การเรียกคืนเบี้ยยังชีพ ตัวบทกฏหมายตรงประเด็นที่ไม่มีนักกฏหมายพูดถึง

ความจริงเรื่องทำนองนี้มีกฏหมายลายลักษณ์อักษรกำหนดไว้ตรงๆชัดเจน (แบบกฏหมาย)
เป็นกรณีตาม กฏหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง เกี่ยวกับ การเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง ซึ่งใช้มาเกือบ 20 ปีแล้ว แต่ไม่ค่อยมีใครอาศัยกระบวนการยุติธรรมทางปกครอง กันซักเท่าไหร่ (จำได้สมัย เลขาธิการสำนักงานศาลปกครองยุคแรกๆ หากมีกรณี ที่สามารถเกี่ยวกับคดีปกครอง มักออกมาให้ความเห็นเสมอ แต่ช่วงหลัง ........ แบบนี้จะมีประโยชน์อะไร ที่ใช้ระบบศาลคู่ ให้ยุ่งยาก) ที่แปลกใจ คือไม่มีนักกฏหมายท่านใดมาให้ความเห็นในเรื่องทำนองนี้ด้านกฏหมายนี้เลย แม้แต่ศาลฎีกา (อาจเป็นเพราะ ถูกตั้งเป็นคดีแพ่ง ซึ่งศาลต้องพิจารณาในประเด็นที่โต้แย้งกัน ศาลจึงไปหยิบยกหลักกฎหมายแพ่งทั่วไป เรื่อง
ลาภมิควรได้กับการติดตามทรัพย์)

                      สำหรับนักกฏหมาย ต้องทำความเข้าใจอย่างหนึ่งว่า การที่หน่วยงานของรัฐจะจ่ายเงินอะไรก็ตาม ไม่ว่า เงินเดือน ค่าจ้าง หรือที่มีปัญหาเรื่องเบี้ยผู้สูงอายุ จะต้องมีการอนุมัติให้จ่ายเงินโดยผู้มีอำนาจตามกฏหมาย การอนุมัติให้จ่ายเงินนี้ ในแง่กฏหมายปกครอง เขาเรียกว่า  "คำสั่งทางปกครอง" เมื่อมีคำสั่งทางปกครองเกิดขึ้น หากไม่ปัญหาอะไรก็จบสิ้นกระบวนความ ก็ตั้งฎีกาเบิก จ่ายเงินไปใช้สมประโยชน์ กันทุกฝ่าย

                     แต่ถ้ามีปัญหาโต้แย้งกัน เขาก็จะเรียกการ อุทธรณ์ คำสั่งทางปกครอง เช่น  อนุมัติจ่ายเงินเดือน 30000 บาท อ้าวผมต้องได้ 35000 สิ  ก็โต้แย้ง ไม่ฟังก็ อุทธรณ์ อุทธรณ์ไม่ผ่านก็ฟ้องศาลปกครอง จนคดียุติ จบตามคำสั่งศาลปกครอง (รายละเอียดไปศึกษาต่อกันเองนะ)

ทีนี้ถ้าไม่มีปัญหาโต้แย้งอะไร แต่กลายเป็นว่า มีข้อผิดพลาด หรือไม่ผิดพลาดแต่กฏหมายเปลี่ยนหรืออะไรสุดแล้วแต่  จำเป็นต้องยกเลิก แก้ไขหรือ เปลี่ยนแปลงที่อนุมัติไป กรณีแบบนี้เขาเรียก การเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง จะเพิกถอนบางส่วนหรือทั้งหมดก็ว่ากันตามกฏหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ส่วนที่ 6 การเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง มาตรา 49-53

                      ที่พบบ่อยๆ คือ การจ่ายเงินเดือน เบี้ยเลี้ยง ค่าตอบแทน ไปแล้วจ่ายผิดหรือกฏหมายเปลี่ยนแปลง ก็ยื่นโนติส ขอเงินคืน ซึ่งก็แปลก น้อยรายที่จะโต้แย้ง เพราะการเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง ก็เป็นคำสั่งทางปกครอง ชนิดหนึ่ง โดยทั่วไปไม่อยากมีเรื่องกับผู้บังคับบัญชา ก็ยอมผ่อนจ่ายเงินไปโดยดี เพราะถือว่า เป็นเงินที่ตนไม่ควรได้แต่แรก ซึ่งหลายราย ถ้าโต้แย้ง อุทธรณ์ ฟ้องศาล ก็น่าจะไม่ต้องจ่ายเงิน
 ......... อ้าว ผู้บังคับบัญชาก็ซวยสิ จ่ายเงินผิดเรียกคืนก็ไม่ได้ แล้วทำไง ก็ต้องจ่ายเงินเอง แต่เชื่อเถอะ มันก็เป็นไปตามกฏหมายรับผิดทางละเมิด ส่วนใหญ่เงียบ ไม่มีใครติดตาม กระทรวงการคลังงานท่านยุ่งจะตาย  เพราะฉะนั้นปัญหาจ่ายเงินผิด ก็จะเกิดขึ้นโดยสัพเพร่าอยู่เป็นประจำ และจะเป็นแบบนี้ไปตลอด เชื่อผมเถอะ จนกว่า ...... สตง. และ ปปช. จะมาหยิบ เรื่องขี้หมูรา ขี้หมาแห้ง นี่ เขาไกล่เกลี่ยบีบผู้น้อยหรือประชาชน ได้ ก็ปล่อยไป

                      พูดมาตั้งนาน มันเกี่ยวกับ เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ในกรณีนี้ อย่างไร
คือ การอนุมัติให้จ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ก็ต้องมีคำสั่งทางปกครอง อนุมัติให้จ่าย น่าจะเป็นอำนาจของ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ออกคำสั่งทางปกครอง เพื่อเบิกเงินจาก กรมบัญชีกลาง (ตอนจ่ายก็ได้หน้า ลูกน้องก็สร้างผลงาน ยิ่งมากยิ่งดี ไม่ต้องตรวจสอบให้เสียเวลา มีแต่ได้กับได้)
                      เมื่อกรมบัญชีกลางท้วงมา ผู้ออกคำสั่งจ่ายเงิน ก็ต้องมาพิจารณา ว่าตามกฏหมายต้องทำไรบ้าง เรียกคืนตามกฏหมายก็ยุ่งยาก (ก็อย่างว่า ไม่ได้ก็ต้องไล่เบี้ยเอากับคนทำคำสั่ง) ก็ขบวนการปกติแบบมักง่าย ยื่นโนติสเรียกคืน (แต่ไม่อ้างข้อกฏหมายอะไรเลย) แหมขนาดข้าราชการโดนกัน ยังตาลีตาเหลือก หามาผ่อน นี่ราษฏร จะเหลือหรือ

                    เรามาดูกันกฏหมายเขาว่าอย่างไร
1. ต้องรู้ก่อนว่า คำสั่งทางปกครอง อนุมัติให้จ่ายเงิน เขาเรียก "คำสั่งทางปกครอง ที่มีลักษณะการให้ประโยชน์แก่ผู้รับคำสั่งเป็นตัวเงิน"
2. คำสั่งทางปกครองที่ออกมาแล้ว ถูกหรือไม่ถูกต้องทางกฏหมาย สามารถเพิกถอนทั้งหมด หรือบางส่วนได้ทั้งสิ้น และจะให้มีผลย้อนหลังหรือไปในอนาคตได้ด้วย (หมายความว่า จะเรียกเงินคืน ต้องทำคำสั่งเพิกถอนคำสั่งทางปกครองเดิมย้อนหลัง จึงมีอำนาจเรียกเงินคืน)
3. ซึ่งหลักการเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่มีลักษณะการให้ประโยชน์เป็นตัวเงิน ซึ่งไม่ชอบด้วยกฏหมาย (ไม่มีสิทธิ์ได้เบี้ยยังชีพ ดันอนุมัติให้จ่ายเงินเขา) กฎหมายกำหนดให้คำนึงถึงความเชื่อโดยสุจริตของผู้รับประโยชน์ในความคงอยู่ของคำสั่งทางปกครองนั้นกับประโยชน์สาธารณะประกอบกัน
ความเชื่อโดยสุจริตตามวรรคหนึ่งจะได้รับความคุ้มครองต่อเมื่อผู้รับคำสั่งทางปกครองได้ใช้ประโยชน์อันเกิดจากคำสั่งทางปกครองหรือได้ดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินไปแล้วโดยไม่อาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้หรือการเปลี่ยนแปลงจะทำให้ผู้นั้นต้องเสียหายเกินควรแก่กรณี อันนี้หมายความว่า การจะเพิกถอนคำสั่ง เพื่อให้มีสิทธิเรียกเงินคืน ต้อง พิจารณาถึง
    3.1 ความเชื่อโดยสุจริตว่าตนมีสิทธิได้รับเงิน กับประโยชน์สาธารณะ หมายถึง ถ้าไม่เพิกถอนคำสั่ง จะมีผลให้หน่วยงานของรัฐนั้นปฎิบัติหหน้าที่ต่อไปไม่ได้
    3.2 ผู้รับเงินใช้เงินไปหมดหรือยัง หรือถ้าต้องคืนเงินจะต้องเสียหาย เช่นต้องไปกู้หนี้ ยืมสินมาใช้ ต้องนำเงินออมมาใช้ ต้องอดมื้อกินมื้อ เพื่อมาชดใช้ แบบนี้ เรียกคืนไม่ได้
4. ถ้าหน่วยงานของรัฐวินิจฉัยว่า เรียกคืนได้ กฏหมายบอกให้เรียกคืน ตามหลักลาภมิควรได้ ซึ่งอาจได้ไม่เต็มจำนวนหรือเรียกคืนได้ทั้งหมด ก็กระทำการได้ 2 ทาง
    4.1 อ่ะ ยื่นโนติส ก็ต้องออกในรูปแบบคำสั่งทางปกครอง แหล่ะ ว่าคุณต้องคืนเพราะอะไร ก็ว่าไป ไม่พอใจก็อุทธรณ์ ผู้รับคำสั่งไม่อุทธรณ์ พ้นระยะเวลาอุทธรณ์ ก็มีคำสั่งทางปกครอง เรียกชดใช้เงิน ก็ดำเนินไปตามส่วนการบังคับตามคำสั่งทางปกครอง ถ้าผู้รับคำสั่งอุทธรณ์ ก็วินิจฉัยไป ถ้ายืนยันว่าต้องคืนเงิน ก็แจ้งให้ฟ้องศาลปกครอง ถ้าไม่ฟ้องเลยเวลาใช้สิทธิ์ฟ้อง ก็บังคับทางปกครองไป ถ้าฟ้องก็ฟ้องศาลปกครอง ก็รอคดียุติ ก็ตามคำสั่งศาลปกครอง แบบนี้ก็โอเค ไม่เสียค่าธรรมเนียมศาลทุกฝ่าย
    4.2 ไม่ยื่นโนติสละ มั่นใจว่าไม่สุจริตแน่ ก็ฟ้องศาลแพ่ง ตั้งรูปคดี เรื่องลาภมิควรได้ ตาม พรบ.วิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง ซึ่งในกรณีจริงๆ การที่ไปฟ้องศาลแพ่งติดตามทรัพย์สิน นี่มันควรถูกยกฟ้อง ตั้งแต่แรก ก็คุณมีคำสั่งโดยชอบด้วยกฏหมายคาอยู่ไม่ได้เพิกถอน เงินหรือเบี้ยนั่นจะเป็นของราชการได้ยังไง  ตลก จริงๆ  แต่ก็ไม่ว่ากัน เพราะจำเลยไม่ต่อสู้คดีเรื่องนี้ ก็ไม่ถือว่าอยู่ในความรับรู้ของศาล หรือปล่าววววว

อ่ะเผื่อใคร ที่ต้องเรียน ต้องสอบเรื่องนี้ เอาตัวบทไปพิจารณากัน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่