ขึ้นชื่อ "บัณฑิต ฤทธิ์ถกล" เชื่อว่าคอหนังหลายท่านคงคุ้นเคยกันดีในฐานะ "คนทำหนัง" หรือ "ผู้กำกับหนังคุณภาพ" ที่ลาลับไปนานร่วมสิบปีแล้ว
เขามีผลงานการกำกับออกมานับได้ราว ๆ 30 เรื่อง ผ่านมาหลากหลายรสชาติและอารมณ์ ทั้งหนังตลก หนังโรแมนติก หนังแอ็คชั่น หนังสะท้อนสังคม
เขาเป็นเจ้าของหนังชุด "บุญชู" ที่ทำรายได้กำลังดีในทุกภาค เป็นหนังที่ดูสนุกและมีมุขอันแพรวพราวแบบไม่ต้องคิดอะไรเยอะ
หรือถ้าเป็นหนังที่คนดูต้องคิดเยอะหน่อยแต่ได้ความรู้สึกอิ่มเอมคงจะนึกถึงเรื่อง..."กาลครั้งหนึ่งเมื่อเช้านี้" ที่ได้รับคำชมและรางวัลอีกมากโข
ถึงแม้ว่าในช่วงที่หนังเรื่องนี้เข้าฉายใหม่ ๆ สามารถทำรายได้เข้ากระเป๋าเพียง "4 ล้านบาท" เท่านั้น นี่คือคำยืนยันจากทายาทของเขา
"กาลครั้งหนึ่งเมื่อเช้านี้" ยังได้สร้างประวัติการณ์ให้กับตัวเขา เพราะหนังเรื่องนี้ใช้เวลาทุ่มแรงกายแรงใจเป็นอย่างมาก เพื่อให้งานดูละเมียดละไมที่สุด
ผลก็คือเขาใช้เวลาเขียนบท(ร่วมกับคุณชนินทรผู้ล่วงลับอีกคน)นานถึงหกปี เวลาการถ่ายทำถึงการตัดต่อร่วมหนึ่งปี และใช้ฟิล์มถ่ายทำมากกว่า 500 ม้วน
โดยตั้งใจจะให้หนังเรื่องนี้เป็นตัวแทนแห่งการสะท้อนสภาพสังคมและอันตรายรอบด้านที่เด็ก ๆ ต้องเผชิญ ให้ครอบครัวรู้จักดูแลซึ่งกันและกัน
จนถึงวันนี้..."กาลครั้งหนึ่งเมื่อเช้านี้" ยังคงเป็นหนังไทยที่เป็นที่กล่าวขานเสมอมา เพราะเป็นผลงานระดับมาสเตอร์พีซของเขากับมวลมิตรอีกหลายคน
รวมถึงตัวนักแสดงคู่ขวัญคู่บุญ "สันติสุข-จินตหรา" และการแสดงครั้งแรกของหนุ่มมาดเซอร์ "แน็ก ชาลี" ที่โด่งดังสุด ๆ จากเรื่องแฟนฉัน และอาปัติ
แต่ก็ยังเป็นที่สับสนอยู่ว่า หนังเรื่อง "กาลครั้งหนึ่งเมื่อเช้านี้" เข้าฉายในปีใดกันแน่ เพราะมีบางแหล่งระบุว่าเรื่องนี้ฉายในปี 2537 บ้างก็ฉายในปี 2538
เราจึงขอยืนยันด้วยข้อมูลที่บริสุทธิ์แล้วกันว่า...หนังเรื่องนี้เข้าฉายตั้งแต่วันที่ "28 มกราคม 2538" ถ้านับถึงปีนี้ก็เป็นเวลา 26 ปีพอดิบพอดี
และนี่คือหนังไทยที่อยู่ในดวงใจของคนทุกรุ่น เราขอนำเรื่องย่อพร้อมภาพบางส่วนของหนังมาให้คนรุ่นหลังได้ย้อนภาพและทำความรู้จักไปด้วยกัน
แล้วมาคุยกันด้านล่างนะว่าทำไมถึงชอบหรืออย่างไร...แล้วถ้าเกิดมีการสร้างเป็นละครหรือซีรีส์ คุณอยากให้ใครมาแสดงและกำกับ?/สวัสดี.
เรื่องย่อ
ในสังคมยุคโลกาภิวัตน์ สถาบันครอบครัว พื้นฐานความสัมพันธ์ที่อบอุ่น ตัวแปรสำคัญของสังคมโดยรวม ความเจริญของวัตถุในสังคมเมืองนับวันจะทวีจนถึงขีดสุด ในขณะที่ความอบอุ่นในครอบครัวกลายเป็นสิ่งขาดหายมากขึ้นทุกที
“กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว...เด็ก ๆ ในหมู่บ้านแห่งหนึ่งพากันหนีออกจากบ้านแอบเข้าไปเที่ยวเล่นในสวนของปราสาทร้างหลังหนึ่ง โดยหารู้ไม่ว่า ในปราสาทแห่งนั้นมีแม่มดใจร้ายครอบครองอยู่
เด็ก ๆ ถูกแม่มดใจร้ายสาปให้เป็นสัตว์ต่าง ๆ บางคนเป็นวัว บ้างเป็นหมา เป็นแมว เป็นไก่ เป็ด ฯลฯ
พอดีเจ้าชายองค์หนึ่งเดินทางผ่านมา เห็นพวกเด็ก ๆ ที่ถูกสาปก็สงสาร จึงใช้ดาบวิเศษพยายามช่วยให้เด็ก ๆ พ้นจากคำสาปของนางแม่มด
นางแม่มดใจร้ายไม่ยอมแพ้ เสกยักษ์ตาเดียวขึ้นมาจากหลุม ตรงเข้าต่อสู้กับเจ้าชายอย่างดุเดือด...”
นี่คือนิทานซึ่ง “ดำรง” เล่าให้ลูก ๆ ทั้งสามของเขาฟังเสมอ ๆ
ดำรง และ “อาภา” เป็นอีกคู่หนึ่งที่ไม่ประสบความสำเร็จในชีวิตคู่ ซึ่งเป็นเรื่องปกติธรรมดาของสังคมในสมัยนี้ แต่ด้วยเหตุผลใดก็แล้วแต่ “โอ๋”, “อ้น” และ “อั้ม” ลูกทั้งสามไม่อาจเข้าใจและยอมรับสภาพ “บ้านแตก” ที่พวกเขาเพิ่งจะรู้ในเช้าวันหนึ่ง ที่ “พ่อ” และ “แม่” จะต้องไปตามทางที่เด็กทั้งสามไม่อยากให้เป็น
สามพี่น้องต้องย้ายออกจากบ้านหลังเดิมไปอาศัยอยู่กับแม่ที่แฟลตกลางเมือง...เพราะอาชีพโค้ชนักกีฬาของดำรงนั้นไม่มีงานประจำที่แน่นอน ขณะที่เด็ก ๆ นั้นล้วนมีความผูกพันกับพ่อมากกว่า ทำให้ทุกคนไม่พอใจนักกับการย้ายไปอยู่ที่ใหม่กับอาภา
เมื่อ “นิรันดร์” ก้าวหน้ามาสนิทสนมกับอาภา ทำให้โอ๋ไม่พอใจเมื่อได้เห็น จนกลายเป็นเหตุให้ทั้งคู่ทะเลาะกัน
ด้วยความคิดถึงบวกกับแรงบีบคั้นทางจิตใจกับภาพที่แม่เริ่มมีความสนิทสนมกับผู้ชายคนใหม่ โอ๋ตัดสินใจพาน้อง ๆ หนีออกจากแฟลตเพื่อกลับไปหาพ่อที่บ้านเก่า ซึ่งพวกเด็ก ๆ เพิ่งจะรู้ว่าพ่อได้จากบ้านเดิมไปเป็นโค้ชฝึกนักกีฬาที่เชียงใหม่เสียแล้ว
ทั้งสามจึงเดินทางจากกรุงเทพฯ ตรงดิ่งไปยังจุดหมายปลายทางคือเชียงใหม่
เป็นเวลาเดียวกับ “นกแล” เด็กส่งยาเสพติดให้กับ “ฉกาจ” กับพวกกำลังหนีการตามจับของตำรวจ ซึ่งระหว่างนั้นได้อาศัยตะกร้าใส่ของอั้มซ่อนยาเสพติดไว้ก่อนจะหนีไปท่ามกลางความชุลมุน
โอ๋พาน้อง ๆ หนีแม่ที่ออกตามหาไปที่เชียงใหม่ทันทีโดยทางรถไฟ ขณะที่นกแลต้องตามเอาถุงยาจากตะกร้าของอั้มเพื่อคืนให้กับฉกาจให้ได้ ด้วยการพยายามเข้ามาผูกมิตรกับเด็กทั้งสาม
ความผิดพลาดของนกแลทำให้ฉกาจต้องตามเอาของคืนจนถึงลำปาง ขณะเดียวกับที่ดำรงก็เดินทางไปรับลูกที่นั่นเช่นกัน แต่ด้วยเหตุการณ์ที่คับขันซึ่งเกิดขึ้นที่สถานีรถไฟลำปาง ทำให้ฉกาจต้องจับตัวเด็กทั้งสามติดรถไปต่อหน้าต่อตาของดำรง
การผจญภัยในโลกด้านมืดของโอ๋ อ้น และอั้ม โดยมีนกแลเป็นคนคอยช่วยเหลือ และการออกตามหาลูก ๆ ของพ่อแม่จึงได้เริ่มขึ้น
มันเป็นเรื่องที่น่ากลัวมากกว่าเหตุการณ์ร้ายในนิทานที่พ่อเคยเล่าให้ฟังหลายเท่านัก แต่อาจเป็นความตื่นเต้นที่เกินธรรมดาของเด็กที่ไม่เคยได้เป็นผู้เลือกโอกาสของตัวเองเลยในชีวิตอย่างนกแลเด็กเร่ร่อนที่เข้ามาร่วมชะตากรรมกับเด็กทั้งสามอย่างไม่ตั้งใจ
...การตามล่า การตามหา และการหนีเอาชีวิตรอด ด้วยไหวพริบ และมิตรภาพอันบริสุทธิ์ของเด็กทั้งสี่คน...ได้เริ่มขึ้นแล้ว
กาลครั้งหนึ่งเมื่อเช้านี้
กำกับการแสดง บัณฑิต ฤทธิ์ถกล
อำนวยการสร้าง เจริญ เอี่ยมพึ่งพร
บทภาพยนตร์ ชนินทร ประเสริฐประศาสน์, บัณฑิต ฤทธิ์ถกล
กำกับภาพ วันชัย เล่งอิ้ว
บันทึกเสียง ชาย คงศีลวัต
กำกับศิลป์และเทคนิค ประดิษฐ์ นิลสนธิ
เครื่องแต่งกาย กานต์ ฉัตรทรงเจริญ
ลำดับภาพ พูนศักดิ์ อุทัยพันธุ์
ดนตรีประกอบ ดนู ฮันตระกูล, ดำรง ธรรมพิทักษ์
นักแสดงนำ
สันติสุข พรหมศิริ ดำรง
จินตหรา สุขพัฒน์ อาภา
มาตัง จันทรานี โอ๋
ปรมัติ ธรรมมล อ้น
ชาลี ไตรรัตน์ อั้ม
รณรงค์ บูรณัติ นกแล
สมมาตร ไพรหิรัญ นิรันดร์
ภูมิ พัฒนายุทธ ฉกาจ
ร่วมด้วย ปรารถนา สัชฌุกร, ชูศักดิ์ นะมาโรจน์, ปั่น เลาะสูงเนิน ฯลฯ
จัดจำหน่าย ไฟว์สตาร์โปรดักชั่น
วันที่เข้าฉาย 28 มกราคม 2538
ข้อมูล-ภาพตัวอย่าง-ใบปิดโฆษณาจากนิตยสารฉบับต่าง ๆ ในปี 2538.
28 มกราคม 2538 : 26 ปี "กาลครั้งหนึ่งเมื่อเช้านี้" หนังชั้นดีแต่ไม่ได้ตังค์
เขามีผลงานการกำกับออกมานับได้ราว ๆ 30 เรื่อง ผ่านมาหลากหลายรสชาติและอารมณ์ ทั้งหนังตลก หนังโรแมนติก หนังแอ็คชั่น หนังสะท้อนสังคม
เขาเป็นเจ้าของหนังชุด "บุญชู" ที่ทำรายได้กำลังดีในทุกภาค เป็นหนังที่ดูสนุกและมีมุขอันแพรวพราวแบบไม่ต้องคิดอะไรเยอะ
หรือถ้าเป็นหนังที่คนดูต้องคิดเยอะหน่อยแต่ได้ความรู้สึกอิ่มเอมคงจะนึกถึงเรื่อง..."กาลครั้งหนึ่งเมื่อเช้านี้" ที่ได้รับคำชมและรางวัลอีกมากโข
ถึงแม้ว่าในช่วงที่หนังเรื่องนี้เข้าฉายใหม่ ๆ สามารถทำรายได้เข้ากระเป๋าเพียง "4 ล้านบาท" เท่านั้น นี่คือคำยืนยันจากทายาทของเขา
"กาลครั้งหนึ่งเมื่อเช้านี้" ยังได้สร้างประวัติการณ์ให้กับตัวเขา เพราะหนังเรื่องนี้ใช้เวลาทุ่มแรงกายแรงใจเป็นอย่างมาก เพื่อให้งานดูละเมียดละไมที่สุด
ผลก็คือเขาใช้เวลาเขียนบท(ร่วมกับคุณชนินทรผู้ล่วงลับอีกคน)นานถึงหกปี เวลาการถ่ายทำถึงการตัดต่อร่วมหนึ่งปี และใช้ฟิล์มถ่ายทำมากกว่า 500 ม้วน
โดยตั้งใจจะให้หนังเรื่องนี้เป็นตัวแทนแห่งการสะท้อนสภาพสังคมและอันตรายรอบด้านที่เด็ก ๆ ต้องเผชิญ ให้ครอบครัวรู้จักดูแลซึ่งกันและกัน
จนถึงวันนี้..."กาลครั้งหนึ่งเมื่อเช้านี้" ยังคงเป็นหนังไทยที่เป็นที่กล่าวขานเสมอมา เพราะเป็นผลงานระดับมาสเตอร์พีซของเขากับมวลมิตรอีกหลายคน
รวมถึงตัวนักแสดงคู่ขวัญคู่บุญ "สันติสุข-จินตหรา" และการแสดงครั้งแรกของหนุ่มมาดเซอร์ "แน็ก ชาลี" ที่โด่งดังสุด ๆ จากเรื่องแฟนฉัน และอาปัติ
แต่ก็ยังเป็นที่สับสนอยู่ว่า หนังเรื่อง "กาลครั้งหนึ่งเมื่อเช้านี้" เข้าฉายในปีใดกันแน่ เพราะมีบางแหล่งระบุว่าเรื่องนี้ฉายในปี 2537 บ้างก็ฉายในปี 2538
เราจึงขอยืนยันด้วยข้อมูลที่บริสุทธิ์แล้วกันว่า...หนังเรื่องนี้เข้าฉายตั้งแต่วันที่ "28 มกราคม 2538" ถ้านับถึงปีนี้ก็เป็นเวลา 26 ปีพอดิบพอดี
และนี่คือหนังไทยที่อยู่ในดวงใจของคนทุกรุ่น เราขอนำเรื่องย่อพร้อมภาพบางส่วนของหนังมาให้คนรุ่นหลังได้ย้อนภาพและทำความรู้จักไปด้วยกัน
แล้วมาคุยกันด้านล่างนะว่าทำไมถึงชอบหรืออย่างไร...แล้วถ้าเกิดมีการสร้างเป็นละครหรือซีรีส์ คุณอยากให้ใครมาแสดงและกำกับ?/สวัสดี.
“กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว...เด็ก ๆ ในหมู่บ้านแห่งหนึ่งพากันหนีออกจากบ้านแอบเข้าไปเที่ยวเล่นในสวนของปราสาทร้างหลังหนึ่ง โดยหารู้ไม่ว่า ในปราสาทแห่งนั้นมีแม่มดใจร้ายครอบครองอยู่
เด็ก ๆ ถูกแม่มดใจร้ายสาปให้เป็นสัตว์ต่าง ๆ บางคนเป็นวัว บ้างเป็นหมา เป็นแมว เป็นไก่ เป็ด ฯลฯ
พอดีเจ้าชายองค์หนึ่งเดินทางผ่านมา เห็นพวกเด็ก ๆ ที่ถูกสาปก็สงสาร จึงใช้ดาบวิเศษพยายามช่วยให้เด็ก ๆ พ้นจากคำสาปของนางแม่มด
นางแม่มดใจร้ายไม่ยอมแพ้ เสกยักษ์ตาเดียวขึ้นมาจากหลุม ตรงเข้าต่อสู้กับเจ้าชายอย่างดุเดือด...”
นี่คือนิทานซึ่ง “ดำรง” เล่าให้ลูก ๆ ทั้งสามของเขาฟังเสมอ ๆ
ดำรง และ “อาภา” เป็นอีกคู่หนึ่งที่ไม่ประสบความสำเร็จในชีวิตคู่ ซึ่งเป็นเรื่องปกติธรรมดาของสังคมในสมัยนี้ แต่ด้วยเหตุผลใดก็แล้วแต่ “โอ๋”, “อ้น” และ “อั้ม” ลูกทั้งสามไม่อาจเข้าใจและยอมรับสภาพ “บ้านแตก” ที่พวกเขาเพิ่งจะรู้ในเช้าวันหนึ่ง ที่ “พ่อ” และ “แม่” จะต้องไปตามทางที่เด็กทั้งสามไม่อยากให้เป็น
สามพี่น้องต้องย้ายออกจากบ้านหลังเดิมไปอาศัยอยู่กับแม่ที่แฟลตกลางเมือง...เพราะอาชีพโค้ชนักกีฬาของดำรงนั้นไม่มีงานประจำที่แน่นอน ขณะที่เด็ก ๆ นั้นล้วนมีความผูกพันกับพ่อมากกว่า ทำให้ทุกคนไม่พอใจนักกับการย้ายไปอยู่ที่ใหม่กับอาภา
เมื่อ “นิรันดร์” ก้าวหน้ามาสนิทสนมกับอาภา ทำให้โอ๋ไม่พอใจเมื่อได้เห็น จนกลายเป็นเหตุให้ทั้งคู่ทะเลาะกัน
ด้วยความคิดถึงบวกกับแรงบีบคั้นทางจิตใจกับภาพที่แม่เริ่มมีความสนิทสนมกับผู้ชายคนใหม่ โอ๋ตัดสินใจพาน้อง ๆ หนีออกจากแฟลตเพื่อกลับไปหาพ่อที่บ้านเก่า ซึ่งพวกเด็ก ๆ เพิ่งจะรู้ว่าพ่อได้จากบ้านเดิมไปเป็นโค้ชฝึกนักกีฬาที่เชียงใหม่เสียแล้ว
ทั้งสามจึงเดินทางจากกรุงเทพฯ ตรงดิ่งไปยังจุดหมายปลายทางคือเชียงใหม่
เป็นเวลาเดียวกับ “นกแล” เด็กส่งยาเสพติดให้กับ “ฉกาจ” กับพวกกำลังหนีการตามจับของตำรวจ ซึ่งระหว่างนั้นได้อาศัยตะกร้าใส่ของอั้มซ่อนยาเสพติดไว้ก่อนจะหนีไปท่ามกลางความชุลมุน
โอ๋พาน้อง ๆ หนีแม่ที่ออกตามหาไปที่เชียงใหม่ทันทีโดยทางรถไฟ ขณะที่นกแลต้องตามเอาถุงยาจากตะกร้าของอั้มเพื่อคืนให้กับฉกาจให้ได้ ด้วยการพยายามเข้ามาผูกมิตรกับเด็กทั้งสาม
ความผิดพลาดของนกแลทำให้ฉกาจต้องตามเอาของคืนจนถึงลำปาง ขณะเดียวกับที่ดำรงก็เดินทางไปรับลูกที่นั่นเช่นกัน แต่ด้วยเหตุการณ์ที่คับขันซึ่งเกิดขึ้นที่สถานีรถไฟลำปาง ทำให้ฉกาจต้องจับตัวเด็กทั้งสามติดรถไปต่อหน้าต่อตาของดำรง
การผจญภัยในโลกด้านมืดของโอ๋ อ้น และอั้ม โดยมีนกแลเป็นคนคอยช่วยเหลือ และการออกตามหาลูก ๆ ของพ่อแม่จึงได้เริ่มขึ้น
มันเป็นเรื่องที่น่ากลัวมากกว่าเหตุการณ์ร้ายในนิทานที่พ่อเคยเล่าให้ฟังหลายเท่านัก แต่อาจเป็นความตื่นเต้นที่เกินธรรมดาของเด็กที่ไม่เคยได้เป็นผู้เลือกโอกาสของตัวเองเลยในชีวิตอย่างนกแลเด็กเร่ร่อนที่เข้ามาร่วมชะตากรรมกับเด็กทั้งสามอย่างไม่ตั้งใจ
...การตามล่า การตามหา และการหนีเอาชีวิตรอด ด้วยไหวพริบ และมิตรภาพอันบริสุทธิ์ของเด็กทั้งสี่คน...ได้เริ่มขึ้นแล้ว
กำกับการแสดง บัณฑิต ฤทธิ์ถกล
อำนวยการสร้าง เจริญ เอี่ยมพึ่งพร
บทภาพยนตร์ ชนินทร ประเสริฐประศาสน์, บัณฑิต ฤทธิ์ถกล
กำกับภาพ วันชัย เล่งอิ้ว
บันทึกเสียง ชาย คงศีลวัต
กำกับศิลป์และเทคนิค ประดิษฐ์ นิลสนธิ
เครื่องแต่งกาย กานต์ ฉัตรทรงเจริญ
ลำดับภาพ พูนศักดิ์ อุทัยพันธุ์
ดนตรีประกอบ ดนู ฮันตระกูล, ดำรง ธรรมพิทักษ์
นักแสดงนำ
สันติสุข พรหมศิริ ดำรง
จินตหรา สุขพัฒน์ อาภา
มาตัง จันทรานี โอ๋
ปรมัติ ธรรมมล อ้น
ชาลี ไตรรัตน์ อั้ม
รณรงค์ บูรณัติ นกแล
สมมาตร ไพรหิรัญ นิรันดร์
ภูมิ พัฒนายุทธ ฉกาจ
ร่วมด้วย ปรารถนา สัชฌุกร, ชูศักดิ์ นะมาโรจน์, ปั่น เลาะสูงเนิน ฯลฯ
จัดจำหน่าย ไฟว์สตาร์โปรดักชั่น
วันที่เข้าฉาย 28 มกราคม 2538