ดั้งเดิมสุโขทัย เป็นสถานีการค้าของแคว้นละโว้ (ลวรัฐ) ของอาณาจักรขอม บนเส้นทางการค้าผ่านคาบสมุทรระหว่างอ่าวเมาะตะมะ กับเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลาง (ประเทศลาว) คาดว่าเริ่มตั้งเป็นสถานีการค้าในราวพุทธศักราช ๑๗๐๐ในรัชสมัยของพระยาธรรมิกราช กษัตริย์ละโว้ โดยมีพ่อขุนศรีนาวนำถมเป็นผู้ปกครองและดูแลกิจการภายในเมืองสุโขทัย และศรีสัชนาลัย
จวบจนราวพุทธศตวรรษที่ 19 ราชอาณาจักรสุโขทัย ได้ติดต่อค้าขายกับราชอาณาจักรในลุ่มเจ้าพระยา คือกรุงศรีอยุธยา ตลอดจนดำเนินการค้าทางทะเลกับจีน อินเดีย ยุโรป และ กลุ่มชนทางตอนเหนือของไทย เช่น ล้านช้าง ยูนนาน น่านเจ้า และไปไกลถึงเปอร์เซีย อาหรับ โดยที่ราชอาณาจักรสุโขทัยได้ ผลิตเงินตราขึ้นใช้ในระบบเศรษฐกิจ คือ เงินพดด้วง นอกจากนี้ยัง ใช้ "เบี้ย" เป็นเงินปลีกสำหรับแลกเปลี่ยนสินค้าราคาต่างๆ เงินพดด้วงสันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่ก่อนสมัยสุโขทัย และใช้ ต่อเนื่องกันมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยา กรุงธนบุรี กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น รวมเป็นเวลากว่า 600 ปี โดยทำขึ้นจากแท่งเงินทุบปลายงอเข้าหากันแล้วตอกประทับตราประจำแผ่นดินและตราประจำรัชกาลลงไป ด้วยเหตุที่มีสัณฐานกลม คล้ายตัวด้วง คนไทยจึงเรียกว่าเงินพดด้วง ขณะที่ชาวต่างประเทศ เรียกเงินชนิดนี้ว่า เงินลูกปืน (BULLET MONEY) เงินพดด้วงถือ ได้ว่าเป็นเงินที่มีรูปร่างเป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนเงินตราตระกูลใดในโลกในสมัยสุโขทัย เงินตรามีหลายแบบประกอบด้วย เงินกำไล ลักษณะเป็นวง มีตราประทับ ๔ ตรา และรอยบาก ๒ รอย ภายหลังวิวัฒนาการเป็นเงินพดด้วง เงินพดด้วง มีตราประทับตั้งแต่ ๒ ตราขึ้นไป เช่น ตราราชสีห์ ช้าง ราชวัตร จักร ช่อดอกไม้ วัว หอยสังข์ เงินคุบ ลักษณะคล้ายเงินพดด้วง ทำจากโลหะผสม เบี้ยเป็นเปลือกหอยทะเลใช้เป็นเงินปลีก และจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ทำให้เราทราบว่า ในสมัยสุโขทัยได้มีตลาดเกิดขึ้นแล้ว เรียกว่า “ตลาดปสาน” เป็นแหล่งซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า ทั้งของชาวเมืองสุโขทัย และชาวเมืองใกล้เคียง ในศิลาจารึกระบุไว้ว่า สินค้าที่ซื้อขายกันในตลาดปสาน มีหลายประเภท ตั้งแต่ผลไม้ เครื่องอุปโภคบริโภคต่างๆ และสัตว์ที่ใช้เป็นแรงงาน เป็นพาหนะ เช่น วัวและม้า ตลาดปสานนั้น ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเมืองสุโขทัย ลักษณะของตลาดเป็นลานกว้างๆ เหมาะสำหรับเป็นที่ชุมนุมกันของผู้ซื้อ และผู้ขาย รูปแบบของตลาดเช่นนี้ อาจจะเรียกได้ว่า ตลาดบก เพราะมีทำเลที่ตั้งค้าขายอยู่บนบก ตัวอย่างตลาดในสมัยสุโขทัย ที่ปรากฏในหลักศิลาจารึก เช่น ตลาดป่าตองขายใบตอง ตลาดป่าพร้าวขายมะพร้าว ตลาดป่าตะกั่วขายโลหะตะกั่ว จะเห็นได้ว่า ตลาดมีลักษณะการขายสินค้าเป็นแหล่งๆไป เงินตราที่ใช้แลกเปลี่ยนสินค้า จึงมีความจำเป็นอย่างมากตามไปด้วย
ปล.กระทู้นี้เอาไว้ส่งงานครูนะคะ5555555555
For 1 บทความหัวข้อประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ
จวบจนราวพุทธศตวรรษที่ 19 ราชอาณาจักรสุโขทัย ได้ติดต่อค้าขายกับราชอาณาจักรในลุ่มเจ้าพระยา คือกรุงศรีอยุธยา ตลอดจนดำเนินการค้าทางทะเลกับจีน อินเดีย ยุโรป และ กลุ่มชนทางตอนเหนือของไทย เช่น ล้านช้าง ยูนนาน น่านเจ้า และไปไกลถึงเปอร์เซีย อาหรับ โดยที่ราชอาณาจักรสุโขทัยได้ ผลิตเงินตราขึ้นใช้ในระบบเศรษฐกิจ คือ เงินพดด้วง นอกจากนี้ยัง ใช้ "เบี้ย" เป็นเงินปลีกสำหรับแลกเปลี่ยนสินค้าราคาต่างๆ เงินพดด้วงสันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่ก่อนสมัยสุโขทัย และใช้ ต่อเนื่องกันมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยา กรุงธนบุรี กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น รวมเป็นเวลากว่า 600 ปี โดยทำขึ้นจากแท่งเงินทุบปลายงอเข้าหากันแล้วตอกประทับตราประจำแผ่นดินและตราประจำรัชกาลลงไป ด้วยเหตุที่มีสัณฐานกลม คล้ายตัวด้วง คนไทยจึงเรียกว่าเงินพดด้วง ขณะที่ชาวต่างประเทศ เรียกเงินชนิดนี้ว่า เงินลูกปืน (BULLET MONEY) เงินพดด้วงถือ ได้ว่าเป็นเงินที่มีรูปร่างเป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนเงินตราตระกูลใดในโลกในสมัยสุโขทัย เงินตรามีหลายแบบประกอบด้วย เงินกำไล ลักษณะเป็นวง มีตราประทับ ๔ ตรา และรอยบาก ๒ รอย ภายหลังวิวัฒนาการเป็นเงินพดด้วง เงินพดด้วง มีตราประทับตั้งแต่ ๒ ตราขึ้นไป เช่น ตราราชสีห์ ช้าง ราชวัตร จักร ช่อดอกไม้ วัว หอยสังข์ เงินคุบ ลักษณะคล้ายเงินพดด้วง ทำจากโลหะผสม เบี้ยเป็นเปลือกหอยทะเลใช้เป็นเงินปลีก และจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ทำให้เราทราบว่า ในสมัยสุโขทัยได้มีตลาดเกิดขึ้นแล้ว เรียกว่า “ตลาดปสาน” เป็นแหล่งซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า ทั้งของชาวเมืองสุโขทัย และชาวเมืองใกล้เคียง ในศิลาจารึกระบุไว้ว่า สินค้าที่ซื้อขายกันในตลาดปสาน มีหลายประเภท ตั้งแต่ผลไม้ เครื่องอุปโภคบริโภคต่างๆ และสัตว์ที่ใช้เป็นแรงงาน เป็นพาหนะ เช่น วัวและม้า ตลาดปสานนั้น ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเมืองสุโขทัย ลักษณะของตลาดเป็นลานกว้างๆ เหมาะสำหรับเป็นที่ชุมนุมกันของผู้ซื้อ และผู้ขาย รูปแบบของตลาดเช่นนี้ อาจจะเรียกได้ว่า ตลาดบก เพราะมีทำเลที่ตั้งค้าขายอยู่บนบก ตัวอย่างตลาดในสมัยสุโขทัย ที่ปรากฏในหลักศิลาจารึก เช่น ตลาดป่าตองขายใบตอง ตลาดป่าพร้าวขายมะพร้าว ตลาดป่าตะกั่วขายโลหะตะกั่ว จะเห็นได้ว่า ตลาดมีลักษณะการขายสินค้าเป็นแหล่งๆไป เงินตราที่ใช้แลกเปลี่ยนสินค้า จึงมีความจำเป็นอย่างมากตามไปด้วย
ปล.กระทู้นี้เอาไว้ส่งงานครูนะคะ5555555555