'Land Watch' ชี้หนี้ครัวเรือนที่สูง 40% เป็นสินเชื่อที่อยู่อาศัย ทั้งที่เป็นปัจจัยสี่ จี้รัฐเยียวยา
https://prachatai.com/journal/2021/01/91157
กลุ่มจับตาปัญหาที่ดิน ชี้หนี้ครัวเรือนที่สูงทุบสถิติขณะนี้ 40% เป็นสินเชื่อที่อยู่อาศัย ทั้งที่เป็นปัจจัยสี่ สะท้อนการกระจุกตัวของการถือครองที่ดิน ยิ่งสถานการณ์โควิดอาจจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเข้าถึงที่อยู่อาศัย หากไม่มีการเยียวยา
11 ม.ค.2564 จากเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยแพร่ผลการ ประเมินว่า จากข้อมูลเงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือน หรือ “
หนี้ครัวเรือน” ล่าสุดในไตรมาส 3/2563 จาก ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สะท้อนว่า หนี้ครัวเรือนของไทยยังคงอยู่ในระดับสูง และมีทิศทางเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องสวนทางสัญญาณอ่อนแอของภาวะเศรษฐกิจ โดยสัดส่วนหนี้ครัวเรือนในไตรมาส 3/2563 ทำสถิติสูงสุดในรอบ 18 ปีครั้งใหม่ ที่ 86.6% ต่อจีดีพีนั้น
ล่าสุดวันนี้ (11 ม.ค.64)
กลุ่มจับตาปัญหาที่ดิน (Land Watch Thai) โพสต์ข้อมูลเพิ่มเติมในหัวข้อ 'ประชาชนแพ้ หนี้บ้านชนะ' โดยระบุว่า
ธนาคารแห่งประเทศไทยเผยแพร่รายงาน หนี้สินครัวเรือน ปรากฏถึงข้อมูลของหนี้สินครัวเรือน ที่พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เก็บข้อมูลมา ปัจจุบันอัตรา หนี้ครัวเรือนอยู่ที่ 86.6% จากจีดีพีหรือ 13.76 ล้านล้านบาท ด้วยสาเหตุจากปัญหาที่สะสมมาหลายอย่าง แต่ปะทุรุนแรงขึ้นจากเศรษฐกิจตกต่ำ สถานการณ์โควิด และการล็อคดาวน์ ธนาคารแห่งประเทศไทย อธิบาย “หนี้ครัวเรือน” ไว้ว่า คือเงินที่สถาบันการเงินต่างๆ ให้คนทั่วไปอย่างเราๆ กู้ยืมมา แต่ต้องเป็นคนที่อยู่ในประเทศเท่านั้น ซึ่งเราจะเอาเงินไปใช้ซื้อของ หรือเพื่อไปทำธุรกิจก็ได้ แล้วแต่ความต้องการของแต่ละคน
กลุ่มจับตาปัญหาที่ดิน ระบุต่อว่า สัดส่วนของหนี้ครัวเรือนเป็นเรื่องที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก ในส่วนหนี้ครัวเรือนของไทยที่มีอยู่ราว 13 ล้านล้านบาท มีสัดส่วนหนี้แตกต่างจากประเทศอื่นๆ เมื่อดูข้อมูลจาก TMB Analytics ระบุว่า สัดส่วนหนี้ครัวเรือนของไทย ส่วนใหญ่ 40% เป็นสินเชื่อที่อยู่อาศัย หรือสินเชื่อบ้าน ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญที่อาจจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาหนี้สินครัวเรือนอย่างตรงจุดและสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นกว่านี้ให้กับประชาชนได้
ที่อยู่อาศัยหรือบ้านเป็นสิ่งพื้นฐานในการดำรงชีวิตของมนุษย์หรือเป็นปัจจัยสี่ แน่นอนทุกคนมีความต้องการเข้าถึงที่อยู่อาศัยในสังคมไทยเป็นเรื่อง ที่เกิดขึ้นสะสมตลอดมา 40% คือสัดส่วนของหนี้ครัวเรือนเกิดขึ้นจากความต้องการเข้าถึงที่อยู่อาศัย เกิดขึ้นจากการกระจุกตัวของการถือครองที่ดิน ทำให้ราคาที่ดินสูงขึ้นผลักให้ราคาที่อยู่อาศัยสิ่งปลูกสร้างสูงขึ้นตาม และการที่ราคาที่อยู่อาศัยสูงขึ้นทำให้หนี้สินของครัวเรือนที่ต้องการเข้าถึงที่อยู่อาศัยสูงขึ้น ต้องมีรายได้มากขึ้น แต่สถานการณ์โควิดในปัจจุบัน อาจจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเข้าถึงที่อยู่อาศัย หากไม่มีการเยียวยาแล้ว อาจจะทำให้ครอบครัวหลายครอบครัว ไม่มีเงินมากพอสำหรับชำระหนี้ค่าบ้าน และต้องสูญเสียที่อยู่อาศัย
https://www.facebook.com/landwatchthai/posts/2910651369251682
-------------------------
‘แอตต้า’ เผยโควิด-19 ระบาดรอบแรก ธุรกิจทัวร์ปิดถาวร 30%-ชั่วคราว 50%
https://www.matichon.co.th/economy/news_2524757
‘แอตต้า’ เผยโควิด-19 ระบาดรอบแรก ธุรกิจทัวร์ปิดถาวร 30%-ชั่วคราว 50%
เมื่อวันที่ 12 มกราคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายวิชิต ประกอบโกศล นายกสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว (แอตต้า) ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 11 มกราคมที่ผ่านมาว่า สิ่งที่ต้องการเร่งด่วนในขณะนี้คือ มาตรการช่วยเหลือด้านเงินทุน โดยเฉพาะการพักต้นพักดอก ต้องการเร็วที่สุด และการช่วยเรื่องค่าพนักงานเก่าที่ยังจ้างต่อเนื่อง สัดส่วน 50% รวมถึงการเข้าถึงแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟต์โลน) ปรับเงื่อนไขให้เอกชนด้วยกันมาช่วยค้ำประกัน 2 บริษัทขึ้นไป ไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นผู้ประกอบการในธุรกิจใดเท่านั้น และการจัดตั้งกองทุนเพื่อภาคการท่องเที่ยว เบื้องต้นวงเงิน 1 แสนล้านบาท เพื่อจัดเตรียมเงินไว้รองรับการเกิดวิกฤติรอบใหม่ หรือการช่วยเหลือในด้านต่างๆ เพื่อจะได้ไม่ต้องเรียกร้องความช่วยเหลือเหมือนในครั้งนี้หรือครั้งที่ผ่านมา
นายวิชิตกล่าวว่า ส่วนสถานการณ์ท่องเที่ยวในภาพรวม หากรัฐบาลสามารถคุมการระบาดได้ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์นี้ คือเดือนมกราคม มีผู้ติดเชื้อรายใหม่หลักร้อย ส่วนเดือนกุมภาพันธ์ เหลือหลักสิบเท่านั้น น่าจะสร้างบรรยากาศที่ดีขึ้น เชื่อว่าไตรมาส 3/2564 จะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามามากขึ้น และในปี 2565 ภาคการท่องเที่ยวจะฟื้นตัวได้กว่า 80%
นายวิชิตกล่าวว่า สถานการณ์บริษัททัวร์นำเที่ยวส่วนใหญ่จะอยู่ได้ถึงไตรมาส 3 นี้ เพราะเชื่อว่าสถานการณ์การระบาดจะคุมได้ และการท่องเที่ยวจะฟื้นตัวดีขึ้น จึงพยายามสู้กันสุดหนทาง หากประเมินในช่วงการระบาดรอบแรก มีบริษัทกว่า 10,000 ราย จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย แบ่งเป็นบริษัทปิดตัวถาวรแล้วกว่า 30% และปิดชั่วคราวอีก 50% เป็นบริษัทรองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเป็นหลัก ส่วนอีก 20% ยังอยู่ได้เพราะให้บริการตลาดไทยเที่ยวไทย
“การทำตลาดที่จะดึงกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างประเทศเข้ามา เนื่องจากในช่วงไตรมาส 3 เชื่อว่าจะมีคนทั่วโลกฉีดวัคซีนครบ 2 ครั้งแล้วกว่า 1 พันล้าน ทำให้เชื่อว่าคนกลุ่มนี้จะต้องการเดินทางท่องเที่ยวแน่นอน จึงอยากให้รัฐบาลวางมาตรการเพื่อรองรับและดึงดูดให้คนกลุ่มนี้เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย แบบไม่ต้องมีการกักตัว 14 วัน แต่สามารถตรวจหาโควิด-19 เมื่อมาถึงประเทศไทยได้ และมีแอพพลิเคชั่นติดตามตัวไว้ รวมถึงเมื่อมีอยู่การฉีดวัคซีนต้านไวรัสในประเทศไทยได้ ก็น่าจะทำให้คนไทยผ่อนคลายความกังวลมากขึ้น” นายวิชิตกล่าว
JJNY : Land Watchชี้หนี้ครัวเรือน40%เป็นสินเชื่อที่อยู่/โควิดรอบแรกทัวร์ปิดถาวร30%/เรียนออนไลน์ไม่เวิร์ก/กก.ชงสูตรสำเร็จ
https://prachatai.com/journal/2021/01/91157
11 ม.ค.2564 จากเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยแพร่ผลการ ประเมินว่า จากข้อมูลเงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือน หรือ “หนี้ครัวเรือน” ล่าสุดในไตรมาส 3/2563 จาก ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สะท้อนว่า หนี้ครัวเรือนของไทยยังคงอยู่ในระดับสูง และมีทิศทางเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องสวนทางสัญญาณอ่อนแอของภาวะเศรษฐกิจ โดยสัดส่วนหนี้ครัวเรือนในไตรมาส 3/2563 ทำสถิติสูงสุดในรอบ 18 ปีครั้งใหม่ ที่ 86.6% ต่อจีดีพีนั้น
ล่าสุดวันนี้ (11 ม.ค.64) กลุ่มจับตาปัญหาที่ดิน (Land Watch Thai) โพสต์ข้อมูลเพิ่มเติมในหัวข้อ 'ประชาชนแพ้ หนี้บ้านชนะ' โดยระบุว่า
ธนาคารแห่งประเทศไทยเผยแพร่รายงาน หนี้สินครัวเรือน ปรากฏถึงข้อมูลของหนี้สินครัวเรือน ที่พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เก็บข้อมูลมา ปัจจุบันอัตรา หนี้ครัวเรือนอยู่ที่ 86.6% จากจีดีพีหรือ 13.76 ล้านล้านบาท ด้วยสาเหตุจากปัญหาที่สะสมมาหลายอย่าง แต่ปะทุรุนแรงขึ้นจากเศรษฐกิจตกต่ำ สถานการณ์โควิด และการล็อคดาวน์ ธนาคารแห่งประเทศไทย อธิบาย “หนี้ครัวเรือน” ไว้ว่า คือเงินที่สถาบันการเงินต่างๆ ให้คนทั่วไปอย่างเราๆ กู้ยืมมา แต่ต้องเป็นคนที่อยู่ในประเทศเท่านั้น ซึ่งเราจะเอาเงินไปใช้ซื้อของ หรือเพื่อไปทำธุรกิจก็ได้ แล้วแต่ความต้องการของแต่ละคน
กลุ่มจับตาปัญหาที่ดิน ระบุต่อว่า สัดส่วนของหนี้ครัวเรือนเป็นเรื่องที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก ในส่วนหนี้ครัวเรือนของไทยที่มีอยู่ราว 13 ล้านล้านบาท มีสัดส่วนหนี้แตกต่างจากประเทศอื่นๆ เมื่อดูข้อมูลจาก TMB Analytics ระบุว่า สัดส่วนหนี้ครัวเรือนของไทย ส่วนใหญ่ 40% เป็นสินเชื่อที่อยู่อาศัย หรือสินเชื่อบ้าน ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญที่อาจจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาหนี้สินครัวเรือนอย่างตรงจุดและสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นกว่านี้ให้กับประชาชนได้
ที่อยู่อาศัยหรือบ้านเป็นสิ่งพื้นฐานในการดำรงชีวิตของมนุษย์หรือเป็นปัจจัยสี่ แน่นอนทุกคนมีความต้องการเข้าถึงที่อยู่อาศัยในสังคมไทยเป็นเรื่อง ที่เกิดขึ้นสะสมตลอดมา 40% คือสัดส่วนของหนี้ครัวเรือนเกิดขึ้นจากความต้องการเข้าถึงที่อยู่อาศัย เกิดขึ้นจากการกระจุกตัวของการถือครองที่ดิน ทำให้ราคาที่ดินสูงขึ้นผลักให้ราคาที่อยู่อาศัยสิ่งปลูกสร้างสูงขึ้นตาม และการที่ราคาที่อยู่อาศัยสูงขึ้นทำให้หนี้สินของครัวเรือนที่ต้องการเข้าถึงที่อยู่อาศัยสูงขึ้น ต้องมีรายได้มากขึ้น แต่สถานการณ์โควิดในปัจจุบัน อาจจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเข้าถึงที่อยู่อาศัย หากไม่มีการเยียวยาแล้ว อาจจะทำให้ครอบครัวหลายครอบครัว ไม่มีเงินมากพอสำหรับชำระหนี้ค่าบ้าน และต้องสูญเสียที่อยู่อาศัย
https://www.facebook.com/landwatchthai/posts/2910651369251682
-------------------------
‘แอตต้า’ เผยโควิด-19 ระบาดรอบแรก ธุรกิจทัวร์ปิดถาวร 30%-ชั่วคราว 50%
https://www.matichon.co.th/economy/news_2524757
‘แอตต้า’ เผยโควิด-19 ระบาดรอบแรก ธุรกิจทัวร์ปิดถาวร 30%-ชั่วคราว 50%
เมื่อวันที่ 12 มกราคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายวิชิต ประกอบโกศล นายกสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว (แอตต้า) ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 11 มกราคมที่ผ่านมาว่า สิ่งที่ต้องการเร่งด่วนในขณะนี้คือ มาตรการช่วยเหลือด้านเงินทุน โดยเฉพาะการพักต้นพักดอก ต้องการเร็วที่สุด และการช่วยเรื่องค่าพนักงานเก่าที่ยังจ้างต่อเนื่อง สัดส่วน 50% รวมถึงการเข้าถึงแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟต์โลน) ปรับเงื่อนไขให้เอกชนด้วยกันมาช่วยค้ำประกัน 2 บริษัทขึ้นไป ไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นผู้ประกอบการในธุรกิจใดเท่านั้น และการจัดตั้งกองทุนเพื่อภาคการท่องเที่ยว เบื้องต้นวงเงิน 1 แสนล้านบาท เพื่อจัดเตรียมเงินไว้รองรับการเกิดวิกฤติรอบใหม่ หรือการช่วยเหลือในด้านต่างๆ เพื่อจะได้ไม่ต้องเรียกร้องความช่วยเหลือเหมือนในครั้งนี้หรือครั้งที่ผ่านมา
นายวิชิตกล่าวว่า ส่วนสถานการณ์ท่องเที่ยวในภาพรวม หากรัฐบาลสามารถคุมการระบาดได้ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์นี้ คือเดือนมกราคม มีผู้ติดเชื้อรายใหม่หลักร้อย ส่วนเดือนกุมภาพันธ์ เหลือหลักสิบเท่านั้น น่าจะสร้างบรรยากาศที่ดีขึ้น เชื่อว่าไตรมาส 3/2564 จะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามามากขึ้น และในปี 2565 ภาคการท่องเที่ยวจะฟื้นตัวได้กว่า 80%
นายวิชิตกล่าวว่า สถานการณ์บริษัททัวร์นำเที่ยวส่วนใหญ่จะอยู่ได้ถึงไตรมาส 3 นี้ เพราะเชื่อว่าสถานการณ์การระบาดจะคุมได้ และการท่องเที่ยวจะฟื้นตัวดีขึ้น จึงพยายามสู้กันสุดหนทาง หากประเมินในช่วงการระบาดรอบแรก มีบริษัทกว่า 10,000 ราย จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย แบ่งเป็นบริษัทปิดตัวถาวรแล้วกว่า 30% และปิดชั่วคราวอีก 50% เป็นบริษัทรองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเป็นหลัก ส่วนอีก 20% ยังอยู่ได้เพราะให้บริการตลาดไทยเที่ยวไทย
“การทำตลาดที่จะดึงกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างประเทศเข้ามา เนื่องจากในช่วงไตรมาส 3 เชื่อว่าจะมีคนทั่วโลกฉีดวัคซีนครบ 2 ครั้งแล้วกว่า 1 พันล้าน ทำให้เชื่อว่าคนกลุ่มนี้จะต้องการเดินทางท่องเที่ยวแน่นอน จึงอยากให้รัฐบาลวางมาตรการเพื่อรองรับและดึงดูดให้คนกลุ่มนี้เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย แบบไม่ต้องมีการกักตัว 14 วัน แต่สามารถตรวจหาโควิด-19 เมื่อมาถึงประเทศไทยได้ และมีแอพพลิเคชั่นติดตามตัวไว้ รวมถึงเมื่อมีอยู่การฉีดวัคซีนต้านไวรัสในประเทศไทยได้ ก็น่าจะทำให้คนไทยผ่อนคลายความกังวลมากขึ้น” นายวิชิตกล่าว