เงินตราในสมัยก่อนสุโขทัยและในสมัยสุโขทัยมีความแตกต่างกันออกไป ซึ่งอาจเป็นเพราะอิทธิพลในด้าน ต่างๆที่ทําให้รูปแบบเปลี่ยนไป เช่น ด้านการปกครอง และ ด้านศาสนา เป็นต้น จากการศึกษาและวิเคราะห์หลักฐาน ต่างๆ ทําให้ได้ทราบว่าทั้งในสมัยก่อนสุโขทัยและสมัยสุโขทัยนั้นมีการผลิตเงินตราขึ้นเพื่อใช้ในการซื้อขายแลกเปลี่ยน สินค้าแล้ว ในสมัยก่อนสุโขทัย รูปแบบเงินตราของอาณาจักรฟูนันได้รับอิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์-ฮินดูของอินเดีย มีลักษณะเป็นเหรียญเงิน ด้านหนึ่งมีสัญลักษณ์พระอาทิตย์ครึ่งดวง และอีกด้านเป็นรูปพระศรีวัตสะ กลองบัณเฑาะว์์ที่ ใช้ในพิธีต่างๆของพราหมณ์ และเครื่องหมายสวัสดิกะที่สื่อถึงความโชคดี ในสมัยอาณาจักรทวารวดีที่มีการปกครอง โดยกษัตริย์และประชาชนนับถือศาสนาพุทธ นิกายมหายาน เหรียญเงินด้านหนึ่งเป็นรูปหม้อนํ้าที่มีนํ้าอยู่เต็มหม้อ หรือ บูรณกลศ มีความหมายว่า ความอุดมสมบูรณ์ และอีกด้านถูกเขียนด้วยภาษาสันสกฤตโบราณว่า “ศรีทวารวดี ศวรปุณยะ” ซึ่งแปลว่า บุญกุศลของพระราชาแห่งศรีทวารวดี มากไปกว่านั้น บางเหรียญก็มีตราประทับรูปกวาง หมอบ ธรรมจักร สังข์ แสดงให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาในสมัยนั้นอีกด้วย และในช่วงของ อาณาจักรศรีวิชัย เงินตราถูกทําด้วยเงินและทองคํา แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ เงินที่มีลวดลายเป็นสี่แฉกในด้านหนึ่ง และ สลักภาษาสันสกฤตว่า “วร” แปลว่า ประเสริฐ อีกชนิดนึง เป็นเงินที่ด้านนึงมีร่องเล็กคล้ายเมล็ดดกาแฟ และอีกด้าน สลักตัวอักษร น ด้วยเหตุผลว่าประชาชนนับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน จึงเรียกเงินชนิดดนี้ว่าเงินนโม ด้านเงินตรา ในสมัยของสุโขทัยนั้น เริ่มมีการใช้เงินพดด้วง หรือ เงินกลม ที่ทําจากแท่งโลหะผสมทุ่มปลายให้งอเข้าหากัน ใช้มาตรา แบบมอญคือ 1 บาท เท่ากับ 1 สลึง 4 บาท เท่ากับ 1 ตําลึง ซึ่งเงินนี้จะมีขนาดตั้งแต่ 1-4 บาท เอาไว้ค้าขายกับต่าง ชาติ อย่าง จีน เป็นต้น เงินพดดด้วงในสมัยสุโขทัยจะมีตราประทับ 3 ตรา คือตราช้าง ตราราชสีห์ และตราราชวัตร (รั้วมณฑลพิธี) แต่เงินพดด้วงนี้จะไม่นิยมใช้ในหมู่ประชาชนคนธรรมดาเพราะมีมูลค่าค่อนข้างมาก ในส่วนของการซื้อ ขายแลกเปลี่ยนสินค้าที่มีราคาตํ่าในสมัยนี้ จะใช้เป็นเงินหอยเบี้ยแทนเงินพดด้วง
จากข้อมูลที่ได้กล่าวและวิเคราะห์มา เงินตราในสมัยก่อนสุโขทัย ได้รับอิทธิพลทางศาสนาค่อนข้างมาก ซึ่งเห็นได้จากสัญลักษณ์ ต่างๆ รูปเทพเจ้า และภาษาบาลี-สันสกฤตที่ปรากฏ ส่วนเงินตราในสมัยสุโขทัยจะเด่นชัดในด้านอิทธิพลจากการ ปกครองโดยพระมหากษัตริย์ ซึ่งสามารถเห็นได้จากตราต่างๆ เช่น ตราช้าง ซึ่งเป็นสัตว์ประจําพระองค์ของพระเจ้า แผ่นดิน ตราราชวัตร ซึ่งเป็นตรารูปรั้วมณฑลพิธี ปักรอบๆด้วยฉัตรซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพระมหากษัตริย์ เป็นต้น และ ในสมัยสุโขทัยนั้น อย่างไรก็ตาม เงินตราในทั้งสองสมัยมีความคล้ายคลึงกัน คือ มีขนาดเล็กใหญ่ที่หลากหลายตาม มูลค่า ไม่ได้มีเพียงขนาดใดขนาดหนึ่งหรือมูลค่าใดมูลค่าหนึ่ง มาตราใดมาตราหนึ่งเท่านั้น จึงสรุปได้ว่า เงินในสมัยก่อน สุโขทัยและในสมัยสุโขทัยมีความคล้ายคลึงกันพอสมควร จะต่างกันก็เพียงแค่รูปร่างลักษณะต่างๆ และการใช้ของเงิน ในแต่ละชนิดในแต่ละสมัย
เงินตราในสมัยก่อนสุโขทัย และในสมัยสุโขทัยมีความแตกต่างกันอย่างไร
จากข้อมูลที่ได้กล่าวและวิเคราะห์มา เงินตราในสมัยก่อนสุโขทัย ได้รับอิทธิพลทางศาสนาค่อนข้างมาก ซึ่งเห็นได้จากสัญลักษณ์ ต่างๆ รูปเทพเจ้า และภาษาบาลี-สันสกฤตที่ปรากฏ ส่วนเงินตราในสมัยสุโขทัยจะเด่นชัดในด้านอิทธิพลจากการ ปกครองโดยพระมหากษัตริย์ ซึ่งสามารถเห็นได้จากตราต่างๆ เช่น ตราช้าง ซึ่งเป็นสัตว์ประจําพระองค์ของพระเจ้า แผ่นดิน ตราราชวัตร ซึ่งเป็นตรารูปรั้วมณฑลพิธี ปักรอบๆด้วยฉัตรซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพระมหากษัตริย์ เป็นต้น และ ในสมัยสุโขทัยนั้น อย่างไรก็ตาม เงินตราในทั้งสองสมัยมีความคล้ายคลึงกัน คือ มีขนาดเล็กใหญ่ที่หลากหลายตาม มูลค่า ไม่ได้มีเพียงขนาดใดขนาดหนึ่งหรือมูลค่าใดมูลค่าหนึ่ง มาตราใดมาตราหนึ่งเท่านั้น จึงสรุปได้ว่า เงินในสมัยก่อน สุโขทัยและในสมัยสุโขทัยมีความคล้ายคลึงกันพอสมควร จะต่างกันก็เพียงแค่รูปร่างลักษณะต่างๆ และการใช้ของเงิน ในแต่ละชนิดในแต่ละสมัย