🟨มาลาริน/COVAX ไปต่อลำบาก โครงการดีแต่ปฏิบัติไม่ได้จริงเพราะ?/ศาลเบลเยียมขีดเส้นตาย “แอสตราเซเนกา” ส่งวัคซีนให้อียู

ปูเสื่อCOVAX ไปต่อลำบาก โครงการดีแต่ปฏิบัติไม่ได้จริงเพราะ?

ขณะที่ประเทศยากจนซึ่งไม่มีกำลังซื้อวัคซีนต้องรอจาก COVAX แต่โครงการกลับสะดุดเมื่อวัคซีนทั่วโลกขาดแคลน
ขณะที่กว่าครึ่งหนึ่งของประชากรผู้ใหญ่ในสหรัฐอเมริกาได้รับการฉีดวัคซีนต้านโควิด-19 ครบ 2 เข็มแล้ว ส่วนประเทศใหญ่อย่างจีนก็ได้ฉีดวัคซีนไปแล้วกว่า 1 พันล้านโดสหรือคิดเป็นเกือบร้อยละ 40 ของวัคซีนที่ฉีดทั่วโลก

แต่สถานการณ์ในประเทศอื่นๆ แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงโดยเฉพาะประเทศที่มีรายได้น้อยหลายประเทศเพิ่งฉีดวัคซีนเข็มแรกให้แก่ประชากรไม่ถึง 1%

การจัดการกับความไม่เท่าเทียมกันนี้คือภารกิจของ COVAX โครงการที่ได้รับความร่วมมือระหว่างองค์กรพันธมิตรเพื่อวัคซีนกาวี (Gavi), กลุ่มพันธมิตรความร่วมมือด้านนวัตกรรมเพื่อรับมือโรคระบาด และองค์การอนามัยโลก (WHO) ซึ่งเปิดตัวตั้งแต่เดือนเมษายน 2020 เพื่อแจกจ่ายวัคซีน 2 พันล้านโดสภายในสิ้นปีนี้ โดยให้ประเทศที่มีเพียงพอบริจาคเงินและวัคซีนให้แก่ประเทศยากจนเพื่อการจัดสรรวัคซีนอย่างเท่าเทียม

แต่จนถึงขณะนี้ COVAX ยังไม่บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว โดยมีการบริจาควัคซีนเพียง 4% เท่านั้นจากเป้าหมาย 2 พันล้านโดส โดยส่วนใหญ่เป็นเพราะประเทศร่ำรวยกว้านซื้อวัคซีนไปตั้งแต่ก่อนที่จะได้รับอนุมัติจากหน่วยงานกำกับดูแล

อีกประการสำคัญที่ชะลอการดำเนินการของ COVAX คือการที่อินเดียระงับการส่งออกวัคซีนที่ผลิตในประเทศเมื่อช่วงต้นปีนี้เนื่องจากมีการระบาดร้ายแรงในประเทศ ทั้งนี้ COVAX ได้พึ่งพาวัคซีนที่ผลิตในอินเดียมากกว่าครึ่งหนึ่ง เมื่ออินเดียไม่สามารถส่งออกวัคซีนได้โครงการจึงไม่สามารถส่งมอบวัคซีนไปยังประเทศต่างๆ ได้

ตลอดจนเหตุไฟไหม้ที่โรงงานผลิตในอินเดียนำมาสู่การสูญเสียอุปกรณ์และความล่าช้าในการวางสายการผลิตเพิ่มเติม ส่งผลให้ COVAX และประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศดิ้นรนเพื่อหาแหล่งวัคซีนใหม่หลังจากที่อินเดียเผยว่าจะไม่กลับมาส่งออกจนถึงสิ้นปีนี้

การส่งมอบวัคซีนผ่าน COVAX เกิดความล่าช้าในหลายประเทศรวมถึงเกาหลีเหนือซึ่งควรจะได้รับวัคซีนชุดแรกตั้งแต่เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา โดยองค์กรพันธมิตรเพื่อวัคซีนกาวีระบุว่าเกาหลีเหนือยังไม่ได้รับวัคซีนเนื่องจากปัญหาขาดแคลนวัคซีนทั่วโลก โดยคาดว่าเกาหลีเหนือจะได้รับวัคซีนภายในปีนี้

โดยเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมามีประเทศและภูมิภาคได้รับวัคซีนผ่านโครงการ COVAX รวมประมาณ 150 ล้านโดส ซึ่งยังต่ำกว่าเป้าหมายการส่งมอบระหว่างเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคม ขาดอีกประมาณ 200 ล้านโดส โดยผู้ประสานงานโครงการ COVAX ของ WHO กล่าวว่า "หากยังไม่มีวัคซีนเข้ามาในช่วงเวลานี้ COVAX ก็ไม่ต่างอะไรกับโครงการที่ล้มเหลว"

Scientific American ระบุว่าองค์กรพันธมิตรเพื่อวัคซีนกาวีคาดว่าจะส่งมอบวัคซีน 1.8 พันล้านโดสภายในสิ้นไตรมาสแรกของปีหน้า

อย่างไรก็ตามสถานการณ์อาจดีขึ้นเมื่อสหรัฐประกาศว่าจะแบ่งปันวัคซีน 19 ล้านโดสให้แก่โครงการ COVAX ภายในสิ้นดือน พร้อมจัดสรรวัคซีนอีก 6 ล้านโดสให้แก่ประเทศที่ต้องการความช่วยเหลือโดยตรง ขณะที่อังกฤษก็ให้คำมั่นว่าจะจัดสรรวัคซีน 870 ล้านโดสให้แก่ COVAX โดยจะพยายามให้ครึ่งหนึ่งของจำนวนนี้มาถึงภายในสิ้นปีนี้

แม้ว่า COVAX จะบรรลุเป้าหมายอย่างสมบูรณ์แต่ก็จะคิดเป็นเพียง 20% ของประชากรของประเทศที่เข้าร่วมโครงการเท่านั้นซึ่งยังไม่เพียงพอต่อสัดส่วนที่นักระบาดวิทยาประเมินไว้เพื่อให้โลกมีภูมิคุ้มกันหมู่

ผู้เชี่ยวชาญมองว่านอกจากโครงการ COVAX แล้วยังจำเป็นต้องมีความพยายามอื่นๆ ร่วมด้วยโดยเฉพาะการจัดสรรวัคซีนไปยังพื้นที่ห่างไกล, การจัดการกับความลังเลใจในการฉีดวัคซีน และการขยายโรงงานเพื่อเพิ่มกำลังการผลิตวัคซีน

Krishna Udayakumar ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมด้านสุขภาพระดับโลก มหาวิทยาลัยดุ๊ก มองว่า COVAX จำเป็นแต่ไม่เพียงพอ จนกว่าประเทศและบริษัทที่ร่ำรวยจะเพิ่มความพยายามในการแบ่งปันวัคซีนและช่วยแจกจ่ายวัคซีนไปทั่วโลก

น่าเสียดายที่ประเทศที่มีรายได้ต่ำยังคงอยู่ข้างหลัง หรืออยู่ในความเมตตาของประเทศที่มีรายได้สูง" เขากล่าวเสริม

ขณะที่องค์กรพันธมิตรเพื่อวัคซีนกาวีกล่าวว่าเงินทุนเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความล่าช้า เนื่องจาก COVAX จะตกลงกับบริษัทผู้ผลิตวัคซีนทันทีที่ได้รับเงินทุนจากผู้เข้าร่วมโครงการ หากได้รับเงินทุนเร็วกว่านี้ก็อาจล็อกปริมาณวัคซีนได้เร็วกว่าเดิมเช่นกัน

นอกจากนี้กาวียังระบุว่าความท้าทายในการเข้าถึงวัคซีนในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 นั้นแตกต่างจากการระบาดครั้งอื่นๆ เนื่องจากทุกประเทศต้องการวัคซีนในเวลาเดียวกัน การผลิตและอุปทานโดยรวมจึงซับซ้อนกว่ามาก

นอกจากการรอวัคซีนจาก COVAX แล้วประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลางจำนวนมากจึงทำข้อตกลงกับบริษัทผู้ผลิตวัคซีนและประเทศอื่นๆ โดยตรงด้วย

แต่การดีลกับบางประเทศโดยตรงนั้น Krishna Udayakumar มองว่าอาจเป็นวิธีที่เสี่ยงจะเป็น "วัคซีนการทูต" โดยประเทศที่บริจาควัคซีนเพื่อแลกกับอิทธิพลทางการเมืองในภูมิภาค นั่นทำให้ประเทศยากจนที่ไม่มีกำลังซื้อวัคซีนได้เองต้องยอมรับวัคซีนยี่ห้อนั้นๆ โดยไม่มีวัคซีนชนิดอื่นเป็นทางเลือก
Photo by Nhac NGUYEN / AFP

https://www.posttoday.com/world/656047

เพี้ยนแคปเจอร์ศาลเบลเยียมขีดเส้นตาย “แอสตราเซเนกา” ส่งวัคซีนโควิด80.2ล.โดสให้อียูภายใน27ก.ย.นี้



สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ศาลชั้นต้นของเบลเยียม ในกรุงบรัสเซลส์ ตัดสินคดีความที่ทางสหภาพยุโรป หรืออียู ยื่นฟ้องต่อบริษัทแอสตราเซเนกา จากกรณีที่ส่งมอบวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 ล่าช้า เมื่อช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา

รายงานข่าวแจ้งว่า ศาลได้ตัดสินโดยมีคำสั่งให้บริษัทแอสตราเซเนกา จัดส่งวัคซีนจำนวน 80.2 ล้านโดสให้แก่บรรดาประเทศสมาชิกของอียูภายในวันที่ 27 ก.ย.นี้ หากทำไม่สำเร็จ ทางบริษัทแอสตราเซเนกา จะต้องเสียค่าปรับคิดเป็นเงินโดสละ 10 ยูโร หรือ 12 ดอลลาร์สหรัฐฯ (คิดเป็นเงินไทยราว 378 บาท)

ภายหลังจากศาลมีคำตัดสินได้สร้างความพึงพอใจให้แก่ทั้งสองฝ่าย โดยทางนายเจฟฟรีย์ พอตต์ รองกรรมการผู้จัดการบริษัทแอสตราเซเนกา กล่าวให้คำมั่นว่า แอสตราเซเนกา จะเร่งผลิตและจัดส่งวัคซีนที่มีประสิทธิภาพให้แก่ทางอียู

ขณะที่ ทางอียู แม้แสดงความพึงพอใจต่อคำตัดสินข้างต้น แต่หลายคนมองว่า ยังเป็นฝ่ายเสียเปรียบ เนื่องจากคำตัดสินไม่เป็นไปตามคำฟ้องของอียู ที่เรียกร้องให้บริษัทแอสตราเซเนกา ส่งมอบวัคซีนจำนวน 120 ล้านโดส ภายในเดือน มิ.ย.นี้ และส่งมอบให้ครบทั้งหมด 300 ล้านโดส ภายในสิ้นเดือน ก.ย.

https://siamrath.co.th/n/254593

นานาเรียนไทยคิดถูกแล้วนะคะ ที่ไม่เข้าร่วมโครงการนี้  ไม่อย่างนั้นคงต้องรอวัคซีนอย่างไม่มีอนาคต

คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 36
ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก
กระทู้นี้ถูกลบโดยระบบอัตโนมัติทั้งนี้เพื่อเป็นการรักษาบรรยากาศการสนทนา ของเพื่อนสมาชิกโดยรวมค่ะ

ความคิดเห็นนี้ได้ถูก ppantip.com ลบออกไปจากระบบแล้ว หากเนื้อหาที่ถูกลบยังคงถูกนำไปแสดงใน application หรือเว็บไซต์ใดๆ
ทาง ppantip.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆด้วย การดำเนินการทางกฎหมายกรุณาติดต่อผู้พัฒนา application หรือเว็บไซต์นั้นๆโดยตรงค่ะ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่