รีวิวสอบ CFP M.2 (New) ฉบับปรับปรุงใหม่ สอบครั้งเดียวได้คุณวุฒิ Investment Planner (IP) และ AFPT™ กันเลยทีเดียว!
.
จำนวนผู้เข้าสอบ 60 คน ผ่าน 14 คน (23%) กับข้อสอบ 120 ข้อ เวลาสอบ 4 ชั่วโมงครับ (ยาวนะครับ เผื่อใครสนใจสอบเป็นนักวางแผนการเงิน หรือทำสายอาชีพการเงินครับ)
.
สวัสดีครับเพื่อน ๆ ทุกคน หลังจากที่รีวิวสอบ CFP M.1 ไป ใครยังไม่อ่านอ่านได้ที่นี่นะครับ:
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้https://www.facebook.com/wealthblossoms/posts/pfbid0DgqsEx75YbRbGDemqnkJ12e4WLy3pXFMJK87yRbFq42h2f8Dm7aQ1riDKrmw7Vkwl
วันนี้ก็ได้ฤกษ์งามยามดีมารีวิวสอบ CFP M.2 (New) หรือการสอบวางแผนการลงทุน (ฉบับปรับปรุง) กันครับ
.
เหมือนเดิมครับตูนได้ทุนเป็นทุนต่อเนื่องได้หลังจากที่สอบ M.1 ผ่านครับ จาก กองทุนส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุน (CMDF) ในโครงการยกระดับผู้แนะนำการลงทุน (IC) ขอบคุณมาก ๆ อีกเช่นเคยครับ ที่ทำให้เราได้อบรมแบบฟรี ๆ เพราะหากจ่ายเงินเอง + ค่าสอบ เกือบ 20,000 แหน่ะ (โหดร้ายมากก 😭) โดยอบรมกับสถาบัน ATI และผศ.อัยย์ญาดา (อ.อู๋) เป็นผู้สอนครับ สอนดีมากกก แนะนำเลย เปลี่ยนเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่ายสุด ๆ
.
ข้อดีของการสอบ การวางแผนการลงทุน (ฉบับปรับปรุง) คือสอบทีเดียวได้ IC Plain , IC Complex 2, และ IC Complex 3 ครับ ซึ่งพอตูนสอบผ่านปุ้บ เอาไปรวมกับ CFP M.1 ที่เคยสอบผ่านแล้ว ก็กลายเป็นว่าสอบแค่ 2 ตัวเท่านั้น ตูนได้คุณวุฒิ IP (นักวางแผนการลงทุน) + AFPT™ (ที่ปรึกษาการเงินด้านการลงทุน) เลยครับ คุ้มค่ามาก ๆ เลย ปกติต้องสอบประมาณ 5 อย่างถึงจะได้คุณวุฒินี้ แต่ตูนสอบ 2 อย่างได้มาเลยครับ (เป็นรุ่นแรกด้วยที่ได้สอบคุณวุฒินี้ สอบคาบเกี่ยวช่วงเขาปรับหลักสูตรพอดี โชคดีมาก ๆ ครับ)
.
แต่นอกจากข้อดีแล้วก็มีความโหดร้ายครับ ผมเริ่มอบรม 29 ต.ค. 2565 - 20 พ.ย. 2565 ครับ วันเสาร์ - อาทิตย์ (4 สัปดาห์ติด วันละ 8 ชั่วโมง โหดร้ายมาก) เรียนจันทร์ - ศุกร์ อบรมต่ออีก สมองเบลอกันไปเลย แทบไม่ได้พักครับ 555 แต่พอสอบผ่านแล้วโล่งใจมาก เพราะคุ้มจริง ๆ โดยจริง ๆ กว่าจะสอบหลังอบรมเสร็จคือ 19 มี.ค. 2566 เลยครับ
จริง ๆ มีเวลาเตรียมตัวเยอะมากเพื่อให้เข้าใจหลักสูตร + เนื้อหา แต่ผมทำอะไรอยู่ไม่รู้ (555+) มาอ่านจริงจังตอน 1 ก.พ. 2566 นี่เองครับ ทำให้มีเวลาเตรียมตัวแค่เดือนครึ่งเอง + หนังสือที่ทางสถาบันอบรมให้มาเกือบ 1,500 หน้าครับ ! เกือบจำได้ไม่หมด (TT)
.
มาเริ่มในส่วนของเนื้อหากันครับ ว่ามีออกสอบอะไรบ้าง กับ 120 ข้อ เวลาสอบ 4 ชั่วโมง (ไม่แน่ใจว่ามากหรือน้อยไปไหม แต่ทุกโมดูลตั้งแต่ 1 - 5 ผมออกห้องสอบตอนเวลาหมดตลอดด ทำทันแบบเกือบไม่ทันครับ 555)
ถ้าใครเคยสอบ IC มาแล้วเนื้อหาคล้ายกันเป็นส่วนใหญ่เลยครับ น่าจะง่ายขึ้นนะ (แต่คนที่สอบ IC มาแล้วแนะนำสอบฉบับเก่าน่าจะคุ้มกว่านะครับ เนื้อหาน้อยลง ไม่ต้องจำเยอะครับ)
.
อันนี้เป็นรายละเอียดเนื้อหาบทที่ 1 - 4 ครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้1. ตลาดการเงิน:
อันนี้เป็นบทเรียนเกี่ยวกับภาพรวมของโลกการเงินครับ ทำให้เราเห็นภาพรวมกว้าง ๆ ของเศรษฐกิจทั้งหมดเลย ตั้งแต่ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคครัวเรือน ว่ามีความเกี่ยวเนื่องกันอย่างไร? ช่วยกันพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศได้อย่างไรครับ ประสิทธิภาพของตลาดเอย การระดมเงินทุนเอย พอเรียนจบปุ้บโอเคทุกอย่างเชื่อมกันหมดเลย โลกการเงินน่าสนใจจริง ๆ ครับ
.
2. ความเสี่ยงด้านผลตอบแทนและการลงทุน:
อันนี้ทำให้เราสามารถคำนวณอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนได้ครับ ตั้งแต่ กำไรส่วนต่าง (Capital Gain), กำไรจากปันผล คาดหวังผลตอบแทนจากการลงทุนเท่าไหร่ E(R), HPR, AM, GM, กำไรปราศจากผลตอบแทนควเมเสี่ยงเอย มาครบ
ทำให้เราสามารถคำนวณผลลัพธ์ที่เราลงทุนไปได้ครับว่าคุ้มไหม กับความเสี่ยงที่เราจะเจอตั้งแต่ Coefficiant of variation, Variance, S.D. , CAPM เอย ตอนเรียนก็เข้าใจนะ ตอนนี้ลืมหมดละครับ 5555 อันนี้สูตรเยอะเลย และต้องเข้าใจตั้งแต่ตรงนี้ครับ เพราะหลังจากบทที่ 2 แล้ว ไปจนถึงบทสุดท้าย ใช้หมดครับ แต่จำได้ ไม่ยากมาก ๆ สิ่งสำคัญคือเครื่องคิดเลขการเงินครับใช้ให้แม่น ๆ จริง ๆ ผมก็จำสูตรไม่ได้นะ แต่จำวิธีกดเครื่องคิดเลขได้ ทำให้มันง่ายขึ้นเลยอะ
.
3. การวิเคราะห์หลักทรัพย์โดยใช้ปัจจัยพื้นฐานและปัจจัยทางเทคนิค:
บทนี้เราจะมาเจาะลึกกันที่การวิเคราะห์หลักทรัพย์ครับ ปัจจัยพื้นฐานก็เศรษฐ-อุต-บอ ซึ่งตอนที่อาจารย์สอนก็เจาะไปอีกนะ เช่น นโยบายการเงิน การคลัง ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ หรือหลักทรัพย์อื่น ๆ อย่างไร อุตสาหกรรมไหนจะได้ประโยชน์ วัฎจักรอุตสหากรรม Five Force Model, PESTLE แล้วเราก็ไล่ลงมาที่บริษัทตั้งแต่ งบกำไรขาดทุน งบกระแสเงินสดเอย
สอนให้เราเข้าใจคอนเซปต์คร่าว ๆ ครับ แต่ผมว่าไม่ได้เจาะลึกระดับคนที่สอบ CISA, AISA ครับ เพราะนักวางแผนการเงินน่าจะทำให้เห็นภาพรวมกว้าง ๆ แล้วถ้าวิเคราะห์หลักทรัพย์จริงจัง ก็อาจจะเป็นอีกส่วนครับ (นักวางแผนการเงิน ร่วมมือ กับคนที่วิเคราะห์หลักทรัพย์เก่ง ๆ อีกเจ๋งเลยครับ) แต่การมีความเข้าใจตรงนี้เป็นพื้นฐานก็ดีเช่นกันครับ ผมได้เรียนจากตรงนี้เลย อีกเรื่องคือปัจจัยทางเทคนิค เช่น ทฤษฎีดาว EMA ต่าง ๆ ไม่ลึกมากครับเทคนิค เห็นว่าในปัจจุบันมีหลายเทคนิคเลย กราฟแพทเทิร์นต่าง ๆ แต่ที่อบรมนี้สอนไม่เยอะครับ สอนตัวดัง ๆ หน่อย
.
4. ผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่ไม่มีความซับซ้อน (Plain Products) และการประเมินมูลค่า:
คือต้องบอกก่อนว่าผมไม่เคยสอบ IC นะครับ แต่เข้าใจว่าอันนี้เนื้อหาคล้าย IC Plain เลย เพราะเขารวบยอด IC ทุกอย่าง มาออกสอบเป็นฉบับปรับปรุง M.2 อันนี้ครับ ซึ่งผมก็ไปดูข้อสอบเก่า ๆ ของ IC Plain พบว่าเนื้อหาคล้ายกัน 80% เลยครับ เป็นการให้เรารู้เกี่ยวกับ Plain Product ความหมายของหุ้น, ตราสารหนี้เอย, กองทุนรวม, DW, Warrant วิธีหาผลตอบแทน ความเสี่ยงที่เจาะลึกลงไปอีกมากกว่าบทที่ 2 ครับ การวิเคราะห์ Warrant, ต่าง ๆ การที่บริษัท Action ต่าง ๆ ส่งผลกระทบต่อหุ้นอย่างไร เช่น การเพิ่มทุน การปันผลหุ้น ซื้อหุ้นคืน และอื่น ๆ เยอะมว้าก ในบทนี้เราก็จะได้เรียนรู้ทุกผลิตภัณฑ์ของ Plain ครับ
รายละเอียดเนื้อหาบทที่ 5 - 12:
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้5. ผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูง หรือความซับซ้อน (Complex Product):
มาต่อครับอันนี้น่าจะเนื้อหาคล้ายกับ IC Complex 2 80% เช่นกันครับ เป็นการทำให้เรารู้จักตราสารหนี้ที่มีความซับซ้อน กับกองทุนรวมที่มีความซับซ้อน เอ๊ะ ซับซ้อนยังไง? คือน้องเขาจะมีการจ่ายผลตอบแทนที่ค่อนข้างงงครับเลยเรียกว่าซับซ้อน เช่น ตราสารหนี้ที่คล้ายตราสารทุน ที่เลื่อนจ่ายดอก งดจ่ายดอก หรืองดสิทธิการชำระคืนได้ หรือหุ้นกู้อนุพันธ์ที่เอาตัวเองไปผูกไว้กับสินทรัพย์อื่น ๆ อีกทีเช่น ผูกไว้กับดัชนี SET50, ทองคำ, น้ำมัน อะไรประมาณนี้ครับ ทั้งการคำนวณผลตอบแทนก็ซับซ้อน แถมยังเสี่ยงสูงอีก
ทำให้ก่อนลงทุนต้องมีความเข้าใจมาก ๆ ครับ พวกกองทุนรวมเสี่ยงสูงทั้งหลายก็อยู่ในหมวดนี้ด้วย เช่น กองทุนรวมที่ไปลงใน future ลงทุนสินค้าโภคภัณฑ์ต่าง ๆ ครับ ต้องทำความเข้าใจ
.
6. การลงทุนทางเลือกและการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ:
บทนี้เป็นการอธิบายถึงการลงทุนทางเลือกอื่น เช่น ทองคำ อสังหาริมทรัพย์ ข้อดี ข้อเสียเอย การเช่า กับ การซื้อแตกต่างกันอย่างไร ก่อนเลือกอสังหาริมทรัพย์ ต้องดูอะไรบ้าง เช่น ดูหน้าดิน ดูทำเล เออมันสนุกนะครับ ตอนเรียน 5555 แต่พอเรียนจบมาทำความเข้าใจเองงง แล้วทองคำนี่ก็งงครับ
[ แต่สรุปมาได้คร่าว ๆ (ผิดแจ้งได้นะผมลืมแล้วว) คนไทยที่ลงทุนทองคำจะขาดทุนหรือได้กำไรเสมอ เพราะทองคำซื้อขายกันที่สกุล USD เช่น เราซื้อทองคำแท่ง 1 ในสกุลเงินบาท ถ้าราคาทองคำขึ้น USD ก็จะลง ถ้า USD ลง บาทก็จะแข็ง ทำให้ได้กำไรน้อยลงมั้ง เนี่ยผมก็งงละ ลืมแล้วอะ ใครมาต่อได้ต่อนะครับ 55555 ]
สรุปแล้วบทนี้พูดถึงสินทรัพย์ทางเลือกอื่นครับ Hedge Fund, ETF อื่นก็มี ไม่ได้มีแค่หุ้น ตราสารหนี้เท่านั้นน้าา
.
7. สัญญาซื้อขายล่วงหน้า:
อันนี้ให้เหมือน IC Complex 3 90% เลยครับ เป็นการทำความเข้าใจสินทรัพย์ future สูตรมาเต็ม price discovory (arbitage) เอยย Future ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง เป็น zero sum game ใช่หรือไม่ มีลักษณะหรือประเภทอะไรบ้าง ตั้งแต่ forward, future, swap, option ต่างๆ การกำหนดราคากำหนดยังไง Cost of carrying model, Cash and Carry, Reverse คือยากมากกนี่ขนาดสอนแค่คอนเซปต์นะครับ ยอมใจคนที่ไปสอบแนววิเคราะห์หลักทรัพย์เลย เก่งกันมาก ๆ ครับ ยากจริง ๆ แต่โชคดีมากที่ผ่านมาได้ฮ่า ๆ
.
8. การจัดสรรสินทรัพย์ลงทุน:
เย้! ในที่สุดก็จบกับเรื่องโปรดักส์สักที อันนี้ก็จะเข้าสู่พาร์ทของนักวางแผนการเงินแล้วครับ เมื่อเรามีความรู้ในเรื่องของโปรดักส์ และเข้าใจภาพรวมว่าโลกการเงินทำงานอย่างไรแล้ว เราก็ต้องมารู้จักกับการวางแผนการลงทุนให้ได้มีประสิทธิภาพที่สุด
ในหัวข้อนี้ผมชอบมาก คืออาจารย์สอน เป็นวิจัยที่ผลสรุปออกมาว่าในระยะยาวการลงทุนที่ประสบความสำเร็จที่สุดคือการ Asset Allocation ครับ เราเลยต้องมีการจัดสรรการลงทุนให้ดีที่สุด ตั้งแต่คำนวณผลตอบแทนและความเสี่ยง ช่วงอายุ เป้าหมายการลงทุน เราถึงจะจัดพอร์ตการลงทุนได้ครับ แล้วพอร์ตนี่ก็มีตั้งแต่ระยะสั้น กลาง ยาว เราต้องเลือกให้เหมาะกับเป้าหมาย 1 พอร์ตไม่สามารถตอบโจทย์ทุกเป้าหมายได้นั่นเอง
.
9. กลยุทธ์การบริหารกลุ่มหลักทรัพย์:
พอเราจัดพอร์ตเสร็จแล้วแบบปัง ๆ เลยใช่ไหม เราก็ต้องมาบริหารพอร์ตของเราให้มีประสิทธิภาพครับ อันนี้เราก็จะเรียนทฤษฎีของ Markowitz ด้วยเจ้าพ่อทฤษฎีเส้น Efficient Frontier คือเราต้องเลือกผลตอบแทนให้สูงที่สุด ในความเสี่ยงที่เท่ากัน นั่นเอง ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไปพอร์ตที่เราเคยจัดไว้อาจจะดีมาก ๆ แต่อะไรก็ไม่แน่นอนครับ อาจจะมีอะไรมากระทบเศรษฐกิจ หรือบริษัทที่เราลงทุนอยู่ ดังนั้นการปรับเปลี่ยนส่วนผสมในพอร์ตก็สำคัญไม่แพ้กันนะ บทนี้ก็สูตรเยอะครับ (แต่บทนี้ไม่น่าจะได้คำนวณอะไรครับ เป็นกลยุทธ์ เขาถามมาเราก็ตอบไป ถ้าจำได้สบาย ๆ ครับ)
.
10. การติดตามและปรับปรุงกลุ่มหลักทรัพย์:
หลังจากที่เราจัดพอร์ตได้ บริหารพอร์ตเป็น ที่นี้แหละ บทนี้เป็นการเอาทุกบทมารวมกันครับ (โหดร้ายTT) เราก็ต้องมาวัดผลกันแล้วว่าพอร์ตที่เราจัดไว้ผลตอบแทนดีไหม มีประสิทธิภาพหรือเปล่าครับ เริ่มตั้งแต่การหาผลตอบแทน การปรับสมดุลพอร์ต (Portfolio Balancing) ปรับตอนไหน เมื่อไหร่ ยังไง? การประเมินโดยใช้มาตรวัดตั้งแต่ Sharp, Treynor, Jensen, Appraisal Ratio ครับบทนี้ได้คะแนนน้อยที่สุดเลย ดังนั้นต้องจำสูตรให้ได้ครับ (ส่วนตัวจำไม่ได้อิอิ)
.
11. การบริหารความมั่งคั่งและการเงินเชิงพฤติกรรม:
อันนี้เป็นบทใหม่ที่เพิ่มเข้ามา แบบใหม่เลย ชอบมาก ผมชอบเรื่องจิตวิทยาอยู่แล้วครับ บทนี้จะสอนเกี่ยวกับว่าคนที่เขาลงทุนอยู่ เขาขาดทุน แต่ทำไมไม่กล้าขายหุ้นที่ขาดทุนสักที การเงินเชิงพฤติกรรมอื่น ๆ ที่เราเจอได้ทั่วไปครับ เช่น คนที่ได้รับข้อมูลมาผิด ๆ แล้วลงทุนโดยความเชื่อเดิม ทำให้ขาดทุนหนักแม้สภาพเศรษฐกิจ หรือบริษัทจะเปลี่ยนไปแล้ว, ความผิดพลาดทางอารมณ์กลัวที่จะ FOMO อันนี้ก็เป็นแนวจิตวิทยาอธิบายการกระทำหน่อยครับ
ส่วนการบริหารความมั่งคั่งเขาจะสอนให้เราเห็นว่าคนที่เป็น CFP เขาทำงานกันเพื่ออะไร สอดคล้องกับเป้าหมายทางการเงินของลูกค้าอย่างไรครับ
(ส่วนตัวบทนี้เป็นบทที่เก็บคะแนนได้ 100% เลยนะครับ เป็นบทถามตอบ จำได้ ตอบได้ ครับ ซึ่งโดนอาจารย์แกล้ง อ. บอกน่าจะออกไม่เยอะเพราะใหม่ แต่ออกเยอะอยู่นะครับเกือบ 10 กว่าข้อ แล้วผมจำการเงินเชิงพฤติกรรมที่เป็นภาษาอังกฤษไม่ได้ คือให้ภาษาอังกฤษมาแล้วแปลเป็นไทยเลย ทำคะแนนได้ง่ายครับ ><)
.
12. แนวทางปฏิบัติสำหรับผู้ทำหน้าที่ติดต่อกับผู้ลงทุน:
อันนี้ IC Plain 100% ครับ จรรยาบรรณเดียวกันเลย อ่านหนังสือเล่มเดียวกันครับ จำได้สอบได้ครับบทนี้ ผมผิดไป 1 ข้อ ระวังเรื่องโจทย์หลอกด้วยน๊าา
รีวิวสอบ CFP M.2 (New) ฉบับปรับปรุงใหม่ สอบครั้งเดียวได้คุณวุฒิ Investment Planner (IP) และ AFPT™ กันเลยทีเดียว!
.
จำนวนผู้เข้าสอบ 60 คน ผ่าน 14 คน (23%) กับข้อสอบ 120 ข้อ เวลาสอบ 4 ชั่วโมงครับ (ยาวนะครับ เผื่อใครสนใจสอบเป็นนักวางแผนการเงิน หรือทำสายอาชีพการเงินครับ)
.
สวัสดีครับเพื่อน ๆ ทุกคน หลังจากที่รีวิวสอบ CFP M.1 ไป ใครยังไม่อ่านอ่านได้ที่นี่นะครับ:
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
วันนี้ก็ได้ฤกษ์งามยามดีมารีวิวสอบ CFP M.2 (New) หรือการสอบวางแผนการลงทุน (ฉบับปรับปรุง) กันครับ
.
เหมือนเดิมครับตูนได้ทุนเป็นทุนต่อเนื่องได้หลังจากที่สอบ M.1 ผ่านครับ จาก กองทุนส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุน (CMDF) ในโครงการยกระดับผู้แนะนำการลงทุน (IC) ขอบคุณมาก ๆ อีกเช่นเคยครับ ที่ทำให้เราได้อบรมแบบฟรี ๆ เพราะหากจ่ายเงินเอง + ค่าสอบ เกือบ 20,000 แหน่ะ (โหดร้ายมากก 😭) โดยอบรมกับสถาบัน ATI และผศ.อัยย์ญาดา (อ.อู๋) เป็นผู้สอนครับ สอนดีมากกก แนะนำเลย เปลี่ยนเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่ายสุด ๆ
.
ข้อดีของการสอบ การวางแผนการลงทุน (ฉบับปรับปรุง) คือสอบทีเดียวได้ IC Plain , IC Complex 2, และ IC Complex 3 ครับ ซึ่งพอตูนสอบผ่านปุ้บ เอาไปรวมกับ CFP M.1 ที่เคยสอบผ่านแล้ว ก็กลายเป็นว่าสอบแค่ 2 ตัวเท่านั้น ตูนได้คุณวุฒิ IP (นักวางแผนการลงทุน) + AFPT™ (ที่ปรึกษาการเงินด้านการลงทุน) เลยครับ คุ้มค่ามาก ๆ เลย ปกติต้องสอบประมาณ 5 อย่างถึงจะได้คุณวุฒินี้ แต่ตูนสอบ 2 อย่างได้มาเลยครับ (เป็นรุ่นแรกด้วยที่ได้สอบคุณวุฒินี้ สอบคาบเกี่ยวช่วงเขาปรับหลักสูตรพอดี โชคดีมาก ๆ ครับ)
.
แต่นอกจากข้อดีแล้วก็มีความโหดร้ายครับ ผมเริ่มอบรม 29 ต.ค. 2565 - 20 พ.ย. 2565 ครับ วันเสาร์ - อาทิตย์ (4 สัปดาห์ติด วันละ 8 ชั่วโมง โหดร้ายมาก) เรียนจันทร์ - ศุกร์ อบรมต่ออีก สมองเบลอกันไปเลย แทบไม่ได้พักครับ 555 แต่พอสอบผ่านแล้วโล่งใจมาก เพราะคุ้มจริง ๆ โดยจริง ๆ กว่าจะสอบหลังอบรมเสร็จคือ 19 มี.ค. 2566 เลยครับ
จริง ๆ มีเวลาเตรียมตัวเยอะมากเพื่อให้เข้าใจหลักสูตร + เนื้อหา แต่ผมทำอะไรอยู่ไม่รู้ (555+) มาอ่านจริงจังตอน 1 ก.พ. 2566 นี่เองครับ ทำให้มีเวลาเตรียมตัวแค่เดือนครึ่งเอง + หนังสือที่ทางสถาบันอบรมให้มาเกือบ 1,500 หน้าครับ ! เกือบจำได้ไม่หมด (TT)
.
มาเริ่มในส่วนของเนื้อหากันครับ ว่ามีออกสอบอะไรบ้าง กับ 120 ข้อ เวลาสอบ 4 ชั่วโมง (ไม่แน่ใจว่ามากหรือน้อยไปไหม แต่ทุกโมดูลตั้งแต่ 1 - 5 ผมออกห้องสอบตอนเวลาหมดตลอดด ทำทันแบบเกือบไม่ทันครับ 555)
ถ้าใครเคยสอบ IC มาแล้วเนื้อหาคล้ายกันเป็นส่วนใหญ่เลยครับ น่าจะง่ายขึ้นนะ (แต่คนที่สอบ IC มาแล้วแนะนำสอบฉบับเก่าน่าจะคุ้มกว่านะครับ เนื้อหาน้อยลง ไม่ต้องจำเยอะครับ)
.
อันนี้เป็นรายละเอียดเนื้อหาบทที่ 1 - 4 ครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
รายละเอียดเนื้อหาบทที่ 5 - 12:
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้