จากข่าวการถึงแก่กรรมของท่านจุฬาราชมนตรี บางท่านอาจจะสงสัยว่า แล้วประเทศมุสลิม มีใครทำหน้าที่คล้ายกับจุฬาราชมนตรีบ้าง
คำตอบคือ มีครับ และแน่นอนว่ามีหน้าที่มากกว่าจุฬาราชมนตรีและสำคัญกว่าจุฬาราชมนตรีด้วย เนื่องจากเป็นประเทศมุสลิมโดยตรง
ในมาเลเซียและบรูไน หน้าที่นี้คือ มุฟติ (Mufti) หน้าที่หลักๆ ก็จะคล้ายๆ กับจุฬาราชมนตรี คือ การออกฟัตวา การออกประกาศต่างๆ ทางศาสนา เช่น วันสำคัญทางศาสนา และทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางศาสนาให้กับสุลต่านและรัฐบาล โดยในแต่ละรัฐจะมีมุฟติดำรงวาระและสามารถดำรงตำแหน่งต่ออีกวาระได้ โดยปัจจุบัน มุฟตีคนสำคัญของมาเลเซีย คือ ลุกมัน อับดุลละฮ์ ซึ่งเป็นมุฟติประจำเขตสหพันธรัฐ หน้าที่โดยพฤตินัยจึงเสมือนว่าเป็นมุฟตีประจำประเทศมาเลเซีย (แต่จริงๆ ทุกรัฐมีมุฟติอยู่แล้ว)
อย่างไรก็ตาม หน่วยงานมาเลเซียที่ทำหน้าที่โดยพฤตินัยและเกี่ยวข้องกับชีวิตประชาชนมากกว่า มักจะเป็น JAKIM ซึ่งมีหน้าที่ดูแลและจัดการเรื่องต่างๆ เช่น การออกเตือนประกาศประชาชนเกี่ยวกับร้านอาหารที่ไม่ได้มาตรฐานฮาลาล หรือการตรวจสอบโรงเรียนหรือหนังสือเรียนศาสนาว่ามีความสุดโต่งเกินไปหรือผิดหลักศาสนาหรือไม่
ส่วนบรูไน มีมุฟตีประจำรัฐก็คือ อับดุล อาซิซ ยูเนด ทำหน้าที่เดียวกับมุฟติในมาเลเซีย คือ การออกฟัตวา การออกประกาศต่างๆ ทางศาสนา เช่น วันสำคัญทางศาสนา และทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางศาสนาให้กับสุลต่าน และว่ากันว่า การประกาศบังคับใช้กฎหมายชารีอะฮ์ซึ่งส่งผลให้คนทั้งโลกออกมาต่อต้านและบอยคอตบรูไน มุฟติท่านนี้ก็มีส่วนด้วยเช่นกัน
ส่วนอินโดนีเซีย ไม่มีตำแหน่งมุฟติ แต่มีสภาอุลามะแห่งอินโดนีเซีย คอยทำหน้าที่คล้ายกัน โดยประธานสภาอุลามะคนปัจจุบันคือ กิไย อันวาร์ อิสกันดาร์ เพิ่งดำรงตำแหน่งต่อจาก กิไย มิฟตาจุล อักฮิยาร์ ซึ่งดำรงตำแหน่งต่อจาก มารุฟ อามิน ซึ่งปัจจุบันเป็นรองประธานาธิบดีอินโดนีเซียในรัฐบาลโจโกวี
ส่วนสิงคโปร์ แม้จะเป็นประเทศฆราวาสนิยม 100% แต่เนื่องจากมีมุสลิมอยู่ในประเทศจำนวนไม่น้อย (ทั้งชาวมลายูซึ่งเป็นชนพื้นเมืองเดิม ชาวอินเดียมุสลิม รวมไปถึงชาวจีนมุสลิม และแรงงานจากประเทศมุสลิมต่างๆ โดยเฉพาะ อินโดนีเซีย ปากีสถาน บังกลาเทศ) จึงมีสภาศาสนาอิสลามแห่งประเทศสิงคโปร์กำกับดูแลเรื่องนี้อยู่ โดยมี โมฮาหมัด ซาอัด อับดุล ระห์มัน เป็นประธานสภา แน่นอนว่าหน้าที่ก็จะคล้ายๆ กับจุฬาราชมนตรีโดยตรงเลย
เนื่องจากประเทศเหล่านี้เป็นมุสลิมหรือมีประชากรเป็นมุสลิมอยู่มาก พวกเขาจึงมีหน้าที่และบทบาทสำคัญในการควบคุมกิจการศาสนาในประเทศของตัวเองอย่างเข้มงวด โดยเฉพาะในยุคที่มุสลิมบางคน ทั้งในประเทศเหล่านี้รวมถึงในไทยบางส่วน เลือกปฏิเสธที่จะทำตามหรือเห็นหน่วยงานเหล่านี้เป็นผู้ชี้นำศาสนา และมองว่าแนวทางสุดโต่งบางอย่างคือแนวทางที่เหมาะสมกว่า ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมายได้ การดูแลรักษาหลักศาสนาอย่างเข้มงวด จึงเป็นหน้าที่ของหน่วยงานเหล่านี้ด้วยเช่นกัน
จุฬาราชมนตรีในต่างประเทศมีมั้ย? .. มาดูกันครับ
คำตอบคือ มีครับ และแน่นอนว่ามีหน้าที่มากกว่าจุฬาราชมนตรีและสำคัญกว่าจุฬาราชมนตรีด้วย เนื่องจากเป็นประเทศมุสลิมโดยตรง
ในมาเลเซียและบรูไน หน้าที่นี้คือ มุฟติ (Mufti) หน้าที่หลักๆ ก็จะคล้ายๆ กับจุฬาราชมนตรี คือ การออกฟัตวา การออกประกาศต่างๆ ทางศาสนา เช่น วันสำคัญทางศาสนา และทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางศาสนาให้กับสุลต่านและรัฐบาล โดยในแต่ละรัฐจะมีมุฟติดำรงวาระและสามารถดำรงตำแหน่งต่ออีกวาระได้ โดยปัจจุบัน มุฟตีคนสำคัญของมาเลเซีย คือ ลุกมัน อับดุลละฮ์ ซึ่งเป็นมุฟติประจำเขตสหพันธรัฐ หน้าที่โดยพฤตินัยจึงเสมือนว่าเป็นมุฟตีประจำประเทศมาเลเซีย (แต่จริงๆ ทุกรัฐมีมุฟติอยู่แล้ว)
อย่างไรก็ตาม หน่วยงานมาเลเซียที่ทำหน้าที่โดยพฤตินัยและเกี่ยวข้องกับชีวิตประชาชนมากกว่า มักจะเป็น JAKIM ซึ่งมีหน้าที่ดูแลและจัดการเรื่องต่างๆ เช่น การออกเตือนประกาศประชาชนเกี่ยวกับร้านอาหารที่ไม่ได้มาตรฐานฮาลาล หรือการตรวจสอบโรงเรียนหรือหนังสือเรียนศาสนาว่ามีความสุดโต่งเกินไปหรือผิดหลักศาสนาหรือไม่
ส่วนบรูไน มีมุฟตีประจำรัฐก็คือ อับดุล อาซิซ ยูเนด ทำหน้าที่เดียวกับมุฟติในมาเลเซีย คือ การออกฟัตวา การออกประกาศต่างๆ ทางศาสนา เช่น วันสำคัญทางศาสนา และทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางศาสนาให้กับสุลต่าน และว่ากันว่า การประกาศบังคับใช้กฎหมายชารีอะฮ์ซึ่งส่งผลให้คนทั้งโลกออกมาต่อต้านและบอยคอตบรูไน มุฟติท่านนี้ก็มีส่วนด้วยเช่นกัน
ส่วนอินโดนีเซีย ไม่มีตำแหน่งมุฟติ แต่มีสภาอุลามะแห่งอินโดนีเซีย คอยทำหน้าที่คล้ายกัน โดยประธานสภาอุลามะคนปัจจุบันคือ กิไย อันวาร์ อิสกันดาร์ เพิ่งดำรงตำแหน่งต่อจาก กิไย มิฟตาจุล อักฮิยาร์ ซึ่งดำรงตำแหน่งต่อจาก มารุฟ อามิน ซึ่งปัจจุบันเป็นรองประธานาธิบดีอินโดนีเซียในรัฐบาลโจโกวี
ส่วนสิงคโปร์ แม้จะเป็นประเทศฆราวาสนิยม 100% แต่เนื่องจากมีมุสลิมอยู่ในประเทศจำนวนไม่น้อย (ทั้งชาวมลายูซึ่งเป็นชนพื้นเมืองเดิม ชาวอินเดียมุสลิม รวมไปถึงชาวจีนมุสลิม และแรงงานจากประเทศมุสลิมต่างๆ โดยเฉพาะ อินโดนีเซีย ปากีสถาน บังกลาเทศ) จึงมีสภาศาสนาอิสลามแห่งประเทศสิงคโปร์กำกับดูแลเรื่องนี้อยู่ โดยมี โมฮาหมัด ซาอัด อับดุล ระห์มัน เป็นประธานสภา แน่นอนว่าหน้าที่ก็จะคล้ายๆ กับจุฬาราชมนตรีโดยตรงเลย
เนื่องจากประเทศเหล่านี้เป็นมุสลิมหรือมีประชากรเป็นมุสลิมอยู่มาก พวกเขาจึงมีหน้าที่และบทบาทสำคัญในการควบคุมกิจการศาสนาในประเทศของตัวเองอย่างเข้มงวด โดยเฉพาะในยุคที่มุสลิมบางคน ทั้งในประเทศเหล่านี้รวมถึงในไทยบางส่วน เลือกปฏิเสธที่จะทำตามหรือเห็นหน่วยงานเหล่านี้เป็นผู้ชี้นำศาสนา และมองว่าแนวทางสุดโต่งบางอย่างคือแนวทางที่เหมาะสมกว่า ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมายได้ การดูแลรักษาหลักศาสนาอย่างเข้มงวด จึงเป็นหน้าที่ของหน่วยงานเหล่านี้ด้วยเช่นกัน