ในการดำเนินชีวิตประจำวัน แต่ละบุคคลจะมีค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นตลอดเวลา ทั้งในส่วนของค่าใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคและบริโภค นับตั้งแต่ค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาทำงานและกลับที่พักอาศัย ค่าใช้จ่ายสำหรับค่าอาหาร และค่าใช้จ่ายจิปาถะอื่นๆ ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้โดยส่วนใหญ่เป็นค่าใช่จ่ายที่รู้ล่วงหน้าสามารถคาดการณ์ได้ แต่ในบางครั้งบุคคลก็อาจต้องใช้จ่ายในสิ่งที่ไม่ได้วางแผนหรือคาดการณ์ไว้ล่วงหน้า เช่น การเจ็บไข้ได้ป่วยกะทันหัน การเกิดอุบัติเหตุ รวมทั้งการซื้อสินค้าที่ลดราคาซึ่งไม่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้าว่าจะทำการซื้อ เป็นต้น ในขณะที่รายรับโดยทั่วไปจะเกิดขึ้นเฉพาะช่วงปลายเดือนเท่านั้น ยกเว้นในบางครั้งอาจมีรายได้บางส่วนซึ่งเป็นรายได้ที่ไม่ได้คาดคิดมาก่อน เช่น รายได้จากรางวัลหรือการชิงโชคต่างๆ เป็นต้น
จากข้อเท็จจริงที่กล่าวในเบื้องต้น จะเห็นได้ว่ากระแสเงินสดที่เกิดขึ้นในแต่ละวันของแต่ละบุคคล จึงมีทั้งกระแสเงินสดที่เกิดขึ้นจากการวางแผนทางการเงินที่ทราบหรือสามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้า และกระแสเงินสดที่ไม่ได้วางแผนหรือคาดการณ์ไว้ล่วงหน้า ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาการขาดสภาพคล่องของบุคคลดังกล่าวได้ และจำเป็นที่จะต้องอาศัยกระบวนการและวิธีการในการบริหารเงินสด (cash management) เข้ามาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อช่วยทำให้บุคคลไม่เกิดปัญหาสภาพคล่อง และในขณะเดียวกันก็ไม่ต้องมีการสำรองเงินสดไว้เกินความจำเป็น
การบริหารเงินสดเพื่อให้มีจำนวนเงินที่เพียงพอต่อการใช้จ่ายที่จำเป็น ไม่มากจนก่อให้เกิดต้นทุนค่าเสียโอกาส แต่ไม่น้อยจนเกิดการขาดแคลนในยามที่ต้องการใช้เงิน ทั้งนี้ทางเลือกหรือแนวทางในการบริหารเงินสดมีหลากหลายช่องทาง เช่น การฝากเงินกับธนาคารพาณิชย์ การซื้อตั๋วเงินคลัง หรือการลงทุนในตลาดเงิน เป็นต้น ซึ่งการที่จะเลือกแนวทางใดในการบริหารเงินสดอาจพิจารณาได้จากปัจจัยที่สำคัญ ดังนี้ อัตราผลตอบแทน อัตราภาษี และความเสี่ยง เป็นสำคัญ
วัตถุประสงค์ที่สำคัญที่ก่อให้เกิดการก่อหนี้หรือการบริหารสินเชื่อ คือ เพื่อตอบสนองต่อการบริโภค เพื่อความสะดวก หรือเพื่อการสำรองไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน โดยประเภทของสินเชื่อสามารถแบ่งออกได้เป็นสินเชื่อระยะสั้น ที่มีกำหนดระยะเวลาในการชำระคืนภายใน 1 ปี และสินเชื่อระยะยาวที่มีระยะเวลาในการชำระคืนนานเกินกว่า 1 ปี ทั้งนี้ผู้กู้ควรที่จะมีแนวทางในการบริหารสินเชื่ออย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้สามารถชำระเงินกู้คืนได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด และควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ขั้นตอนของการกู้ยืมเงิน การจ่ายคืนเงินกู้ และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการขอกู้ยืมเงิน เป็นอย่างดี นอกจากนี้ควรที่จะรู้ถึงข้อดีและข้อเสียหรือข้อเปรียบเทียบระหว่างการซื้อและการเช่า สำหรับเป็นข้อมูลประเมินเพื่อการตัดสินใจ ที่เหมาะสม
อย่างไรก็ตามบุคคลที่มีรายได้ไม่เพียงพอต่อการซื้อสินค้าหรือบริการใดๆ แทนที่จะซื้อสินค้าหรือบริการดังกล่าวโดยการใช้เงินทุนจากการขอสินเชื่อ บุคคลยังอาจจะใช้การเช่าเป็นเครื่องมือทางการเงินเพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการทดแทนการซื้อโดยการใช้สินเชื่อ การเช่าจึงอาจจัดได้ว่าเป็นเครื่องมือที่บุคคลสามารถจัดหาเงินทุนได้ทางอ้อมแทนการขอใช้สินเชื่อ
การศึกษาในบทนี้จึงเป็นการศึกษาถึงตราสารทางการเงินที่บุคคลสามารถนำมาใช้ในการบริหารสภาพคล่อง ทั้งในส่วนของ
การจัดการเงินสด (cash management) และการจัดการสินเชื่อ (credit management) ที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงกระบวนการตัดสินใจเปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียระหว่างการซื้อหรือการเช่า (buying or leasing) ในฐานะเป็นแหล่งที่มาของสภาพคล่องส่วนที่ขาด ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับกระบวนการวางแผนการเงินส่วนบุคคลด้วยเช่นกัน
วัตถุประสงค์ของหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP ชุดวิชาที่ 1 เครื่องมือทางการเงินสำหรับการบริหารสภาพคล่องส่วนบุคคล มีดังนี้
1. การบริหารเงินสด (cash management) อธิบายถึงความจำเป็นของการมีเงินสด เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ได้แก่ ใช้จ่ายทั่วไป (pocket money) สำรองใช้ยามฉุกเฉิน (emergency reserves) และรักษามูลค่า (store of value) อธิบายถึงหลักของการบริหารเงินสดที่จะต้องมีจำนวนเงินที่เพียงพอต่อการใช้จ่ายที่จำเป็น ไม่ถือครองไว้มากจนก่อให้เกินต้นทุนค่าเสียโอกาส หรือน้อยจนขาดแคลนในยามที่ต้องการใช้เงิน โดยจะสัมพันธ์กับลักษณะเฉพาะของลูกค้าแต่ละราย อธิบายประเภทของบัญชีเงินฝาก เช่น บัญชีเงินฝากกระแสรายวัน บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ และบัญชีเงินฝากประจำ การเขียนเช็ค การตรวจเช็คยอดเงิน การคิดดอกเบี้ยเงินฝาก
2. การจัดการสินเชื่อ (credit management) อธิบายความจำเป็นที่ต้องมีการก่อหนี้ เพื่อบริโภค (consumption) เพื่อความสะดวก (convenience) และสำรองฉุกเฉิน (contingency) อธิบายถึงข้อเสีย และข้อจำกัดของการก่อหนี้ การใช้สินเชื่อเกินความจำเป็น (excessive use of credit) ต้นทุนของสินเชื่อ (cost of credit) ประเภทของสินเชื่อ (types of credit) ทางเลือกในการใช้สินเชื่อแต่ละประเภท ซึ่งจะต้องคำนึงถึงความจำเป็นและรายได้ เพื่อบริหารสภาพคล่องได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยปราศจากปัญหาในเรื่องของความไม่สามารถชำระหนี้คืน (default)
สินเชื่อระยะสั้น (short-term credit) อธิบายลักษณะการใช้ ข้อดี และข้อจำกัดของสินเชื่อระยะสั้นแบบต่าง ๆ เช่น บัตรเครดิต วงเงินสินเชื่อบุคคล
สินเชื่อระยะยาว (long-term credit) อธิบายประเภทของเงินกู้แบบต่าง ๆ วิเคราะห์ข้อดีและข้อเสียของสินเชื่อระยะยาวแบบต่าง ๆ เช่น Variable rate, Fixed rate, Secured Loan และ Unsecured Loan อธิบายวิธีการและสิ่งจำเป็นสำหรับการขอกู้ยืมเงิน อธิบายวิธีการและการกรอกแบบฟอร์มข้อมูลต่าง ๆ เช่น Employment Details, Account Details, Guarantors, Collateral
ผู้ยื่นขอกู้ อธิยายคุณสมบัติของผู้ยื่นขอกู้ และรายละเอียดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น วงเงินกู้หลักทรัพย์ หรือผู้ค้ำประกัน เป็นต้น
การจ่ายคืน (terms of repayment) อธิบายเงื่อนไขการจ่ายคืนแบบต่าง ๆ ตามระยะเวลา เงินต้น และดอกเบี้ย โดยจะต้องสัมพันธ์กับข้อจำกัดในด้านต่าง ๆ เช่น รายจ่าย รายได้ และภาระผูกมัดอื่น ๆ
ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการขอกู้ยืมเงิน บรรยายผู้ที่เกี่ยวข้องกับการขอกู้ยืมเงิน เช่น Debtor Creditor, Bailor / Bailee, Principle / Agent และ Mortgagor/ Mortgagee อธิบายความจำเป็นที่ต้องรักษาความสัมพันธ์กับธนาคาร
3. การเช่า (leasing) ในบางครั้งบุคคลอาจไม่จำเป็นต้องมีการขอสินเชื่อ อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยอื่น ๆ ในการตัดสินใจเช่าแทน การซื้อ หัวข้อนี้จึงเป็นการอธิบายวิธีการซื้อหรือเช่า วิเคราะห์ความแตกต่าง เปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียระหว่างการซื้อและการเช่า
4. การเลือกใช้บริการทางการเงินจากสถาบันการเงิน บรรยายการเลือกใช้บริการทางการเงินจากสถาบันการเงินต่าง ๆ ทั้งสถาบันการเงินที่เป็นธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ เช่น สหกรณ์ออมทรัพย์ อธิบายวิธีการเลือกใช้บริการจากสถาบันการเงินต่าง ๆ ขั้นตอนการติดต่อธนาคารเพื่อบริหารสภาพคล่องของลูกค้า
องค์ความรู้ของหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP ชุดวิชาที่ 1 บทที่ 2 เครื่องมือทางการเงินสำหรับการบริหารสภาพคล่องส่วนบุคคล มีดังนี้
- การบริหารเงินสด
- เครื่องมือทางการเงินสำหรับการจัดการสินเชื่อ
- ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการขอกู้ยืมเงิน
- การเช่า
- บริการทางการเงินจากสถาบันทางการเงิน
เครื่องมือทางการเงินสำหรับการบริหารสภาพคล่องส่วนบุคคล
จากข้อเท็จจริงที่กล่าวในเบื้องต้น จะเห็นได้ว่ากระแสเงินสดที่เกิดขึ้นในแต่ละวันของแต่ละบุคคล จึงมีทั้งกระแสเงินสดที่เกิดขึ้นจากการวางแผนทางการเงินที่ทราบหรือสามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้า และกระแสเงินสดที่ไม่ได้วางแผนหรือคาดการณ์ไว้ล่วงหน้า ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาการขาดสภาพคล่องของบุคคลดังกล่าวได้ และจำเป็นที่จะต้องอาศัยกระบวนการและวิธีการในการบริหารเงินสด (cash management) เข้ามาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อช่วยทำให้บุคคลไม่เกิดปัญหาสภาพคล่อง และในขณะเดียวกันก็ไม่ต้องมีการสำรองเงินสดไว้เกินความจำเป็น
การบริหารเงินสดเพื่อให้มีจำนวนเงินที่เพียงพอต่อการใช้จ่ายที่จำเป็น ไม่มากจนก่อให้เกิดต้นทุนค่าเสียโอกาส แต่ไม่น้อยจนเกิดการขาดแคลนในยามที่ต้องการใช้เงิน ทั้งนี้ทางเลือกหรือแนวทางในการบริหารเงินสดมีหลากหลายช่องทาง เช่น การฝากเงินกับธนาคารพาณิชย์ การซื้อตั๋วเงินคลัง หรือการลงทุนในตลาดเงิน เป็นต้น ซึ่งการที่จะเลือกแนวทางใดในการบริหารเงินสดอาจพิจารณาได้จากปัจจัยที่สำคัญ ดังนี้ อัตราผลตอบแทน อัตราภาษี และความเสี่ยง เป็นสำคัญ
วัตถุประสงค์ที่สำคัญที่ก่อให้เกิดการก่อหนี้หรือการบริหารสินเชื่อ คือ เพื่อตอบสนองต่อการบริโภค เพื่อความสะดวก หรือเพื่อการสำรองไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน โดยประเภทของสินเชื่อสามารถแบ่งออกได้เป็นสินเชื่อระยะสั้น ที่มีกำหนดระยะเวลาในการชำระคืนภายใน 1 ปี และสินเชื่อระยะยาวที่มีระยะเวลาในการชำระคืนนานเกินกว่า 1 ปี ทั้งนี้ผู้กู้ควรที่จะมีแนวทางในการบริหารสินเชื่ออย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้สามารถชำระเงินกู้คืนได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด และควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ขั้นตอนของการกู้ยืมเงิน การจ่ายคืนเงินกู้ และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการขอกู้ยืมเงิน เป็นอย่างดี นอกจากนี้ควรที่จะรู้ถึงข้อดีและข้อเสียหรือข้อเปรียบเทียบระหว่างการซื้อและการเช่า สำหรับเป็นข้อมูลประเมินเพื่อการตัดสินใจ ที่เหมาะสม
อย่างไรก็ตามบุคคลที่มีรายได้ไม่เพียงพอต่อการซื้อสินค้าหรือบริการใดๆ แทนที่จะซื้อสินค้าหรือบริการดังกล่าวโดยการใช้เงินทุนจากการขอสินเชื่อ บุคคลยังอาจจะใช้การเช่าเป็นเครื่องมือทางการเงินเพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการทดแทนการซื้อโดยการใช้สินเชื่อ การเช่าจึงอาจจัดได้ว่าเป็นเครื่องมือที่บุคคลสามารถจัดหาเงินทุนได้ทางอ้อมแทนการขอใช้สินเชื่อ
การศึกษาในบทนี้จึงเป็นการศึกษาถึงตราสารทางการเงินที่บุคคลสามารถนำมาใช้ในการบริหารสภาพคล่อง ทั้งในส่วนของการจัดการเงินสด (cash management) และการจัดการสินเชื่อ (credit management) ที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงกระบวนการตัดสินใจเปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียระหว่างการซื้อหรือการเช่า (buying or leasing) ในฐานะเป็นแหล่งที่มาของสภาพคล่องส่วนที่ขาด ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับกระบวนการวางแผนการเงินส่วนบุคคลด้วยเช่นกัน
วัตถุประสงค์ของหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP ชุดวิชาที่ 1 เครื่องมือทางการเงินสำหรับการบริหารสภาพคล่องส่วนบุคคล มีดังนี้
1. การบริหารเงินสด (cash management) อธิบายถึงความจำเป็นของการมีเงินสด เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ได้แก่ ใช้จ่ายทั่วไป (pocket money) สำรองใช้ยามฉุกเฉิน (emergency reserves) และรักษามูลค่า (store of value) อธิบายถึงหลักของการบริหารเงินสดที่จะต้องมีจำนวนเงินที่เพียงพอต่อการใช้จ่ายที่จำเป็น ไม่ถือครองไว้มากจนก่อให้เกินต้นทุนค่าเสียโอกาส หรือน้อยจนขาดแคลนในยามที่ต้องการใช้เงิน โดยจะสัมพันธ์กับลักษณะเฉพาะของลูกค้าแต่ละราย อธิบายประเภทของบัญชีเงินฝาก เช่น บัญชีเงินฝากกระแสรายวัน บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ และบัญชีเงินฝากประจำ การเขียนเช็ค การตรวจเช็คยอดเงิน การคิดดอกเบี้ยเงินฝาก
2. การจัดการสินเชื่อ (credit management) อธิบายความจำเป็นที่ต้องมีการก่อหนี้ เพื่อบริโภค (consumption) เพื่อความสะดวก (convenience) และสำรองฉุกเฉิน (contingency) อธิบายถึงข้อเสีย และข้อจำกัดของการก่อหนี้ การใช้สินเชื่อเกินความจำเป็น (excessive use of credit) ต้นทุนของสินเชื่อ (cost of credit) ประเภทของสินเชื่อ (types of credit) ทางเลือกในการใช้สินเชื่อแต่ละประเภท ซึ่งจะต้องคำนึงถึงความจำเป็นและรายได้ เพื่อบริหารสภาพคล่องได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยปราศจากปัญหาในเรื่องของความไม่สามารถชำระหนี้คืน (default)
สินเชื่อระยะสั้น (short-term credit) อธิบายลักษณะการใช้ ข้อดี และข้อจำกัดของสินเชื่อระยะสั้นแบบต่าง ๆ เช่น บัตรเครดิต วงเงินสินเชื่อบุคคล
สินเชื่อระยะยาว (long-term credit) อธิบายประเภทของเงินกู้แบบต่าง ๆ วิเคราะห์ข้อดีและข้อเสียของสินเชื่อระยะยาวแบบต่าง ๆ เช่น Variable rate, Fixed rate, Secured Loan และ Unsecured Loan อธิบายวิธีการและสิ่งจำเป็นสำหรับการขอกู้ยืมเงิน อธิบายวิธีการและการกรอกแบบฟอร์มข้อมูลต่าง ๆ เช่น Employment Details, Account Details, Guarantors, Collateral
ผู้ยื่นขอกู้ อธิยายคุณสมบัติของผู้ยื่นขอกู้ และรายละเอียดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น วงเงินกู้หลักทรัพย์ หรือผู้ค้ำประกัน เป็นต้น
การจ่ายคืน (terms of repayment) อธิบายเงื่อนไขการจ่ายคืนแบบต่าง ๆ ตามระยะเวลา เงินต้น และดอกเบี้ย โดยจะต้องสัมพันธ์กับข้อจำกัดในด้านต่าง ๆ เช่น รายจ่าย รายได้ และภาระผูกมัดอื่น ๆ
ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการขอกู้ยืมเงิน บรรยายผู้ที่เกี่ยวข้องกับการขอกู้ยืมเงิน เช่น Debtor Creditor, Bailor / Bailee, Principle / Agent และ Mortgagor/ Mortgagee อธิบายความจำเป็นที่ต้องรักษาความสัมพันธ์กับธนาคาร
3. การเช่า (leasing) ในบางครั้งบุคคลอาจไม่จำเป็นต้องมีการขอสินเชื่อ อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยอื่น ๆ ในการตัดสินใจเช่าแทน การซื้อ หัวข้อนี้จึงเป็นการอธิบายวิธีการซื้อหรือเช่า วิเคราะห์ความแตกต่าง เปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียระหว่างการซื้อและการเช่า
4. การเลือกใช้บริการทางการเงินจากสถาบันการเงิน บรรยายการเลือกใช้บริการทางการเงินจากสถาบันการเงินต่าง ๆ ทั้งสถาบันการเงินที่เป็นธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ เช่น สหกรณ์ออมทรัพย์ อธิบายวิธีการเลือกใช้บริการจากสถาบันการเงินต่าง ๆ ขั้นตอนการติดต่อธนาคารเพื่อบริหารสภาพคล่องของลูกค้า
องค์ความรู้ของหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP ชุดวิชาที่ 1 บทที่ 2 เครื่องมือทางการเงินสำหรับการบริหารสภาพคล่องส่วนบุคคล มีดังนี้
- การบริหารเงินสด
- เครื่องมือทางการเงินสำหรับการจัดการสินเชื่อ
- ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการขอกู้ยืมเงิน
- การเช่า
- บริการทางการเงินจากสถาบันทางการเงิน