..... ภิกษุ ท. ! นักบวชเปรียบด้วยนักรบอาชีพชนิดนี้ ก็มีอยู่ในหมู่ภิกษุหาได้ในหมู่ภิกษุเหมือนกัน. ในกรณีนี้คือ ภิกษุทนต่อ “ผงคลี” ได้, (เช่น มลพิษ. 2.5 เป็นต้น)
ทนต่อ “ยอดธงชัยของข้าศึก” ได้, ทนต่อ “เสียงโห่ร้อง” ได้, ทนต่อ “การสัมประหารกัน” ได้, เธอสู้เข้าผจญการสงครามนั้น เป็นผู้พิชิตสงคราม แล้วเข้ายึดครองสนามรบไว้ได้.
ข้อว่า “สงครามวิชัย” สำหรับภิกษุนั้น ได้แก่อะไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้คือ ภิกษุอยู่ป่า หรืออยู่โคนไม้ หรืออยู่เรือนว่าง, มีมาตุคามเข้าไปนั่งเบียดนอนเบียด นังทับนอนทับ. เมื่อเธอถูกกระทำเช่นนั้น, ก็สลัดทิ้ง 👙
ปลดเปลื้องเอาตัวรอด หลีกไปได้ตามประสงค์. 🩲
ภิกษุนั้น ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัดเงียบ คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ลำธารท้องถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง (อย่างใดอย่างหนึ่ง). เธอไปสู่ป่าหรือไปสู่โคนไม้ หรือไปสู่เรือนว่างแล้ว ย่อมนั่งคู้ขาเข้าเป็นบัลลังก์ ตั้งกายตรงดำรงสติเฉพาะหน้า. เธอละอภิชฌาในโลก มีจิตปราศจากอภิชฌา คอยชำระจิตจากอภิชฌา ; ละความประทุษร้ายด้วยอำนาจพยาบาท มีจิตไม่พยาบาทเป็นผู้กรุณา มีจิตหวังความเกื้อกูลในสัตว์ทั้งหลาย คอยชำระจิตจากความประทุษร้ายด้วยอำนาจพยาบาท ; ละถีนมิทธะ มีจิตปราศจากถีนมิทธะ มุ่งอยู่แต่ความสว่างในใจ มีสติสัปชัญญะ คอยชำระจิตจากถีนมิทธะ ; ละอุทธัจจกุกกุจจะ ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบอยู่ในภายใน คอยชำระจิตจากอุทธัจจกุกกุจจะ ; ละวิจิกิจฉา ข้ามพ้นวิจิกิจฉาเสียได้ ไม่ต้องกล่าวว่า “นี่อะไร นี่อย่างไร ในกุศลธรรมทั้งหลาย (เพราะความสงสัย)”, คอยชำระจิตจากวิจิกิจฉา.
ภิกษุนั้น ครั้นละนิวรณ์ห้าประการ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองจิตและทำปัญญาให้ถอยกำลังเหล่านี้ ได้แล้ว, เพราะสงัดจากกามทั้งหลาย _ _ _ฯลฯ_ _ _บรรลุฌานที่หนึ่ง _ _ _ ที่สอง _ _ _ ที่สาม _ _ _ และที่สี่ แล้วแลอยู่.
เธอ ครั้นจิตตั้งมั่น บริสุทธิ์ ผ่องใส ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลสเป็นธรรมชาติอ่อนโยน ควรแก่การงาน ตั้งอยู่ได้ ถึงความไม่หวั่นไหวเช่นนี้แล้ว ก็น้อมจิตไปเฉพาะต่ออาสวักขยญาณ.
เธอ ย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริงว่านี้ทุกข์(1), นี้เหตุให้เกิดทุกข์(2), นี้ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์(3), นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ (4); และย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริงว่า เหล่านี้อาสวะ((1), นี้เหตุให้เกิดอาสวะ(2), นี้ความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ(3), นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ(4),
เมื่อรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ จิตก็หลุดพ้นจากกามาสวะ,ภวาสวะ, และอวิชชาสวะ ; ครั้นจิต.หลุดพ้นแล้ว ก็เกิดญาณว่า หลุดพ้นแล้ว. เธอ ย่อมรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก” ดังนี้.
ความที่ภิกษุนั้นสลัดมาตุคามทิ้งพาตัวรอดไปได้ กระทั่งถึงการทำตน ให้สิ้นอาสวะนี้ ได้ในข้อว่า “สงครามวิชัย” สำหรับเธอนั้น. 🧘🏻♂️
ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนนักรบอาชีพที่ทนต่อผงคลีได้, ทนต่อยอดธงชัยของข้าศึกได้, ทนต่อเสียงโห่ร้องได้, ทนต่อการสัมประหารกันได้, เข้าสู้เข้าผจญสงครามนั้นเป็นผู้พิชิตสงคราม แล้วเข้ายึดครองสนามรบไว้ได้ ฉันใด ; 🏴☠️
ภิกษุ ท. ! เรากล่าวนักบวชนี้ว่า มีนักรบอาชีพชนิดนั้นเป็นคู่เปรียบ ฉันนั้น. 🚩
ภิกษุ ท. ! นักบวชบางคนในกรณีนี้ เป็นเช่นนี้ เป็นนักบวชเปรียบด้วยนักรบอาชีพ
💸 ---->
ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์
หมวดที่ ๑๑
ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๐๑,๑๐๔/๗๕,
ว่าด้วย ผู้ทำสงครามวิชัยถึงที่สุดแล้ว
ทนต่อ “ยอดธงชัยของข้าศึก” ได้, ทนต่อ “เสียงโห่ร้อง” ได้, ทนต่อ “การสัมประหารกัน” ได้, เธอสู้เข้าผจญการสงครามนั้น เป็นผู้พิชิตสงคราม แล้วเข้ายึดครองสนามรบไว้ได้.
ข้อว่า “สงครามวิชัย” สำหรับภิกษุนั้น ได้แก่อะไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้คือ ภิกษุอยู่ป่า หรืออยู่โคนไม้ หรืออยู่เรือนว่าง, มีมาตุคามเข้าไปนั่งเบียดนอนเบียด นังทับนอนทับ. เมื่อเธอถูกกระทำเช่นนั้น, ก็สลัดทิ้ง 👙
ปลดเปลื้องเอาตัวรอด หลีกไปได้ตามประสงค์. 🩲
ภิกษุนั้น ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัดเงียบ คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ลำธารท้องถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง (อย่างใดอย่างหนึ่ง). เธอไปสู่ป่าหรือไปสู่โคนไม้ หรือไปสู่เรือนว่างแล้ว ย่อมนั่งคู้ขาเข้าเป็นบัลลังก์ ตั้งกายตรงดำรงสติเฉพาะหน้า. เธอละอภิชฌาในโลก มีจิตปราศจากอภิชฌา คอยชำระจิตจากอภิชฌา ; ละความประทุษร้ายด้วยอำนาจพยาบาท มีจิตไม่พยาบาทเป็นผู้กรุณา มีจิตหวังความเกื้อกูลในสัตว์ทั้งหลาย คอยชำระจิตจากความประทุษร้ายด้วยอำนาจพยาบาท ; ละถีนมิทธะ มีจิตปราศจากถีนมิทธะ มุ่งอยู่แต่ความสว่างในใจ มีสติสัปชัญญะ คอยชำระจิตจากถีนมิทธะ ; ละอุทธัจจกุกกุจจะ ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบอยู่ในภายใน คอยชำระจิตจากอุทธัจจกุกกุจจะ ; ละวิจิกิจฉา ข้ามพ้นวิจิกิจฉาเสียได้ ไม่ต้องกล่าวว่า “นี่อะไร นี่อย่างไร ในกุศลธรรมทั้งหลาย (เพราะความสงสัย)”, คอยชำระจิตจากวิจิกิจฉา.
ภิกษุนั้น ครั้นละนิวรณ์ห้าประการ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองจิตและทำปัญญาให้ถอยกำลังเหล่านี้ ได้แล้ว, เพราะสงัดจากกามทั้งหลาย _ _ _ฯลฯ_ _ _บรรลุฌานที่หนึ่ง _ _ _ ที่สอง _ _ _ ที่สาม _ _ _ และที่สี่ แล้วแลอยู่.
เธอ ครั้นจิตตั้งมั่น บริสุทธิ์ ผ่องใส ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลสเป็นธรรมชาติอ่อนโยน ควรแก่การงาน ตั้งอยู่ได้ ถึงความไม่หวั่นไหวเช่นนี้แล้ว ก็น้อมจิตไปเฉพาะต่ออาสวักขยญาณ.
เธอ ย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริงว่านี้ทุกข์(1), นี้เหตุให้เกิดทุกข์(2), นี้ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์(3), นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ (4); และย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริงว่า เหล่านี้อาสวะ((1), นี้เหตุให้เกิดอาสวะ(2), นี้ความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ(3), นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ(4),
เมื่อรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ จิตก็หลุดพ้นจากกามาสวะ,ภวาสวะ, และอวิชชาสวะ ; ครั้นจิต.หลุดพ้นแล้ว ก็เกิดญาณว่า หลุดพ้นแล้ว. เธอ ย่อมรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก” ดังนี้.
ความที่ภิกษุนั้นสลัดมาตุคามทิ้งพาตัวรอดไปได้ กระทั่งถึงการทำตน ให้สิ้นอาสวะนี้ ได้ในข้อว่า “สงครามวิชัย” สำหรับเธอนั้น. 🧘🏻♂️
ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนนักรบอาชีพที่ทนต่อผงคลีได้, ทนต่อยอดธงชัยของข้าศึกได้, ทนต่อเสียงโห่ร้องได้, ทนต่อการสัมประหารกันได้, เข้าสู้เข้าผจญสงครามนั้นเป็นผู้พิชิตสงคราม แล้วเข้ายึดครองสนามรบไว้ได้ ฉันใด ; 🏴☠️
ภิกษุ ท. ! เรากล่าวนักบวชนี้ว่า มีนักรบอาชีพชนิดนั้นเป็นคู่เปรียบ ฉันนั้น. 🚩
ภิกษุ ท. ! นักบวชบางคนในกรณีนี้ เป็นเช่นนี้ เป็นนักบวชเปรียบด้วยนักรบอาชีพ
💸 ---->
ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์
หมวดที่ ๑๑
ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๐๑,๑๐๔/๗๕,