ขอบคุณสำหรับแนวคิดดีๆ เสมอมาครับ
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?t=61379
ทุกครั้งที่ได้ยินว่าบริษัทจดทะเบียนจะ “Go Inter” หรือขยายการลงทุนไปต่างประเทศอย่างมีนัยสำคัญ ผมก็มักจะรู้สึก “ไม่ค่อยสบายใจ” ประสบการณ์ของบริษัทไทยที่ขยายการลงทุนไปต่างประเทศนั้นค่อนข้างจะแย่
เมื่อเร็ว ๆ นี้บริษัทหนึ่งที่ผมถือหุ้นอยู่ก็เพิ่งแถลงว่าต้อง “สำรองการด้อยค่าของเงินลงทุน” จำนวนมากเมื่อเทียบกับผลกำไรประจำไตรมาศ ว่าที่จริงผมเองตระหนักอยู่แล้วว่ามันเป็น “ความเสี่ยง” ก่อนที่ผมจะเข้าไปถือหุ้น แต่ก็ไม่คิดว่ามันจะเกิดขึ้นรวดเร็วขนาดนั้น ยังดีที่บริษัทมีขนาดธุรกิจและกำไรที่ใหญ่และมากพอที่จะรองรับความเสียหายนั้นได้โดยผลประกอบการไม่ถูกกระทบมากนัก อย่างไรก็ตาม การ Go Inter หรือขยายธุรกิจไปต่างประเทศนั้น ผมคิดว่าจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในบริษัทจดทะเบียน เหตุผลก็คือ เศรษฐกิจของไทยโตช้าลงมากจนใกล้ถึงจุดอิ่มตัว การที่บริษัทจะโตต่อไปอย่างรวดเร็วดูเหมือนจะมีหนทางเดียวนั่นก็คือ การขยายตลาดไปต่างประเทศ
การขยายธุรกิจโดยการไปลงทุนในต่างประเทศนั้น โดยปกติมักจะเป็นเรื่องที่ยากกว่าการทำธุรกิจในประเทศไม่น้อย เหตุผลก็เพราะว่าสภาพแวดล้อมและปัจจัยในการแข่งขันทางธุรกิจมักจะแตกต่างจากที่อยู่ในประเทศไทย ดังนั้น แม้ว่าบริษัทจะประสบความสำเร็จและอาจจะเป็นผู้นำหมายเลข 1 ในไทย ซึ่งก็มักจะเป็นเพราะบริษัทมีความรู้ความเข้าใจในธุรกิจเหนือกว่าคู่แข่งและมีปัจจัยในการแข่งขันที่ “ได้เปรียบ” คู่แข่งและคู่แข่งไม่สามารถเลียนแบบได้ แต่เวลาที่บริษัทเข้าไปแข่งในต่างประเทศนั้น บริษัทกลับมักจะเสียเปรียบคู่แข่งที่เป็น “เจ้าถิ่น” ในเกือบทุกด้าน ผลก็คือ บริษัทมักจะ “แพ้” แม้ว่าชื่อชั้นและความสามารถในระดับสากลของบริษัทจะเหนือกว่าบริษัทเจ้าถิ่น
ตัวอย่างบริษัทจดทะเบียนที่ Go Inter แล้ว “แพ้” หรือไม่ประสบความสำเร็จนั้นมีมากมาย เท่าที่ผมพอจะนึกได้รวมถึงบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ราคาถูกชั้นนำที่พยายามเข้าไปทำธุรกิจในอินเดียที่น่าจะมีคนต้องการบ้านราคาถูกจำนวนมาก แต่สุดท้ายก็ต้องถอยออกมา เหตุผลผมเองก็ไม่ทราบละเอียดนัก แต่เข้าใจว่าเป็นเรื่องของกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ “ไม่เอื้ออำนวย” และนี่ก็ดูเหมือนว่าจะเป็นสาเหตุสำคัญที่มักทำให้บริษัทที่ Go Inter “ตกม้าตาย” หรือไม่ประสบความสำเร็จจำนวนมาก
อีกบริษัทหนึ่งก็คือบริษัททำธุรกิจเกี่ยวกับห้างสรรพสินค้าที่ต้องการเข้าไปขยายธุรกิจในตลาดจีนที่ใหญ่โตมหาศาล แต่แล้วกลับพบว่าไม่สามารถหาซัพพลายเออร์ท้องถิ่นที่จะนำสินค้าที่เป็นที่นิยมของลูกค้าเข้าร้านได้เนื่องจากถูกบล็อกหรือห้ามโดยห้างสรรพสินค้าของท้องถิ่น และนี่ก็เป็นเรื่องของการ “ตกม้าตาย” เพราะคิดไม่ถึงว่าจะมีการใช้กลยุทธ์แบบนี้ด้วย
ในหลายกรณีของธุรกิจที่เป็นระดับ “สากล” เช่นในเรื่องของการสำรวจและขุดเจาะหาพลังงานนั้น บ่อยครั้งบริษัทก็ต้องแข่งขันกับบริษัทชั้นนำระดับโลก ต้องเข้าไปเสนอราคาซื้อกิจการในต่างประเทศหรือเข้าไปประมูลแข่งเพื่อขุดหาพลังงาน ในกรณีแบบนี้ บริษัทก็มักจะ “เสียเปรียบ” ในการแข่งขันเกือบทุกด้านรวมถึงขนาดของกิจการ ผลก็คือ ความเสียหายเกิดขึ้นบ่อยครั้ง บางทีบริษัทไทยอาจจะยัง “ไม่แน่พอ” ที่จะเข้าไปทำในสิ่งเหล่านี้ ในความเห็นของผม การ Go Inter ที่น่าจะมีโอกาสสำเร็จได้ ควรจะเป็นธุรกิจที่เรามีความสามารถเหนือกว่าประเทศที่เราเข้าไปทำมากหน่อย เช่น ธุรกิจในประเทศที่มีการพัฒนาต่ำกว่าไทยมากเช่นในประเทศเมียนมาร์ ลาว และกัมพูชา เป็นต้น ส่วนในเวียตนามเองนั้น ผมคิดว่าความแตกต่างในระดับการพัฒนาเราไม่ทิ้งห่างเขามากนัก ดังนั้น การขยายเข้าไปทำธุรกิจในเวียตนามและให้ประสบความสำเร็จก็มักจะไม่ง่ายแต่ก็ยังพอมีความหวังได้ ส่วนการเข้าไปทำธุรกิจในประเทศที่ก้าวหน้ากว่าไทยนั้น ก็มักจะยากขึ้นเป็นลำดับจนแทบเป็นไปไม่ได้ ยกเว้นแต่ว่ามันเป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันน้อยหรือเป็นธุรกิจที่ “ทำได้ง่าย”
บริษัทจดทะเบียนที่ไปต่างประเทศและประสบความสำเร็จค่อนข้างดีนั้น ผมคิดว่าคือธุรกิจโรงแรมที่บริษัทชั้นนำของไทยมีความสามารถสูงพอและแข่งขันกับบริษัทระดับโลกได้ อีกเหตุผลหนึ่งก็คือ มันเป็นธุรกิจที่ไม่ซับซ้อน การแข่งขันก็มักจะไม่รุนแรง ปัจจัยสำคัญเช่นเรื่องของทำเลและการออกแบบรวมถึงการบริหารงานก็ไม่สามารถมีใครได้เปรียบคนอื่น ดังนั้น ความเสียหายจึงดูมีน้อยโดยเฉพาะถ้าคนที่ขยายงานเป็นบริษัทชั้นนำในไทยทางด้านโรงแรมโดยตรง อย่างไรก็ตาม ผมเองก็ไม่แน่ใจนักว่าการขยายไปต่างประเทศของกิจการโรงแรมจะทำกำไรได้ดีมากน้อยแค่ไหนเมื่อเทียบกับธุรกิจในประเทศ
เช่นเดียวกับธุรกิจโรงแรม ณ. เวลานี้ดูเหมือนว่าธุรกิจที่เกี่ยวกับการผลิตไฟฟ้าโดยเฉพาะที่มาจากพลังงานทางเลือกที่บริษัทจดเบียนจำนวนมากกำลังขยายไปลงทุนในต่างประเทศจะทำได้ดีพอใช้ พวกเขาเข้าไปทั้งในประเทศที่ด้อยกว่าไทยเช่นในประเทศเพื่อนบ้านและในประเทศเจริญแล้วอย่างญี่ปุ่น สาเหตุที่ “ประสบความสำเร็จ” นั้นก็คงเป็นเพราะมันเป็นธุรกิจที่ไม่ซับซ้อนและทำได้ง่าย เพราะเมื่อได้รับ “สัมปทาน” แล้ว อย่างอื่นก็แค่เป็นเรื่องของการหาที่และก่อสร้างให้สำเร็จ การดำเนินการต่อจากนั้นก็แค่ “รอให้แดดออกหรือลมมา” อย่างไรก็ตาม การขยายธุรกิจแบบนี้โดยปกติแล้วก็มักจะไม่สามารถทำกำไรได้สูงมาก โชคดีที่ว่าต้นทุนทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนที่ทำธุรกิจนี้มักจะค่อนข้างจะต่ำ ดังนั้น พวกเขาก็ทำได้ดีพอใช้ในการขยายตลาดไปต่างประเทศ
นอกจากเรื่องของธุรกิจแล้ว ความไม่สบายใจของผมในบางครั้งยังมาจากการที่กิจการในต่างประเทศนั้น มักจะมีความโปร่งใสน้อยกว่ากิจการที่อยู่ในประเทศ การตรวจสอบบัญชีก็ทำได้จำกัดกว่า ดังนั้น ในบางกรณีอย่างเช่นบริษัทลีสซิ่งบางแห่งก็ใช้การขยายงานไปต่างประเทศเป็นเครื่องมือในการแต่งบัญชีและ/หรือไซฟ่อนเงินบริษัทโดยเจ้าของหรือผู้บริหาร ลึก ๆ แล้วผมคิดว่าการ “โกง” โดยอาศัยธุรกิจในต่างประเทศของบริษัทจดทะเบียนนั้นเป็น “ความเสี่ยง” ที่มีนัยยะและต้องติดตาม ไล่ตั้งแต่การซื้อกิจการหรือทรัพย์สินที่อาจจะมี “เงินทอน” ให้ผู้บริหาร ไปจนถึงการไซฟ่อนเงินและการแต่งบัญชีเพื่อการปั่นหุ้น ธุรกิจในต่างประเทศอาจจะเป็น “สวรรค์ของการโกง” ในแง่ที่ว่ามันยากที่จะจับและมันสามารถที่จะ “ปิด” ได้ง่ายเมื่อ “ภารกิจ” จบแล้ว
แน่นอนว่าเราคงไม่สามารถและอาจจะไม่เหมาะสมที่จะหลีกเลี่ยงลงทุนในบริษัทที่ Go Inter สิ่งที่เราจะต้องคำนึงและวิเคราะห์ก็คือ ทำไมบริษัทไปต่างประเทศ? เหตุผลแน่นอนอย่างหนึ่งก็น่าจะเป็นเพราะว่ามันอาจจะทำกำไรได้ดีกว่าในประเทศที่มักจะโตช้าลงและใกล้อิ่มตัว แต่นี่คือความเสี่ยงของนักลงทุน ดังนั้น เราจะต้องดูว่าบริษัทจะมีโอกาสสำเร็จแค่ไหน ถ้าบริษัทเก่งหรือมีความสามารถสูงและขยายธุรกิจเดิมเข้าไปในประเทศที่ด้อยกว่าไทย ความสำเร็จอาจจะมีโอกาสสูงขึ้น และจะสูงขึ้นไปอีกในกรณีที่ธุรกิจนั้นเป็นธุรกิจที่ไม่ซับซ้อนและทำง่าย ตรงกันข้าม ถ้าบริษัทไม่ได้เก่งมากเมื่อเทียบกับคู่แข่งในต่างประเทศรวมถึงการที่มันเป็นธุรกิจที่ทำยากและต้องอาศัยปัจจัยในการแข่งขันสูง โอกาสสำเร็จก็จะมีน้อยลง ประเด็นสุดท้ายก็คือเรื่องของการลงทุนและผลตอบแทนที่จะได้รับ ถ้าเป็นการลงทุนที่น้อยและบริษัทสามารถ “ทดลอง” ได้ว่าจะสำเร็จหรือไม่ การ Go Inter ก็ไม่เสี่ยงมาก แต่ถ้าต้องลงทุนมาก อย่างกรณีการซื้อโรงงานเหล็กของบริษัทจดทะเบียนแห่งหนึ่ง การล้มเหลวก็กลายเป็น “หายนะ” ได้
ในเรื่องของผลตอบแทนนั้น ผมเองก็ยังไม่เคยเห็นว่ามีบริษัทไหนที่ Go Inter แล้วจะสามารถทำกำไรได้อย่างมโหฬาร เท่าที่ผ่านมาโดยรวมนั้นผมคิดว่าความเสียหายมีมากกว่าผลตอบแทนมาก อย่างไรก็ตาม ในอนาคตก็อาจจะมีบริษัทจดทะเบียนที่ประสบความสำเร็จจริง ๆ และทำกำไรมหาศาลได้ ผมคงต้องรอดู แต่ในระหว่างนี้ การลงทุนในต่างประเทศโดยเฉพาะที่ต้องใช้เงินมากเมื่อเทียบกับทรัพย์สินเดิมของบริษัทที่มีอยู่จะเป็นสิ่งที่ผมไม่สบายใจ และที่อาจจะต้องหลีกเลี่ยงเลยก็คือ การลงทุนในสิ่งที่บริษัทไม่เคยทำหรือทำไม่ได้ดีแม้ในประเทศไทย
Go Inter/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?t=61379
ทุกครั้งที่ได้ยินว่าบริษัทจดทะเบียนจะ “Go Inter” หรือขยายการลงทุนไปต่างประเทศอย่างมีนัยสำคัญ ผมก็มักจะรู้สึก “ไม่ค่อยสบายใจ” ประสบการณ์ของบริษัทไทยที่ขยายการลงทุนไปต่างประเทศนั้นค่อนข้างจะแย่
เมื่อเร็ว ๆ นี้บริษัทหนึ่งที่ผมถือหุ้นอยู่ก็เพิ่งแถลงว่าต้อง “สำรองการด้อยค่าของเงินลงทุน” จำนวนมากเมื่อเทียบกับผลกำไรประจำไตรมาศ ว่าที่จริงผมเองตระหนักอยู่แล้วว่ามันเป็น “ความเสี่ยง” ก่อนที่ผมจะเข้าไปถือหุ้น แต่ก็ไม่คิดว่ามันจะเกิดขึ้นรวดเร็วขนาดนั้น ยังดีที่บริษัทมีขนาดธุรกิจและกำไรที่ใหญ่และมากพอที่จะรองรับความเสียหายนั้นได้โดยผลประกอบการไม่ถูกกระทบมากนัก อย่างไรก็ตาม การ Go Inter หรือขยายธุรกิจไปต่างประเทศนั้น ผมคิดว่าจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในบริษัทจดทะเบียน เหตุผลก็คือ เศรษฐกิจของไทยโตช้าลงมากจนใกล้ถึงจุดอิ่มตัว การที่บริษัทจะโตต่อไปอย่างรวดเร็วดูเหมือนจะมีหนทางเดียวนั่นก็คือ การขยายตลาดไปต่างประเทศ
การขยายธุรกิจโดยการไปลงทุนในต่างประเทศนั้น โดยปกติมักจะเป็นเรื่องที่ยากกว่าการทำธุรกิจในประเทศไม่น้อย เหตุผลก็เพราะว่าสภาพแวดล้อมและปัจจัยในการแข่งขันทางธุรกิจมักจะแตกต่างจากที่อยู่ในประเทศไทย ดังนั้น แม้ว่าบริษัทจะประสบความสำเร็จและอาจจะเป็นผู้นำหมายเลข 1 ในไทย ซึ่งก็มักจะเป็นเพราะบริษัทมีความรู้ความเข้าใจในธุรกิจเหนือกว่าคู่แข่งและมีปัจจัยในการแข่งขันที่ “ได้เปรียบ” คู่แข่งและคู่แข่งไม่สามารถเลียนแบบได้ แต่เวลาที่บริษัทเข้าไปแข่งในต่างประเทศนั้น บริษัทกลับมักจะเสียเปรียบคู่แข่งที่เป็น “เจ้าถิ่น” ในเกือบทุกด้าน ผลก็คือ บริษัทมักจะ “แพ้” แม้ว่าชื่อชั้นและความสามารถในระดับสากลของบริษัทจะเหนือกว่าบริษัทเจ้าถิ่น
ตัวอย่างบริษัทจดทะเบียนที่ Go Inter แล้ว “แพ้” หรือไม่ประสบความสำเร็จนั้นมีมากมาย เท่าที่ผมพอจะนึกได้รวมถึงบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ราคาถูกชั้นนำที่พยายามเข้าไปทำธุรกิจในอินเดียที่น่าจะมีคนต้องการบ้านราคาถูกจำนวนมาก แต่สุดท้ายก็ต้องถอยออกมา เหตุผลผมเองก็ไม่ทราบละเอียดนัก แต่เข้าใจว่าเป็นเรื่องของกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ “ไม่เอื้ออำนวย” และนี่ก็ดูเหมือนว่าจะเป็นสาเหตุสำคัญที่มักทำให้บริษัทที่ Go Inter “ตกม้าตาย” หรือไม่ประสบความสำเร็จจำนวนมาก
อีกบริษัทหนึ่งก็คือบริษัททำธุรกิจเกี่ยวกับห้างสรรพสินค้าที่ต้องการเข้าไปขยายธุรกิจในตลาดจีนที่ใหญ่โตมหาศาล แต่แล้วกลับพบว่าไม่สามารถหาซัพพลายเออร์ท้องถิ่นที่จะนำสินค้าที่เป็นที่นิยมของลูกค้าเข้าร้านได้เนื่องจากถูกบล็อกหรือห้ามโดยห้างสรรพสินค้าของท้องถิ่น และนี่ก็เป็นเรื่องของการ “ตกม้าตาย” เพราะคิดไม่ถึงว่าจะมีการใช้กลยุทธ์แบบนี้ด้วย
ในหลายกรณีของธุรกิจที่เป็นระดับ “สากล” เช่นในเรื่องของการสำรวจและขุดเจาะหาพลังงานนั้น บ่อยครั้งบริษัทก็ต้องแข่งขันกับบริษัทชั้นนำระดับโลก ต้องเข้าไปเสนอราคาซื้อกิจการในต่างประเทศหรือเข้าไปประมูลแข่งเพื่อขุดหาพลังงาน ในกรณีแบบนี้ บริษัทก็มักจะ “เสียเปรียบ” ในการแข่งขันเกือบทุกด้านรวมถึงขนาดของกิจการ ผลก็คือ ความเสียหายเกิดขึ้นบ่อยครั้ง บางทีบริษัทไทยอาจจะยัง “ไม่แน่พอ” ที่จะเข้าไปทำในสิ่งเหล่านี้ ในความเห็นของผม การ Go Inter ที่น่าจะมีโอกาสสำเร็จได้ ควรจะเป็นธุรกิจที่เรามีความสามารถเหนือกว่าประเทศที่เราเข้าไปทำมากหน่อย เช่น ธุรกิจในประเทศที่มีการพัฒนาต่ำกว่าไทยมากเช่นในประเทศเมียนมาร์ ลาว และกัมพูชา เป็นต้น ส่วนในเวียตนามเองนั้น ผมคิดว่าความแตกต่างในระดับการพัฒนาเราไม่ทิ้งห่างเขามากนัก ดังนั้น การขยายเข้าไปทำธุรกิจในเวียตนามและให้ประสบความสำเร็จก็มักจะไม่ง่ายแต่ก็ยังพอมีความหวังได้ ส่วนการเข้าไปทำธุรกิจในประเทศที่ก้าวหน้ากว่าไทยนั้น ก็มักจะยากขึ้นเป็นลำดับจนแทบเป็นไปไม่ได้ ยกเว้นแต่ว่ามันเป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันน้อยหรือเป็นธุรกิจที่ “ทำได้ง่าย”
บริษัทจดทะเบียนที่ไปต่างประเทศและประสบความสำเร็จค่อนข้างดีนั้น ผมคิดว่าคือธุรกิจโรงแรมที่บริษัทชั้นนำของไทยมีความสามารถสูงพอและแข่งขันกับบริษัทระดับโลกได้ อีกเหตุผลหนึ่งก็คือ มันเป็นธุรกิจที่ไม่ซับซ้อน การแข่งขันก็มักจะไม่รุนแรง ปัจจัยสำคัญเช่นเรื่องของทำเลและการออกแบบรวมถึงการบริหารงานก็ไม่สามารถมีใครได้เปรียบคนอื่น ดังนั้น ความเสียหายจึงดูมีน้อยโดยเฉพาะถ้าคนที่ขยายงานเป็นบริษัทชั้นนำในไทยทางด้านโรงแรมโดยตรง อย่างไรก็ตาม ผมเองก็ไม่แน่ใจนักว่าการขยายไปต่างประเทศของกิจการโรงแรมจะทำกำไรได้ดีมากน้อยแค่ไหนเมื่อเทียบกับธุรกิจในประเทศ
เช่นเดียวกับธุรกิจโรงแรม ณ. เวลานี้ดูเหมือนว่าธุรกิจที่เกี่ยวกับการผลิตไฟฟ้าโดยเฉพาะที่มาจากพลังงานทางเลือกที่บริษัทจดเบียนจำนวนมากกำลังขยายไปลงทุนในต่างประเทศจะทำได้ดีพอใช้ พวกเขาเข้าไปทั้งในประเทศที่ด้อยกว่าไทยเช่นในประเทศเพื่อนบ้านและในประเทศเจริญแล้วอย่างญี่ปุ่น สาเหตุที่ “ประสบความสำเร็จ” นั้นก็คงเป็นเพราะมันเป็นธุรกิจที่ไม่ซับซ้อนและทำได้ง่าย เพราะเมื่อได้รับ “สัมปทาน” แล้ว อย่างอื่นก็แค่เป็นเรื่องของการหาที่และก่อสร้างให้สำเร็จ การดำเนินการต่อจากนั้นก็แค่ “รอให้แดดออกหรือลมมา” อย่างไรก็ตาม การขยายธุรกิจแบบนี้โดยปกติแล้วก็มักจะไม่สามารถทำกำไรได้สูงมาก โชคดีที่ว่าต้นทุนทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนที่ทำธุรกิจนี้มักจะค่อนข้างจะต่ำ ดังนั้น พวกเขาก็ทำได้ดีพอใช้ในการขยายตลาดไปต่างประเทศ
นอกจากเรื่องของธุรกิจแล้ว ความไม่สบายใจของผมในบางครั้งยังมาจากการที่กิจการในต่างประเทศนั้น มักจะมีความโปร่งใสน้อยกว่ากิจการที่อยู่ในประเทศ การตรวจสอบบัญชีก็ทำได้จำกัดกว่า ดังนั้น ในบางกรณีอย่างเช่นบริษัทลีสซิ่งบางแห่งก็ใช้การขยายงานไปต่างประเทศเป็นเครื่องมือในการแต่งบัญชีและ/หรือไซฟ่อนเงินบริษัทโดยเจ้าของหรือผู้บริหาร ลึก ๆ แล้วผมคิดว่าการ “โกง” โดยอาศัยธุรกิจในต่างประเทศของบริษัทจดทะเบียนนั้นเป็น “ความเสี่ยง” ที่มีนัยยะและต้องติดตาม ไล่ตั้งแต่การซื้อกิจการหรือทรัพย์สินที่อาจจะมี “เงินทอน” ให้ผู้บริหาร ไปจนถึงการไซฟ่อนเงินและการแต่งบัญชีเพื่อการปั่นหุ้น ธุรกิจในต่างประเทศอาจจะเป็น “สวรรค์ของการโกง” ในแง่ที่ว่ามันยากที่จะจับและมันสามารถที่จะ “ปิด” ได้ง่ายเมื่อ “ภารกิจ” จบแล้ว
แน่นอนว่าเราคงไม่สามารถและอาจจะไม่เหมาะสมที่จะหลีกเลี่ยงลงทุนในบริษัทที่ Go Inter สิ่งที่เราจะต้องคำนึงและวิเคราะห์ก็คือ ทำไมบริษัทไปต่างประเทศ? เหตุผลแน่นอนอย่างหนึ่งก็น่าจะเป็นเพราะว่ามันอาจจะทำกำไรได้ดีกว่าในประเทศที่มักจะโตช้าลงและใกล้อิ่มตัว แต่นี่คือความเสี่ยงของนักลงทุน ดังนั้น เราจะต้องดูว่าบริษัทจะมีโอกาสสำเร็จแค่ไหน ถ้าบริษัทเก่งหรือมีความสามารถสูงและขยายธุรกิจเดิมเข้าไปในประเทศที่ด้อยกว่าไทย ความสำเร็จอาจจะมีโอกาสสูงขึ้น และจะสูงขึ้นไปอีกในกรณีที่ธุรกิจนั้นเป็นธุรกิจที่ไม่ซับซ้อนและทำง่าย ตรงกันข้าม ถ้าบริษัทไม่ได้เก่งมากเมื่อเทียบกับคู่แข่งในต่างประเทศรวมถึงการที่มันเป็นธุรกิจที่ทำยากและต้องอาศัยปัจจัยในการแข่งขันสูง โอกาสสำเร็จก็จะมีน้อยลง ประเด็นสุดท้ายก็คือเรื่องของการลงทุนและผลตอบแทนที่จะได้รับ ถ้าเป็นการลงทุนที่น้อยและบริษัทสามารถ “ทดลอง” ได้ว่าจะสำเร็จหรือไม่ การ Go Inter ก็ไม่เสี่ยงมาก แต่ถ้าต้องลงทุนมาก อย่างกรณีการซื้อโรงงานเหล็กของบริษัทจดทะเบียนแห่งหนึ่ง การล้มเหลวก็กลายเป็น “หายนะ” ได้
ในเรื่องของผลตอบแทนนั้น ผมเองก็ยังไม่เคยเห็นว่ามีบริษัทไหนที่ Go Inter แล้วจะสามารถทำกำไรได้อย่างมโหฬาร เท่าที่ผ่านมาโดยรวมนั้นผมคิดว่าความเสียหายมีมากกว่าผลตอบแทนมาก อย่างไรก็ตาม ในอนาคตก็อาจจะมีบริษัทจดทะเบียนที่ประสบความสำเร็จจริง ๆ และทำกำไรมหาศาลได้ ผมคงต้องรอดู แต่ในระหว่างนี้ การลงทุนในต่างประเทศโดยเฉพาะที่ต้องใช้เงินมากเมื่อเทียบกับทรัพย์สินเดิมของบริษัทที่มีอยู่จะเป็นสิ่งที่ผมไม่สบายใจ และที่อาจจะต้องหลีกเลี่ยงเลยก็คือ การลงทุนในสิ่งที่บริษัทไม่เคยทำหรือทำไม่ได้ดีแม้ในประเทศไทย