(ยาวนะ! เผื่อใครสนใจเรื่องการสอบและการวางแผนการเงินครับ)
.
สวัสดีครับเพื่อน ๆ ทุกคน แฮ่ ๆ ในที่สุดก็ได้ฤกษ์งามยามดีกับการรีวิวผลการสอบ CFP กันครับ! เกริ่นก่อนนะครับว่า CFP คือคุณวุฒินักวางแผนการเงินระดับสากล คล้าย ๆ กับใบการันตรีนิด ๆ ว่าคนนี้มีความรู้ ความสามารถเรื่องวางแผนการเงินในระดับสากลครับ! แต่จากที่ลองไปศึกษาหาข้อมูลมา ถึงแม้จะมีคำว่าสากล แต่หากย้ายไปทำงานที่ต่างประเทศอย่างอเมริกา ก็อาจจะต้องสอบใหม่ทั้งหมด หรือสอบภาษีใหม่ครับ เพราะพวกกฎหมายเกี่ยวกับสินทรัพย์ทางการเงิน ภาษี และมรดกไม่เหมือนกับที่ประเทศไทยนั่นเอง
.
และการสอบ CFP ของประเทศไทยประกอบไปด้วย 6 Module ครับ วันนี้ตูนจะมารีวิวการสอบ CFP Module ที่ 1 กันก่อนเลย โห สอบตั้งแต่ 10 ก.ค. 2565 ครับ โดยตูนได้ทุนสอบนะครับ เป็นทุนสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมเพื่อพัฒนาตลาดทุน (CMDF) ในโครงการยกระดับผู้แนะนำการลงทุน (IC) ครับ ต้องขอบคุณทุนนี้มากจริง ๆ ครับที่ทำให้เข้าใกล้เป้าหมาย CFP ได้เร็วกว่าเดิมมากเลย เพราะถ้าไปสอบเองค่าอบรมรวมสอบอยู่ราว ๆ 13,000 บาทต่อโมดูลกันเลยทีเดียว เลยชะงักไว้ก่อน รอเรียนจบทำงานแล้วมาสอบ แต่พอได้ทุนก็จัดเลย ขอบคุณมาก ๆ ค้าบ
.
มารีวิวเนื้อหาการสอบใน CFP Module 1 กันครับเนื้อหาในโมดูลนี้เหมือนปูพื้นฐานเรื่องการวางแผนการเงินเลยครับ พอเรียนจบแล้วคือหลงรักเรื่องนี้ และทำให้ไล่สอบ CFP มาเรื่อย ๆ เลย ถ้าใครอยากอัพสกิลการเงิน ที่ไม่ใช่แค่การลงทุน แต่คือทุกเรื่องของการเงินส่วนบุคคลตูนจะแนะนำให้สอบ CFP ครับ คุ้มมากก! ในนี้ก็จะสอบทั้งหมด 8 เรื่องด้วยกัน ไปดูกันดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง
1. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวางแผนการเงิน:
อันนี้ก็จะสอนตั้งแต่เบสิกเลยครับ ว่าทำไมเราถึงต้องวางแผนการเงิน? จำเป็นและสำคัญต่อชีวิตอย่างไร? ซึ่งพอมาเรียนก็ได้เห็นภาพรวมเรื่องการเงินส่วนบุคคลดีครับ (ไม่ได้ลงลึกและเทคนิคการสอบน๊า มารีวิวให้คนที่สนใจเห็นภาพรวมคร่าว ๆ ครับ)
2. เครื่องมือจัดการสภาพคล่องส่วนบุคคล:
อันนี้ก็ตื่นเต้นดีครับ ตอนฟังอาจารย์สอนว่าคนรวยเขาจัดการสภาพคล่องกันอย่างไร? พวกสินค้าทางการเงินของธนาคารที่เราน่าจะไม่มีโอกาสได้ใช้ พวกคนรวยเขาใช้ครับ 5555 พวกเช็ค พวก OD ต่าง ๆ น่าสนใจและสนุกมาก ๆ อันนี้สภาพคล่องสำคัญมากก เคยไหมรถพังแต่ไม่มีตังไปซ่อม นี่อาจจะบ่งบอกถึงเรื่องสภาพคล่องของคุณไม่ดีครับ
3. มูลค่าเงินตามเวลา:
อันนี้คือ The Best ที่ได้เรียนรู้จากการเรียนการวางแผนการเงินครับ เคยเห็นผ่านตา เคยเจอ แต่ไม่เคยเจาะลึก เลยไม่รู้ว่ามันสำคัญขนาดไหนครับ อันนี้ใช้ได้กับทุกเรื่องเลยตั้งแต่ชีวิตส่วนตัว การเงิน การลงทุนครับ มันเป็นเครื่องมือที่ทำให้เราเห็นว่าเวลานั้นเป็นสิ่งสำคัญมาก ๆ และหากใครลงทุนเวลาก็จะสร้างผลตอบแทนที่มหาศาลได้ด้วยเช่นกัน (แต่ %ผลตอบแทน, เงินต้น, เงินงวด, ก็สำคัญนะ แต่ชอบเรื่องเวลามากกว่า ><)
4. การรวบรวมข้อมูลทางการเงินส่วนบุคคล:
เหมือนถ้าคนอยากเป็นนักวางแผนการเงินต้องพูดเก่งด้วยนะ ต้องทำให้คนที่เข้ามาปรึกษาเรื่องการเงินเปิดใจคุยกับเรา และบอกข้อมูลทางการเงินให้เราได้รู้ครับ เพราะวางแผนการเงินทีนึงแทบจะอยู่ด้วยกันไปจนชีวิต ๆ นึงเลย นี่ก็เป็นอีกเหตุผลที่ทำให้ผมตกหลุมรักอาชีพนี้ครับ น่าสนุกดี
5. การวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินส่วนบุคคล:
หลังจากได้ข้อมูลทางการเงินของคนที่มาปรึกษาเรียบร้อยแล้ว เราก็จะมาวิเคราะห์กันครับว่าสุขภาพการเงินเขาดีไหม หากไม่ดีเราทำให้เขาดีขึ้นได้อย่างไร? หนี้สินหนักเกินไปไหม สภาพคล่องพอหรือเปล่า หรือแม้แต่เรื่องการออม การลงทุน ว่าดีไหม? ก็อยู่ในขั้นตอนการวิเคราะห์ด้วยครับ
6. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา:
ยากส์ 5555 คือคนที่ไม่เคยรู้เรื่องภาษี มาเจอภาษี = งงครับ ภาษีบุคคลธรรมดาก็อัตราก้าวหน้าเนาะ แต่ที่เขาออกสอบก็จะมีพวก แหล่งเงินได้ กฎเกณฑ์ต่าง ๆ เงินได้ยกเว้นอะไรพวกนี้ครับ (เน้นท่องจำ แต่ตอนนั้นฝึกงานแทบไม่ได้อ่านเลย เกือบทำไม่ได้><)
7. จรรยาบรรณและความรับผิดชอบของนักวางแผนการเงิน:
สอบจรรยาบรรณด้วยครับของนักวางแผนการเงิน ว่าข้อห้าม อะไรไม่ควรทำ อะไรควรทำ มาครบครับ ก็ทำให้เห็นว่าการวางแผนการเงินก็ต้องมีจรรยาบรรณทั้งต่อตนเอง ผู้รับคำปรึกษา และเพื่อนร่วมงานครับ ทำให้สังคมของนักวางแผนการเงินมีความน่าเชื่อถือครับ
8. มาตรฐานการปฏิบัติสำหรับนักวางแผนทางการเงิน:
บทนี้เกี่ยวกับแนวทางการปฎิบัติงานน่าจะออกไม่กี่ข้อครับ ทำให้เราเห็นว่าควรปฎิบัติตนอย่างไรให้มืออาชีพที่สุดนั่นเอง
.
ถือว่าเปิดโลกมาก ๆ ครับสำหรับการอบรมและการสอบครั้งนี้สู่โลกการวางแผนการเงิน ต้องขอขอบคุณทุนที่ได้จากโครงการนี้มาก ๆ ด้วยครับที่ทำให้เรามีโอกาสได้เข้าไปอบรมและทำให้เกิดความชอบ ต้องบอกว่าตอนแรกที่เข้ามาเรียนมหาลัยสาขาเกี่ยวกับการเงินเพราะว่าอยากรวยจากการลงทุน แต่พอเจอเรื่องการวางแผนการเงินไป ก็เปลี่ยนเป็นทำอย่างไรให้เรามั่งคั่งในทุก ๆ ด้านของชีวิตแทนครับ จัดการความเสี่ยง วางแผนการลงทุน วางแผนการเกษียณ ถือว่ามุมมองได้เปลี่ยนไปเลย
.
ขอบคุณที่อ่านจนจบนะครับ เดี๋ยวหากมีเวลาว่างจะมาแชร์ประสบการณ์ CFP M.2 (New) การวางแผนการลงทุน (ฉบับปรับปรุง) Module นี้ก็เป็นอีกหนึ่ง Module ที่สนุกมาก ๆ เช่นกันและสอบผ่านทีได้ IP License + AFPT เลยครับ รอติดตามได้เลยย
รีวิวชีวิตที่ก้าวเข้าสู่โลกการเงินและการสอบ CFP Module 1 พื้นฐานการวางแผนการเงิน
(ยาวนะ! เผื่อใครสนใจเรื่องการสอบและการวางแผนการเงินครับ)
.
สวัสดีครับเพื่อน ๆ ทุกคน แฮ่ ๆ ในที่สุดก็ได้ฤกษ์งามยามดีกับการรีวิวผลการสอบ CFP กันครับ! เกริ่นก่อนนะครับว่า CFP คือคุณวุฒินักวางแผนการเงินระดับสากล คล้าย ๆ กับใบการันตรีนิด ๆ ว่าคนนี้มีความรู้ ความสามารถเรื่องวางแผนการเงินในระดับสากลครับ! แต่จากที่ลองไปศึกษาหาข้อมูลมา ถึงแม้จะมีคำว่าสากล แต่หากย้ายไปทำงานที่ต่างประเทศอย่างอเมริกา ก็อาจจะต้องสอบใหม่ทั้งหมด หรือสอบภาษีใหม่ครับ เพราะพวกกฎหมายเกี่ยวกับสินทรัพย์ทางการเงิน ภาษี และมรดกไม่เหมือนกับที่ประเทศไทยนั่นเอง
.
และการสอบ CFP ของประเทศไทยประกอบไปด้วย 6 Module ครับ วันนี้ตูนจะมารีวิวการสอบ CFP Module ที่ 1 กันก่อนเลย โห สอบตั้งแต่ 10 ก.ค. 2565 ครับ โดยตูนได้ทุนสอบนะครับ เป็นทุนสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมเพื่อพัฒนาตลาดทุน (CMDF) ในโครงการยกระดับผู้แนะนำการลงทุน (IC) ครับ ต้องขอบคุณทุนนี้มากจริง ๆ ครับที่ทำให้เข้าใกล้เป้าหมาย CFP ได้เร็วกว่าเดิมมากเลย เพราะถ้าไปสอบเองค่าอบรมรวมสอบอยู่ราว ๆ 13,000 บาทต่อโมดูลกันเลยทีเดียว เลยชะงักไว้ก่อน รอเรียนจบทำงานแล้วมาสอบ แต่พอได้ทุนก็จัดเลย ขอบคุณมาก ๆ ค้าบ
.
มารีวิวเนื้อหาการสอบใน CFP Module 1 กันครับเนื้อหาในโมดูลนี้เหมือนปูพื้นฐานเรื่องการวางแผนการเงินเลยครับ พอเรียนจบแล้วคือหลงรักเรื่องนี้ และทำให้ไล่สอบ CFP มาเรื่อย ๆ เลย ถ้าใครอยากอัพสกิลการเงิน ที่ไม่ใช่แค่การลงทุน แต่คือทุกเรื่องของการเงินส่วนบุคคลตูนจะแนะนำให้สอบ CFP ครับ คุ้มมากก! ในนี้ก็จะสอบทั้งหมด 8 เรื่องด้วยกัน ไปดูกันดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง
1. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวางแผนการเงิน:
อันนี้ก็จะสอนตั้งแต่เบสิกเลยครับ ว่าทำไมเราถึงต้องวางแผนการเงิน? จำเป็นและสำคัญต่อชีวิตอย่างไร? ซึ่งพอมาเรียนก็ได้เห็นภาพรวมเรื่องการเงินส่วนบุคคลดีครับ (ไม่ได้ลงลึกและเทคนิคการสอบน๊า มารีวิวให้คนที่สนใจเห็นภาพรวมคร่าว ๆ ครับ)
2. เครื่องมือจัดการสภาพคล่องส่วนบุคคล:
อันนี้ก็ตื่นเต้นดีครับ ตอนฟังอาจารย์สอนว่าคนรวยเขาจัดการสภาพคล่องกันอย่างไร? พวกสินค้าทางการเงินของธนาคารที่เราน่าจะไม่มีโอกาสได้ใช้ พวกคนรวยเขาใช้ครับ 5555 พวกเช็ค พวก OD ต่าง ๆ น่าสนใจและสนุกมาก ๆ อันนี้สภาพคล่องสำคัญมากก เคยไหมรถพังแต่ไม่มีตังไปซ่อม นี่อาจจะบ่งบอกถึงเรื่องสภาพคล่องของคุณไม่ดีครับ
3. มูลค่าเงินตามเวลา:
อันนี้คือ The Best ที่ได้เรียนรู้จากการเรียนการวางแผนการเงินครับ เคยเห็นผ่านตา เคยเจอ แต่ไม่เคยเจาะลึก เลยไม่รู้ว่ามันสำคัญขนาดไหนครับ อันนี้ใช้ได้กับทุกเรื่องเลยตั้งแต่ชีวิตส่วนตัว การเงิน การลงทุนครับ มันเป็นเครื่องมือที่ทำให้เราเห็นว่าเวลานั้นเป็นสิ่งสำคัญมาก ๆ และหากใครลงทุนเวลาก็จะสร้างผลตอบแทนที่มหาศาลได้ด้วยเช่นกัน (แต่ %ผลตอบแทน, เงินต้น, เงินงวด, ก็สำคัญนะ แต่ชอบเรื่องเวลามากกว่า ><)
4. การรวบรวมข้อมูลทางการเงินส่วนบุคคล:
เหมือนถ้าคนอยากเป็นนักวางแผนการเงินต้องพูดเก่งด้วยนะ ต้องทำให้คนที่เข้ามาปรึกษาเรื่องการเงินเปิดใจคุยกับเรา และบอกข้อมูลทางการเงินให้เราได้รู้ครับ เพราะวางแผนการเงินทีนึงแทบจะอยู่ด้วยกันไปจนชีวิต ๆ นึงเลย นี่ก็เป็นอีกเหตุผลที่ทำให้ผมตกหลุมรักอาชีพนี้ครับ น่าสนุกดี
5. การวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินส่วนบุคคล:
หลังจากได้ข้อมูลทางการเงินของคนที่มาปรึกษาเรียบร้อยแล้ว เราก็จะมาวิเคราะห์กันครับว่าสุขภาพการเงินเขาดีไหม หากไม่ดีเราทำให้เขาดีขึ้นได้อย่างไร? หนี้สินหนักเกินไปไหม สภาพคล่องพอหรือเปล่า หรือแม้แต่เรื่องการออม การลงทุน ว่าดีไหม? ก็อยู่ในขั้นตอนการวิเคราะห์ด้วยครับ
6. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา:
ยากส์ 5555 คือคนที่ไม่เคยรู้เรื่องภาษี มาเจอภาษี = งงครับ ภาษีบุคคลธรรมดาก็อัตราก้าวหน้าเนาะ แต่ที่เขาออกสอบก็จะมีพวก แหล่งเงินได้ กฎเกณฑ์ต่าง ๆ เงินได้ยกเว้นอะไรพวกนี้ครับ (เน้นท่องจำ แต่ตอนนั้นฝึกงานแทบไม่ได้อ่านเลย เกือบทำไม่ได้><)
7. จรรยาบรรณและความรับผิดชอบของนักวางแผนการเงิน:
สอบจรรยาบรรณด้วยครับของนักวางแผนการเงิน ว่าข้อห้าม อะไรไม่ควรทำ อะไรควรทำ มาครบครับ ก็ทำให้เห็นว่าการวางแผนการเงินก็ต้องมีจรรยาบรรณทั้งต่อตนเอง ผู้รับคำปรึกษา และเพื่อนร่วมงานครับ ทำให้สังคมของนักวางแผนการเงินมีความน่าเชื่อถือครับ
8. มาตรฐานการปฏิบัติสำหรับนักวางแผนทางการเงิน:
บทนี้เกี่ยวกับแนวทางการปฎิบัติงานน่าจะออกไม่กี่ข้อครับ ทำให้เราเห็นว่าควรปฎิบัติตนอย่างไรให้มืออาชีพที่สุดนั่นเอง
.
ถือว่าเปิดโลกมาก ๆ ครับสำหรับการอบรมและการสอบครั้งนี้สู่โลกการวางแผนการเงิน ต้องขอขอบคุณทุนที่ได้จากโครงการนี้มาก ๆ ด้วยครับที่ทำให้เรามีโอกาสได้เข้าไปอบรมและทำให้เกิดความชอบ ต้องบอกว่าตอนแรกที่เข้ามาเรียนมหาลัยสาขาเกี่ยวกับการเงินเพราะว่าอยากรวยจากการลงทุน แต่พอเจอเรื่องการวางแผนการเงินไป ก็เปลี่ยนเป็นทำอย่างไรให้เรามั่งคั่งในทุก ๆ ด้านของชีวิตแทนครับ จัดการความเสี่ยง วางแผนการลงทุน วางแผนการเกษียณ ถือว่ามุมมองได้เปลี่ยนไปเลย
.
ขอบคุณที่อ่านจนจบนะครับ เดี๋ยวหากมีเวลาว่างจะมาแชร์ประสบการณ์ CFP M.2 (New) การวางแผนการลงทุน (ฉบับปรับปรุง) Module นี้ก็เป็นอีกหนึ่ง Module ที่สนุกมาก ๆ เช่นกันและสอบผ่านทีได้ IP License + AFPT เลยครับ รอติดตามได้เลยย