.
เชื่อว่าหลายครอบครัว มีความคาดหวังว่าถ้าท้องแล้ว อยากได้ลูกชายหรือลูกสาวเป็นพิเศษ โดยเฉพาะครอบครัวชาวจีนที่อยากได้ลุกชายไว้สืบสกุล หรืออยากได้ลูกผู้ชายหนึ่งคน ผู้หญิงหนึ่งคน หรือมีหลายคู่ที่จริง ๆ แล้วไม่ได้มีปัญหาเรื่องของการมีบุตรยาก แต่อยากเลือกเพศลูกได้ เพราะการจะรู้เพศ ต้องรู้พันธุกรรมตัวอ่อน ต้องทำเด็กหลอดแก้ว หลายท่านจึงเข้ามาปรึกษาคุณหมอด้วยเหตุผลนี้
.
#เลือกเพศลูกต้องระวัง #ผิดกฏหมาย
การจะรู้เพศตัวอ่อน จะต้องทำเด็กหลอดแก้วเท่านั้นค่ะ หลังจากนั้นเมื่อนำตัวอ่อนไปตรวจพันธุกรรม หรือที่เรียกว่า การตรวจโครโมโซมตัวอ่อน ว่ามีความผิดปกติหรือไม่ ถึงแม้จะไม่ได้อยากรู้เพศ แต่ในขั้นตอนนี้เราก็จะรู้เพศได้โดยอัตโนมัติ แต่ถ้าถามว่าจงใจจะเลือกเพศได้ไหม คำตอบคือ “ไม่ได้ค่ะ” เพราะการตรวจพันธุกรรมตัวอ่อนเพื่อเลือกเพศโดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ มีความผิดตามกฎหมาย ค่ะ เพราะผิดหลักมนุษยธรรม และไม่มีความจำเป็น แต่ในกรณีที่มีข้อบ่งชี้ เช่น
-สามีหรือภรรยามีความผิดปกติทางพันธุกรรม
-มีประวัติการแท้งบุตรก่อนอายุครรภ์สิบสองสัปดาห์ตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไป
-ภรรยามีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป
ก็จะสามารถตรวจพันธุกรรม หรือตรวจโครโมโซมตัวอ่อนได้ ซึ่งจากการตรวจโครโมโซมตัวอ่อน ก็จะทำให้ทราบเพศของตัวอ่อนด้วย
.
การตรวจโครโมโซมตัวอ่อน คืออะไร
การตรวจโครโมโซมตัวอ่อนตามความก้าวหน้าทางการแพทย์ที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน คือการตัดเอาชิ้นส่วนของเซลล์ตัวอ่อน เพื่อตรวจหาสารพันธุกรรม ซึ่งอาจเป็นการคัดกรองหาความผิดปกติ ในกรณีที่มีข้อบ่งชี้ หรือตรวจเพื่อการวินิจฉัย กรณีคู่สามีภรรยามีประวัติเสี่ยง เช่น มีประวัติโรคพันธุกรรมในครอบครัว
.
วิธีการ
นักวิทยาศาสตร์จะทำการตัดชิ้นส่วนของเซลล์เพื่อไปตรวจ เมื่อเลี้ยงตัวอ่อนถึงระยะDay 3 หรือระยะ Day 5 ที่เรียกว่า ระยะBlastocyst
การตรวจโครโมโซมในระยะDay 3 มักจะเป็นการตรวจโดยใช้เทคนิค FISH Fluorescence in situ hybridization) ซึ่งเป็นการตรวจโครโมโซมเฉพาะคู่สำคัญ (5คู่หรือ7คู่) ซึ่งรวมการตรวจโครโมโซมเพศและการตรวจดาวน์ซินโดรมด้วย
การตรวจโครโมโซมในระยะ Day 5 หรือ ระยะBlastocyst จะได้เซลล์ในปริมาณมากกว่า ใช้สำหรับตรวจโครโมโซมทั้งหมด23คู่ โดยใช้เทคนิคต่างๆเช่น aCGH หรือ NGS
.
ซึ่งการตรวจโครโมโซมตัวอ่อน สามารถทำได้ทั้งในระยะDay 3 หรือระยะ Day 5 ผลที่ได้จะมีความแตกต่างกันในเรื่องของปริมาณเซลล์ที่ได้ และเทคนิคที่ใช้ตรวจ ซึ่งคุณหมอจะพิจารณาถึงความเหมาะสมของแต่ละบุคคลอีกครั้ง
.
การตรวจโครโมโซมตัวอ่อนจะมีรายละเอียดมาก หากคู่สมรสท่านใดมีข้อสงสัย สามารถขอเข้ารับคำปรึกษาจากคุณหมอได้ค่ะ
.
มีลูกยาก อยากมีลูก แก้ไขได้ เพียงได้รับคำแนะนำที่ถูกต้อง
และมีการวางแผนที่เหมาะสมค่ะ
พบกับบทความที่เป็นประโยชน์ สำหรับคนมีลูกยาก
จากศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากอัครบุตร ในบทความถัดไปค่ะ
เลือกเพศลูกได้ไหม ผิดกฏหมายหรือเปล่า
.
#เลือกเพศลูกต้องระวัง #ผิดกฏหมาย
การจะรู้เพศตัวอ่อน จะต้องทำเด็กหลอดแก้วเท่านั้นค่ะ หลังจากนั้นเมื่อนำตัวอ่อนไปตรวจพันธุกรรม หรือที่เรียกว่า การตรวจโครโมโซมตัวอ่อน ว่ามีความผิดปกติหรือไม่ ถึงแม้จะไม่ได้อยากรู้เพศ แต่ในขั้นตอนนี้เราก็จะรู้เพศได้โดยอัตโนมัติ แต่ถ้าถามว่าจงใจจะเลือกเพศได้ไหม คำตอบคือ “ไม่ได้ค่ะ” เพราะการตรวจพันธุกรรมตัวอ่อนเพื่อเลือกเพศโดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ มีความผิดตามกฎหมาย ค่ะ เพราะผิดหลักมนุษยธรรม และไม่มีความจำเป็น แต่ในกรณีที่มีข้อบ่งชี้ เช่น
-สามีหรือภรรยามีความผิดปกติทางพันธุกรรม
-มีประวัติการแท้งบุตรก่อนอายุครรภ์สิบสองสัปดาห์ตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไป
-ภรรยามีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป
ก็จะสามารถตรวจพันธุกรรม หรือตรวจโครโมโซมตัวอ่อนได้ ซึ่งจากการตรวจโครโมโซมตัวอ่อน ก็จะทำให้ทราบเพศของตัวอ่อนด้วย
.
การตรวจโครโมโซมตัวอ่อน คืออะไร
การตรวจโครโมโซมตัวอ่อนตามความก้าวหน้าทางการแพทย์ที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน คือการตัดเอาชิ้นส่วนของเซลล์ตัวอ่อน เพื่อตรวจหาสารพันธุกรรม ซึ่งอาจเป็นการคัดกรองหาความผิดปกติ ในกรณีที่มีข้อบ่งชี้ หรือตรวจเพื่อการวินิจฉัย กรณีคู่สามีภรรยามีประวัติเสี่ยง เช่น มีประวัติโรคพันธุกรรมในครอบครัว
.
วิธีการ
นักวิทยาศาสตร์จะทำการตัดชิ้นส่วนของเซลล์เพื่อไปตรวจ เมื่อเลี้ยงตัวอ่อนถึงระยะDay 3 หรือระยะ Day 5 ที่เรียกว่า ระยะBlastocyst
การตรวจโครโมโซมในระยะDay 3 มักจะเป็นการตรวจโดยใช้เทคนิค FISH Fluorescence in situ hybridization) ซึ่งเป็นการตรวจโครโมโซมเฉพาะคู่สำคัญ (5คู่หรือ7คู่) ซึ่งรวมการตรวจโครโมโซมเพศและการตรวจดาวน์ซินโดรมด้วย
การตรวจโครโมโซมในระยะ Day 5 หรือ ระยะBlastocyst จะได้เซลล์ในปริมาณมากกว่า ใช้สำหรับตรวจโครโมโซมทั้งหมด23คู่ โดยใช้เทคนิคต่างๆเช่น aCGH หรือ NGS
.
ซึ่งการตรวจโครโมโซมตัวอ่อน สามารถทำได้ทั้งในระยะDay 3 หรือระยะ Day 5 ผลที่ได้จะมีความแตกต่างกันในเรื่องของปริมาณเซลล์ที่ได้ และเทคนิคที่ใช้ตรวจ ซึ่งคุณหมอจะพิจารณาถึงความเหมาะสมของแต่ละบุคคลอีกครั้ง
.
การตรวจโครโมโซมตัวอ่อนจะมีรายละเอียดมาก หากคู่สมรสท่านใดมีข้อสงสัย สามารถขอเข้ารับคำปรึกษาจากคุณหมอได้ค่ะ
.
และมีการวางแผนที่เหมาะสมค่ะ