู่ภายในกรอบตาม รธน.60 กำหนดอย่างเคร่งครัด ขณะที่การแก้รธน.หมวด 15/1 เปิดช่องยกร่างใหม่ เป็นการแก้หลักการสำคัญที่ผู้สถาปนารธน.ต้องการคุ้มครอง จึงต้องถามปชช.ก่อนว่าอยากมีรธน.ใหม่หรือไม่
เมื่อวันที่ 15 มีนาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เผยแพร่คำวินิจฉัยที่ 4/2564 ลงวันที่ 11 มีนาคม 2564 เรื่องประธานรัฐสภาขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 210 วรรคหนึ่ง(2) กรณีมีปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของรัฐสภาในการเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมของสมาชิกรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญมาตรา 256(1) โดยระบุตอนหนึ่งว่า การที่มี ส.ส. ยื่นญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ โดยเสนอร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ .. พุทธศักราช …. ทั้งสองฉบับต่อที่ประชุมร่วมกันรัฐสภาตามมาตรา 256 ซึ่งมีหลักการและเหตุผลให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้น โดยมีเนื้อหาสาระในร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมให้มีหมวด 15/1 การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และมาตรา 256/1 ให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญทำหน้าที่จัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ตามหมวดนี้ นั้น เห็นว่า การที่รัฐธรรมนูญ มาตรา 15 (15) บัญญัติให้การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญกระทำโดยที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภามุ่งประสงค์ให้การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเป็นการใช้อำนาจของรัฐสภาโดยเฉพาะ อย่างไรก็ดีรัฐธรรมนูญได้กำหนดให้กระบวนการใช้อำนาจนิติบัญญัติของรัฐสภาในกรณีดังกล่าวมีหลักเกณฑ์และวิธีการซึ่งมีลักษณะแตกต่างจากการทำหน้าที่ในกระบวนนิติบัญญัติทั่วไป โดยมีเป้าหมายเพื่อปกป้องความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญและรักษาความต่อเนื่องของรัฐธรรมนูญเป็นสำคัญ กล่าวได้ว่าแม้รัฐสภามีอำนาจแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ หากแต่เป็นอำนาจที่ได้รับมอบมาซึ่งถูกจำกัดทั้งรูปแบบ กระบวนการ และเนื้อหา รัฐสภาจึงต้องทำหน้าที่ตามที่ได้รับมอบอย่างเคร่งครัด โดยไม่อาจกระทำนอกขอบของหน้าที่และอำนาจที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ได้
“
การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญจึงต้องอยู่ในเงื่อนไขที่มีความผูกพันกับรัฐธรรมนูญฉบับเดิม ยึดโยงกับหลักการพื้นฐานและให้เหมาะสมและสอดคล้องกับมติมหาชน รัฐธรรมนูญ 2560 หมวด 15 เพียงบัญญัติให้สามารถแก้ไข เพิ่มเติมรัฐธรรมนูญได้เท่านั้น ไม่มีบทบัญญัติให้จัดทำขึ้นใหม่ทั้งฉบับ การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ด้วยวิธีการร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมให้มีหมวด 15/1 ย่อมมีผลเป็นการยกเลิกรัฐธรรมนูญ 2560 อันเป็นการแก้ไขหลักการสำคัญที่ผู้มีอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญดั้งเดิมต้องการปกป้องคุ้มครองไว้”
หากรัฐสภาต้องการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ต้องจัดให้ประชาชนผู้ทรงอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญออกเสียงประชามติเสียก่อนว่าสมควรมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ ถ้าผลการออกเสียงประชามติเห็นชอบด้วย จึงดำเนินการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ต่อไป เมื่อเสร็จแล้วต้องจัดให้มีการออกเสียงประชามติว่าเห็นชอบหรือไม่กับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเป็นการให้ประชาชนพิจารณาเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แล้วจึงนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย เมื่อทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว จึงนำประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญต่อไป อันเป็นกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญตามครรลองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
อาศัยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จึงวินิจฉัยว่า รัฐสภามีหน้าที่และอำนาจจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ โดยต้องให้ประชาชนผู้มีอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญได้ลงประชามติเสียก่อนว่าประชาชนประสงค์จะให้มี รัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ และเมื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เสร็จแล้ว ต้องให้ประชาชน ลงประชามติเห็นชอบหรือไม่กับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่อีกครั้งหนึ่ง
JJNY : 4in1 แห้วเป็นแสน!'ม33'│เปิดคำวินิจฉัยกลาง ต้องทำประชามติก่อน│สมชัยตั้ง5ข้อสังเกต หลังอ่าน│เคสตลาดบางแค เจอ224ราย
https://www.dailynews.co.th/politics/831151
เมื่อวันที่ 15 มี.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานสืบเนื่องจากกรณีที่รัฐบาล โดยกระทรวงแรงงาน เปิดโอกาสให้ผู้ประกันตนมาตรา 33 จำนวน 9.27 ล้านคน ลงทะเบียนรับเงินเยียวยา 4 พันบาท เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่วันที่ 27 ก.พ.-7 มี.ค. ซึ่งมีผู้ลงทะเบียนสำเร็จประมาณ 8 ล้านคนเศษ ซึ่งวันนี้ (15 มี.ค.) เป็นวันแรกให้เปิดให้ผู้ประกันตนที่ลงทะเบียนสำเร็จเข้ามาตรวจสอบการรับสิทธิ์ผ่าน 2 ช่องทางคือแอพพลิเคชั่น “เป๋าตัง” และเว็บไซต์ “www.33เรารักกัน.com ขณะเดียวกันก็เปิดโอกาสให้ผู้ประกันตนที่ลงทะเบียนรับสิทธิไม่ทันอีกกว่า 1 ล้านคน ได้ยื่นทบทวนสิทธิ
อย่างไรก็ตาม ปรากฏว่าเว็บไซต์ดังกล่าวเกิดปัญหา มีการขึ้นข้อความที่หน้าจอว่า “ขณะนี้ธนาคารกรุงไทยอยู่ระหว่างการปรับปรุงระบบของแอพ “เป๋าตังค์” เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการใช้งาน จึงทำให้ไม่สามารถยืนยันตัวตนผ่านแอพได้ แต่สามารถตรวจสอบรายชื่อผู้ได้รับสิทธิได้ตั้งแต่วันที่ 15-21 มี.ค.นี้ ผ่านช่องทาง www.33เรารักกัน.com “ทำให้ผู้ประกันตนไม่สามารถดำเนินการการยืนยันสิทธิสำเร็จ มีจำนวน 1 แสนคน เนื่องจากระบบเลข 13 หลักมีปัญหา จึงขอให้ตรวจสอบสถานะบัตรประชาชนกับหน่วยงานรัฐผู้ออกบัตรก่อนทบทวนสิทธิ
และให้ถือบัตรประชาชนไปยืนยันที่สำนักงานประกันสังคมในพื้นที่แทน อย่างไรก็ตาม มีรายงานข่าวแจ้งว่าในเรื่องของการปรับปรุงระบบนั้น ทางธนาคารกรุงไทยมีการแจ้งมายังสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ให้ทราบแล้วตั้งแต่วันที่ 14 มี.ค. เพื่อให้ สปส. แจ้งผู้ประกันตนให้ทราบล่วงหน้า จะได้วางแผนทยอยกดรับสิทธิต่อไป แต่ สปส.ไม่ทันได้แจ้งก็เกิดปัญหาดังที่ปรากฏ
ทั้งนี้ นายสุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงาน ทราบเรื่องจึงได้สั่งการให้ สปส. เร่งตรวจสอบระบบฐานข้อมูลว่าเกิดเหตุขัดข้องอะไรหรือไม่ แล้วรีบดำเนินการแก้ไขต่อไป.
เปิดคำวินิจฉัยกลาง ชี้ชัดแก้รธน.15/1เท่ากับเลิกรธน.60 สภาต้องทำประชามติเสียก่อน
https://www.matichon.co.th/politics/news_2625178
เปิดคำวินิจฉัยกลาง ปมอำนาจรัฐสภาแก้รธน. ชี้ ชัดการแก้รธน.ต้องอยู่ภายในกรอบตาม รธน.60 กำหนดอย่างเคร่งครัด ขณะที่การแก้รธน.หมวด 15/1 เปิดช่องยกร่างใหม่ เป็นการแก้หลักการสำคัญที่ผู้สถาปนารธน.ต้องการคุ้มครอง จึงต้องถามปชช.ก่อนว่าอยากมีรธน.ใหม่หรือไม่
เมื่อวันที่ 15 มีนาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เผยแพร่คำวินิจฉัยที่ 4/2564 ลงวันที่ 11 มีนาคม 2564 เรื่องประธานรัฐสภาขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 210 วรรคหนึ่ง(2) กรณีมีปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของรัฐสภาในการเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมของสมาชิกรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญมาตรา 256(1) โดยระบุตอนหนึ่งว่า การที่มี ส.ส. ยื่นญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ โดยเสนอร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ .. พุทธศักราช …. ทั้งสองฉบับต่อที่ประชุมร่วมกันรัฐสภาตามมาตรา 256 ซึ่งมีหลักการและเหตุผลให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้น โดยมีเนื้อหาสาระในร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมให้มีหมวด 15/1 การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และมาตรา 256/1 ให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญทำหน้าที่จัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ตามหมวดนี้ นั้น เห็นว่า การที่รัฐธรรมนูญ มาตรา 15 (15) บัญญัติให้การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญกระทำโดยที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภามุ่งประสงค์ให้การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเป็นการใช้อำนาจของรัฐสภาโดยเฉพาะ อย่างไรก็ดีรัฐธรรมนูญได้กำหนดให้กระบวนการใช้อำนาจนิติบัญญัติของรัฐสภาในกรณีดังกล่าวมีหลักเกณฑ์และวิธีการซึ่งมีลักษณะแตกต่างจากการทำหน้าที่ในกระบวนนิติบัญญัติทั่วไป โดยมีเป้าหมายเพื่อปกป้องความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญและรักษาความต่อเนื่องของรัฐธรรมนูญเป็นสำคัญ กล่าวได้ว่าแม้รัฐสภามีอำนาจแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ หากแต่เป็นอำนาจที่ได้รับมอบมาซึ่งถูกจำกัดทั้งรูปแบบ กระบวนการ และเนื้อหา รัฐสภาจึงต้องทำหน้าที่ตามที่ได้รับมอบอย่างเคร่งครัด โดยไม่อาจกระทำนอกขอบของหน้าที่และอำนาจที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ได้
“การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญจึงต้องอยู่ในเงื่อนไขที่มีความผูกพันกับรัฐธรรมนูญฉบับเดิม ยึดโยงกับหลักการพื้นฐานและให้เหมาะสมและสอดคล้องกับมติมหาชน รัฐธรรมนูญ 2560 หมวด 15 เพียงบัญญัติให้สามารถแก้ไข เพิ่มเติมรัฐธรรมนูญได้เท่านั้น ไม่มีบทบัญญัติให้จัดทำขึ้นใหม่ทั้งฉบับ การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ด้วยวิธีการร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมให้มีหมวด 15/1 ย่อมมีผลเป็นการยกเลิกรัฐธรรมนูญ 2560 อันเป็นการแก้ไขหลักการสำคัญที่ผู้มีอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญดั้งเดิมต้องการปกป้องคุ้มครองไว้”
หากรัฐสภาต้องการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ต้องจัดให้ประชาชนผู้ทรงอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญออกเสียงประชามติเสียก่อนว่าสมควรมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ ถ้าผลการออกเสียงประชามติเห็นชอบด้วย จึงดำเนินการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ต่อไป เมื่อเสร็จแล้วต้องจัดให้มีการออกเสียงประชามติว่าเห็นชอบหรือไม่กับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเป็นการให้ประชาชนพิจารณาเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แล้วจึงนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย เมื่อทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว จึงนำประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญต่อไป อันเป็นกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญตามครรลองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
อาศัยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จึงวินิจฉัยว่า รัฐสภามีหน้าที่และอำนาจจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ โดยต้องให้ประชาชนผู้มีอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญได้ลงประชามติเสียก่อนว่าประชาชนประสงค์จะให้มี รัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ และเมื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เสร็จแล้ว ต้องให้ประชาชน ลงประชามติเห็นชอบหรือไม่กับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่อีกครั้งหนึ่ง