เงินร้อน หรือว่า เงินเย็น แบบไหนเหมาะแก่การลงทุนที่สุดกันนะ
.
.
เชื่อว่าหลาย ๆ คน คงเคยได้ยินกับคำศัพท์ทางการเงินนี้กันมาบ้างแล้ว
คำว่า “เงินร้อน”
และ “เงินเย็น”
ซึ่งต้องบอกเลยว่ามีคนจำนวนมากไม่เข้าใจในความหมายของมันจริง ๆ สักเท่าไหร่ และเงินส่วนไหนกันนะที่ควรค่าแก่การไป
“ลงทุน”
เงินเย็นคืออะไร
เงินเย็น คือ เงินในส่วนที่
“ไม่ได้จำเป็น” จะต้องนำไปใช้อะไร แม้แต่การนำไปใช้กับเรื่องฉุกเฉิน เป็นเงินที่เราสามารถเสียไปโดยที่ไม่เดือดร้อน
หรือพูดง่ายๆ ก็คือ เงินที่หายไปก็ไม่เสียดายนั่นเอง เพราะการลงทุนในหุ้นนั้นมี “ความเสี่ยง” ดังนั้นถ้าหากเราเอาเงินที่เกี่ยวข้องกับการใช้
“ชีวิต”
ไปเสี่ยง สำหรับเหตุผลหลักว่าทำไมควรใช้เงินเย็นในการลงทุน ก็คือการที่เงินเย็นเป็นเงินที่ไม่ได้จำเป็นจะต้องนำไปใช้กับอะไรเป็นพิเศษ
(แม้แต่กับเรื่องฉุกเฉิน)
เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินไม่จำเป็นต้องถอนเงินจำนวนนี้ออกมาจากพอร์ตการลงทุน ที่อาจต้องขายขาดทุน หรือทำกำไรได้น้อยกว่าที่ควรจะเป็น การใช้เงินเย็นก็ไม่ได้แปลว่าไม่เสี่ยงนะครับ จะเงินร้อน เงินเย็น
เงินแบบไหนมันก็เสี่ยงทั้งหมดเมื่อมาลงทุนในหุ้น แต่ข้อได้เปรียบของเงินเย็น คือ เป็นเงินที่
“ไม่มีผลกระทบ” ต่อการใช้ชีวิตในทุก ๆ วันนั่นเอง แค่มันอาจจะเจ็บใจเล็กน้อยเมื่อขาดทุน ที่สำคัญไม่ควรใช้เงินกู้ในการเล่นหุ้น พอเล่นแล้วเสีย จะต้องมีภาระทั้งดอกเบี้ย และค่าใช้จ่ายในชีวิตอีกด้วย นอกจากเงินเย็นแล้ว สิ่งแรกที่ควรต้องมีก่อนจะเริ่มลงทุน คือ “เงินออม” โดยอย่างน้อยต้องมีเงินออมไว้จำนวน 3-6 เท่าของรายจ่าย เผื่อไว้สำหรับเหตุฉุกเฉินและไม่คาดฝันกันด้วย
เงินร้อน คืออะไร
เงินร้อนคือ เงินที่เราได้มาแล้วเราก็ต้องจ่ายไปในเวลา
“อันรวดเร็ว” นั่นเองครับ ยกตัวอย่างให้เห็นง่าย ๆ เช่น เงินที่ต้องนำมาชำระหนี้สินต่าง ๆ สมมุติเงินเดือนออก แล้วเรามีหนี้ที่ค้าง เช่น ค่าบ้าน ค่ารถ เราก็ต้องเอาเงินไปใช้หนี้นั้นซะก่อน หรือหนี้บัตรเครดิตอีก ซึ่งเงินตรงนี้แหละครับ
ที่เรียกว่าเงินร้อน เพราะมันอยู่กับเราได้ไม่นานเดี๋ยวก็ไป
เงินแบบไหนควรค่าแก่การนำมาลงทุนมากกว่ากัน
สำหรับการลงทุนเพื่อไปต่อยอดเงินนั้น ควรใช้เงินเย็นมาลงทุนมากกว่าครับ ห้ามใช้เงินร้อนเด็ดขาด เพราะเงินเย็นนั้นจะได้เปรียบในเรื่องของระยะยาว เนื่องจากเราไม่มีแผนว่าจะใช้เงินส่วนนี้ในการทำอะไรทั้งสิ้น ทำให้เราสามารถลงทุนได้อย่างสบายใจ ไม่ต้องกังวลว่าจะเกิดเรื่องอะไรขึ้นในอนาคต
การลงทุนในหลาย ๆ ครั้ง เราไม่สามารถกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนได้นะครับว่าเราจะได้ทุน หรือกำไรตอบแทนกลับมาเมื่อไหร่ ซึ่งถ้านำเงินร้อนมาใช้ แล้วปรากฏว่าต้องจ่ายหนี้ที่ค้างไว้ แต่เงินลงทุนยังไม่ได้คืนกลับมา เท่ากับว่าเราขาดสภาพคล่องไปในทันที ต้องกู้หนี้ยืมสินคนอื่นเพิ่มเติมอีก
เพราะฉะนั้น คนไหนที่คิดจะลงทุนทั้งที ก็ต้องมีความใจเย็น ๆ กันนิดนึงนะครับ เคลียร์หนี้เคลียร์สินให้หมดเสียก่อนแล้วค่อยตัดสินใจลงทุน หรือถ้ามีหนี้จริง ก็แบ่งเงินร้อนไว้ส่วนหนึ่ง เงินเย็นไว้ส่วนหนึ่ง เพื่อจะได้สามารถชำระหนี้ได้ครบถ้วน พร้อมทำการลงทุนต่อยอดเงินไปพร้อม ๆ กันได้เลย
“ เพราะการเงินนั้นเรียกได้ว่า เป็นปัจจัยหลักในการดำรงชีวิต ฉะนั้นแล้ว ก่อนจะตัดสินใจลงทุนหรือนำเงินมาใช้ทำกับอะไร ควรที่จะวางแผนรอบคอบให้ดีเสียก่อนนะครับ ”
เป็นอย่างไรกันบ้างครับ ? สำหรับใครที่คิดว่า เงินเย็น เหมาะที่สุดกับการลงทุน ตอนนี้คุณพอจะมีไอเดียในการจะไปต่อได้แล้วรึยัง ?
ซึ่งคุณสามารถแชร์ไอเดียได้นะครับหรือพูดคุยกันได้ ไม่ว่าจะเป็นการกังวลในการลงทุนหุ้น หรือลงทุนกับอะไรก็ตามแต่....
คุณสามารถคอมเมนต์มาด้านล่างนี้ได้เลย ผมยินดีรับฟังครับ
วรัทภพ รชตนามวงษ์
เงินร้อน หรือว่า เงินเย็น แบบไหนเหมาะแก่การลงทุนที่สุดกันนะ
เงินเย็น คือ เงินในส่วนที่ “ไม่ได้จำเป็น” จะต้องนำไปใช้อะไร แม้แต่การนำไปใช้กับเรื่องฉุกเฉิน เป็นเงินที่เราสามารถเสียไปโดยที่ไม่เดือดร้อน
หรือพูดง่ายๆ ก็คือ เงินที่หายไปก็ไม่เสียดายนั่นเอง เพราะการลงทุนในหุ้นนั้นมี “ความเสี่ยง” ดังนั้นถ้าหากเราเอาเงินที่เกี่ยวข้องกับการใช้ “ชีวิต”
ไปเสี่ยง สำหรับเหตุผลหลักว่าทำไมควรใช้เงินเย็นในการลงทุน ก็คือการที่เงินเย็นเป็นเงินที่ไม่ได้จำเป็นจะต้องนำไปใช้กับอะไรเป็นพิเศษ
(แม้แต่กับเรื่องฉุกเฉิน)
เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินไม่จำเป็นต้องถอนเงินจำนวนนี้ออกมาจากพอร์ตการลงทุน ที่อาจต้องขายขาดทุน หรือทำกำไรได้น้อยกว่าที่ควรจะเป็น การใช้เงินเย็นก็ไม่ได้แปลว่าไม่เสี่ยงนะครับ จะเงินร้อน เงินเย็น
เงินแบบไหนมันก็เสี่ยงทั้งหมดเมื่อมาลงทุนในหุ้น แต่ข้อได้เปรียบของเงินเย็น คือ เป็นเงินที่ “ไม่มีผลกระทบ” ต่อการใช้ชีวิตในทุก ๆ วันนั่นเอง แค่มันอาจจะเจ็บใจเล็กน้อยเมื่อขาดทุน ที่สำคัญไม่ควรใช้เงินกู้ในการเล่นหุ้น พอเล่นแล้วเสีย จะต้องมีภาระทั้งดอกเบี้ย และค่าใช้จ่ายในชีวิตอีกด้วย นอกจากเงินเย็นแล้ว สิ่งแรกที่ควรต้องมีก่อนจะเริ่มลงทุน คือ “เงินออม” โดยอย่างน้อยต้องมีเงินออมไว้จำนวน 3-6 เท่าของรายจ่าย เผื่อไว้สำหรับเหตุฉุกเฉินและไม่คาดฝันกันด้วย
เงินร้อนคือ เงินที่เราได้มาแล้วเราก็ต้องจ่ายไปในเวลา “อันรวดเร็ว” นั่นเองครับ ยกตัวอย่างให้เห็นง่าย ๆ เช่น เงินที่ต้องนำมาชำระหนี้สินต่าง ๆ สมมุติเงินเดือนออก แล้วเรามีหนี้ที่ค้าง เช่น ค่าบ้าน ค่ารถ เราก็ต้องเอาเงินไปใช้หนี้นั้นซะก่อน หรือหนี้บัตรเครดิตอีก ซึ่งเงินตรงนี้แหละครับ
ที่เรียกว่าเงินร้อน เพราะมันอยู่กับเราได้ไม่นานเดี๋ยวก็ไป
เงินแบบไหนควรค่าแก่การนำมาลงทุนมากกว่ากัน
สำหรับการลงทุนเพื่อไปต่อยอดเงินนั้น ควรใช้เงินเย็นมาลงทุนมากกว่าครับ ห้ามใช้เงินร้อนเด็ดขาด เพราะเงินเย็นนั้นจะได้เปรียบในเรื่องของระยะยาว เนื่องจากเราไม่มีแผนว่าจะใช้เงินส่วนนี้ในการทำอะไรทั้งสิ้น ทำให้เราสามารถลงทุนได้อย่างสบายใจ ไม่ต้องกังวลว่าจะเกิดเรื่องอะไรขึ้นในอนาคต
การลงทุนในหลาย ๆ ครั้ง เราไม่สามารถกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนได้นะครับว่าเราจะได้ทุน หรือกำไรตอบแทนกลับมาเมื่อไหร่ ซึ่งถ้านำเงินร้อนมาใช้ แล้วปรากฏว่าต้องจ่ายหนี้ที่ค้างไว้ แต่เงินลงทุนยังไม่ได้คืนกลับมา เท่ากับว่าเราขาดสภาพคล่องไปในทันที ต้องกู้หนี้ยืมสินคนอื่นเพิ่มเติมอีก
เพราะฉะนั้น คนไหนที่คิดจะลงทุนทั้งที ก็ต้องมีความใจเย็น ๆ กันนิดนึงนะครับ เคลียร์หนี้เคลียร์สินให้หมดเสียก่อนแล้วค่อยตัดสินใจลงทุน หรือถ้ามีหนี้จริง ก็แบ่งเงินร้อนไว้ส่วนหนึ่ง เงินเย็นไว้ส่วนหนึ่ง เพื่อจะได้สามารถชำระหนี้ได้ครบถ้วน พร้อมทำการลงทุนต่อยอดเงินไปพร้อม ๆ กันได้เลย
ซึ่งคุณสามารถแชร์ไอเดียได้นะครับหรือพูดคุยกันได้ ไม่ว่าจะเป็นการกังวลในการลงทุนหุ้น หรือลงทุนกับอะไรก็ตามแต่....
คุณสามารถคอมเมนต์มาด้านล่างนี้ได้เลย ผมยินดีรับฟังครับ
วรัทภพ รชตนามวงษ์