คำถาม ในห้องไลน์ อานาปานสติ 2/01/64

คำถาม ในห้องไลน์ อานาปานสติ  2/01/64
ผมทำแบบนี้ถูกไหมครับ

 1) ผมลอง experiment กับการนับลมดู พบว่าหายใจยังช้า (การนับทำให้รู้ระยะเวลา) เลยเร่งหายใจ พอหายใจได้เร็วระดับหนึ่ง ทิ้งการนับไป 

2) ปิติเริ่มเกิด ใจกลางตัวรู้สึกเย็น ๆ ความเย็นเริ่มแผ่ไปที่ส่วนต่าง ๆ ขนลุกที่หัวค่อนข้างแรง 4-5 ครั้ง 

3) เริ่มจับลมหายใจที่รู้อยู่จุดเดียวไม่ได้ ที่ริมฝีปากบนไม่ได้ 

4) ร่างกายอยู่ในอาการที่ค่อนข้างจะเกร็ง ในช่วงที่ปิติเกืด 

5) เริ่มเข้าสู่ช่วงสุข ร่างกายหายเกร็ง ความเย็นต่างๆ ยังคงอยู่บ้าง รู้สึกสุขสงบ แต่ไม่มีความหวือหวาเหมือนช่วงปิติ

6) ตอนนี้รู้สึกว่าลมหายใจละเอียดขึ้น แม้จะหายใจช้าลง ก็แทบที่จะจับลมหายใจไม่ได้

7) เริ่มเห็นความคิด พอรู้แล้ววาง 

8) รู้สึกว่าช่วงนี้ไม่มีกิเลสเลย เพราะดับความคิดได้เร็ว ร่างกายสบาย ๆ สามารถนั่งต่อไปได้นานเลย 

9) ออกจากสมาธิแล้วไม่รู้สึกเจ็บอะไรเลย

 Aero. 1 ตอบ

ช่วยอธิบายว่า  นับลมทำให้รู้ความยาว  นับอย่างไร

ผู้ถาม - 1 หายใจเข้าออก 2 หายใจเข้าออก ไปเรื่อยๆครับ พอถึง 10 ก็กลับมา 1 ใหม่.. ถ้านับช้า ก็หมายความว่าใช้เวลานาน ถ้านับเร็วก็ใช้เวลาน้อย

Aero. 1  - ลอง อย่าเร่งการหายใจ   ให้รู้ลมปกติไม่ไป เข่นหรือเร่ง      เรื่องการนับถ้าถอดการนับออก  รู้ความยาวเฉยๆ ทำได้ไหมครับ  

ผู้ถาม - เมื่อกี้ผมลองทำอีกที แบบไม่นับก็เข้าปิติได้ค่อนข้างเร็วครับ ขนลุกกระจายไปที่หัว แล้วก็มีความเย็นเริ่มกระจายครับ. รู้ยาวเฉยๆ รู้สึกครับ  แต่ก็ไปเร่งมันครับ เหมือนถ้าไม่เร่ง มันไม่ถึง

Aero.1 - ต่อจากวัตถุ 2 ลมสั้น ควรรู้ทั่วกองลม ออก/เข้า(วัตถุ3)   เมื่อรู้ถูก  กายต้องสงบระงับ ลมเริ่มจับไม่ได้ (วัตถุ4)  ให้รู้ความระงับที่กายนั้นตามเป็นจริง  ออก/เข้า  ปิติจะกระจายทั่ว (ผรณาปิติ)   ตรงนี้ถึงจะมารู้ปิติ  ออก/เข้า
  
ปิติ 5 นั้นเมื่อจิตยังไม่ตั้งมั่นจะแสดงผลทางกายเป็นปิติ 1-4.    ปิติที่พระองค์ตรัสหมายเอา  ปิติที่ 5 เท่านั้น  

ผู้ถาม -  รู้ทั่วกองลมนี่ทำอย่างไรเหรอครับรู้สึกเย็นๆที่กลางหน้าอบ แผ่ไปที่แขนเหมือนกันครับ อาจารย์ แต่ไม่รุนแรงเท่าขนลุกบนหัวแผ่ไม่ทั่วตัว

Aero. 1  -ผรณาปิติมีลักษณะแผ่ซ่านกระจายทั่วกาย เหมือนน้ำเต็มเขื่อน เพราะเหตุที่สัมปชัญญะมีกำลัง  และกายมีการสลายไม่กอดกุม (ภังคญาณเริ่มมีผล)  ตอนนั้นจะรู้ว่า ลมส่วนลม กายส่วนกาย ไม่มีผู้หายใจ  อันนี้เป็นสาระ เพราะจิตเริ่มเห็นการเป็นสักแต่ว่า รูปนาม  เพื่อเป็นฐานของ นามรูปปริเฉทญาณ  ซึ่งใกล้จะเกิดมากๆ คือการดับประสาททั้ง5  ผู้ปฏิบัติจะรู้ได้เองว่าการรู้ทางประสาท5 เริ่มน้อยลง  และดับพรึบลง ตัวรู้เหลืออยู่แต่จิต

ทำมาดีแล้ว  ให้วางชีวิต  ตายเป็นตาย  ที่ยังไม่ทั่วเพราะจิตยังกอดกายอยู่    

 ทีนี้ย้อนกับมาดูที่ รู้ทั่วกายอย่างไร ให้ดูที่ปลายจมูกแต่รู้ได้ทั้งสายของลม  ต้น กลาง ปลาย ได้ที่จุดเดียว พระสารีบุตร รจนาเปรียบดั่งคนเลื่อยไม้ จุดที่ฟันเลื่อยกระทบไม้  คือ ปลายจมูก  

การเลื่อยชักเข้าชักออก  ก็รู้ด้วยแต่จดจ่อที่จุดลมที่จุดกระทบ. ข้อสำคัญ เหมือนเดิมคือ. รู้ที่จุดเดียว ไม่ตามลม ด้วยกำลังของสัมปชัญญะ  จะรู้ต้น กลาง ปลาย ได้ อันนี้คือการรู้ทั่วกาย(วัตถุ3)   
ตรงนี้เป็นเหตุหลักทำให้ปิติที่กำลังจะเกิด  เกิดได้ทั่วกาย ลำดับสำคัญมากๆ

แนะนำให้ ยกเรื่องนับออก  ดูความยาวตามกาล ในลมสั้นให้ชัด  ลมสั้นจะสั้นมากๆ ตรงรู้ความยาวตามกาลในลมสั้นมากๆ นั้นเป็นตัวฝึกปัญญาขั้นที่จะเจริญเป็นสัมปชัญญะ(ปัญญา) ที่มีกำลังมาก 

ผู้ถาม - รับทราบครับอาจารย์ ปล่อยให้ร่างกายหายใจเองใช่ไหมครับ ไม่ต้องไปคุมมัน

Aero. 1  -  ใช่ครับ ถูกตรง

ผู้ถาม  - ตอนประสาททั้ง 5 ดับนี่อยู่วัตถุไหนเหรอครับอาจารย์ 

Aero.1 - ประสาท 5 จะเริ่มดับ เมื่อวัตถุ 7-8-9 ซึ่ง 9 จะสนิท มีความชัดมาก ระหว่างนั้นสภาวะจะไหลขึ้นลงได้ เพราะหากยังมี จิตสังขาร หรือแม้ยังมีวิตกวิจารอยู่ ตรงนี้หลวงปู่มั่นใช้คำว่าถึงฐานจิต (ฐีติจิต)

เมื่อเอาการกระทำไปทำ  ก็คือฝึกความใช้ตัวตน  อัตตาจะเจริญในระดับละเอียดส่งผลให้ สภาพธรรมให้เกิดมีความว่างแบบมีอัตตาครอบอยู่ ตรงนี้ถ้าคุณทำต่อไป  ที่สุดทิฏฐิจะเป็น มหายาน  คือมีที่บรรจุความว่างไว้ และจะทำให้เชื่อในลัทธิแดนสุขาวดี คือที่สุดจะมีแดนนิพพาน อันเป็นมิจฉาวิมุติและในทิฏฐิมหายานนั้น จะหลอกคุณว่า เป็นพุทธภูมิ   อย่าสนใจ ให้วางเป็นที่สุด พุทธภูมิหรือไม่จะทราบได้เองในวัตถุที่ 11-12

วางทุกอย่าง กลับมาที่หน้าที่  ตามลำดับ หน้าที่ตามลำดับสำคัญที่สุด

คุณได้รับคำเชิญให้เข้าร่วม "อานาปานสติ" โปรดแตะลิงก์ด้านล่างเพื่อเข้าร่วมโอเพนแชทนี้
https://line.me/ti/g2/r_Gd7fC6H3ibbPKR7RO12g?utm_source=invitation&utm_medium=link_copy&utm_campaign=default

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่