การสั่งจองล่วงหน้านั้น เป็นเรื่องดีสำหรับทุกฝ่าย
ตอนที่สั่งจองกันก็ไม่มีใครรู้ว่าวัคซีนไหนจะผ่านเฟส 3 วัคซีนไหนจะมีประสิทธิผลเท่าไหร่ ใครจะผลิตออกสู่ตลาดได้เมื่อไหร่
ประเทศร่ำรวยจึงสั่งซื้อไว้หลายๆเจ้า ใครผ่านเฟส 3 เร็ว ประสิทธิผลสูง ผลิดออกมาได้ก่อนก็เลือกฉีดตัวนั้น แล้วส่วนที่เกินความต้องการก็บริจาคให้ COVAX
ยิ่งจองมากกลับยิ่งดี บริษัทวัคซีนใช้เงินนี้ไปขยายกำลังการผลิต ตั้งแต่ยังเพิ่งเริ่มเฟส 3
แม้ว่าต่อมาวัคซีนจะไม่ผ่านเฟส 3 เงินที่เสียไปโดยเปล่าประโยชน์ก็คือเงินของประเทศร่ำรวยเหล่านี้ที่พร้อมรับความเสี่ยง
ถ้าผ่านเฟส 3 ได้ ก็พร้อมส่งมอบทันที ด้วยกำลังการผลิตตามสัญญา
ถ้าจองกันน้อย กำลังการผลิตตั้งแต่ต้นก็น้อย กว่าจะมีส่วนที่เหลือเกินความต้องการมาถึง COVAX ไปถึงมือประเทศยากจนก็ช้าและน้อยตามไปด้วย
กรณีข้อพิพาท ทางแอสตราฯ ได้เงินจากอังกฤษก่อน และได้นำเงินนี้ไปเตรียมความพร้อมในการผลิตให้โดยจ้างโรงงานผลิตในอังกฤษไว้สองแห่ง
โรงงานผลิตก็ต้องใช้เวลาเพราะ การเพาะเนื้อเยื่อเป็นอาหารและการเพาะเชื้อเพิ่มปริมาณมันกินเวลาแต่ละถัง 4 เดือน
และในช่วงต้นๆก็ได้มีปัญหา เชื้อที่ได้ต่อถังน้อยกว่าประมาณการณ์ไว้ เพียงแต่ตอนนั้นยังไม่ผ่านเฟส 3 เลยมีเวลาปรับปรุงจนผลิตได้เต็มกำลังตอนนี้
ส่วนของอียูมาสั่งจองหลังอังกฤษ 3 เดือนตอนกลางๆเฟส 3 แล้ว ปลายๆสิงหาคม แอสตราฯ ก็ใช้โรงงานในเบลเยียมและจ้างโรงงานอื่นในอียูเริ่มผลิต
แล้วก็มีปัญหาแบบเดียวกันคือจำนวนเชื้อที่ได้ต่อถังต่ำในเบลเยียม เพียงแต่ตอนนี้อียูได้อนุมัติฉีดแล้ว แต่ของไม่ทันเลยเป็นปัญหา
แถมปัญหาการผลิตในตอนต้นของอังกฤษก็ทำให้ เอาจากอังกฤษตามเติมให้ไม่ได้อีก กระทบกันไปเป็นลูกโซ่
ส่วนในด้านสัญญาที่เปิดกันมา ก็บอกไว้ว่า จะใช้กำลังการผลิตจากอังกฤษเพื่อส่งมอบให้ อียู ด้วยก็จริง
และก็มีระบุไว้เช่นกันว่า สัญญาที่แอสตราฯเซ็นไว้กับประเทศอื่น (เช่นอังกฤษ) ถ้ากระทบต่อยอดการส่งมอบ แอสดราฯ ก็ยังต้องทำตามสัญญาของอียูอยู่ดี
แต่ก็ข้อระบุว่า แอสตราฯใช้ความพยายามตามควรแก่เหตุเพื่อส่งมอบให้อียู ด้วยเช่นกัน
แง่กฏหมายคงยุ่งยากตีความ แต่สุดท้ายถ้าจะขึ้นศาลก็คงไปนั่งไกล่เกลี่ยกันอยู่ดี และคงไม่เกิดขึ้นแล้ว
เมื่อวานนี้ในที่สุด อียู ก็ได้มีมาตรการณ์แบนการส่งวัคซีนออกนอกอียู จนถึงเดือนมีนาคม โดยยกเว้นประเทศยากจน และไอร์แลนด์เหนือที่อยู่ภายใต้อังกฤษ
ซึ่งการแบนกระทบอังกฤษและประเทศร่ำรวยอื่นๆ เช่นการส่งมอบวัคซีนไฟเซอร์ไป แคนาดา ออสเตรเลีย อังกฤษ และของโมเดอร์น่าที่จะส่งออกนอกอียู
เป็นไปได้ที่จะกระทบไทยด้วยเพราะของไทยจะมาจากโรงงานอิตาลี ผ่านไม่ผ่านก็ไม่รู้
อียู เรียกว่าเป็นมาตรการเพื่อสกรีน คัดกรอง การส่งออก ดังนั้นเป็นไปได้ที่จะพิจารณาตามสมควรไม่ได้แบนจริงจัง
อนึ่งขอเล่าเรื่องย้อนกลับไปเมื่อตอนยังวิจัยและกำลังจะเริ่มเฟส 3 ตอนนั้นงานวิจัยกำลังชลอเพราะไม่มีเงินไปต่อ ทีมวิจัยกำลังวิ่งหาทุนกันเต็มที่
สุดท้ายคำสั่งจองของอังกฤษคือเงินทุนที่ทำให้วัคซีนตัวนี้เดินหน้าไปได้จนผ่านเฟส 3 ในที่สุด
ไม่ได้จะประนามหรือเข้าข้างฝ่ายใด เพียงแค่นำเสนอข้อมูลตามที่ผ่านตามาเท่านั้น
[covid-19] ว่ากันยาวๆเรื่องข้อพิพาท การแบนส่งออกวัคซีนโควิตออกนอก EU
ตอนที่สั่งจองกันก็ไม่มีใครรู้ว่าวัคซีนไหนจะผ่านเฟส 3 วัคซีนไหนจะมีประสิทธิผลเท่าไหร่ ใครจะผลิตออกสู่ตลาดได้เมื่อไหร่
ประเทศร่ำรวยจึงสั่งซื้อไว้หลายๆเจ้า ใครผ่านเฟส 3 เร็ว ประสิทธิผลสูง ผลิดออกมาได้ก่อนก็เลือกฉีดตัวนั้น แล้วส่วนที่เกินความต้องการก็บริจาคให้ COVAX
ยิ่งจองมากกลับยิ่งดี บริษัทวัคซีนใช้เงินนี้ไปขยายกำลังการผลิต ตั้งแต่ยังเพิ่งเริ่มเฟส 3
แม้ว่าต่อมาวัคซีนจะไม่ผ่านเฟส 3 เงินที่เสียไปโดยเปล่าประโยชน์ก็คือเงินของประเทศร่ำรวยเหล่านี้ที่พร้อมรับความเสี่ยง
ถ้าผ่านเฟส 3 ได้ ก็พร้อมส่งมอบทันที ด้วยกำลังการผลิตตามสัญญา
ถ้าจองกันน้อย กำลังการผลิตตั้งแต่ต้นก็น้อย กว่าจะมีส่วนที่เหลือเกินความต้องการมาถึง COVAX ไปถึงมือประเทศยากจนก็ช้าและน้อยตามไปด้วย
กรณีข้อพิพาท ทางแอสตราฯ ได้เงินจากอังกฤษก่อน และได้นำเงินนี้ไปเตรียมความพร้อมในการผลิตให้โดยจ้างโรงงานผลิตในอังกฤษไว้สองแห่ง
โรงงานผลิตก็ต้องใช้เวลาเพราะ การเพาะเนื้อเยื่อเป็นอาหารและการเพาะเชื้อเพิ่มปริมาณมันกินเวลาแต่ละถัง 4 เดือน
และในช่วงต้นๆก็ได้มีปัญหา เชื้อที่ได้ต่อถังน้อยกว่าประมาณการณ์ไว้ เพียงแต่ตอนนั้นยังไม่ผ่านเฟส 3 เลยมีเวลาปรับปรุงจนผลิตได้เต็มกำลังตอนนี้
ส่วนของอียูมาสั่งจองหลังอังกฤษ 3 เดือนตอนกลางๆเฟส 3 แล้ว ปลายๆสิงหาคม แอสตราฯ ก็ใช้โรงงานในเบลเยียมและจ้างโรงงานอื่นในอียูเริ่มผลิต
แล้วก็มีปัญหาแบบเดียวกันคือจำนวนเชื้อที่ได้ต่อถังต่ำในเบลเยียม เพียงแต่ตอนนี้อียูได้อนุมัติฉีดแล้ว แต่ของไม่ทันเลยเป็นปัญหา
แถมปัญหาการผลิตในตอนต้นของอังกฤษก็ทำให้ เอาจากอังกฤษตามเติมให้ไม่ได้อีก กระทบกันไปเป็นลูกโซ่
ส่วนในด้านสัญญาที่เปิดกันมา ก็บอกไว้ว่า จะใช้กำลังการผลิตจากอังกฤษเพื่อส่งมอบให้ อียู ด้วยก็จริง
และก็มีระบุไว้เช่นกันว่า สัญญาที่แอสตราฯเซ็นไว้กับประเทศอื่น (เช่นอังกฤษ) ถ้ากระทบต่อยอดการส่งมอบ แอสดราฯ ก็ยังต้องทำตามสัญญาของอียูอยู่ดี
แต่ก็ข้อระบุว่า แอสตราฯใช้ความพยายามตามควรแก่เหตุเพื่อส่งมอบให้อียู ด้วยเช่นกัน
แง่กฏหมายคงยุ่งยากตีความ แต่สุดท้ายถ้าจะขึ้นศาลก็คงไปนั่งไกล่เกลี่ยกันอยู่ดี และคงไม่เกิดขึ้นแล้ว
เมื่อวานนี้ในที่สุด อียู ก็ได้มีมาตรการณ์แบนการส่งวัคซีนออกนอกอียู จนถึงเดือนมีนาคม โดยยกเว้นประเทศยากจน และไอร์แลนด์เหนือที่อยู่ภายใต้อังกฤษ
ซึ่งการแบนกระทบอังกฤษและประเทศร่ำรวยอื่นๆ เช่นการส่งมอบวัคซีนไฟเซอร์ไป แคนาดา ออสเตรเลีย อังกฤษ และของโมเดอร์น่าที่จะส่งออกนอกอียู
เป็นไปได้ที่จะกระทบไทยด้วยเพราะของไทยจะมาจากโรงงานอิตาลี ผ่านไม่ผ่านก็ไม่รู้
อียู เรียกว่าเป็นมาตรการเพื่อสกรีน คัดกรอง การส่งออก ดังนั้นเป็นไปได้ที่จะพิจารณาตามสมควรไม่ได้แบนจริงจัง
อนึ่งขอเล่าเรื่องย้อนกลับไปเมื่อตอนยังวิจัยและกำลังจะเริ่มเฟส 3 ตอนนั้นงานวิจัยกำลังชลอเพราะไม่มีเงินไปต่อ ทีมวิจัยกำลังวิ่งหาทุนกันเต็มที่
สุดท้ายคำสั่งจองของอังกฤษคือเงินทุนที่ทำให้วัคซีนตัวนี้เดินหน้าไปได้จนผ่านเฟส 3 ในที่สุด
ไม่ได้จะประนามหรือเข้าข้างฝ่ายใด เพียงแค่นำเสนอข้อมูลตามที่ผ่านตามาเท่านั้น