ไม่กี่วันที่ผ่านมา ประเทศพม่าได้เกิดเรื่องราวทางการเมืองอีกครั้งเมื่อกองทัพได้ทำรัฐประหารขึ้นโดยอ้างการเลือกตั้งที่ไม่โปร่งใสและความมั่นคง
สำหรับพม่า มันอาจจะไม่ใช่เรื่องราวทางการเมืองแบบใหม่ แต่มันไม่ควรเกิดขึ้นอีกในยุคที่เพิ่งผ่านพ้นจากยุคเผด็จการทหารมาได้ไม่กี่ปีที่ผ่านมา
ย้อนไปเมื่อ 59 ปีที่แล้ว กองทัพพม่าได้ทำรัฐประหารรัฐบาลพลเรือนโดยอ้างความมั่นคงและความสงบสุขของประเทศในตอนนั้ กินเวลาถึง 49 ปี
ช่วงแรก นับตั้งแต่ปี 1962 จนถึง 1988 นำโดยนายพล Ne Win ปกครองพม่าในรูปแบบระบอบพรรคสังคมนิยมพรรคเดียวปนกับเผด็จการทหาร
ช่วงที่สอง นับตั้งแต่ปี 1988 จนถึง 2011 เป็นช่วงเผด็จการทหารเต็มรูปแบบ นำโดยพลเอกอาวุโส Than Shwe ปกครองพม่ามาจนถึงปี 2011
เรื่องความคล้ายคลึงระหว่างการเมืองไทยและการเมืองพม่า กระทู้นี้จะไม่พูดถึงเพราะบางท่านก็คงอ่านมามากพอสมควรแล้ว และอาจจะรู้มาแล้ว
ดังนั้นกระทู้นี้เลยมาเจาะถึง 2 ประเทศที่มีมุมมองทางการเมืองคล้ายกันระดับหนึ่ง ประเทศหนึ่งคือ อินโดนีเซีย ซึ่งเคยผ่านช่วงเวลาดังกล่าวแล้ว
ส่วนอีกประเทศที่ไม่กล่าวถึงไม่ได้เพราะมีประวัติศาสตร์บางส่วนร่วมกันและยังมีภูมิหลังทางการเมืองที่คล้ายกันอย่างมาก นั้นก็คือ มาเลเซีย
ปัจจุบันอินโดนีเซีย ปกครองแบบประชาธิปไตย แม้เสรีภาพและความโปร่งใสอาจจะไม่เต็มร้อยหรือถึงขั้นระดับเดียวกับยุโรป แต่ก็ดีกว่ายุคก่อน
ส่วนมาเลเซีย หากมองจากเกมการเมือง ก็คงจะพูดไม่ได้เต็มปากว่ามีสิทธิเสรีภาพและมีความโปร่งใสทางการเมืองอย่างเต็มรูปแบบมากมายนัก
อินโดนีเซีย เคยมีความพยายามทำรัฐประหารซูการ์โน เปลี่ยนผ่านไปเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ แต่ถูกช่วยไว้โดยซูฮาร์โต ซึ่งได้รับเลือกขึ้นมาแทน
แม้จะไม่มีการใช้กำลังหรือการบีบบังคับจนเป็นการทำรัฐประหารเต็มรูปแบบ แต่ก็กล่าวได้ว่าซูฮาร์โตเป็นผู้ทำรัฐประหารต่อซูการ์โนผ่านรัฐสภา
ซูฮาร์โตปกครองอินโดนีเซียโดยนโยบาย "กลางจัด" ห้ามการแสดงออกทางศาสนาที่ดูเคร่งครัดเกินไปจนดูคล้ายกับเป็นกลุ่มก่อการร้ายญิฮาด
ในขณะที่ห้ามและปราบปรามกลุ่มคอมมิวนิสต์อย่างเด็ดขาด ช่วงยุคท้ายๆ ที่ปกครองอินโดนีเซียยังได้มีการแสดงการคุกคามสิทธิเสรีภาพอีกด้วย
หนึ่งในคนที่ถูกคุกคามสิทธิเสรีภาพก็คือ เมกาวตี ซูการ์โนปุตรี ซึ่งคล้ายกับ Aung San Suu Kyi ที่มีบิดาเป็นบิดาของชาติเหมือนกันอีกต่างหาก
มาเลเซีย แม้จะไม่มีการทำรัฐประหาร แต่ก็มีครั้งหนึ่งที่มีข่าวลือว่าจะมีการทำรัฐประหารหรือการปฏิวัติในช่วงประมาณยุค 80s ซึ่งมหาธีร์เป็นนายกฯ
อย่างไรก็ตาม แม้จะไม่มีการทำรัฐประหารหรือการปกครองโดยทหาร แต่สภาพแวดล้อมทางการเมืองของมาเลเซียนั้น แทบไม่ต่างกับพม่าเท่าไรนัก
หากพูดถึงเรื่องเชื้อชาติ กรณีของพม่าค่อนข้างหนักกว่าเพราะมีกลุ่มติดอาวุธของแต่ละเชื้อชาติแต่ละเผ่าพันธุ์พื้นเมืองสู้รบกับรัฐบาลตลอดสิบกว่าปี
ส่วนมาเลเซีย มีปัญหาทางเชื้อชาติหนักสุดเพียงแค่กลุ่มคอมมิวนิสต์มลายาของจีนเป็งเท่านั้น ขณะที่กลุ่มชาวอินเดียก็มีเฉียดบ้างกับกลุ่มพยัคฆ์ทมิฬ
ส่วนเรื่องนักโทษการเมือง หากจะพูดถึงคนที่เคยถูกจับและเป็นจำเลยทางการเมืองก็คงไม่พ้นอันวาร์ อิบราฮีม ที่ถูกใส่ร้ายจากคดี Sodomy ถึง 2 ครั้ง
ส่วนเรื่องโอกาสการทำรัฐประหาร สำหรับมาเลเซีย มองว่าโอกาสแทบเป็นศูนย์ เพราะชินกับสภาพทางการเมืองการต่อสู้กันในสภามาตลอดหลายสิบปี
ทหารแทบไม่ได้มีบทบาททางการเมืองใดๆ เนื่องจากหลายหน่วยงานมีผู้บังคับบัญชาแตกต่างกัน เช่น สุลต่านสะลาโงร์ เป็นผู้บัญชาการกองทัพเรือ
สุลต่านปะหัง เป็นผู้บังคับบัญชากองทัพอากาศ สุลต่านเกดะห์ เป็นผู้บังคับบัญชากองพลมลายู สุลต่านตรังกานู เป็นผู้บังคับบัญชากองพลทหารม้า
ส่วนอินโดนีเซีย น่าจะไม่มีโอกาสทำรัฐประหารเนื่องจากความมั่นคงของชาติและเสถียรภาพทางการเมืองที่ทำให้ทหารมีโอกาสแทรกแซงยากมาก
ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะว่าคนอินโดนีเซียเอง พยายามสร้างความปรองดองสมานฉันท์กันไว้เพราะเข็ดหลาบกับยุคของซูฮาร์โตที่กดขี่เรื่องศาสนา
มองการเมืองพม่าในการเมืองมาเลเซียและอินโดนีเซีย
สำหรับพม่า มันอาจจะไม่ใช่เรื่องราวทางการเมืองแบบใหม่ แต่มันไม่ควรเกิดขึ้นอีกในยุคที่เพิ่งผ่านพ้นจากยุคเผด็จการทหารมาได้ไม่กี่ปีที่ผ่านมา
ย้อนไปเมื่อ 59 ปีที่แล้ว กองทัพพม่าได้ทำรัฐประหารรัฐบาลพลเรือนโดยอ้างความมั่นคงและความสงบสุขของประเทศในตอนนั้ กินเวลาถึง 49 ปี
ช่วงแรก นับตั้งแต่ปี 1962 จนถึง 1988 นำโดยนายพล Ne Win ปกครองพม่าในรูปแบบระบอบพรรคสังคมนิยมพรรคเดียวปนกับเผด็จการทหาร
ช่วงที่สอง นับตั้งแต่ปี 1988 จนถึง 2011 เป็นช่วงเผด็จการทหารเต็มรูปแบบ นำโดยพลเอกอาวุโส Than Shwe ปกครองพม่ามาจนถึงปี 2011
เรื่องความคล้ายคลึงระหว่างการเมืองไทยและการเมืองพม่า กระทู้นี้จะไม่พูดถึงเพราะบางท่านก็คงอ่านมามากพอสมควรแล้ว และอาจจะรู้มาแล้ว
ดังนั้นกระทู้นี้เลยมาเจาะถึง 2 ประเทศที่มีมุมมองทางการเมืองคล้ายกันระดับหนึ่ง ประเทศหนึ่งคือ อินโดนีเซีย ซึ่งเคยผ่านช่วงเวลาดังกล่าวแล้ว
ส่วนอีกประเทศที่ไม่กล่าวถึงไม่ได้เพราะมีประวัติศาสตร์บางส่วนร่วมกันและยังมีภูมิหลังทางการเมืองที่คล้ายกันอย่างมาก นั้นก็คือ มาเลเซีย
ปัจจุบันอินโดนีเซีย ปกครองแบบประชาธิปไตย แม้เสรีภาพและความโปร่งใสอาจจะไม่เต็มร้อยหรือถึงขั้นระดับเดียวกับยุโรป แต่ก็ดีกว่ายุคก่อน
ส่วนมาเลเซีย หากมองจากเกมการเมือง ก็คงจะพูดไม่ได้เต็มปากว่ามีสิทธิเสรีภาพและมีความโปร่งใสทางการเมืองอย่างเต็มรูปแบบมากมายนัก
อินโดนีเซีย เคยมีความพยายามทำรัฐประหารซูการ์โน เปลี่ยนผ่านไปเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ แต่ถูกช่วยไว้โดยซูฮาร์โต ซึ่งได้รับเลือกขึ้นมาแทน
แม้จะไม่มีการใช้กำลังหรือการบีบบังคับจนเป็นการทำรัฐประหารเต็มรูปแบบ แต่ก็กล่าวได้ว่าซูฮาร์โตเป็นผู้ทำรัฐประหารต่อซูการ์โนผ่านรัฐสภา
ซูฮาร์โตปกครองอินโดนีเซียโดยนโยบาย "กลางจัด" ห้ามการแสดงออกทางศาสนาที่ดูเคร่งครัดเกินไปจนดูคล้ายกับเป็นกลุ่มก่อการร้ายญิฮาด
ในขณะที่ห้ามและปราบปรามกลุ่มคอมมิวนิสต์อย่างเด็ดขาด ช่วงยุคท้ายๆ ที่ปกครองอินโดนีเซียยังได้มีการแสดงการคุกคามสิทธิเสรีภาพอีกด้วย
หนึ่งในคนที่ถูกคุกคามสิทธิเสรีภาพก็คือ เมกาวตี ซูการ์โนปุตรี ซึ่งคล้ายกับ Aung San Suu Kyi ที่มีบิดาเป็นบิดาของชาติเหมือนกันอีกต่างหาก
มาเลเซีย แม้จะไม่มีการทำรัฐประหาร แต่ก็มีครั้งหนึ่งที่มีข่าวลือว่าจะมีการทำรัฐประหารหรือการปฏิวัติในช่วงประมาณยุค 80s ซึ่งมหาธีร์เป็นนายกฯ
อย่างไรก็ตาม แม้จะไม่มีการทำรัฐประหารหรือการปกครองโดยทหาร แต่สภาพแวดล้อมทางการเมืองของมาเลเซียนั้น แทบไม่ต่างกับพม่าเท่าไรนัก
หากพูดถึงเรื่องเชื้อชาติ กรณีของพม่าค่อนข้างหนักกว่าเพราะมีกลุ่มติดอาวุธของแต่ละเชื้อชาติแต่ละเผ่าพันธุ์พื้นเมืองสู้รบกับรัฐบาลตลอดสิบกว่าปี
ส่วนมาเลเซีย มีปัญหาทางเชื้อชาติหนักสุดเพียงแค่กลุ่มคอมมิวนิสต์มลายาของจีนเป็งเท่านั้น ขณะที่กลุ่มชาวอินเดียก็มีเฉียดบ้างกับกลุ่มพยัคฆ์ทมิฬ
ส่วนเรื่องนักโทษการเมือง หากจะพูดถึงคนที่เคยถูกจับและเป็นจำเลยทางการเมืองก็คงไม่พ้นอันวาร์ อิบราฮีม ที่ถูกใส่ร้ายจากคดี Sodomy ถึง 2 ครั้ง
ส่วนเรื่องโอกาสการทำรัฐประหาร สำหรับมาเลเซีย มองว่าโอกาสแทบเป็นศูนย์ เพราะชินกับสภาพทางการเมืองการต่อสู้กันในสภามาตลอดหลายสิบปี
ทหารแทบไม่ได้มีบทบาททางการเมืองใดๆ เนื่องจากหลายหน่วยงานมีผู้บังคับบัญชาแตกต่างกัน เช่น สุลต่านสะลาโงร์ เป็นผู้บัญชาการกองทัพเรือ
สุลต่านปะหัง เป็นผู้บังคับบัญชากองทัพอากาศ สุลต่านเกดะห์ เป็นผู้บังคับบัญชากองพลมลายู สุลต่านตรังกานู เป็นผู้บังคับบัญชากองพลทหารม้า
ส่วนอินโดนีเซีย น่าจะไม่มีโอกาสทำรัฐประหารเนื่องจากความมั่นคงของชาติและเสถียรภาพทางการเมืองที่ทำให้ทหารมีโอกาสแทรกแซงยากมาก
ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะว่าคนอินโดนีเซียเอง พยายามสร้างความปรองดองสมานฉันท์กันไว้เพราะเข็ดหลาบกับยุคของซูฮาร์โตที่กดขี่เรื่องศาสนา