10. ผู้ออกหาวิเวกธรรม
ภิกษุ ท. ! กิจที่พวกเธอต้องทำให้ยิ่งขึ้นไปอีกเป็นลำดับนั้น คืออะไร?
ภิกษุ ท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มาเสพเสนาสนะอันสงัด
คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ลำธาร ท้องถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง กองฟาง (อย่างใดอย่างหนึ่ง).
ในเวลาภายหลังอาหาร เธอกลับจากบิณฑบาตรแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า.
เธอละอภิชฌาในโลก มีจิตปราศจากอภิชฌา คอยชำระจิตจากอภิชฌา;
ละพยาบาท มีจิตปราศจากพยาบาท เป็นผู้กรุณามีจิตหวังความเกื้อกูล ในสัตว์ทั้งหลาย คอยชำระจิตจากพยาบาท;
ละถีนมิทธะ มุ่งอยู่แต่ความสว่างในใจ มีจิตปราศจากถีนมิทธะ มีสติสัมปชัญญะรู้สึกตัว คอยชำระจิตจากถีนมิทธะ;
ละอุทธัจจะกุกกุจจะ ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบอยู่ในภายใน คอยชำระจิตจากอุทธัจจะกุกกุจจะ;
ละวิจิกิจฉา ข้ามล่วงวิจิกิจฉาเสียได้ ไม่ต้องกล่าวว่า "นี่อะไร นี่อย่างไร" ในกุศลธรรมทั้งหลาย คอยชำระจิตจากวิจิกิจฉา.
ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือน ชายอีกผู้หนึ่ง ติดเรือนจำ ครั้นเวลาอื่นเขาหลุดจากเรือนจำโดยสะดวก ไม่มีภัย ไม่เสียทรัพย์;
เขาต้องนึกถึงกาลเก่าอย่างนี้ว่า "เมื่อก่อน เราติดเรือนจำ บัดนี้ เราหลุดมาได้โดยสะดวก ไม่มีภัย ไม่เสียทรัพย์" ดังนี้,
เขาย่อมปราโมทย์บันเทิงใจ โสมนัสเพราะข้อนั้นเป็นเหตุ ฉันใด,
อุปมาการเห็นนิวรณ์5 ที่ยังละได้แล้ว (3.) เป็นเช่นกับการหลุดจากเรือนจำ
ภิกษุ ท. ! กิจที่พวกเธอต้องทำให้ยิ่งขึ้นไปอีกเป็นลำดับนั้น คืออะไร?
ภิกษุ ท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มาเสพเสนาสนะอันสงัด
คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ลำธาร ท้องถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง กองฟาง (อย่างใดอย่างหนึ่ง).
ในเวลาภายหลังอาหาร เธอกลับจากบิณฑบาตรแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า.
เธอละอภิชฌาในโลก มีจิตปราศจากอภิชฌา คอยชำระจิตจากอภิชฌา;
ละพยาบาท มีจิตปราศจากพยาบาท เป็นผู้กรุณามีจิตหวังความเกื้อกูล ในสัตว์ทั้งหลาย คอยชำระจิตจากพยาบาท;
ละถีนมิทธะ มุ่งอยู่แต่ความสว่างในใจ มีจิตปราศจากถีนมิทธะ มีสติสัมปชัญญะรู้สึกตัว คอยชำระจิตจากถีนมิทธะ;
ละอุทธัจจะกุกกุจจะ ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบอยู่ในภายใน คอยชำระจิตจากอุทธัจจะกุกกุจจะ;
ละวิจิกิจฉา ข้ามล่วงวิจิกิจฉาเสียได้ ไม่ต้องกล่าวว่า "นี่อะไร นี่อย่างไร" ในกุศลธรรมทั้งหลาย คอยชำระจิตจากวิจิกิจฉา.
ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือน ชายอีกผู้หนึ่ง ติดเรือนจำ ครั้นเวลาอื่นเขาหลุดจากเรือนจำโดยสะดวก ไม่มีภัย ไม่เสียทรัพย์;
เขาต้องนึกถึงกาลเก่าอย่างนี้ว่า "เมื่อก่อน เราติดเรือนจำ บัดนี้ เราหลุดมาได้โดยสะดวก ไม่มีภัย ไม่เสียทรัพย์" ดังนี้,
เขาย่อมปราโมทย์บันเทิงใจ โสมนัสเพราะข้อนั้นเป็นเหตุ ฉันใด,