แนวข้อสอบ สรรพากร หมวดภาษีการรับมรดกและภาษีจากการให้ (ุ7)

กระทู้สนทนา
เม่าอ่านแนวข้อสอบ สรรพากร เกี่ยวกับ ภาษีการรับมรดกและภาษีจากการให้  ค่ะ เป็นแนวข้อสอบที่เราสรุปเองก่อนสอบ ปี 2562
หากบางข้อที่คำตอบผิดหรือคลาดเคลื่อน ก็ช่วยกันคอมเม้นท์แก้ไขหรือเพิ่มเติมได้นะค่ะ
  
****อ่านเยอะๆ  ตอนอ่านพยายามตั้งคำถามและคำตอบ ทำแบบทดสอบบ่อยๆ จะทำให้จำได้มากขึ้น และอีกอย่างที่อยากแนะนำคือ ตอนที่ทำแนวข้อสอบ ข้อไหนที่เราไม่เข้าใจในคำตอบ ควรหาข้อมูลเพิ่มเติมมาอ่าน แล้วสรุปต่อจากคำตอบ ในแนวข้อสอบนั้นเลย ตอนเราอ่านย้อนอีกรอบจะได้ง่ายต่อการจดจำค่ะ และอย่าลืมคอยติดตามอ่านข้อมูล ข่าวสารที่อัพเดทหน้าเว็ปกรมสรรพากรด้วยนะค่ะ  ข้อสอบมักจะอยู่ตรงที่อัพเดทข้อมูลภาษีใหม่ๆ ค่ะ

***แจกฟรีนะค่ะ กรุณาอย่า copy ไปขาย ถ้า copy ไปอ่านเอง หรือแจก ก็ยินดีแบ่งปันค่ะ***

สรุปเกี่ยวกับภาษีการรับมรดก

1. ภาษีการรับมรดก (Inheritance Tax) เกิดขึ้นเมื่อเจ้ามรดกตาย ผู้รับมรดกจากเจ้ามรดก แต่ละรายได้รับมรดกสุทธิมาในคราวเดียวหรือหลายคราว รวมกันแล้วมีมูลค่าเท่าใด
 ตอบ มูลค่าเกินกว่า 100 ล้านบาท มีหน้าที่ต้องเสียภาษีตามที่กฎหมายกำหนด โดยต้องเสียภาษีเฉพาะส่วนที่เกิน 100 ล้านบาท สำหรับผู้รับมรดก โดยจัดเก็บภาษีอัตราสูงสุด 10% สำหรับมรดกส่วนที่เกิด 100 ล้านบาท

2. บุคคลธรรมดาที่มีหน้าที่เสียภาษีการรับมรดกตามข้อใดให้เสียภาษีจากทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย
ตอบ บุคคลธรรมดาผู้มิได้มีสัญชาติไทย แต่ได้รับมรดกอันเป็นทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย

3.  บุคคลธรรมดาที่มีหน้าที่เสียภาษีการรับมรดกตามข้อใดให้เสียภาษีจากทรัพย์สินทั้งที่อยู่ในประเทศไทยและนอกประเทศ
ตอบ  (1) บุคคลผู้มีสัญชาติไทย
         (2) บุคคลธรรมดาผู้มิได้มีสัญชาติไทย แต่มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง

4.นิติบุคคลที่มีหน้าที่เสียภาษีการรับมรดกตามข้อใดให้เสียภาษีจากทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย
ตอบ กรณีผู้ที่ได้รับมรดกเป็นนิติบุคคลที่มิได้ถือว่าเป็นบุคคลผู้มีสัญชาติไทย

5. นิติบุคคลที่มีหน้าที่เสียภาษีการรับมรดกตามข้อใดให้เสียภาษีการรับมรดกจากมรดกที่ได้รับเป็นทรัพย์สินทั้งที่อยู่ในประเทศไทยและนอกประเทศ
ตอบ นิติบุคคลที่มีสัญชาติไทย

6. ทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีการรับมรดก ได้แก่ข้องใด
ตอบ    1. อสังหาริมทรัพย์ 
           2. หลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ 
           3. เงินฝากหรือเงินอื่นใดที่มีลักษณะอย่างเดียวกันซึ่งอยู่ในประเทศไทย ที่เจ้ามรดกมีสิทธิเรียกถอนคืนหรือสิทธิเรียกร้องจากสถาบันการเงินหรือบุคคลที่ได้รับเงินนั้นไว้ 
           4. ยานพาหนะที่มีหลักฐานทางทะเบียน 
           5. ทรัพย์สินทางการเงินที่กำหนดเพิ่มขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกา

7.การคำนวณมูลค่าทรัพย์วันที่ต้องเสียภาษีการรับมรดก  กรณีอสังหาริมทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย ให้ถือเอาตามราคาประเมินทุนทรัพย์ของอสังหาริมทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน หักด้วยข้อใด
ตอบ หักด้วยภาระที่ถูกรอนสิทธิ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง

8.การคำนวณมูลค่าทรัพย์วันที่ต้องเสียภาษีการรับมรดก   อสังหาริมทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในต่างประเทศ ให้คำนวณมูลค่า กรณีอสังหาริมทรัพย์ตั้งอยู่ในประเทศซึ่งมีราคาประเมินในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ให้ถือเอาตามราคาใด
ตอบ ให้ถือเอาตามราคาประเมินทุนทรัพย์ของอสังหาริมทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามกฎหมายของประเทศนั้น

9.จากข้อ 8 กรณีอสังหาริมทรัพย์ตั้งอยู่ในประเทศซึ่งไม่มีราคาประเมินในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ให้ใช้ราคาใด
ตอบ ราคาที่รับรองโดยหน่วยงานหรือองค์กรที่ได้รับการรับรองหรือความเห็นชอบให้เป็นผู้มีสิทธิประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ในประเทศที่อสังหาริมทรัพย์นั้นตั้งอยู่

10.จากข้อ 8 กรณีอื่น ๆ ให้ใช้ราคาใด
ตอบ ราคาตลาดในวันที่ได้รับมรดก

11.การคำนวณมูลค่าทรัพย์วันที่ต้องเสียภาษีการรับมรดก  กรณีหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ให้ถือเอาราคาใด
ตอบ ราคาของหลักทรัพย์นั้นในเวลาสิ้นสุดเวลาทำการของตลาดหลักทรัพย์ในวันที่ได้รับมรดก

12. ถ้าผู้รับมรดกเป็นบุพการี หรือผู้สืบสันดาน อัตราภาษีมรดกคือข้อใด
ตอบ  5%

13.ผู้รับมรดกเป็นสามีภริยาที่จดทะเบียนสมรสถูกต้อง อัตราภาษีมรดกคือข้อใด
ตอบ ได้รับยกเว้น ไม่ต้องเสียภาษีการรับมรดกแต่อย่างใด

14.การยื่นภาษีมรดกต้องใช้แบบตามข้อใด
ตอบ ภ.ม.60 

15. ต้องยื่นภาษีมรดกภายในกี่วัน
ตอบ ต้องยื่นแบบและชำระภาษีภายใน 150 วัน นับจากวันที่ได้รับมรดกจากเจ้ามรดกนั้นๆ เกิน 100 ล้านบาท และสามารถเลือกผ่อนจ่ายภาษีได้สูงสุด 5 ปี โดยอาจต้องจ่ายเงินเพิ่มบางส่วน  (ในอัตรา 0.75% ต่อเดือน) แต่ถ้าผ่อนจ่ายครบภายในเวลา 2 ปีได้จะไม่มีภาระเงินเพิ่มแต่อย่างใด

16.กรณีไม่เสียภาษีมรดก เสียเงินเพิ่มเบี้ยปรับเท่าไร
ตอบ เงินเพิ่ม 1.5 % เบี้ยปรับ 1 เท่า

17. กรณียื่นแบบเสียภาษี แต่ชำระไม่ครบถ้วน เสียเงินเพิ่มเบี้ยปรับเท่าไร
ตอบ เงินเพิ่ม 1.5 % เบี้ยปรับ 0.5 เท่า

18.ผู้ที่ได้รับการยกเว้นภาษีมรดก ได้แก่ข้อใด
ตอบ    - ตายก่อนกฎหมายบางคับ
          - คู่สมรสเจ้าของมรดก
          - ใช้เพื่อสาธารณประโยชน์
          - หน่วยงานรัฐ
          - องค์กรระหว่างประเทศ
---------------------------------------------------------------------------
สรุปภาษีจากการให้

1. ภาษีการรับให้ (Gift Tax) มีความหมายตามข้อใด
ตอบ คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่เรียกเก็บจากทรัพย์สินที่ให้หรือรับจากการรับให้โดยเสน่หาก่อนผู้ให้เสียชีวิต ทั้งนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการหลีกเลี่ยงภาษีการรับมรดก โดยจะเรียกเก็บภาษีที่จะต้องเสียจากทรัพย์สิน ได้แก่
          1. สังหาริมทรัพย์ทุกประเภทที่คำนวณเป็นเงินได้ เช่น เงินสด รถยนต์ ทองคำ เครื่องประดับ เป็นต้น
          2. อสังหาริมทรัพย์ทุกประเภท เช่น บ้าน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง ที่ดิน เป็นต้น

2. กำหนดให้ผู้ที่ได้รับเงินได้สังหาริมทรัพย์ทุกประเภทที่คำนวณเป็นเงินได้ เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษี ได้แก่ข้อใด
ตอบ    - บุคคลธรรมดาผู้ได้รับเงินได้จากการอุปการะหรือจากการให้โดยเสน่หาจากบุพการี ผู้สืบสันดาน หรือคู่สมรส เฉพาะเงินได้ในส่วนที่เกินกว่า 20 ล้านบาทในแต่ละปีภาษี
           - บุคคลธรรมดาผู้ได้รับเงินจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยาหรือจากการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณีจากบุคคลอื่น ซึ่งมิใช่บุพการี ผู้สืบสันดาน คู่สมรส เฉพาะเงินได้ส่วนที่เกินกว่า 10 ล้านบาท ในแต่ละปีภาษี

3. อัตราภาษี กรณีสังหาริมทรัพย์ มีอัตราเท่าใด
ตอบ    - เสียภาษีอัตราร้อยละ 5 ของมูลค่าทรัพย์สินที่ได้รับในส่วนที่เกิน20 ล้านบาท หรือ 10 ล้านบาท
           -  หรือสามารถนำไปรวมคำนวณกับเงินได้พึงประเมินอื่นก็ได้ ยื่นด้วยแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90  ภายในวันที่  31 มีนาคมของปีถัดไป

4. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีกรณีได้รับอสังหาริมทรัพย์ คือข้อใด
ตอบ  กำหนดให้ผู้ที่โอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษี ได้แก่ บิดาและหรือมารดาผู้โอนกรรมสิทธิ์ให้บุตรชอบด้วยกฎหมาย แต่ไม่รวมถึงบุตรบุญธรรม โดยกฎหมายถือว่าเป็น“ผู้ขาย” อสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว จึงมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หัก ณ ที่จ่าย และนำส่งเจ้าพนักงานในขณะที่มีการจดทะเบียนสิทธิหรือนิติกรรมตามกฎหมายที่ดิน

5.อัตราภาษี เสียภาษีอัตรากรณีอสังหาริมทรัพย์ มีอัตราเท่าใด
ตอบ      - ร้อยละ 5 ของมูลค่าทรัพย์สินที่ได้รับในส่วนที่เกิน 20 ล้านบาท 
             - หรือสามารถนำไปรวมคำนวณกับเงินได้พึงประเมินอื่นก็ได้ ยื่นด้วยแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90 ภายในวันที่ 31 มีนาคมของปีถัดไป

เพี้ยนยิ้ม
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่