เมื่อธุรกิจเกิดผิดพลาด จนต้องปิดกิจการ
.
.
ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จไม่ได้เกิดจากความฟลุ๊ค แต่เป็นเพราะทำตามแผนที่วางเอาไว้อย่างรัดกุม อย่างมีระเบียบ
ใคร ๆ ก็คงอยากมีธุรกิจเป็นของตัวเองกันทั้งนั้น แต่ต้องเข้าใจก่อนว่าการทำงานหรือการทำธุรกิจใด ๆ
ย่อมมีโอกาสเกิดความผิดพลาดขึ้นเป็นเรื่องธรรมดา ด้วยประสบการณ์ที่น้อยก็มักจะทำให้ผิดพลาดได้
แต่ความผิดพลาดนั้น จะมีความเสียหายตามมามากหรือน้อย ก็มักจะขึ้นอยู่กับเงินทุนที่ใช้ลงทุนไปว่ามากไหม
ถ้าใช้มากก็เสียหายมาก ความจริงที่ว่าคือเรื่องแบบนี้ มักจะเกิดกับคนเราอยู่เสมอ โดยเฉพาะคนที่มีเงินแต่ขาดความรู้และประสบการณ์ที่มากพอ
เมื่อถึงวันหนึ่ง ธุรกิจที่สร้างมาเองกับมือล้มเหลว หากเป็นคุณจะทำยังไงต่อ ? คงไม่มีใครอยากมีคำถามนี้หรอกจริงไหม การที่ธุรกิจล้มเหลวนั้นจริง ๆ แล้วเกิดขึ้นได้จากหลาย ๆ ปัจจัยด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น เศรษฐกิจบุคลากร ระบบงาน และปัจจัยละเอียดยิบย่อยมากมาย แต่ทราบไหมว่า ทุกปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นมาจากปัญหาใหญ่ ๆ เพียงข้อเดียวนั่นก็คือ “การวางแผนไม่ดีพอ” นั่นเอง
โดยเฉพาะสมัยนี้หลาย ๆ คนไม่มีความรู้ทางด้านธุรกิจมีแค่ใจที่อยากจะทำ เมื่อเริ่มต้นธุรกิจจึงทำให้หลาย ๆ คนต้องเจอกับความล้มเหลวและไม่รู้วิธีแก้ปัญหาที่ตรงประเด็น ทีนี้ลองมาดูสาเหตุเบื้องต้นที่ทำธุรกิจล้มเหลวว่ามีอะไรบ้าง
1. ขาดความรู้ในเรื่องธุรกิจที่จะทำ
สำหรับคนที่มีเงินมากมาย โดยเฉพาะเงินที่ได้มาเร็ว เป็นเงินก้อนใหญ่ ถูกรางวัลลอตเตอรี่หรือได้รับเงินมรดกมา เมื่อมีเงินมาก แน่นอนว่าย่อมจะมีคนมาชักชวนให้ลงทุนต่าง ๆ ซึ่งในหลายเรื่องตัวเองก็ยังไม่มีความรู้ แต่พลาดไปลงทุน เพราะส่วนใหญ่ผู้ที่ชักชวน ก็มักจะกล่าวอ้างถึงผลกำไรที่ดีที่จะได้ ทำ ให้เกิดความโลภว่าถ้าลงทุนไปแล้วจะต้องได้กำไรดีแน่นอน บางคนจึงมักจะลงเอยด้วยการขาดทุน การทำธุรกิจในเรื่องที่ตัวเองไม่มีความรู้ในเรื่องนั้น ๆ ทำให้ต้องจ้างคนอื่นทุกอย่าง ให้คนอื่นช่วยบริหารจัดการ วางแผนแทน และแน่นอนว่ารายจ่ายก็จะเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว ซึ่งต่างจากคนที่เน้นการลงทุนโดยจ้างคนน้อยที่สุด แต่อาศัยการบริหารจัดการที่ดีของตัวเอง แต่ผู้ลงทุนจะต้องมี ความรู้และเข้าใจในเรื่องนั้น ๆ เป็นอย่างดี หากทำแบบนี้โอกาสที่จะทำให้ธุรกิจล้มก็ยากกว่า
2. มีทุนมากใช่ว่าธุรกิจจะประสบความสำเร็จ
เชื่อไหมการมีทุนมากมีโอกาสที่ทำธุรกิจแล้วล้มเร็วกว่าคนมีทุนน้อยเสียอีก เพราะประมาทและมีความเข้าใจผิด ๆ คิดว่า เงินทุนมากจะทำให้ประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจ แม้จะเป็นผู้ที่เคยมีประสบการณ์ในการทำธุรกิจมาก่อนก็ตาม แต่ก็มีหลายคนที่ผิดพลาดไป การมีเงินทุนมาก ต้องมีความรอบคอบในการบริหารจัดการ วางแผนธุรกิจเป็นอย่างดี เพราะเวลาที่ผิดพลาดแล้ว ก็จะเสียเงินไปมากเหมือนกัน ฉะนั้นทางที่ดี หากคิดจะลงทุนทำธุรกิจแล้วล่ะก็ อย่าประมาทเด็ดขาด
3. ใช้เงินในทางผิดบริหารไม่เป็น
หลังจากที่มีรายได้จากกิจการแล้ว งานที่ทำอยู่ก็ยังต้องศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม การจัดการบริหารเงินต้องมีการกระจายความเสี่ยง ลงทุนหลายอย่าง เพื่อความ ไม่ประมาท เพราะธุรกิจทุกประเภทมีขึ้นมีลง บางคนเริ่มทำงานได้เงินมายังตั้งตัวไม่ได้ แต่ก็ออกรถใหม่โดยไม่จำเป็น หรือเกินความจำเป็น แถมเป็นคนใช้เงินเก่งและฟุ่มเฟือย แบบนี้ ก็มักจะไปไม่รอด ลองสังเกตวิถีชีวิตของคนที่ประสบความสำเร็จว่าเขาวางแผนใช้อย่างไร แบบมีเหลือใช้ และนำเงินบางส่วนไปต่อยอด ให้เงินงอกเงย
4. ขาดประสบการณ์
ผู้ที่ประสบความสำเร็จแล้ว กว่าจะถึงจุดสูงสุดของชีวิต มีฐานะร่ำรวย ขยายกิจการได้ใหญ่โต ล้วนต้องผ่านความลำบากในการทำงาน ลองถูกลองผิด เจอความผิดพลาดมาหลายรอบ ซึ่งก็จะทำให้เกิดประสบการณ์มองอะไรได้ทะลุเตรียมรับมือได้ บางคนไม่มีประสบการณ์แต่อาศัย จังหวะว่ามีโชคช่วย ทำมาค้าขายเจริญรุ่งเรืองมาโดยตลอด หากเจอเหตุการณ์ไม่คาดคิด เมื่อไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อน ก็มีโอกาสสูงที่ทำให้กิจการล้มได้
5. ธุรกิจทุกประเภทมีวันขึ้นและลง
เรื่องนี้สำคัญที่จะต้องศึกษาและทำความเข้าใจกับธุรกิจของตัวเองอย่างละเอียดรอบคอบ เพื่อดูว่า ธุรกิจนั้น มีโอกาสเดินไปถึงจุด จบเมื่อใด อย่างสมัยนี้ธุรกิจสำนักพิมพ์ ซึ่งทุกวันนี้ไม่เป็นที่นิยมอีกแล้ว เพราะเป็นยุคดิจิทัล คนที่ซื้อหนังสือก็น้อยลงไปมาก จนทำให้สำนักพิมพ์ใหญ่ ๆ ต้องปิดตัว ซึ่งก็ยังมีธุรกิจอีกหลายประเภทที่กำลังจะหายไปจากโลก ดังนั้นต้องทำความเข้าใจกับธุรกิจของตัวเองให้ดี และเตรียมตัวรับมือ ให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของโลกด้วย บางคนที่ผิดพลาดเพราะขาดความรู้และประสบการณ์มีให้เห็นมากมาย
6. ขาดเป้าหมายและแผนธุรกิจ
ในช่วงการทำธุรกิจแรก ๆ หลาย ๆ คนมักจะเริ่มมาจากมองเห็นโอกาสทางธุรกิจ หรือพัฒนาในสิ่งที่ตัวเองรักกลายมาเป็นธุรกิจ ก็มักจะทำไปเรื่อย ๆ โดยไม่คิดอะไร เพราะเห็นว่ายังขายดี อยู่ได้ ก็ขายไปวัน ๆ จนกระทั่งมาสะดุดอีกทีก็เมื่อเจออะไรที่มันกระทบกับธุรกิจของเรา โดยที่ไม่ได้คาดคิดมาก่อนว่าจะเกิดขึ้น และไม่เคยวางแผนมาก่อน ทำให้รับมือและปรับตัวไม่ทัน และอาจถึงขั้นกิจการล้มได้
สาเหตุที่จะทำให้การทำธุรกิจมีปัญหา จนล้มเหลว ต้องปิดกิจการไปในที่สุด เกิดจากอีกหลาย ๆ สาเหตุ เมื่อเริ่มทำธุรกิจ เกิดรายได้ จึงต้องศึกษาให้รอบด้าน อย่าหยุดเรียนรู้พัฒนาตนเอง อย่าใช้ชีวิตซับซ้อน จะทำให้มีแต่ปัญหาตามมา และเมื่อมีเงินมากขึ้น ก็ต้องศึกษาการบริหารเงิน ศึกษาการใช้เงินไปหมุนเงินให้งอกเงย หรืออาจจะนำไปฝากเงินไว้ กับระบบ เช่น เมื่อเริ่มมีรายได้มากขึ้น ก็นำไปเล่นหุ้น เน้นปันผล หรือลงทุนกับอสังหาริมทรัพย์หรือการลงทุนด้านอื่นที่มีโอกาสสร้าง ผลกำไรที่เพิ่มขึ้นและไม่เสี่ยงเกินไปด้วย
===============
วรัทภพ รชตนามวงษ์
เมื่อธุรกิจเกิดผิดพลาด จนต้องปิดกิจการ
โดยเฉพาะสมัยนี้หลาย ๆ คนไม่มีความรู้ทางด้านธุรกิจมีแค่ใจที่อยากจะทำ เมื่อเริ่มต้นธุรกิจจึงทำให้หลาย ๆ คนต้องเจอกับความล้มเหลวและไม่รู้วิธีแก้ปัญหาที่ตรงประเด็น ทีนี้ลองมาดูสาเหตุเบื้องต้นที่ทำธุรกิจล้มเหลวว่ามีอะไรบ้าง
1. ขาดความรู้ในเรื่องธุรกิจที่จะทำ
สำหรับคนที่มีเงินมากมาย โดยเฉพาะเงินที่ได้มาเร็ว เป็นเงินก้อนใหญ่ ถูกรางวัลลอตเตอรี่หรือได้รับเงินมรดกมา เมื่อมีเงินมาก แน่นอนว่าย่อมจะมีคนมาชักชวนให้ลงทุนต่าง ๆ ซึ่งในหลายเรื่องตัวเองก็ยังไม่มีความรู้ แต่พลาดไปลงทุน เพราะส่วนใหญ่ผู้ที่ชักชวน ก็มักจะกล่าวอ้างถึงผลกำไรที่ดีที่จะได้ ทำ ให้เกิดความโลภว่าถ้าลงทุนไปแล้วจะต้องได้กำไรดีแน่นอน บางคนจึงมักจะลงเอยด้วยการขาดทุน การทำธุรกิจในเรื่องที่ตัวเองไม่มีความรู้ในเรื่องนั้น ๆ ทำให้ต้องจ้างคนอื่นทุกอย่าง ให้คนอื่นช่วยบริหารจัดการ วางแผนแทน และแน่นอนว่ารายจ่ายก็จะเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว ซึ่งต่างจากคนที่เน้นการลงทุนโดยจ้างคนน้อยที่สุด แต่อาศัยการบริหารจัดการที่ดีของตัวเอง แต่ผู้ลงทุนจะต้องมี ความรู้และเข้าใจในเรื่องนั้น ๆ เป็นอย่างดี หากทำแบบนี้โอกาสที่จะทำให้ธุรกิจล้มก็ยากกว่า
2. มีทุนมากใช่ว่าธุรกิจจะประสบความสำเร็จ
เชื่อไหมการมีทุนมากมีโอกาสที่ทำธุรกิจแล้วล้มเร็วกว่าคนมีทุนน้อยเสียอีก เพราะประมาทและมีความเข้าใจผิด ๆ คิดว่า เงินทุนมากจะทำให้ประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจ แม้จะเป็นผู้ที่เคยมีประสบการณ์ในการทำธุรกิจมาก่อนก็ตาม แต่ก็มีหลายคนที่ผิดพลาดไป การมีเงินทุนมาก ต้องมีความรอบคอบในการบริหารจัดการ วางแผนธุรกิจเป็นอย่างดี เพราะเวลาที่ผิดพลาดแล้ว ก็จะเสียเงินไปมากเหมือนกัน ฉะนั้นทางที่ดี หากคิดจะลงทุนทำธุรกิจแล้วล่ะก็ อย่าประมาทเด็ดขาด
3. ใช้เงินในทางผิดบริหารไม่เป็น
หลังจากที่มีรายได้จากกิจการแล้ว งานที่ทำอยู่ก็ยังต้องศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม การจัดการบริหารเงินต้องมีการกระจายความเสี่ยง ลงทุนหลายอย่าง เพื่อความ ไม่ประมาท เพราะธุรกิจทุกประเภทมีขึ้นมีลง บางคนเริ่มทำงานได้เงินมายังตั้งตัวไม่ได้ แต่ก็ออกรถใหม่โดยไม่จำเป็น หรือเกินความจำเป็น แถมเป็นคนใช้เงินเก่งและฟุ่มเฟือย แบบนี้ ก็มักจะไปไม่รอด ลองสังเกตวิถีชีวิตของคนที่ประสบความสำเร็จว่าเขาวางแผนใช้อย่างไร แบบมีเหลือใช้ และนำเงินบางส่วนไปต่อยอด ให้เงินงอกเงย
4. ขาดประสบการณ์
ผู้ที่ประสบความสำเร็จแล้ว กว่าจะถึงจุดสูงสุดของชีวิต มีฐานะร่ำรวย ขยายกิจการได้ใหญ่โต ล้วนต้องผ่านความลำบากในการทำงาน ลองถูกลองผิด เจอความผิดพลาดมาหลายรอบ ซึ่งก็จะทำให้เกิดประสบการณ์มองอะไรได้ทะลุเตรียมรับมือได้ บางคนไม่มีประสบการณ์แต่อาศัย จังหวะว่ามีโชคช่วย ทำมาค้าขายเจริญรุ่งเรืองมาโดยตลอด หากเจอเหตุการณ์ไม่คาดคิด เมื่อไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อน ก็มีโอกาสสูงที่ทำให้กิจการล้มได้
5. ธุรกิจทุกประเภทมีวันขึ้นและลง
เรื่องนี้สำคัญที่จะต้องศึกษาและทำความเข้าใจกับธุรกิจของตัวเองอย่างละเอียดรอบคอบ เพื่อดูว่า ธุรกิจนั้น มีโอกาสเดินไปถึงจุด จบเมื่อใด อย่างสมัยนี้ธุรกิจสำนักพิมพ์ ซึ่งทุกวันนี้ไม่เป็นที่นิยมอีกแล้ว เพราะเป็นยุคดิจิทัล คนที่ซื้อหนังสือก็น้อยลงไปมาก จนทำให้สำนักพิมพ์ใหญ่ ๆ ต้องปิดตัว ซึ่งก็ยังมีธุรกิจอีกหลายประเภทที่กำลังจะหายไปจากโลก ดังนั้นต้องทำความเข้าใจกับธุรกิจของตัวเองให้ดี และเตรียมตัวรับมือ ให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของโลกด้วย บางคนที่ผิดพลาดเพราะขาดความรู้และประสบการณ์มีให้เห็นมากมาย
6. ขาดเป้าหมายและแผนธุรกิจ
ในช่วงการทำธุรกิจแรก ๆ หลาย ๆ คนมักจะเริ่มมาจากมองเห็นโอกาสทางธุรกิจ หรือพัฒนาในสิ่งที่ตัวเองรักกลายมาเป็นธุรกิจ ก็มักจะทำไปเรื่อย ๆ โดยไม่คิดอะไร เพราะเห็นว่ายังขายดี อยู่ได้ ก็ขายไปวัน ๆ จนกระทั่งมาสะดุดอีกทีก็เมื่อเจออะไรที่มันกระทบกับธุรกิจของเรา โดยที่ไม่ได้คาดคิดมาก่อนว่าจะเกิดขึ้น และไม่เคยวางแผนมาก่อน ทำให้รับมือและปรับตัวไม่ทัน และอาจถึงขั้นกิจการล้มได้
สาเหตุที่จะทำให้การทำธุรกิจมีปัญหา จนล้มเหลว ต้องปิดกิจการไปในที่สุด เกิดจากอีกหลาย ๆ สาเหตุ เมื่อเริ่มทำธุรกิจ เกิดรายได้ จึงต้องศึกษาให้รอบด้าน อย่าหยุดเรียนรู้พัฒนาตนเอง อย่าใช้ชีวิตซับซ้อน จะทำให้มีแต่ปัญหาตามมา และเมื่อมีเงินมากขึ้น ก็ต้องศึกษาการบริหารเงิน ศึกษาการใช้เงินไปหมุนเงินให้งอกเงย หรืออาจจะนำไปฝากเงินไว้ กับระบบ เช่น เมื่อเริ่มมีรายได้มากขึ้น ก็นำไปเล่นหุ้น เน้นปันผล หรือลงทุนกับอสังหาริมทรัพย์หรือการลงทุนด้านอื่นที่มีโอกาสสร้าง ผลกำไรที่เพิ่มขึ้นและไม่เสี่ยงเกินไปด้วย
===============
วรัทภพ รชตนามวงษ์