สุสานที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับตู้โทรศัพท์ของสหราชอาณาจักร


ภาพวาดสุสานของ Eliza Soane โดย George Basevi 


ในปี 1921 ที่ทำการไปรษณีย์แห่งสหราชอาณาจักร (Royal Post Office) ได้เปิดตัวตู้โทรศัพท์สาธารณะแห่งแรกในชื่อ K1 (Kiosk no. 1) ที่สร้างจากคอนกรีตสำเร็จรูป มีรูปทรงสี่เหลี่ยม บนหลังคามีหอกและเหล็กดัด ซึ่งแม้ว่าจะดูหรูหรามาก แต่มันก็ไม่ได้ดึงดูดความสนใจของสาธารณชนชาวอังกฤษ

ซึ่งมหานครลอนดอน (London Metropolitan Boroughs) ตลอดจนพลเมืองชาว Birmingham  ส่วนใหญ่แสดงออกว่าไม่ชอบ และยังต่อต้านความพยายามของที่ทำการไปรษณีย์ในการสร้างตู้ K1 ไว้บนท้องถนน และเพื่อลดความตึงเครียด Royal Fine Art Commission(หน่วยงานทางศิลปะของรัฐ) ได้เข้ามาแทรกแซง และเสนอให้จัดการแข่งขันเพื่อออกแบบตู้ใหม่ที่มีขนาดใหญ่กว่า

โดยผู้จัดงานได้เชิญสถาปนิกที่มีชื่อเสียงสามคน ได้แก่ Robert Lorimer, John Burnet และ Giles Gilbert Scott พร้อมกับผลงานการออกแบบของแต่ละคน ที่เป็นที่ยอมรับจากที่ทำการไปรษณีย์ และจากสมาคมประชาสังคม Birmingham ดังนี้

- Robert Lorimer      สถาปนิกชาวสก็อตที่ออกแบบอนุสรณ์สถานสงคราม Scottish National War Memorial ที่ปราสาท Edinburgh 
- John Burnet           ชาวสก็อตต์อีกคนหนึ่ง ซึ่งออกแบบอาคารอันทรงเกียรติมากมายทั่วสหราชอาณาจักร
- Giles Gilbert Scott สถาปนิกชาวอังกฤษที่มีชื่อเสียง ซึ่งสร้างสถานที่สำคัญๆ ยอดนิยมหลายแห่งให้กับสหราชอาณาจักร เช่น
                                       ห้องสมุดมหาวิทยาลัย Cambridge, Lady Margaret Hall และสถานีไฟฟ้า Battersea และสิ่งประดิษฐ์ที่ได้รับความนิยม                                               สูงสุดของเขาคือ ตู้โทรศัพท์สีแดงที่แพร่หลายอยู่ในขณะนั้น



Kiosk no.1


สำหรับแบบของ Scott นั้น เขาได้ออกแบบเป็นตู้สี่เหลี่ยมทั้งสี่ด้านพร้อมหลังคาโดม โดยที่ขอบด้านนอกแต่ละด้านมีกรอบเป็นร่องรูปโค้ง บนฐานปูนเรียบล้อมรอบ  ซึ่งตรงกลางของทั้งสามด้านของตู้โทรศัพท์  Scott ใส่บานกระจกสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ หกแถวโดยตกแต่งขอบและภายในประดับด้วยลูกปัด
ส่วนด้านบนของตู้ที่มีลักษณะของครึ่งวงกลมตั้งกลับหัวอยู่  จะมีรูปแกะสลักTudor crown อันเป็นตัวแทนของรัฐบาลอังกฤษอยู่ตรงกลางของทุกด้าน

ในการออกแบบของ K2 นี้ Scott ได้รับแรงบันดาลใจมาจากสุสานของ Eliza Soane ภรรยาของ Sir John Soane ที่วิหาร Old St Pancras Churchyard ในลอนดอน  โดย Sir John Soane เป็นสถาปนิกที่มีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่งในสมัยของเขา และผลงานที่ดีที่สุดของเขาคือ Bank of England (ที่สร้างขึ้นใหม่ในภายหลัง), แกลเลอรี Dulwich College Picture และบ้านของเขาเองในลอนดอน ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นพิพิธภัณฑ์ Sir John Soane’s Museum
 
โดยในปี 1815 เมื่อตอนที่ Eliza Soane เสียชีวิตนั้น Sir John ได้ฝังเธอไว้ในบริเวณโบสถ์ของ St Pancras Old Church และสร้างสุสานที่ออกแบบโดย Sir John เอง ไว้เหนือหลุมฝังศพ 

ซึ่งสุสานนี้ ประกอบด้วยโครงสร้างหลังคาโดม ที่รองรับด้วยเสาสี่เสา ที่ประดับตกแต่งด้วยสไตล์การสร้างสรรค์ของเขา โดยส่วนยอดของหลังคามีการประดับตกแต่งด้วยปูนปั้นรูปลูกสน ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ในอียิปต์โบราณสำหรับการสร้างใหม่ ด้านล่างมีรูปสลักมังกรที่กำลังกลืนหางของตัวเอง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นนิรันดร์ 
นอกจากนี้ ยังมีรูปแกะสลักของเด็กผู้ชายที่ถือคบเพลิงซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความตาย โดยหลุมฝังศพนี้ Giles Gilbert Scott รู้จักเป็นอย่างดี เพราะตอนนั้น เขาเพิ่งได้เป็นผู้ดูแลสุสานหรือพิพิธภัณฑ์แห่งนี้

 
 K2 โดย Sir Giles Gilbert Scott  Cr.ภาพ the-telephone-box.co.uk
การออกแบบของ K2 ได้รับการตอบรับอย่างดีจาก Royal Post Office ซึ่งเดิมที Giles Gilbert Scott ต้องการให้ K2 มีสีเงินและตกแต่งภายในด้วยสีเขียวอมฟ้า แต่หน่วยงานไปรษณีย์ทั่วไปเลือกให้เป็นสีแดง เพื่อให้บุคคลในกรณีฉุกเฉินสามารถจดจำได้จากระยะไกล  แต่ในพื้นที่ชนบทบางแห่ง ตู้จะถูกทาสีเขียวเพื่อไม่ให้รบกวนความงามของธรรมชาติโดยรอบ โดยมีการผลิตและติดตั้งตู้ประมาณ 1,700 ตู้ที่ส่วนใหญ่อยู่รอบ ๆ ลอนดอน 

ต่อมา ที่ทำการไปรษณีย์รู้สึกว่า K2 นั้นใหญ่เกินไปและมีต้นทุนที่แพง  ดังนั้น ห้าปีหลังจากเปิดตัว K2 ในปี1929  Giles Gilbert Scott จึงได้ปรับปรุง
แบบใหม่เป็น K3 ซึ่งคล้ายกับ K2 แต่มีขนาดเล็กกว่า และมีรูปแบบสถาปัตยกรรมคลาสสิกน้อยกว่าซึ่งประหยัดต้นทุนได้มากกว่า โดยทาสีครีมซึ่งถือว่าสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในชนบทที่ตั้งใจไว้มากขึ้น 

และเมื่อเวลาผ่านไป การออกแบบตู้โทรศัพท์ยังคงพัฒนาไปเรื่อย ๆ (K1 - K8) แต่โครงสร้างยังคงเหมือนเดิมนั่นคือ ทรงสี่เหลี่ยมที่มีหลังคาโดม โดยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ตู้โทรศัพท์กลายเป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมของอังกฤษ และแม้ว่าการใช้งานจะลดน้อยลง แต่ตู้โทรศัพท์หลายร้อยชิ้นก็ยังคงตั้งอยู่ทั่วไปในสหราชอาณาจักร




นอกจากนั้น ตู้โทรศัพท์สีแดงนี้ ยังเป็นส่วนประกอบที่โดดเด่นในภาพยนตร์หลายเรื่อง เช่น

- นักข่าว Clark Kent ที่บางครั้งใช้ตู้โทรศัพท์เป็นสถานที่ที่เปลี่ยนตัวเองซูเปอร์ฮีโร่ซูเปอร์แมน 
- Harry Potter And The Order Of The Phoenix ที่ต้องใช้ตู้โทรศัพท์เป็นประตูทางเข้าของผู้มาเยือนในการเข้าสู่กระทรวง ซึ่งเป็นตู้โทรศัพท์สีแดงตาม    ปกติของอังกฤษ ซึ่งจะนำผู้เยี่ยมชมจากระดับพื้นดินไปยังห้องโถงใหญ่ที่คึกคักของกระทรวงด้านล่าง โดยกดไปที่หมายเลข 62442 (MAGIC)
- ภาพยนตร์ Local Hero ของ Bill Forsyth ในปี 1983 ที่ Damian Humbley รับบทเป็นผู้บริหารน้ำมันชาวอเมริกัน Mac ซึ่งมีภาพที่เขาอยู่ในตู้โทรศัพท์
  สีแดงอันเป็นสัญลักษณ์ของภาพยนตร์  ซึ่งเขาได้รับมอบหมายให้ต้องโน้มน้าวให้ชาวเมือง Ferness ซึ่งเป็นหมู่บ้านริมทะเลของสก็อตแลนด์ขายที่ดิน
  เพื่อหาทางสร้างโรงกลั่น  
- ภาพยนตร์ระทึกขวัญเรื่องThe Angel ใน Netflix ที่เกี่ยวกับชายชาวอียิปต์ในชีวิตจริงที่สอดแนมอิสราเอลในปี 1970 ซึ่งย้อนกลับไปช่วงเวลาที่วุ่นวายในประวัติศาสตร์ตะวันออกกลาง (https://time.com/5386423/true-story-the-angel/)


M-A-G-I-C Telephone Box  ในภาพยนตร์ Harry Potter And The Order Of The Phoenix


Local Hero ในปี 1983  



(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่