เนื่องจากกระแสความขัดแย้งระหว่าง อิหร่าน และ สหรัฐอเมริกา เริ่มตึงเครียด ทำให้ผมนึกถึงความสัมพันธ์ของมาเลเซียและประเทศเหล่านั้น
แอบน่าทึ่งบางอย่างที่ว่า มาเลเซียนั้น เหมือนเป็นคนกลางของระหว่าง 2 ฝ่ายที่กล่าวมา คือ มาเลเซีย มีความสัมพันธ์ที่ดี กับกลุ่มประเทศโลกตะวันตก
กับเหล่าประเทศอาหรับ ซึ่งนั้น ทำให้ดูเหมือนว่า หากเกิดอะไรขึ้นมาจริง คนที่เดือดร้อนที่สุดในแถวนี้ น่าจะเป็นมาเลเซีย
เหตุผลหนึ่ง เป็นเพราะว่า มาเลเซีย ผ่านการสร้างชาติได้เพราะตะวันตก ขณะที่มีสายสัมพันธ์อันดีกับกลุ่มประเทศอาหรับมาหลายร้อยปี
แนะนำว่า เนื้อหาอาจจะไม่ตรงกับชื่อกระทู้ เพราะอย่างนั้น ขอให้ข้ามไปเลยนะครับ ขออภัยล่วงหน้าหากทำให้เกิดการเข้าใจผิดนะครับ
ความสัมพันธ์ระหว่าง มาเลเซีย กับ อังกฤษ มีมาตั้งแต่ครั้งที่มาเลเซีย ยังเป็นอาณานิคมของอังกฤษ หรือในฐานะบริติชมาลายา
สมัยอาณานิคม อังกฤษแบ่งมาเลเซียเป็น 3 ส่วน คือ สหพันธรัฐ รัฐสุลต่านเดี่ยว และนิคมช่องแคบ 4 รัฐสุลต่านเดี่ยว ได้มาจากสยาม
การปกครองของอังกฤษต่อมาเลเซีย เทียบกับหลายๆ ที่ โดยเฉพาะพม่าและอินเดีย ถือว่าแตกต่างมาก เพราะรํฐบาลอังกฤษเอาใจใส่พอสมควร
ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในขณะที่อาณานิคมอื่นๆ ทั้งพม่า หรือ ลาว กัมพูชา เวียดนาม ของฝรั่งเศส ต่างมีชนพื้นเมืองที่เรียกร้องเอกราชกันนั้น
แต่ชนพื้นเมืองมลายู แทบจะไม่สนใจเรื่องนี้แต่อย่างใด และมักจะเป็นกลุ่มคอมมิวนิสต์เชื้อสายจีน หรือกลุ่มฝักใฝ่อินโดนีเซียมากกว่าที่เรียกร้อง
ต่อมา รัฐบาลอังกฤษได้จัดตั้งสหพันธรัฐ ที่รวมเอาทั้งรัฐสุลต่านและรัฐอาณานิคมเป็นหนึ่งเดียว ก่อนจะส่งมอบเอกราชในปี 1957
หลังจากนั้นไม่นาน มาเลเซียได้รับรัฐซะราวะก์และซาบาห์จากเกาะบอร์เนียว เป็นส่วนหนึ่ง รวมกันเป็นสหพันธรัฐมาเลเซีย แต่ชื่อทางการมีแค่ มาเลเซีย
การที่มาเลเซีย ได้รัฐจากบอร์เนียวมา ทำให้ต้องเผชิญหน้ากับอินโดนีเซีย และมีสมรภูมิหลักอยู่ที่เกาะบอร์เนียว โดยอังกฤษได้ให้การช่วยเหลือ
แม้ว่าอินโดนีเซียเอง จะมีความเป็นคนกลางเหมือนกัน แต่อินโดนีเซียในยุคซูการ์โน เน้นหนักไปทางโซเวียต จีน ทำให้เป็นฝ่ายเสียเปรียบอย่างชัดเจน
ผลสุดท้าย อินโดนีเซีย โค่นล้มซูการ์โน และ รัฐบาลซูฮาร์โต ให้การยอมรับมาเลเซียในการรวมรัฐบอร์เนียว ปัญหาระหว่าง 2 ประเทศ (พี่น้อง) จึงจบไป
ขณะที่ความสัมพันธ์กับโลกอาหรับนั้น มาเลเซีย ก็ชัดเจนอยู่พอตัวมานาน เพราะเป็นชาวอาหรับนี้เอง ที่ได้เผยแพร่ศาสนาอิสลามไปทั่วโลกมลายู
มีค่านิยมกันว่า ผู้ที่ได้ไปทำฮัจญ์ จะได้รับการยกย่องเป็นอย่างสูงในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นอุลามะห์หรือไม่ หรือเป็นเพียงแค่มุสลิมธรรมดาคนหนึ่ง
ในหลายร้อยปีที่ผ่านมา เช่นเดียวกับลูกหลานมุสลิมที่อื่น อุลามะห์จะนิยมส่งบุตรหลานไปเรียนทางศาสนาเพื่อศึกษาคัมภีร์กุรอาน
หลังยุคเอกราช นโยบายทางการเมืองต่างประเทศ แม้ว่าจะเป็นแบบเดียวกับประเทศมุสลิมส่วนใหญ่ คือสนับสนุนปาเลสไตน์ แต่ไม่สนับสนุนอิสราเอล
ทว่า ความสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างมาเลเซีย กับตะวันตก ก็มีความแน่นแฟ้นไม่ต่างกัน ทำให้เกิดเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์ในโลกอิสลามอยู่ตลอด
สำหรับมาเลเซีย และ ซาอุดีอาระเบีย สิ่งที่เหมือนกันก็คือ ผลประโยชน์ และ อุดมการณ์ ที่ค่อนข้างขัดแย้งกันโดยสิ้นเชิง โดยเฉพาะในหลายปีมานี้
ทั้ง 2 ประเทศ มีความสัมพันธ์กับตะวันตกอย่างแน่นแฟ้น มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานไปถึงการสร้างชาติ โดยความช่วยเหลือจากตะวันตก
ขณะที่อุดมการณ์ทางศาสนา จะยังต้องสานสัมพันธ์กับประเทศมุสลิมด้วยกันอย่างกลุ่มโลกอาหรับ จึงทำให้ต้องอยู๋ในภาวะที่เสี่ยงและสับสน
อย่างไรก็ตาม สำหรับ อิหร่านนั้น ชัดเจนว่าเป็นศัตรูกับซาอุฯ อย่างฝังลึก นับตั้งแต่หลังการปฏิวัติอิสลามเป็นต้นมา ที่เพิ่มความขัดแย้งทางศาสนา
ขณะที่มาเลเซียนั้น ความสัมพันธ์ยังแน่นแฟ้น แต่ในเวลาผ่านไป กระแสต่อต้านชีอะห์ก็เริ่มมากขึ้นในมาเลเซีย และก็มาจากซาอุดีอาระเบียนั้นเอง
มาเลเซีย - หนึ่งในฐานะ 'คนกลาง' ที่เสี่ยงที่สุด
แอบน่าทึ่งบางอย่างที่ว่า มาเลเซียนั้น เหมือนเป็นคนกลางของระหว่าง 2 ฝ่ายที่กล่าวมา คือ มาเลเซีย มีความสัมพันธ์ที่ดี กับกลุ่มประเทศโลกตะวันตก
กับเหล่าประเทศอาหรับ ซึ่งนั้น ทำให้ดูเหมือนว่า หากเกิดอะไรขึ้นมาจริง คนที่เดือดร้อนที่สุดในแถวนี้ น่าจะเป็นมาเลเซีย
เหตุผลหนึ่ง เป็นเพราะว่า มาเลเซีย ผ่านการสร้างชาติได้เพราะตะวันตก ขณะที่มีสายสัมพันธ์อันดีกับกลุ่มประเทศอาหรับมาหลายร้อยปี
แนะนำว่า เนื้อหาอาจจะไม่ตรงกับชื่อกระทู้ เพราะอย่างนั้น ขอให้ข้ามไปเลยนะครับ ขออภัยล่วงหน้าหากทำให้เกิดการเข้าใจผิดนะครับ
ความสัมพันธ์ระหว่าง มาเลเซีย กับ อังกฤษ มีมาตั้งแต่ครั้งที่มาเลเซีย ยังเป็นอาณานิคมของอังกฤษ หรือในฐานะบริติชมาลายา
สมัยอาณานิคม อังกฤษแบ่งมาเลเซียเป็น 3 ส่วน คือ สหพันธรัฐ รัฐสุลต่านเดี่ยว และนิคมช่องแคบ 4 รัฐสุลต่านเดี่ยว ได้มาจากสยาม
การปกครองของอังกฤษต่อมาเลเซีย เทียบกับหลายๆ ที่ โดยเฉพาะพม่าและอินเดีย ถือว่าแตกต่างมาก เพราะรํฐบาลอังกฤษเอาใจใส่พอสมควร
ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในขณะที่อาณานิคมอื่นๆ ทั้งพม่า หรือ ลาว กัมพูชา เวียดนาม ของฝรั่งเศส ต่างมีชนพื้นเมืองที่เรียกร้องเอกราชกันนั้น
แต่ชนพื้นเมืองมลายู แทบจะไม่สนใจเรื่องนี้แต่อย่างใด และมักจะเป็นกลุ่มคอมมิวนิสต์เชื้อสายจีน หรือกลุ่มฝักใฝ่อินโดนีเซียมากกว่าที่เรียกร้อง
ต่อมา รัฐบาลอังกฤษได้จัดตั้งสหพันธรัฐ ที่รวมเอาทั้งรัฐสุลต่านและรัฐอาณานิคมเป็นหนึ่งเดียว ก่อนจะส่งมอบเอกราชในปี 1957
หลังจากนั้นไม่นาน มาเลเซียได้รับรัฐซะราวะก์และซาบาห์จากเกาะบอร์เนียว เป็นส่วนหนึ่ง รวมกันเป็นสหพันธรัฐมาเลเซีย แต่ชื่อทางการมีแค่ มาเลเซีย
การที่มาเลเซีย ได้รัฐจากบอร์เนียวมา ทำให้ต้องเผชิญหน้ากับอินโดนีเซีย และมีสมรภูมิหลักอยู่ที่เกาะบอร์เนียว โดยอังกฤษได้ให้การช่วยเหลือ
แม้ว่าอินโดนีเซียเอง จะมีความเป็นคนกลางเหมือนกัน แต่อินโดนีเซียในยุคซูการ์โน เน้นหนักไปทางโซเวียต จีน ทำให้เป็นฝ่ายเสียเปรียบอย่างชัดเจน
ผลสุดท้าย อินโดนีเซีย โค่นล้มซูการ์โน และ รัฐบาลซูฮาร์โต ให้การยอมรับมาเลเซียในการรวมรัฐบอร์เนียว ปัญหาระหว่าง 2 ประเทศ (พี่น้อง) จึงจบไป
ขณะที่ความสัมพันธ์กับโลกอาหรับนั้น มาเลเซีย ก็ชัดเจนอยู่พอตัวมานาน เพราะเป็นชาวอาหรับนี้เอง ที่ได้เผยแพร่ศาสนาอิสลามไปทั่วโลกมลายู
มีค่านิยมกันว่า ผู้ที่ได้ไปทำฮัจญ์ จะได้รับการยกย่องเป็นอย่างสูงในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นอุลามะห์หรือไม่ หรือเป็นเพียงแค่มุสลิมธรรมดาคนหนึ่ง
ในหลายร้อยปีที่ผ่านมา เช่นเดียวกับลูกหลานมุสลิมที่อื่น อุลามะห์จะนิยมส่งบุตรหลานไปเรียนทางศาสนาเพื่อศึกษาคัมภีร์กุรอาน
หลังยุคเอกราช นโยบายทางการเมืองต่างประเทศ แม้ว่าจะเป็นแบบเดียวกับประเทศมุสลิมส่วนใหญ่ คือสนับสนุนปาเลสไตน์ แต่ไม่สนับสนุนอิสราเอล
ทว่า ความสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างมาเลเซีย กับตะวันตก ก็มีความแน่นแฟ้นไม่ต่างกัน ทำให้เกิดเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์ในโลกอิสลามอยู่ตลอด
สำหรับมาเลเซีย และ ซาอุดีอาระเบีย สิ่งที่เหมือนกันก็คือ ผลประโยชน์ และ อุดมการณ์ ที่ค่อนข้างขัดแย้งกันโดยสิ้นเชิง โดยเฉพาะในหลายปีมานี้
ทั้ง 2 ประเทศ มีความสัมพันธ์กับตะวันตกอย่างแน่นแฟ้น มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานไปถึงการสร้างชาติ โดยความช่วยเหลือจากตะวันตก
ขณะที่อุดมการณ์ทางศาสนา จะยังต้องสานสัมพันธ์กับประเทศมุสลิมด้วยกันอย่างกลุ่มโลกอาหรับ จึงทำให้ต้องอยู๋ในภาวะที่เสี่ยงและสับสน
อย่างไรก็ตาม สำหรับ อิหร่านนั้น ชัดเจนว่าเป็นศัตรูกับซาอุฯ อย่างฝังลึก นับตั้งแต่หลังการปฏิวัติอิสลามเป็นต้นมา ที่เพิ่มความขัดแย้งทางศาสนา
ขณะที่มาเลเซียนั้น ความสัมพันธ์ยังแน่นแฟ้น แต่ในเวลาผ่านไป กระแสต่อต้านชีอะห์ก็เริ่มมากขึ้นในมาเลเซีย และก็มาจากซาอุดีอาระเบียนั้นเอง