ร้านทองอีสาน-กลางแห่ปิดกิจการยอดซื้อวูบฟื้นตัวยาก
https://www.prachachat.net/local-economy/news-592463
โควิดทำพิษธุรกิจ “ร้านทอง” อุดรธานี-มหาสารคาม-สระบุรี ยอดขายวูบหนัก เฉพาะอุดรธานีกำลังซื้อเงียบสนิท ปิดกิจการไปแล้วกว่า 10 ร้าน ส่งผลให้ธุรกิจร้านทองได้รับผลกระทบหนัก ลูกค้าซื้อ-ขายน้อยลง อีกทั้งยังหวั่นรัฐบาลประกาศล็อกดาวน์
ด้านมหาสารคามชี้โควิดระลอกใหม่หนักกว่าช่วงต้นปี 2563 กำลังซื้อลูกค้าต่ำ คาดตลอดปี 2564 ยอดขายคงฟื้นตัวยาก หวั่นรัฐบาลประกาศล็อกดาวน์ธุรกิจลำบากแน่ ขณะที่สระบุรี เผยยอดขายลดลง 20%
10 ร้านทองอุดรฯปิดกิจการ
นาย
ธีระ ตั้งหลักมั่นคง อดีตประธานหอการค้าจังหวัดอุดรธานี และเจ้าของร้านทองกวง เชียง ล้ง จ.อุดรธานี เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ภาพรวมสถานการณ์ร้านทองตอนนี้คงไม่ต่างจากธุรกิจอื่น ๆ ซึ่งที่ผ่านมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รอบแรก
ส่งผลให้ช่วงหนึ่งราคาทองคำขึ้นไปถึงบาทละ 30,000 ทำให้มีลูกค้าบางส่วนนำทองคำเก่าออกมาขาย รวมถึงกลุ่มที่สะสมทองด้วย หลังจากนั้นตลาดทองก็เงียบมาก แต่ยังสามารถประคองตัวได้ในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ ทำให้ร้านทองหลายแห่งหยุดกิจการ
ปัจจุบันร้านทองในจ.อุดรธานีมีประมาณ 170-180 แห่ง อยู่ในตัวเมืองประมาณ 100 แห่ง ซึ่งสังกัดอยู่ในชมรมร้านทองอุดรธานี ประมาณ 50 แห่ง จากร้านทองทั่วจังหวัดมีปิดกิจการไปประมาณ 10 แห่ง ซึ่งมีบางแห่งอยู่ในช่วงที่ทางราชการให้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเป็นเรื่อง
ยากที่ต้องใช้เวลาในการประกาศเลิก อย่างไรก็ตาม จากการสังเกตการณ์ยังคงมีร้านทองมาเปิดกิจการใหม่ประมาณ 10 แห่งเช่นกัน และคาดว่าเหตุการณ์จะดีขึ้น แต่คาดว่าต้องเลยช่วงเทศกาลสงกรานต์ไปก่อน
“
สภาพตอนนี้ไม่ใช่สถานการณ์ปกติของผู้ประกอบการร้านทองในจังหวัดอุดรธานี หรือผู้ประกอบการในจังหวัดอื่น ทองใหม่ขายยากขึ้น ประชาชนที่เคยมีทองหรือถือทองเก่าเริ่มจะไม่มีแล้ว ทำให้ร้านทองไม่ได้เปิดขายทองหรือเปิดกิจการเต็มรูปแบบดั่งเช่นเคย บางรายปิดกิจการไปเลยก็มี”
สระบุรียอดขายวูบ 20%
นาย
อาทิตย์ รัตนพิทักษ์ เจ้าของร้านทองเจ้เอ็ง เยาวราช-ง่วนเทียนเซ้ง อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี เปิดเผยว่า ภาพโดยรวมยอดขายตอนนี้ลดลง 10-20% เมื่อเทียบกับช่วงเดือนพฤศจิกายน 2563 ที่ยอดขายทางร้านเริ่มดีขึ้นเกือบ 100%
สาเหตุหลัก ๆ ที่ยอดขายลดลงในช่วงนี้ เนื่องจากประชาชนเริ่มเก็บเงินไว้ใช้ในยามจำเป็น เพราะเกรงว่าจะมีการแพร่ระบาดโควิด-19 ในเขตพื้นที่ที่พักอาศัยอยู่
อย่างไรก็ตาม การซื้อขายทองคำขึ้นอยู่กับแต่ละเขตพื้นที่ ซึ่งร้านทองเจ้เอ็ง เยาวราช-ง่วนเทียนเซ้ง อยู่อำเภอมวกเหล็ก อาจจะได้รับผลกระทบน้อยกว่าเขตจังหวัดอื่น ๆ เช่น จ.ชลบุรี สมุทรสาคร ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นจำนวนมาก
“
จากการแพร่ระบาดโควิด-19 รอบแรกช่วงเดือนมีนาคม 2563 ยอดขายทางร้านลดลงประมาณ 70% พอช่วงเดือนกรกฎาคม 2563 ลูกค้าเริ่มอยู่ตัว มีลูกค้ามาซื้อทองแต่มีปริมาณน้อยกว่านำมาขาย เนื่องจากราคาทองคำราคาขึ้นสูงถึงบาทละ 30,000 โดยภาพรวมการขายเริ่มดีขึ้นช่วงเดือนพฤศจิกายน 2563 ลูกค้าเริ่มกลับมาซื้อมากขึ้นเกือบ 100%”
สารคามชี้ปี’64 ฟื้นยาก
นาย
สิทธิชัย วรรักษ์ธารา เจ้าของห้างทองดีจริงเยาวราช ตั้งอยู่เขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม เปิดเผยว่า หลังการแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 รอบแรก ทางร้านได้เปิดการขายสินค้าทางออนไลน์อีกหนึ่งช่องทาง ปรากฏว่าได้รับการต้อนรับจากลูกค้าค่อนข้างดี
สำหรับการระบาดโรคโควิด-19 ระลอกใหม่ ค่อนข้างจะหนักกว่าครั้งแรก เพราะดูกำลังซื้อของลูกค้าต่ำอยู่แล้วและตลอดปี 2564 ยอดขายคงฟื้นตัวยาก
แต่ที่กังวลมากกว่าคือหวั่นทางภาครัฐประกาศล็อกดาวน์ เนื่องจากทุกคนอยู่บ้านไม่มีการซื้อ-ขาย ในสถานการณ์เช่นนี้ทางร้านต้องประคองตัว มุ่งจัดกิจกรรมขายทางออนไลน์มากขึ้น
และยังรับซื้อทองหน้าร้านเป็นปกติถึงราคาทองจะแพงก็ยังมีกำไรแต่ไม่มาก รวมทั้งรายได้จากดอกเบี้ยรับฝากทอง หากยังไม่มีการล็อกดาวน์ธุรกิจร้าน
ทองในมหาสารคามก็น่าจะยังพอเดินไปได้
นาย
วุฒิไกร ติระพงศ์ไพบูลย์ เจ้าของห้างทองสุวรรณา (ลูกสาวแม่กิมกี่) ตั้งอยู่ข้างห้างเสริมไทยพลาซา ในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม เปิดเผยว่า ตอนนี้กำลังซื้อของผู้บริโภคเริ่มดีขึ้นบ้างเล็กน้อยในช่วงเทศกาลปีใหม่ที่ผ่านมา
ซึ่งมีความกังวลหากมีการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 เข้ามาในพื้นที่แล้วเกิดการล็อกดาวน์กระทบหนักแน่ ซึ่งหากลูกค้านำทองมาขายเรื่อย ๆ ก็ทำให้ทางร้านมีรายได้เช่นกัน เป็นการพลิกวิกฤติเป็นโอกาส แต่ปัญหาคือขณะนี้ลูกค้าจะมีทองมาขายหรือไม่
เพราะส่วนใหญ่จะนำมาขายช่วงราคาทองบาทละ 30,000 กันเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตามที่ผ่าน ๆ มายังไม่มีร้านทองถึงกับปิดกิจการ แต่มีเพียงบางร้านที่ปลดพนักงานหรือพักงานบ้าง
ผู้เลี้ยงหมูโอดภาระต้นทุนเพิ่มขึ้นสูงกว่า 300 บาทต่อตัว
https://www.thairath.co.th/news/business/market-business/2012237
น.สพ.
วิวัฒน์ พงษ์วิวัฒนชัย อุปนายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า จากการป้องกันโรคแอฟริกันสไวน์ฟีเวอร์ หรือ ASF ในสุกร มาตลอดเวลากว่า 2 ปี ประกอบกับโควิด-19 ระบาดรอบใหม่เมื่อปลายปีที่ผ่านมา ทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรต้องดำเนินมาตรการป้องกันโรคที่เข้มงวดเพื่อป้องกันฝูงสัตว์ พร้อมทั้งยกระดับการป้องกันโรคโควิดในบุคลากรที่ทำงานภายในฟาร์ม เพื่อไม่ให้กระทบกับการเลี้ยงสุกรอย่างเด็ดขาด ส่งผลให้ทุกฟาร์มมีภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้นสูงกว่า 300 บาทต่อตัว ขณะเดียวกัน ราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่เพิ่มขึ้นส่งผลต่อต้นทุนการผลิตเช่นกัน จากหลายปัจจัย ส่งผลต่อราคาเมล็ดถั่วเหลืองและกากถั่วเหลืองนำเข้าที่เพิ่มสูงขึ้น ทำสถิติสูงสุดในรอบ 5 ปี และมีแนวโน้มราคาสูงขึ้นต่อเนื่อง ส่วนวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ผลิตได้ในประเทศอย่างเช่น ข้าวโพด มันสำปะหลัง รำปลายข้าว ราคาขึ้นเช่นกัน จากมาตรการประกันรายได้เกษตรกรของภาครัฐ
ขณะที่การเลี้ยงสุกรในปัจจุบันต้องปรับตัวเข้าสู่มาตรฐานของกรมปศุสัตว์ ทั้งฟาร์มเลี้ยงสุกรขนาดใหญ่ที่ต้องทำตามมาตรฐาน GMP อย่างเคร่งครัด และฟาร์มขนาดเล็กที่ต้องมีระบบป้องกันโรคและการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม ส่งผลต่อภาพรวมต้นทุนการเลี้ยงสุกรที่ปรับตัวขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้.
JJNY : ร้านทองอีสาน-กลางแห่ปิดกิจการ/ผู้เลี้ยงหมูโอดต้นทุนเพิ่ม/ก้าวหน้าพร้อมศึกเทศบาล พท.คุยกันตลอด/PM2.5 จมฝุ่น 64 ที่
https://www.prachachat.net/local-economy/news-592463
โควิดทำพิษธุรกิจ “ร้านทอง” อุดรธานี-มหาสารคาม-สระบุรี ยอดขายวูบหนัก เฉพาะอุดรธานีกำลังซื้อเงียบสนิท ปิดกิจการไปแล้วกว่า 10 ร้าน ส่งผลให้ธุรกิจร้านทองได้รับผลกระทบหนัก ลูกค้าซื้อ-ขายน้อยลง อีกทั้งยังหวั่นรัฐบาลประกาศล็อกดาวน์
ด้านมหาสารคามชี้โควิดระลอกใหม่หนักกว่าช่วงต้นปี 2563 กำลังซื้อลูกค้าต่ำ คาดตลอดปี 2564 ยอดขายคงฟื้นตัวยาก หวั่นรัฐบาลประกาศล็อกดาวน์ธุรกิจลำบากแน่ ขณะที่สระบุรี เผยยอดขายลดลง 20%
10 ร้านทองอุดรฯปิดกิจการ
นายธีระ ตั้งหลักมั่นคง อดีตประธานหอการค้าจังหวัดอุดรธานี และเจ้าของร้านทองกวง เชียง ล้ง จ.อุดรธานี เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ภาพรวมสถานการณ์ร้านทองตอนนี้คงไม่ต่างจากธุรกิจอื่น ๆ ซึ่งที่ผ่านมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รอบแรก
ส่งผลให้ช่วงหนึ่งราคาทองคำขึ้นไปถึงบาทละ 30,000 ทำให้มีลูกค้าบางส่วนนำทองคำเก่าออกมาขาย รวมถึงกลุ่มที่สะสมทองด้วย หลังจากนั้นตลาดทองก็เงียบมาก แต่ยังสามารถประคองตัวได้ในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ ทำให้ร้านทองหลายแห่งหยุดกิจการ
ปัจจุบันร้านทองในจ.อุดรธานีมีประมาณ 170-180 แห่ง อยู่ในตัวเมืองประมาณ 100 แห่ง ซึ่งสังกัดอยู่ในชมรมร้านทองอุดรธานี ประมาณ 50 แห่ง จากร้านทองทั่วจังหวัดมีปิดกิจการไปประมาณ 10 แห่ง ซึ่งมีบางแห่งอยู่ในช่วงที่ทางราชการให้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเป็นเรื่อง
ยากที่ต้องใช้เวลาในการประกาศเลิก อย่างไรก็ตาม จากการสังเกตการณ์ยังคงมีร้านทองมาเปิดกิจการใหม่ประมาณ 10 แห่งเช่นกัน และคาดว่าเหตุการณ์จะดีขึ้น แต่คาดว่าต้องเลยช่วงเทศกาลสงกรานต์ไปก่อน
“สภาพตอนนี้ไม่ใช่สถานการณ์ปกติของผู้ประกอบการร้านทองในจังหวัดอุดรธานี หรือผู้ประกอบการในจังหวัดอื่น ทองใหม่ขายยากขึ้น ประชาชนที่เคยมีทองหรือถือทองเก่าเริ่มจะไม่มีแล้ว ทำให้ร้านทองไม่ได้เปิดขายทองหรือเปิดกิจการเต็มรูปแบบดั่งเช่นเคย บางรายปิดกิจการไปเลยก็มี”
สระบุรียอดขายวูบ 20%
นายอาทิตย์ รัตนพิทักษ์ เจ้าของร้านทองเจ้เอ็ง เยาวราช-ง่วนเทียนเซ้ง อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี เปิดเผยว่า ภาพโดยรวมยอดขายตอนนี้ลดลง 10-20% เมื่อเทียบกับช่วงเดือนพฤศจิกายน 2563 ที่ยอดขายทางร้านเริ่มดีขึ้นเกือบ 100%
สาเหตุหลัก ๆ ที่ยอดขายลดลงในช่วงนี้ เนื่องจากประชาชนเริ่มเก็บเงินไว้ใช้ในยามจำเป็น เพราะเกรงว่าจะมีการแพร่ระบาดโควิด-19 ในเขตพื้นที่ที่พักอาศัยอยู่
อย่างไรก็ตาม การซื้อขายทองคำขึ้นอยู่กับแต่ละเขตพื้นที่ ซึ่งร้านทองเจ้เอ็ง เยาวราช-ง่วนเทียนเซ้ง อยู่อำเภอมวกเหล็ก อาจจะได้รับผลกระทบน้อยกว่าเขตจังหวัดอื่น ๆ เช่น จ.ชลบุรี สมุทรสาคร ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นจำนวนมาก
“จากการแพร่ระบาดโควิด-19 รอบแรกช่วงเดือนมีนาคม 2563 ยอดขายทางร้านลดลงประมาณ 70% พอช่วงเดือนกรกฎาคม 2563 ลูกค้าเริ่มอยู่ตัว มีลูกค้ามาซื้อทองแต่มีปริมาณน้อยกว่านำมาขาย เนื่องจากราคาทองคำราคาขึ้นสูงถึงบาทละ 30,000 โดยภาพรวมการขายเริ่มดีขึ้นช่วงเดือนพฤศจิกายน 2563 ลูกค้าเริ่มกลับมาซื้อมากขึ้นเกือบ 100%”
สารคามชี้ปี’64 ฟื้นยาก
นายสิทธิชัย วรรักษ์ธารา เจ้าของห้างทองดีจริงเยาวราช ตั้งอยู่เขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม เปิดเผยว่า หลังการแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 รอบแรก ทางร้านได้เปิดการขายสินค้าทางออนไลน์อีกหนึ่งช่องทาง ปรากฏว่าได้รับการต้อนรับจากลูกค้าค่อนข้างดี
สำหรับการระบาดโรคโควิด-19 ระลอกใหม่ ค่อนข้างจะหนักกว่าครั้งแรก เพราะดูกำลังซื้อของลูกค้าต่ำอยู่แล้วและตลอดปี 2564 ยอดขายคงฟื้นตัวยาก
แต่ที่กังวลมากกว่าคือหวั่นทางภาครัฐประกาศล็อกดาวน์ เนื่องจากทุกคนอยู่บ้านไม่มีการซื้อ-ขาย ในสถานการณ์เช่นนี้ทางร้านต้องประคองตัว มุ่งจัดกิจกรรมขายทางออนไลน์มากขึ้น
และยังรับซื้อทองหน้าร้านเป็นปกติถึงราคาทองจะแพงก็ยังมีกำไรแต่ไม่มาก รวมทั้งรายได้จากดอกเบี้ยรับฝากทอง หากยังไม่มีการล็อกดาวน์ธุรกิจร้าน
ทองในมหาสารคามก็น่าจะยังพอเดินไปได้
นายวุฒิไกร ติระพงศ์ไพบูลย์ เจ้าของห้างทองสุวรรณา (ลูกสาวแม่กิมกี่) ตั้งอยู่ข้างห้างเสริมไทยพลาซา ในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม เปิดเผยว่า ตอนนี้กำลังซื้อของผู้บริโภคเริ่มดีขึ้นบ้างเล็กน้อยในช่วงเทศกาลปีใหม่ที่ผ่านมา
ซึ่งมีความกังวลหากมีการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 เข้ามาในพื้นที่แล้วเกิดการล็อกดาวน์กระทบหนักแน่ ซึ่งหากลูกค้านำทองมาขายเรื่อย ๆ ก็ทำให้ทางร้านมีรายได้เช่นกัน เป็นการพลิกวิกฤติเป็นโอกาส แต่ปัญหาคือขณะนี้ลูกค้าจะมีทองมาขายหรือไม่
เพราะส่วนใหญ่จะนำมาขายช่วงราคาทองบาทละ 30,000 กันเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตามที่ผ่าน ๆ มายังไม่มีร้านทองถึงกับปิดกิจการ แต่มีเพียงบางร้านที่ปลดพนักงานหรือพักงานบ้าง
ผู้เลี้ยงหมูโอดภาระต้นทุนเพิ่มขึ้นสูงกว่า 300 บาทต่อตัว
https://www.thairath.co.th/news/business/market-business/2012237
น.สพ.วิวัฒน์ พงษ์วิวัฒนชัย อุปนายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า จากการป้องกันโรคแอฟริกันสไวน์ฟีเวอร์ หรือ ASF ในสุกร มาตลอดเวลากว่า 2 ปี ประกอบกับโควิด-19 ระบาดรอบใหม่เมื่อปลายปีที่ผ่านมา ทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรต้องดำเนินมาตรการป้องกันโรคที่เข้มงวดเพื่อป้องกันฝูงสัตว์ พร้อมทั้งยกระดับการป้องกันโรคโควิดในบุคลากรที่ทำงานภายในฟาร์ม เพื่อไม่ให้กระทบกับการเลี้ยงสุกรอย่างเด็ดขาด ส่งผลให้ทุกฟาร์มมีภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้นสูงกว่า 300 บาทต่อตัว ขณะเดียวกัน ราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่เพิ่มขึ้นส่งผลต่อต้นทุนการผลิตเช่นกัน จากหลายปัจจัย ส่งผลต่อราคาเมล็ดถั่วเหลืองและกากถั่วเหลืองนำเข้าที่เพิ่มสูงขึ้น ทำสถิติสูงสุดในรอบ 5 ปี และมีแนวโน้มราคาสูงขึ้นต่อเนื่อง ส่วนวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ผลิตได้ในประเทศอย่างเช่น ข้าวโพด มันสำปะหลัง รำปลายข้าว ราคาขึ้นเช่นกัน จากมาตรการประกันรายได้เกษตรกรของภาครัฐ
ขณะที่การเลี้ยงสุกรในปัจจุบันต้องปรับตัวเข้าสู่มาตรฐานของกรมปศุสัตว์ ทั้งฟาร์มเลี้ยงสุกรขนาดใหญ่ที่ต้องทำตามมาตรฐาน GMP อย่างเคร่งครัด และฟาร์มขนาดเล็กที่ต้องมีระบบป้องกันโรคและการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม ส่งผลต่อภาพรวมต้นทุนการเลี้ยงสุกรที่ปรับตัวขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้.