JJNY : ศก.ไทยจ่อปิดปี 66 แบบ ‘จมกองหนี้’│ติดโควิดเสี่ยงตายมากกว่า"ไข้หวัดใหญ่"│ร้องรัฐหยุดการเผา│บ.ชิปปิ้งพักเดินเรือ

ศก.ไทยจ่อปิดปี 66 แบบ ‘จมกองหนี้’ หลัง หนี้ครัวเรือน-หนี้เอกชน-หนี้สาธารณะพุ่ง
https://www.bangkokbiznews.com/finance/investment/1103958
 
 
 
“สถาบันการเงินระหว่างประเทศ” เผยทั่วโลกเผชิญกับภาระหนี้สูงขึ้น 10 ล้านล้านดอลลาร์โดยครึ่งปีแรกของปี 2566 แตะระดับ 307 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ ขณะที่ “ข้อมูล” เผย หนี้ครัวเรือน-หนี้ภาคเอกชน-หนี้สาธารณะไทย พุ่งสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
 
ทั่วโลกกำลังตกอยู่ในกองหนี้มหาศาลรวมทั้งประเทศไทยด้วย จาก “สภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น” ตั้งแต่ช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 เมื่อประมาณ 4 ปีที่แล้ว และแม้รายงานของคณะกรรมการทางการเงินของสหรัฐจะระบุชัดเจนว่าพร้อมหั่นอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงสามครั้งรวม 0.75% ในปีหน้าซึ่งถือเป็นถ้อยแถลงที่ทำให้ “สภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น” จบลงอย่างสิ้นเชิง
 
ทว่ายังมีผู้เชี่ยวชาญและนักวิเคราะห์อีกจำนวนหนึ่งเชื่อว่าสัญญาณของอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นยังไม่จบ หรืออย่างน้อยก็น่าจะยังทรงตัวในระดับสูงอีกยาวนาน  โดยสำนักข่าวบลูมเบิร์ก (Bloomberg) รายงานเมื่อวันที่ 15 ธ.ค. ว่า คริสติน ลาการ์ด (Christine Lagarde) ประธานธนาคารกลางยุโรปและแอนดรูว์ เบลีย์ (Andrew Bailey) ประธานธนาคารกลางอังกฤษชี้จัดว่าหน้าที่ในการจัดการกับเงินเฟ้อยังไม่จบ 
 
ดังนั้นก็ยังมีความเป็นไปได้สูงที่ประชาชนทั่วโลกอาจจะต้องรับมือกับ “ต้นทุนการกู้ยืม” ที่ยังอยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางภาระหนี้ที่ปรับตัวสูงขึ้นเช่นเดียวกัน ซึ่งก็จะกระทบต่อหนี้ของทุกภาคส่วนที่อยู่ในระดับสูงอยู่แล้ว 
 
หนี้สาธารณะโลกพุ่ง

โดยเวิลก์แบงก์ (World Bank) ออกรายงานในช่วงกลางเดือนก.ย. ว่าแม้ว่าภาระหนี้ทั่วโลกจะอยู่ในเทรนด์ที่ปรับตัวลดลง 2 ปีติดต่อกัน แต่ยังอยู่ในระดับสูงกว่าช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 และในปีที่แล้วหนี้รวมของทั้งโลกอยู่ที่ 238% ของจีดีพีทั่วโลก ซึ่งสูงกว่าปี 2562 ที่ประมาณ 9% หรืออยู่ที่ประมาณ 235 ล้านล้านดอลลาร์หรือมากกว่าปี 2564 อยู่ 2 แสนล้านดอลลาร์
 
เทรนด์หนี้สาธารณะทั่วโลก
 
ตัดภาพมาที่ปีนี้ สำนักข่าวซีเอ็นบีซี (CNBC) รายงานข้อมูลจากสถาบันการเงินระหว่างประเทศ (IIF) เมื่อช่วงปลายเดือนก.ย.ว่า  มูลหนี้ทั่วโลกปรับตัวขึ้น 10 ล้านล้านดอลลาร์ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2566 ไปอยู่ที่ 307 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์
โดยกว่า 80% ของการสะสมหนี้มาจากตลาดของประเทศที่พัฒนาสูงสุด (Mature Markets) ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2566 โดยสหรัฐ ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และฝรั่งเศสมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ส่วนในตลาดเกิดใหม่การเพิ่มขึ้นนั้นเด่นชัดมากขึ้นในจีนอินเดียและบราซิล
‘หนี้ครัวเรือน’ ปัญหาที่น่ากังวลของประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่
 
ขณะที่หนี้ครัวเรือน (Consumer Debt) ต่อจีดีพีในตลาดเกิดใหม่ยังคงสูงกว่าระดับก่อนเกิดโรคระบาด ส่วนใหญ่เกิดจากจีน เกาหลี และไทย ส่วนอัตราส่วนหนี้ครัวเรือนในตลาดที่เติบโตเต็มที่ (Mature Markets) ลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบสองทศวรรษในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2566

หนี้สาธารณะ-หนี้ครัวเรือน-หนี้เอกชนไทยพุ่ง 
 
สำหรับประเทศไทย ปริมาณหนี้ปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน เริ่มที่หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนต.ค. 2566 มากที่สุดคือหนี้จากรัฐบาลประมาณ 9.7 ล้านล้านบาท รองลงมาคือหนี้จากรัฐวิสาหกิจ 1.07 ล้านล้านบาท หนี้จากรัฐวิสาหกิจที่ทำธุรกิจในภาคการเงินโดยมีรัฐบาลค้ำประกัน 2.04 แสนล้านบาท และหนี้หน่วยงานของรัฐ 6.16 หมื่นล้านบาท โดยปัจจุบันอัตราส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีของไทยอยู่ที่ 61.30% ในขณะที่กฎหมายระบุไว้ไม่ให้เกิน 70%
ที่สำคัญหนี้เวิลด์แบงก์เปิดเผยเมื่อช่วงกลางเดือนธ.ค.ว่าหนี้สาธารณะของไทยมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นถึง65-66% ต่อจีดีพี
 
หากรัฐบาลของนายเศรษฐา ทวีสิน สามารถผ่านกฎหมายและดำเนินนโยบายแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาทได้สำเร็จ ซึ่งก็จะเป็นภาระของคนรุ่นใหม่ในการแบกรับภาระด้านภาษีต่อไปในอนาคต ซึ่งยังไม่รวมภาษีที่อาจต้องเสียเพิ่มทะลุ 20% เพื่อดูแลผู้สูงอายุของไทยในอนาคตตามทัศนะของดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ ที่ปรึกษาของกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร
 
ต่อมาคือหนี้ครัวเรือน โดยสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รายงานว่าในไตรมาส 2 ปี 2566 หนี้สินครัวเรือนมีมูลค่า 16.07 ล้านล้านบาท ขยายตัว 3.6% เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยเมื่อคิดเป็นสัดส่วนหนี้สินครัวเรือนต่อจีดีพีมีสัดส่วนมากถึง 90.7% ซึ่งคงที่เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา โดยสินเชื่อเกือบทุกประเภทขยายตัวขึ้น และเป็นการขยายตัวจากหนี้ซื้ออสังหาริมทรัพย์และหนี้เพื่ออุปโภคบริโภคส่วนบุคคลเป็นหลักที่ไม่ก่อให้เกิดความมั่งคั่งในอนาคต
 
ขณะที่ไตรมาส 2 ปี 2566 มีมูลค่าหนี้เสียคงค้าง 3.7 แสนล้านบาท ขยายตัว 22.0% จากไตรมาสก่อน ซึ่งต้องปรับโครงสร้างหนี้แก่ลูกหนี้กลุ่มนี้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้กลับมาชำระคืนหนี้ได้เป็นปกติ ซึ่งก็สอดคล้องกับข้อมูลของ IFF ที่ระบุว่าหนี้ครัวเรือนประเทศไทยเป็น 5 ประเทศแรกๆ ที่มีหนี้ในภาคส่วนดังกล่าวมากที่สุดในโลก  
 
นอกจากนี้ คณะอนุกรรมาธิการการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ผู้ประกอบการขนาดกลาง และขนาดย่อม (SMEs) ยังชี้ข้อมูลหนี้จากเครดิตบูโรว่าน่าห่วง โดยเอสเอ็มอีกว่า 2.8 แสนรายเป็นหนี้เสียแล้ว 2.8 หมื่นราย คิดเป็น 2.9 แสนล้านบาท และมีหนี้กำลังจะเสียอีก 1.3 แสนล้านบาท กระจุก 5 อุตสาหกรรม ก่อสร้าง ที่พักแรม อสังหาฯ การผลิต ค้าปลีกค้าส่ง
 
นอกจากนั้น รายงานจากสศช. ยังระบุถึงหนี้สินภาคของเอกชนต่อจีดีพีของไทย ณ สิ้นไตรมาสแรกของปี 2566 ว่าปรับขึ้นจนไปอยู่ที่ 171.2% โดยแม้สัดส่วนจะลดลงจาก 178.6% ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แต่ยังคงสูงกว่าระดับเฉลี่ยของประเทศในภูมิภาค 131.5% และประเทศที่พัฒนาแล้ว 126% และอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับ 153.8% ต่อจีดีพีในช่วงก่อนการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ณ สิ้นไตรมาสแรกของปี 2562
ประกอบกับข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า หนี้สินของภาคธุรกิจเพิ่มสูงขึ้นจากช่วงก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19 จากเดิม 70.3% ต่อจีดีพีไปอยู่ที่ 79.6% ต่อจีดีพี ณ สิ้นไตรมาสที่ 2 ของปี 2566
 
ท้ายที่สุดจากข้อมูลทั้งหมดจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ถึงแม้นักลงทุนบางส่วนจะเริ่มเดิมพันกับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยขาลงของเฟด แต่ก็ยังมีผู้เชี่ยวชาญอีกส่วนหนึ่งที่ยังเห็นต่างในประเด็นดังกล่าว รวมทั้งปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐก็ยังอยู่ในระดับที่สูงที่สุดในรอบ 22 ปี ซึ่งก็ส่งผลกดดัน “ต้นทุนการกู้ยืม” ของหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทยที่เผชิญกับภาระหนี้ที่สูงอยู่แล้ว ทั้งหนี้สาธารณะ หนี้ครัวเรือน รวมทั้งหนี้ภาคเอกชน 


 
เตือน!ติดเชื้อ"โควิด19"เสี่ยงตายมากกว่า"ไข้หวัดใหญ่"1.5 เท่า
https://www.thansettakij.com/health/wellbeing/583521

เตือน!ติดเชื้อ"โควิด19"เสี่ยงตายมากกว่า"ไข้หวัดใหญ่"1.5 เท่า พร้อมเผยโควิดสายพันธุ์ BA.2.86.x กำลังจะครองสัดส่วนหลักในการระบาดทั่วโลกแทนที่ EG.5.x และ FLips หลังขยายการระบาดอย่างมากในหลากหลายทวีปทั่วโลก 
 
ล่าสุดรศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ (หมอธีระ) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "Thira Woratanarat (ป๊ามี้คีน)" โดยมีข้อความระบุถึงการติเชื้อโควิด-19 กับไข้หวัดใหญ่ ว่า
 
งานวิจัยจากสหรัฐอเมริกา ติดตามดูนาน 18 เดือน พบว่าการติดเชื้อโรคโควิด-19 ทำให้เสี่ยงต่อการเสียชีวิตมากกว่าไข้หวัดใหญ่ 1.5 เท่า
หมอธีระ บอกอีกว่า โควิดสายพันธุ์ BA.2.86 หรือ Pirola นั้นแตกหน่อต่อยอดไปอย่างรวดเร็วจนปัจจุบันมีลูกหลานมากมาย
 
ปัจจุบันชัดเจนว่า BA.2.86.x กำลังจะครองสัดส่วนหลักในการระบาดทั่วโลกแทนที่ EG.5.x และ FLips ดังที่ได้เล่าให้ทราบตลอดช่วงที่ผ่านมา
 
จากภาพจะเห็นได้ว่า BA.2.86.1.1 หรือที่มีชื่อว่า JN.1 นั้นขยายการระบาดอย่างมากในหลากหลายทวีปทั่วโลก 
ด้วยสมรรถนะทั้งด้านการติดเชื้อ และดื้อต่อภูมิคุ้มกันมากกว่าสายพันธุ์อื่นๆ ที่ระบาดอยู่เดิม
ใกล้ปลายปีแล้ว กิจกรรมพบปะสังสรรค์ บันเทิง คอนเสิร์ต และอื่นๆ มีมาก 
  
ดังนั้นจึงควรใช้ชีวิตอย่างมีสติ ป้องกันตัวให้ดี รักษาระยะห่าง ลดเวลาสัมผัสคลุกคลีใกล้ชิดผู้อื่น
หากมีความเสี่ยง และเกิดไม่สบายมีอาการต่างๆ เช่น  ไข้ ไอ เจ็บคอ คัดจมูก น้ำมูกไหล ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ หรือครั่นเนื้อครั่นตัว ควรตรวจโควิดด้วยเสมอ
 
หากวันแรกๆ ได้ผลลบ อย่าชะล่าใจ ให้ตรวจซ้ำถึงช่วงวันที่ 4-5 หลังจากเริ่มมีอาการด้วย เพราะไวรัสจะพีคในช่วงนั้น

https://www.facebook.com/thiraw/posts/pfbid02dYiHmq5XVWXyvPcLXfNFgq1c9ktjvTYShyMdP4Ld8kpnCW4NxXctDaNy3UJkHsfvl


 
สส.เชียงใหม่ เรียกร้องรัฐบังคับใช้กฎหมายเข้มงวด หยุดการเผาต้นตอปัญหา PM2.5
https://prachatai.com/journal/2023/12/107271

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา 'ณัฐพล โตวิจักษณ์ชัยกุล' สส.เชียงใหม่ เรียกร้องรัฐบังคับใช้กฎหมายเข้มงวด หยุดการเผาต้นตอปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 พร้อมจัดช่องทางการแจ้งเบาะแส จี้ท้องถิ่นต้องกล้าร้องทุกข์กล่าวโทษ - ข้อมูลเมื่อวันที่ 15 ธ.ค. พื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ พบจุดความร้อนเพิ่มขึ้น 78.07% พื้นที่เผาไหม้เพิ่มขึ้น 67.42% เมื่อเทียบปี 2565 ประเมินสถานการณ์ในปีนี้ มีแนวโน้มที่จะมีความรุนแรงมากขึ้น
 
17 ธ.ค. 2566 เว็บไซต์สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา รายงานว่าในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมานายณัฐพล โตวิจักษณ์ชัยกุล สส.เชียงใหม่ พรรคก้าวไกล หารือปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร กรณีการแก้ปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 ว่า การเผาเป็นต้นตอของฝุ่นละออง PM2.5 ไม่ว่าจะเป็นจากการเผาเศษขยะ ใบไม้ กิ่งไม้ ทั้งจากประเทศเพื่อนบ้านหรือในจังหวัดเชียงใหม่ โดยเชื่อว่าในพื้นที่กึ่งเมืองกึ่งชนบทมีการเผาเกิดขึ้น ซึ่งนอกจากจะก่อให้เกิดความรำคาญ ยังมีความผิดตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)  สาธารณสุข พ.ศ. 2535 แต่ในความจริงไม่มีใครแจ้งดำเนินคดีตามกฎหมายนี้ อย่างจังหวัดเชียงใหม่ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ใช้การออกคำสั่งห้ามเผาอย่างเด็ดขาดในช่วงทุกต้นปี แท้ที่จริงแล้ว ไม่ควรมีการเผาเกิดขึ้นเลย ดังนั้น จึงอยากเรียกร้องไปยังรัฐบาลบังคับใช้ พ.ร.บ.สาธารณสุข ในมาตรา 25 มาตรา 26 และมาตรา 28 อย่างจริงจัง โดยจะต้องไม่ได้รับการยกเว้น จัดให้มีช่องทางการแจ้งเบาะแส หากประชาชนพบว่ามีการเผาเกิดขึ้น และรัฐจะต้องประชาสัมพันธ์ให้ทราบถึงช่องทางดังกล่าว ตลอดจนพนักงานฝ่ายปกครอง ท้องถิ่น เทศบาล อบต. อบจ. ที่อยู่ใกล้กับจุดที่มีการเผาจะต้องดำเนินการตรวจตราและร้องทุกข์กล่าวโทษ
 
นอกจากนี้ นายณัฐพล ยังหารือปัญหาถนนทางหลวงท้องถิ่นหมายเลข 138-08 ซึ่งอยู่ในความดูแลของ อบต.บ้านสหกรณ์ อำเภอแม่ออน ที่ได้รับการถ่ายโอนมาจากทางหลวงชนบท โดยพบว่ามีความชำรุดทรุดโทรม แต่ อบต. ไม่มีงบประมาณเพียงพอในการสร้างถนนใหม่ ซึ่ง 3 ปีที่ผ่านมา มีความพยายามของบประมาณอุดหนุนเฉพาะกิจไปแล้ว แต่ไม่ได้รับการจัดสรร โดยเห็นว่าถนนใหม่มีมูลค่าเพียง 3.5 ล้านบาท แต่มีประชาชนได้รับประโยชน์กว่า 1.5 พันคน ดังนั้น จึงฝากไปยังกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดสรรงบประมาณเพื่อก่อสร้างถนนดังกล่าว
 
กอ.รมน.เด้งรับนโยบายรัฐ เร่งแก้ปัญหาไฟป่า หมอกควัน ฝุ่น 17 จังหวัดภาคเหนือ

เว็บไซต์ข่าวสด รายงานเมื่อวันที่ 16 ธ.ค. ว่าพ.อ.หญิงนุชระวี แจ่มจำรัส รองโฆษกกอ.รมน. เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ปัญหามลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะเรื่องไฟป่า หมอกควัน รวมทั้งฝุ่นละออง PM2.5 ในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีความรุนแรงขึ้นทุกปี ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน

รวมทั้งระบบนิเวศ เศรษฐกิจและสังคมในวงกว้าง นายกรัฐมนตรี/ผอ.รมน. มีความห่วงใยต่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่