การฉีดวัคซีนไม่ช่วยอะไร ถ้าในร่างกายติดเชื้อแบบ active แต่ no symptom หรือไม่?

การฉีดวัคซีน มีสองแบบ

1 ฉีดก่อนสัมผัสโรค (Pre exposure)

เพื่อให้ร่างกายรู้วิธีสร้างแอนติบอดีมาจับกับไวรัส,แบคทีเรีย ที่เข้ามาในร่างกายรูปแบบวัคซีนแต่ไม่สามารถทําให้เกิดโรคได้ เช่นวัคซีนในกลุ่ม EPI


2 ฉีดแบบหลังสัมผัสโรค (Post Exposure)

เป็นการฉีดหลังสัมผัสโรค(ทันที) ตาม regimen ต่างๆ เพื่อให้ร่างกายสร้างแอนติบอดีมาจับกับไวรัส (ในวัคซีน) ก่อนที่ (ไวรัสของจริง) ที่เพิ่งสัมผัสมา จะฟักตัวออกมาทําลายเซลในร่างกาย เช่น วันซีนพิษสุนัขบ้า ซึ่งจะมีระยะฟักตัว 1 week- 1 year หากฉีดวัคซีนช้า ไว้รัสของจริง ฟักตัวออกมาก่อนที่ร่างกายจะเรียนรู้วิธีสร้าง antibody ก็เท่ากับวัคซีนที่ฉีดไปมีค่าเท่ากับนํ้าเปล่า เพราะอยากเรียนแจ้งให้ทราบว่า มีเคสคนไข้โดนสุนัขกัดแล้วมาฉีดวัคซีนช้า ไม่ตรงตามกําหนด สุดท้ายก็เสียชีวิต เพราะร่างกายสร้างภูมิขึ้นมาไม่ทันก่อนวันที่ไวรัสฟักตัวออกมา


คําถามคือ

1 .วัคซีนโควิดที่มีในตลาดตอนนี้ เป็นแบบไหน (pre,post, inactivated, live attennuated)

2 .แล้วคนที่ติดเชื้อแต่(ยัง)ไม่แสดงอาการ (มีภูมิแล้ว) หรือ(เชื้อกลายพันธุ์) ไปแล้ว จะตอบสนองต่อวัคซีนที่ราคาแพงแบบ ไม่มี supply พอได้มากเท่าไหร่

3 .incubation period ของ covid 19 virus นานเท่าไหร่

4 .มีคนที่ติดเชื้อแต่ไม่แสดงอาการ และไม่ได้ตรวจโรค อยู่กี่ % และผล clinical trials มีให้เห็นหรือยัง ว่า control group กลุ่มนี้ สร้างสามารถสร้าง antobody  titer มาจับตัวกับไวรัสได้จริงหรือไม่ เพราะหากในร่างกาย (มีเชื้อของจริง) อยู่แล้ว การฉีดเชื้อปลอม (วัคซีนเข้าไป) จะมีผลดีหรือไม่

5 .วัคซีนในท้องตลาด ปัจจุบัน คาดว่ามีหลายบริษัท ที่กําลังทําออกมา และมีที่ออกสู่ท้องตลาดแล้ว

เคยมีการทํา comparison ของแต่ล่ะบริษัทหรือยัง เพื่อเป็นทางเลือกให้กับแพทย์พิจารณา ฉีดให้คนไข้


ขอข้อมูลอัพเดททางการแพทย์จากบุคลากรทางด้านวัคซีนของประเทศด้วยครับ

เงินภาษีของประชาชน ทั้งนั้น
แก้ไขข้อความเมื่อ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่