หัวหน้าทีมรับมือโควิด-19 ของจีนยืนยัน การแพร่ระบาดจบแล้ว
โกลบอลไทมส์ - การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในจีนโดยทั่วไปถือว่ายุติแล้ว แม้ยังพบผู้ติดเชื้ออยู่ประปรายก็ตาม
นายเหลียง วั่นเหนียน หัวหน้าคณะผู้เชี่ยวชาญในการรับมือโรคโควิด-19 แพร่ระบาดของจีน ออกมาแถลงดังกล่าวเมื่อวันพฤหัสฯ (23 ก.พ.) พร้อมกับระบุว่า จีนประสบชัยชนะครั้งใหญ่ในการป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 มาตั้งแต่เดือน พ.ย.2565
เขาอธิบายเกณฑ์ในการตัดสินว่าจีนได้ก้าวพ้นจากการแพร่ระบาดแล้ว โดยพิจารณาจากดัชนีหลายตัว เช่น อัตราการติดเชื้อ ระดับภูมิคุ้มกันในหมู่ประชาชน การกลายพันธุ์ของโรค ความสามารถในการรองรับผู้ป่วยของสถานพยาบาล และดัชนีชี้วัดตัวสุดท้ายคือความสามารถในการควบคุมและป้องกันโดยรวมทั้งหมด
นายเหลียง ระบุว่า ชัยชนะครั้งใหญ่นี้หมายถึงการที่จีนสามารถทนทานกับบททดสอบจากการแพร่ระบาดรอบล่าสุดมาได้ และมีการสร้างปราการภูมิคุ้มกันขึ้นอย่างต่อเนื่องในหมู่ประชาชน
อย่างไรก็ตาม โรคโควิด-19 ระบาดในจีนมิได้หายไป 100 เปอร์เซ็นต์ แต่ยังคงมีการติดเชื้อในท้องถิ่นอยู่ประปรายเป็นพักๆ โดยหลังจากองค์การอนามัยโลกประกาศให้โควิด-19 เป็นโรคระบาดใหญ่เมื่อเดือน มี.ค.2563 และตัดสินใจประกาศภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศเมื่อสิ้นเดือน ม.ค.2564 นั้น จนถึงปัจจุบันยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงคำประกาศ และในมุมมองระดับโลก โควิด-19 ยังคงมีสถานะโรคระบาดใหญ่ ดังนั้น ภัยคุกคามจากโควิด-19 จึงยังคงมีอยู่
การแถลงของนายเหลียง มีขึ้นหลังจากเมื่อวันที่ 16 ก.พ. ที่ประชุมคณะผู้บริหารสูงสุดของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ซึ่งมีประธานาธิบดีสี จิ้นผิง เลขาธิการพรรคเป็นประธาน ได้ประกาศชัยชนะเหนือการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อย่างเด็ดขาด โดยที่ประชุมระบุว่า มาตรการควบคุมป้องกันอย่างเป็นพิเศษของจีนในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาช่วยชะลออัตราการเสียชีวิตของประชาชนในประเทศให้อยู่ระดับต่ำสุดในโลก
จากข้อมูลของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (ซีดีซี) ของจีนเมื่อวันที่ 15 ก.พ. จำนวนผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ในโรงพยาบาลลดลงเหลือ 9 คน เมื่อวันที่13 ก.พ. ซึ่งลดลงร้อยละ 99.8 จากช่วงที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุด โดยนับตั้งแต่วันที่ 9 ธ.ค.2565 มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นจนถึงจุดสูงสุดจำนวน 6 ล้าน 9 แสน 4 หมื่นคนภายในวันเดียวคือ วันที่ 22 ธ.ค.2565 จากนั้นก็ค่อยๆ ลดลงเหลือ 8,847 คนเมื่อวันที่ 13 ก.พ. สถานการณ์การแพร่ระบาดทั่วประเทศเริ่มนิ่งและโอกาสที่จะเกิดการแพร่ระบาดครั้งใหญ่รอบใหม่ไม่น่าจะเกิดขึ้นในเร็ววัน
https://mgronline.com/china/detail/9660000018109
จับตา! เคสเด็กกัมพูชา 11 ขวบ ติดเชื้อ'ไข้หวัดนก'เสียชีวิต 'ดร.อนันต์'เตือนให้เฝ้าระวัง ‘หมู
วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2566 ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Anan Jongkaewwattana ถึงการระบาดของไข้หวัดนก ในประเทศกัมพูชา ระบุว่า...👇
“รายงานจากกระทรวงสาธารณสุขของกัมพูชาเมื่อวานนี้ พบเคสเด็กหญิงอายุ 11 ขวบ เสียชีวิตจากการติดเชื้อไข้หวัดนก H5N1 เด็กหญิงรายนี้เริ่มป่วยตั้งแต่วันที่ 16 ก.พ. ด้วยอาการไข้สูง ไอ และเจ็บคอ หลังจากเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลท้องถิ่น แล้วอาการไม่ดีขึ้น มีอาการหายใจติดขัดผิดปกติ ก่อนที่จะถูกส่งตัวไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลเด็กแห่งชาติที่กรุงพนมเปญ วันที่ 21 กพ. แพทย์ส่งตัวอย่างไปตรวจ และผลออกมาวันรุ่งขึ้นพบว่าเป็นเชื้อไข้หวัดนกชนิด H5N1 โดยผู้ป่วยเสียชีวิต
ในช่วงที่ H5N1 มีการระบาดในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมหลายชนิดและในหลายพื้นที่ การติดเชื้อจากสัตว์สู่คนในภูมิภาคใกล้เคียงกับประเทศไทยจึงเป็นอะไรที่ต้องเฝ้าระวังอย่างจริงจังครับ การติดเชื้อได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมดีขึ้น ทำให้ส่วนตัวผมกังวลไปที่สุกร เพราะสุกรเป็นสิ่งมีชีวิตที่ติดไวรัสไข้หวัดใหญ่ได้ดี และสามารถเป็นแหล่งสร้างไวรัสสายพันธุ์ใหม่ๆ ได้ เหมือนกรณีไข้หวัดใหญ่ 2009 ก็มาจากสุกรสู่คนเช่นกัน
ต่อมา ดร.อนันต์ ยังโพสต์อีกว่า “ตอนนี้ H5N1 ยัง “ไม่” พบในหมูนะครับ เพียงแค่อยากให้เฝ้าระวังว่าไวรัสอาจปรับตัวมาติดหมูได้ ซึ่งอาจติดคนง่ายขึ้น #หมูไทยยังปลอดโรคครับ”
ก่อนที่จะโพสต์ล่าสุดว่า “ตอนนี้ดูเหมือนข่าวไข้หวัดนกในกัมพูชาจะมีทั้งจริงและไม่จริงครับ เท่าที่สืบค้นดูข่าวจริงคือ มีหลังจากเคสเด็กติดเชื้อเสียชีวิต ทางเจ้าหน้าที่จึงได้ทำการตรวจผู้สัมผัสใกล้ชิด 12 คน โดย 4 คน มีอาการเข้าข่ายน่าสงสัยและได้นำตัวอย่างไปตรวจ confirm ผลแล้ว รอฟังผลครับ ตามข้อเท็จจริงนี้ยังมีผู้ติดเชื้อยืนยันแค่ 1 คน (คือน้องที่เสียชีวิต) อีก 4 คน ที่มีอาการคือเข้าข่ายน่าสงสัย ที่เหลือคือผู้สัมผ้สผู้ป่วยแต่ไม่ติดหรือแสดงอาการ
จากการสื่อสารที่ระบุว่า พบผู้ติดเชื้อเพิ่มเป็น 12 ราย ยังไม่เป็นความจริงครับ การระบุเกินข้อเท็จจริงเกิดผลเสียครับ เพราะ การแพร่จากคนสู่คนของ H5N1 ไม่ได้เกิดขึ้นง่าย ถ้าเกิดขึ้นจริงจะเป็นอะไรที่ละเอียดอ่อนต่อการให้ข่าวมาก…สื่อไทยควรระวังอย่างยิ่งครับ
https://www.naewna.com/local/713525
โควิดจีนจบแล้ว กัมพูชามีไข้หวัดนก
ประเทศไทย รัฐบาลเอาอยู่โควิดลดลงๆ จับตาไข้หวัดนกเพื่อนบ้านเราค่ะ
🇹🇭🔮มาลาริน🔮🇹🇭หัวหน้าทีมรับมือโควิดของจีนยืนยัน การแพร่ระบาดจบแล้ว/จับตา"ไข้หวัดนก" เหตุเด็กกัมพูชา11ขวบ เสียชีวิต
โกลบอลไทมส์ - การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในจีนโดยทั่วไปถือว่ายุติแล้ว แม้ยังพบผู้ติดเชื้ออยู่ประปรายก็ตาม
นายเหลียง วั่นเหนียน หัวหน้าคณะผู้เชี่ยวชาญในการรับมือโรคโควิด-19 แพร่ระบาดของจีน ออกมาแถลงดังกล่าวเมื่อวันพฤหัสฯ (23 ก.พ.) พร้อมกับระบุว่า จีนประสบชัยชนะครั้งใหญ่ในการป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 มาตั้งแต่เดือน พ.ย.2565
เขาอธิบายเกณฑ์ในการตัดสินว่าจีนได้ก้าวพ้นจากการแพร่ระบาดแล้ว โดยพิจารณาจากดัชนีหลายตัว เช่น อัตราการติดเชื้อ ระดับภูมิคุ้มกันในหมู่ประชาชน การกลายพันธุ์ของโรค ความสามารถในการรองรับผู้ป่วยของสถานพยาบาล และดัชนีชี้วัดตัวสุดท้ายคือความสามารถในการควบคุมและป้องกันโดยรวมทั้งหมด
นายเหลียง ระบุว่า ชัยชนะครั้งใหญ่นี้หมายถึงการที่จีนสามารถทนทานกับบททดสอบจากการแพร่ระบาดรอบล่าสุดมาได้ และมีการสร้างปราการภูมิคุ้มกันขึ้นอย่างต่อเนื่องในหมู่ประชาชน
อย่างไรก็ตาม โรคโควิด-19 ระบาดในจีนมิได้หายไป 100 เปอร์เซ็นต์ แต่ยังคงมีการติดเชื้อในท้องถิ่นอยู่ประปรายเป็นพักๆ โดยหลังจากองค์การอนามัยโลกประกาศให้โควิด-19 เป็นโรคระบาดใหญ่เมื่อเดือน มี.ค.2563 และตัดสินใจประกาศภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศเมื่อสิ้นเดือน ม.ค.2564 นั้น จนถึงปัจจุบันยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงคำประกาศ และในมุมมองระดับโลก โควิด-19 ยังคงมีสถานะโรคระบาดใหญ่ ดังนั้น ภัยคุกคามจากโควิด-19 จึงยังคงมีอยู่
การแถลงของนายเหลียง มีขึ้นหลังจากเมื่อวันที่ 16 ก.พ. ที่ประชุมคณะผู้บริหารสูงสุดของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ซึ่งมีประธานาธิบดีสี จิ้นผิง เลขาธิการพรรคเป็นประธาน ได้ประกาศชัยชนะเหนือการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อย่างเด็ดขาด โดยที่ประชุมระบุว่า มาตรการควบคุมป้องกันอย่างเป็นพิเศษของจีนในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาช่วยชะลออัตราการเสียชีวิตของประชาชนในประเทศให้อยู่ระดับต่ำสุดในโลก
จากข้อมูลของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (ซีดีซี) ของจีนเมื่อวันที่ 15 ก.พ. จำนวนผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ในโรงพยาบาลลดลงเหลือ 9 คน เมื่อวันที่13 ก.พ. ซึ่งลดลงร้อยละ 99.8 จากช่วงที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุด โดยนับตั้งแต่วันที่ 9 ธ.ค.2565 มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นจนถึงจุดสูงสุดจำนวน 6 ล้าน 9 แสน 4 หมื่นคนภายในวันเดียวคือ วันที่ 22 ธ.ค.2565 จากนั้นก็ค่อยๆ ลดลงเหลือ 8,847 คนเมื่อวันที่ 13 ก.พ. สถานการณ์การแพร่ระบาดทั่วประเทศเริ่มนิ่งและโอกาสที่จะเกิดการแพร่ระบาดครั้งใหญ่รอบใหม่ไม่น่าจะเกิดขึ้นในเร็ววัน
https://mgronline.com/china/detail/9660000018109
จับตา! เคสเด็กกัมพูชา 11 ขวบ ติดเชื้อ'ไข้หวัดนก'เสียชีวิต 'ดร.อนันต์'เตือนให้เฝ้าระวัง ‘หมู
วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2566 ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Anan Jongkaewwattana ถึงการระบาดของไข้หวัดนก ในประเทศกัมพูชา ระบุว่า...👇
“รายงานจากกระทรวงสาธารณสุขของกัมพูชาเมื่อวานนี้ พบเคสเด็กหญิงอายุ 11 ขวบ เสียชีวิตจากการติดเชื้อไข้หวัดนก H5N1 เด็กหญิงรายนี้เริ่มป่วยตั้งแต่วันที่ 16 ก.พ. ด้วยอาการไข้สูง ไอ และเจ็บคอ หลังจากเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลท้องถิ่น แล้วอาการไม่ดีขึ้น มีอาการหายใจติดขัดผิดปกติ ก่อนที่จะถูกส่งตัวไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลเด็กแห่งชาติที่กรุงพนมเปญ วันที่ 21 กพ. แพทย์ส่งตัวอย่างไปตรวจ และผลออกมาวันรุ่งขึ้นพบว่าเป็นเชื้อไข้หวัดนกชนิด H5N1 โดยผู้ป่วยเสียชีวิต
ในช่วงที่ H5N1 มีการระบาดในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมหลายชนิดและในหลายพื้นที่ การติดเชื้อจากสัตว์สู่คนในภูมิภาคใกล้เคียงกับประเทศไทยจึงเป็นอะไรที่ต้องเฝ้าระวังอย่างจริงจังครับ การติดเชื้อได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมดีขึ้น ทำให้ส่วนตัวผมกังวลไปที่สุกร เพราะสุกรเป็นสิ่งมีชีวิตที่ติดไวรัสไข้หวัดใหญ่ได้ดี และสามารถเป็นแหล่งสร้างไวรัสสายพันธุ์ใหม่ๆ ได้ เหมือนกรณีไข้หวัดใหญ่ 2009 ก็มาจากสุกรสู่คนเช่นกัน
ต่อมา ดร.อนันต์ ยังโพสต์อีกว่า “ตอนนี้ H5N1 ยัง “ไม่” พบในหมูนะครับ เพียงแค่อยากให้เฝ้าระวังว่าไวรัสอาจปรับตัวมาติดหมูได้ ซึ่งอาจติดคนง่ายขึ้น #หมูไทยยังปลอดโรคครับ”
ก่อนที่จะโพสต์ล่าสุดว่า “ตอนนี้ดูเหมือนข่าวไข้หวัดนกในกัมพูชาจะมีทั้งจริงและไม่จริงครับ เท่าที่สืบค้นดูข่าวจริงคือ มีหลังจากเคสเด็กติดเชื้อเสียชีวิต ทางเจ้าหน้าที่จึงได้ทำการตรวจผู้สัมผัสใกล้ชิด 12 คน โดย 4 คน มีอาการเข้าข่ายน่าสงสัยและได้นำตัวอย่างไปตรวจ confirm ผลแล้ว รอฟังผลครับ ตามข้อเท็จจริงนี้ยังมีผู้ติดเชื้อยืนยันแค่ 1 คน (คือน้องที่เสียชีวิต) อีก 4 คน ที่มีอาการคือเข้าข่ายน่าสงสัย ที่เหลือคือผู้สัมผ้สผู้ป่วยแต่ไม่ติดหรือแสดงอาการ
จากการสื่อสารที่ระบุว่า พบผู้ติดเชื้อเพิ่มเป็น 12 ราย ยังไม่เป็นความจริงครับ การระบุเกินข้อเท็จจริงเกิดผลเสียครับ เพราะ การแพร่จากคนสู่คนของ H5N1 ไม่ได้เกิดขึ้นง่าย ถ้าเกิดขึ้นจริงจะเป็นอะไรที่ละเอียดอ่อนต่อการให้ข่าวมาก…สื่อไทยควรระวังอย่างยิ่งครับ
https://www.naewna.com/local/713525
โควิดจีนจบแล้ว กัมพูชามีไข้หวัดนก
ประเทศไทย รัฐบาลเอาอยู่โควิดลดลงๆ จับตาไข้หวัดนกเพื่อนบ้านเราค่ะ