ทวาย แห่ง ITD จะกลับมาอีกแล้ว บิ๊กตู่” เล็งตั้ง “สุพัฒน์พงษ์” คุมกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจทวาย ส่ง “อาคม” นั่งรองประธานฯ

กระทู้สนทนา
“บิ๊กตู่” เล็งตั้ง “สุพัฒน์พงษ์” คุมกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจทวาย ส่ง “อาคม” นั่งรองประธานฯ และประธาน กก.ประสานงานทวาย
รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาลแจ้งว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะมีการตั้งนายสุพัฒน์พงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษทวาย แทนนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ที่ได้ลาออกจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และให้มีการปรับเปลี่ยน รองประธานจาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ทั้งนี้ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง คนปัจจุบัน เคยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในยุค คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) หากได้รับการแต่งตั้งให้เป็น รองประธานโครงการ และประธานคณะกรรมการประสานงานเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย ก็คือการกลับมาทำงานเดิมที่เคยทำในโครงการนี้ จึงทำให้เป็นจับตาดูว่า เหตุใด จึงมีการเปลี่ยนแปลงคำสั่ง และทำไมจึงต้องเป็นรมว.คลัง มาทำหน้าที่ที่เคยเป็นหน้าที่ของรมว.คมนาคม
สำหรับโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย จะมีการลงทุนหลายด้าน โดยมีการดึงประเทศญี่ปุ่นเป็นหุ้นส่วนกลุ่มใหม่ ในบริษัท ทวาย เอสอิแซด ดิเวลอปเมนท์ หรือ เอสพีวี ซึ่งเป็นนิติบุคคลเฉพาะกิจ จากเดิมมีเพียงไทยและเมียนมา ถือหุ้นฝ่ายละครึ่งหนึ่ง เป็นร้อยละ 33.33 เพื่อผลักดันโครงการให้เกิดขึ้นอย่างรูปธรรม ซึ่งญี่ปุ่นเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึก พร้อมสนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำผ่านองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (เจบิค)
 
ในเดือนสิงหาคม 2558 มีการลงนามในสัญญาสัมปทานการพัฒนาโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายระยะแรกระหว่างคณะกรรมการบริหารเขตเศรษฐกิจพิเศษของรัฐบาลเมียนมา (Dawei SEZ Management Committee หรือ DSEZMC) และกลุ่มเอกชนผู้ได้รับสัมปทาน (ITD consortium) เพื่อให้มีการพัฒนานิคม อุตสาหกรรมระยะแรก พร้อมทั้งโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปการเท่าที่จ้าเป็นต่อการพัฒนาระยะแรก โครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายระยะแรก ประกอบด้วยโครงการย่อย ดังนี้ – นิคมอุตสาหกรรมระยะแรก (เนื้อที่ทั้งหมดไม่เกิน 35 ตร.กม.) – ท่าเรือเล็กขนาด 2 ท่า – โรงไฟฟ้าระยะแรก และโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก – อ่างเก็บน้าขนาดเล็ก และระบบประปา – พื้นที่อยู่อาศัยส้าหรับแรงงาน รองรับได้ประมาณ 126,000 คน – ระบบโทรคมนาคมแบบมีสาย (Landline) – ถนนเชื่อมสู่ชายแดนไทย-เมียนมา ความยาว 138 กม. (เฉพาะการด้าเนินงาน-บ้ารุงรักษาถนน) – ท่าเรือรับก๊าซเชื้อเพลิง LNG ส้าหรับใช้ในโรงไฟฟ้าและนิคมอุตสาหกรรม
 
โดยโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย ระยะแรก ล้มเหลวไม่เป็นท่า ไม่เป็นไปตามแผนงานที่ได้กำหนดไว้ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทั้งท่าเรือน้ำลึก เส้นทางขนส่งและถนน ยังไม่ได้รับการพัฒนาให้มีความพร้อม เนื่องจากรัฐบาลเมียนมา ทบทวนการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งคาดว่าอาจใช้ระยะเวลาหลายปี
 
 
https://www.matichon.co.th/politics/news_2516480
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่