การวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลนั้น เป็นกระบวนการประเมินสถานภาพทางการเงิน ความเป็นอยู่ของบุคคลคนหนึ่ง และทำการพัฒนาปรับปรุงการหารายได้ การใช้จ่าย และการลงทุนให้มีฐานะที่ดีขึ้น ด้วยการเข้าไปศึกษาถึงปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ และกระบวนการในการตัดสินใจทางด้านการเงินของบุคคลคนนั้น
การวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลมีบทบาทและความสำคัญที่ทำให้เกิดความมั่นคงทางการเงิน ความมั่นใจในการดำเนินชีวิต และอิสรภาพทางการเงินในอนาคต การวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลนั้นจะเกี่ยวข้องกับเรื่องกิจกรรมทางการเงิน ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตคนเราที่จะต้องทำการเรียนรู้วิธีการหาเงินเลี้ยงชีพ และในขณะเดียวกันก็จะต้องเรียนรู้ถึงวิธีการออม การใช้จ่าย การลงทุน และการบริหารจัดการให้บรรลุถึงเป้าหมายทางการเงิน และเป้าหมายแห่งชีวิตที่ตนได้กำหนดไว้ และผลลัพธ์ที่ประสงค์คือ การมีชีวิตความเป็นอยู่ และลักษณะการใช้ชีวิตที่ดีขึ้นเป็นลำดับ
องค์ประกอบของแผนทางการเงิน ซึ่งเกิดจากการบูรณาการแผนทางการเงินในหลากหลายด้านเข้าด้วยกันที่ประกอบด้วย การจัดทำงบการเงิน งบประมาณส่วนบุคคลและการจัดการกระแสเงินสด การวางแผนการลงทุน การบริหารความเสี่ยงและการวางแผนการประกัน การวางแผนเพื่อวัยเกษียณ และการวางแผนภาษี
กระบวนการในการวางแผนทางการเงิน ประกอบด้วยขั้นตอนทั้งหมด 6 ขั้นตอน คือ
1. ศึกษาและวิเคราะห์ความต้องการและเป้าหมายของผู้รับคำปรึกษา
2. หลังจากนั้นจะต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูล
3. ซึ่งจะนำไปสู่กระบวนการวิเคราะห์ข้อมูล
4. เพื่อจัดทำและนำเสนอแผนทางการเงินต่อผู้ขอรับคำปรึกษา
5. ก่อนที่จะมีการนำแผนทางการเงินที่ผู้ขอรับคำปรึกษาเห็นชอบไปลงมือปฏิบัติ
6. ในกระบวนการสุดท้ายจะต้องมีการทบทวนและตรวจสอบแผนทางการเงินอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้แผนทางการเงินดังกล่าวทันสมัยและสอดคล้องกับปัจจัยแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
อย่างไรก็ตามในปัจจุบันบุคคลโดยส่วนใหญ่ละเลยและไม่ได้ให้ความสำคัญกับการวางแผนทางการเงินเท่าที่ควร ทั้งนี้เป็นผลเนื่องมาจากปัจจัยที่สำคัญ 2 ประการคือ ปัจจัยทางด้านสถานภาพหรือฐานะทางการเงิน และปัจจัยทางด้านความเชื่อและทัศนคติที่ผิด ทั้งนี้ การละเลยและไม่ได้ให้ความสำคัญกับการวางแผนทางการเงินอาจนำมาซึ่งผลเสียต่อบุคคลดังกล่าวทำให้ไม่สามารถบรรลุถึงเป้าหมายทางการเงินตามที่ต้องการได้ หรือในกรณีที่ร้ายแรงอาจก่อให้เกิดความสูญเสียทางการเงินหรือโอกาสในการหารายได้สำหรับการใช้จ่ายในการดำรงชีพทั้งของตัวเองและของผู้ที่อยู่ในอุปการะ นอกจากนี้ในระยะยาวอาจทำให้บุคคลดังกล่าวต้องประสบกับปัญหาความยากลำบากในการดำรงชีวิตในบั้นปลายภายหลังเกษียณอายุ
วัตถุประสงค์ของหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP ชุดวิชาที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวางแผนการเงิน มีดังนี้
- เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในภาพรวมของการวางแผนทางเงินที่ครอบคลุมถึง ความหมายและความสำคัญของการวางแผนทางการเงิน สาเหตุที่คนละเลยเรื่องการวางแผนทางการเงิน ผลกระทบอันเนื่องมาจากการละเลยเรื่องการวางแผนทางการเงิน และกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนทางการเงิน
- เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจองค์ประกอบของการวางแผนทางการเงิน
- เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจ กระบวนการวางแผนทางการเงิน
องค์ความรู้ของหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP ชุดวิชาที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวางแผนการเงิน มีดังนี้
- ความหมายและความสำคัญของการวางแผนทางการเงิน
- สาเหตุที่คนละเลยเรื่องการวางแผนทางการเงิน
- ผลกระทบอันเนื่องมาจากการละเลยเรื่องการวางแผนทางการเงิน
- กลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนทางการเงิน
- แผนทางการเงิน
- กระบวนการวางแผนทางการเงิน
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวางแผนการเงิน
การวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลมีบทบาทและความสำคัญที่ทำให้เกิดความมั่นคงทางการเงิน ความมั่นใจในการดำเนินชีวิต และอิสรภาพทางการเงินในอนาคต การวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลนั้นจะเกี่ยวข้องกับเรื่องกิจกรรมทางการเงิน ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตคนเราที่จะต้องทำการเรียนรู้วิธีการหาเงินเลี้ยงชีพ และในขณะเดียวกันก็จะต้องเรียนรู้ถึงวิธีการออม การใช้จ่าย การลงทุน และการบริหารจัดการให้บรรลุถึงเป้าหมายทางการเงิน และเป้าหมายแห่งชีวิตที่ตนได้กำหนดไว้ และผลลัพธ์ที่ประสงค์คือ การมีชีวิตความเป็นอยู่ และลักษณะการใช้ชีวิตที่ดีขึ้นเป็นลำดับ
องค์ประกอบของแผนทางการเงิน ซึ่งเกิดจากการบูรณาการแผนทางการเงินในหลากหลายด้านเข้าด้วยกันที่ประกอบด้วย การจัดทำงบการเงิน งบประมาณส่วนบุคคลและการจัดการกระแสเงินสด การวางแผนการลงทุน การบริหารความเสี่ยงและการวางแผนการประกัน การวางแผนเพื่อวัยเกษียณ และการวางแผนภาษี
กระบวนการในการวางแผนทางการเงิน ประกอบด้วยขั้นตอนทั้งหมด 6 ขั้นตอน คือ
1. ศึกษาและวิเคราะห์ความต้องการและเป้าหมายของผู้รับคำปรึกษา
2. หลังจากนั้นจะต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูล
3. ซึ่งจะนำไปสู่กระบวนการวิเคราะห์ข้อมูล
4. เพื่อจัดทำและนำเสนอแผนทางการเงินต่อผู้ขอรับคำปรึกษา
5. ก่อนที่จะมีการนำแผนทางการเงินที่ผู้ขอรับคำปรึกษาเห็นชอบไปลงมือปฏิบัติ
6. ในกระบวนการสุดท้ายจะต้องมีการทบทวนและตรวจสอบแผนทางการเงินอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้แผนทางการเงินดังกล่าวทันสมัยและสอดคล้องกับปัจจัยแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
อย่างไรก็ตามในปัจจุบันบุคคลโดยส่วนใหญ่ละเลยและไม่ได้ให้ความสำคัญกับการวางแผนทางการเงินเท่าที่ควร ทั้งนี้เป็นผลเนื่องมาจากปัจจัยที่สำคัญ 2 ประการคือ ปัจจัยทางด้านสถานภาพหรือฐานะทางการเงิน และปัจจัยทางด้านความเชื่อและทัศนคติที่ผิด ทั้งนี้ การละเลยและไม่ได้ให้ความสำคัญกับการวางแผนทางการเงินอาจนำมาซึ่งผลเสียต่อบุคคลดังกล่าวทำให้ไม่สามารถบรรลุถึงเป้าหมายทางการเงินตามที่ต้องการได้ หรือในกรณีที่ร้ายแรงอาจก่อให้เกิดความสูญเสียทางการเงินหรือโอกาสในการหารายได้สำหรับการใช้จ่ายในการดำรงชีพทั้งของตัวเองและของผู้ที่อยู่ในอุปการะ นอกจากนี้ในระยะยาวอาจทำให้บุคคลดังกล่าวต้องประสบกับปัญหาความยากลำบากในการดำรงชีวิตในบั้นปลายภายหลังเกษียณอายุ
วัตถุประสงค์ของหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP ชุดวิชาที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวางแผนการเงิน มีดังนี้
- เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในภาพรวมของการวางแผนทางเงินที่ครอบคลุมถึง ความหมายและความสำคัญของการวางแผนทางการเงิน สาเหตุที่คนละเลยเรื่องการวางแผนทางการเงิน ผลกระทบอันเนื่องมาจากการละเลยเรื่องการวางแผนทางการเงิน และกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนทางการเงิน
- เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจองค์ประกอบของการวางแผนทางการเงิน
- เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจ กระบวนการวางแผนทางการเงิน
องค์ความรู้ของหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP ชุดวิชาที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวางแผนการเงิน มีดังนี้
- ความหมายและความสำคัญของการวางแผนทางการเงิน
- สาเหตุที่คนละเลยเรื่องการวางแผนทางการเงิน
- ผลกระทบอันเนื่องมาจากการละเลยเรื่องการวางแผนทางการเงิน
- กลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนทางการเงิน
- แผนทางการเงิน
- กระบวนการวางแผนทางการเงิน