ผวาโควิด ลามทั่วประเทศ! "หมอ ยง" ชงยกเลิกฉลอง "เทศกาลปีใหม่"
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_5566050
"หมอ ยง" ห่วงโควิดระบาดรอบ 2 ถามลดละฉลองปีใหม่ หรือรอฉลองปีหน้าได้ไหม ระบุทุกคนรู้ดีเว้นระยะห่างกันไม่ได้ แนะรอให้มีวัคซีนก่อน ภาวะปกติจะกลับมาเอง
วันนี้ (19 ธ.ค.) ศ.นพ.
ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ถึงโรคโควิด 19 กับเทศกาลเฉลิมฉลองปีใหม่
หลังมีการพบการติดเชื้อที่ จ.สมุทรสาคร มากกว่า 500 ราย ว่า ในการระบาดระลอกแรกของไทยใน มี.ค.และ เม.ย. ได้มีการเลื่อนวันปีใหม่ไทย ทำให้เราควบคุมประสบความสำเร็จภายใน เม.ย. ทั้งนี้ การเดินทาง และ ควบคุมการเฉลิมฉลองต่างๆ ซึ่งถือว่าเป็นการรวมตัวของคนหมู่มาก
ทำให้ยากต่อมาตรการในการกำหนดระยะห่าง ซึ่งปีใหม่กำลังจะเข้ามา หลายคนเตรียมเฉลิมฉลอง เราจะต้องคำนึงว่า ในปีนี้จะไม่เหมือนเดิม สิ่งที่ต้องคำนึงคือ จะต้องอยู่แบบวิถีชีวิตใหม่ ถ้าปีนี้ เราจะฉลองให้น้อยลงด้วยการระมัดระวัง หรือลดละ การเฉลิมฉลองปีใหม่ เหมือนตอนสงกรานต์ ได้หรือไม่
"
การระบาดรอบ 2 ทุกคนจะต้องช่วยกันป้องกัน ทุกคนรู้ การกำหนดระยะห่าง ไม่สามารถทำได้เลย ถ้ามีการเฉลิมฉลอง เรารอไปปีหน้าได้ไหม เชื่อว่าในระยะเวลาอันใกล้ เราก็จะมีวัคซีนในการป้องกัน เมื่อประชาชนหมู่มาก ได้รับวัคซีนในการป้องกัน ภาวะปกติ ก็จะกลับมาเอง ถึงช้าหน่อย ก็ยังดีใช่ไหม เราไม่อยากเสีย ปู่ ย่า ตา ยาย ที่เราเคารพรัก ถ้าเกิดการระบาดรอบ 2 ก็จะเป็นการยากในการควบคุม" ศ.นพ.
ยงกล่าว
คนเลี้ยงหมูแฉไม่ส่งออกเขมร เสียหายเดือนละ4,500ล้าน ไม่มีคนรับผิดชอบ นัดชุมนุมหน้าทำเนียบ
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_2492574
เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม น.สพ.
วิวัฒน์ พงษ์วิวัฒนชัย อุปนายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ กล่าวถึงปัญหาการส่งออกสุกรมีชีวิตไปประเทศกัมพูชา ว่า ขณะนี้ยังไม่สามารถส่งออกได้อันเนื่องมาจากความขัดแย้ง ของโบรคเกอร์ ระหว่าง กลุ่มที่ได้รีบสิทธิ์ในการทำการค้ากับทางกัมพูชา กับอีกกลุ่มที่ไม่ได้รับสิทธิ์ ที่ใช้รถยนต์และรถบรรทุกปิดกั้นถนนไม่ให้รถขนสุกรผ่านจุดผ่านแดนได้ เป็นปัญหามานานมากกว่า 1 เดือน ส่งผลให้ปริมาณสุกรล้นตลาด กระทบต่อราคาหมูที่ตกต่ำลงอย่างมาก จากราคาสุกรหน้าฟาร์มที่เคยอยู่ที่กิโลกรัมละ 80 บาทต่อกิโลกรัม แต่ตอนนี้ราคาตกต่ำอย่างหนักราคาขายจริงบางภูมิภาคหล่นลงไปถึง60 กว่าบาทต่อก.ก. แล้ว
ขณะที่ต้นทุนการเลี้ยงในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ที่ สศก. คำนวณสูงถึง 75 บาทต่อก.ก. เท่ากับเกษตรกรผู้เลี้ยงต้องมารับผลกรรมที่ไม่ได้ก่อ ทั้งๆที่ต้องจำยอมกับภาวะขาดทุนมานานกว่า 3 ปี และยังต้องก้มหน้าแบกรับกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากการป้องกันโรคแอฟริกันสไวน์ฟีเวอร์ (ASF) จนไทยเป็นประเทศเดียวในภูมิภาคเอเชียที่ปลอดจากโรคนี้ คนไทยไม่ต้องกินหมูแพงเหมือนประเทศอื่นที่มีปัญหา ASF
น.สพ.
วิวัฒน์ กล่าวว่าปัญหาดังกล่าวข้างต้น สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจรวมกว่า 4,500 ล้านบาท จากราคาสุกรที่ลดลงคิดเป็นมูลค่ากว่า 2,500 ล้านบาท จากการผลิต1.85 ล้านตัวต่อเดือนและการส่งออกสุกรมีชีวิตที่ต้องหยุดชะงักเป็นมูลค่าสูงกว่า 2,000 ล้านบาท ซึ่งยังไม่มีผู้รับผิดชอบ
น.สพ.
วิวัฒน์ กล่าวอีกว่า ก่อนหน้านี้เรียกร้องให้รัฐบาลช่วยแก้ปัญหา ผ่านนายกรัฐมนตรี และนาย
จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และกรมปศุสัตว์ แต่ยังหาข้อสรุปไม่ได้ และไร้วี่แววว่าเมื่อไหร่การส่งออกสุกรจะเกิดขึ้น
“
เรื่องนี้ประชุมไปหลายครั้ง โดย 7ธันวาคม รองนายกฯ จุรินทร์ นั่งหัวโต๊ะ โดยที่แท้จริงแล้วกระทรวงพาณิขย์ดูแลเรื่องตลาดน่าจะตัดสินใจ ทำอะไรสักอย่าง และยังได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีมาดำเนินการ แต่หลังประชุมหารือแล้วเสร็จ ก็ยังให้เกษตรกรรอคำตอบโดยไม่มีกำหนด นั่งดูความเสียหายต่อไป ส่วนกระทรวงเกษตรเป็นผู้ผลิตถือว่ามีผลงานที่ดีเยี่ยมเกษตรกรขอชื่นชม แต่กรมปศุสัตว์เป็นผู้มีอำนาจโดยตรงเรื่องกฎระเบียบควรจะตัดสินใจ ตามอำนาจหน้าที่ ซึ่งหากไม่ทำจะเกิดการละเว้นตามมาตรา157 ได้ ด้านข้อโต้แย้งเรื่องการค้าเสรีในการเป็น AEC ต้องเป็นหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศ ใครจะไปร้องเรียนเชิญที่กระทรวงนี้และท่านควรเข้ามาร่วมทำหน้าที่เช่นกัน ตามนโยบาย “เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด ค้าเสรีต่างประเทศ”
น.สพ.
วิวัฒน์ กล่าวว่าขณะนี้เกษตรกรเดือดร้อนอย่างหนักเพราะต้องขายหมูขาดทุน ภาครัฐและเอกชนร่วมกรมปศุสัตว์ลงทุนปัองกันโรค ASF จนสำเร็จ ผลประโยชน์น่าจะตกกับเกษตรกรและประเทศชาติแต่ทำไมจึงโยนปัญหานี้ไปมา หาคนรับผิดชอบไม่ได้ หรือมีผู้มีอิทธิพลแสวงหาประโยชน์บนความลำบากของเกษตรกรอยู่เบื้องหลัง
“
คนเลี้ยงหมูทั่วประเทศจึงจะนัดรวมตัวกันครั้งใหญ่ เพื่อไปทวงถามคำตอบจากท่านนายกฯ ที่ทำเนียบรัฐบาล ภายใน 7 วัน นับจากการประชุม 5 ฝ่ายที่กระทรวงพาณิชย์ ครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 17 ธันวาคมที่ผ่านมา ซึ่งผลการประชุมยังต้องรอเสนอให้ท่าน รมว.พาณิชย์ พิจารณาก่อน โดยไม่ได้กำหนดว่าจะให้คำตอบได้เมื่อใด รออย่างไร้ความหวัง พวกเราทุกคนไม่อยากก่อความวุ่นวายให้กับรัฐบาล แต่ก็ไม่มีทางออกและกลัวว่าจะต้องล้มตายกันหมด” น.สพ.
วิวัฒน์ กล่าว
JJNY : ผวาลามทั่วปท.!หมอ ยงชงเลิกเทศกาลปีใหม่/คนเลี้ยงหมูนัดชุมนุม/หมอรพ.ขอรับบริจาคหน้ากาก/ปภ.รายงานยังมีอุทกภัยใต้4จว.
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_5566050
"หมอ ยง" ห่วงโควิดระบาดรอบ 2 ถามลดละฉลองปีใหม่ หรือรอฉลองปีหน้าได้ไหม ระบุทุกคนรู้ดีเว้นระยะห่างกันไม่ได้ แนะรอให้มีวัคซีนก่อน ภาวะปกติจะกลับมาเอง
วันนี้ (19 ธ.ค.) ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ถึงโรคโควิด 19 กับเทศกาลเฉลิมฉลองปีใหม่
หลังมีการพบการติดเชื้อที่ จ.สมุทรสาคร มากกว่า 500 ราย ว่า ในการระบาดระลอกแรกของไทยใน มี.ค.และ เม.ย. ได้มีการเลื่อนวันปีใหม่ไทย ทำให้เราควบคุมประสบความสำเร็จภายใน เม.ย. ทั้งนี้ การเดินทาง และ ควบคุมการเฉลิมฉลองต่างๆ ซึ่งถือว่าเป็นการรวมตัวของคนหมู่มาก
ทำให้ยากต่อมาตรการในการกำหนดระยะห่าง ซึ่งปีใหม่กำลังจะเข้ามา หลายคนเตรียมเฉลิมฉลอง เราจะต้องคำนึงว่า ในปีนี้จะไม่เหมือนเดิม สิ่งที่ต้องคำนึงคือ จะต้องอยู่แบบวิถีชีวิตใหม่ ถ้าปีนี้ เราจะฉลองให้น้อยลงด้วยการระมัดระวัง หรือลดละ การเฉลิมฉลองปีใหม่ เหมือนตอนสงกรานต์ ได้หรือไม่
"การระบาดรอบ 2 ทุกคนจะต้องช่วยกันป้องกัน ทุกคนรู้ การกำหนดระยะห่าง ไม่สามารถทำได้เลย ถ้ามีการเฉลิมฉลอง เรารอไปปีหน้าได้ไหม เชื่อว่าในระยะเวลาอันใกล้ เราก็จะมีวัคซีนในการป้องกัน เมื่อประชาชนหมู่มาก ได้รับวัคซีนในการป้องกัน ภาวะปกติ ก็จะกลับมาเอง ถึงช้าหน่อย ก็ยังดีใช่ไหม เราไม่อยากเสีย ปู่ ย่า ตา ยาย ที่เราเคารพรัก ถ้าเกิดการระบาดรอบ 2 ก็จะเป็นการยากในการควบคุม" ศ.นพ.ยงกล่าว
คนเลี้ยงหมูแฉไม่ส่งออกเขมร เสียหายเดือนละ4,500ล้าน ไม่มีคนรับผิดชอบ นัดชุมนุมหน้าทำเนียบ
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_2492574
เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม น.สพ.วิวัฒน์ พงษ์วิวัฒนชัย อุปนายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ กล่าวถึงปัญหาการส่งออกสุกรมีชีวิตไปประเทศกัมพูชา ว่า ขณะนี้ยังไม่สามารถส่งออกได้อันเนื่องมาจากความขัดแย้ง ของโบรคเกอร์ ระหว่าง กลุ่มที่ได้รีบสิทธิ์ในการทำการค้ากับทางกัมพูชา กับอีกกลุ่มที่ไม่ได้รับสิทธิ์ ที่ใช้รถยนต์และรถบรรทุกปิดกั้นถนนไม่ให้รถขนสุกรผ่านจุดผ่านแดนได้ เป็นปัญหามานานมากกว่า 1 เดือน ส่งผลให้ปริมาณสุกรล้นตลาด กระทบต่อราคาหมูที่ตกต่ำลงอย่างมาก จากราคาสุกรหน้าฟาร์มที่เคยอยู่ที่กิโลกรัมละ 80 บาทต่อกิโลกรัม แต่ตอนนี้ราคาตกต่ำอย่างหนักราคาขายจริงบางภูมิภาคหล่นลงไปถึง60 กว่าบาทต่อก.ก. แล้ว
ขณะที่ต้นทุนการเลี้ยงในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ที่ สศก. คำนวณสูงถึง 75 บาทต่อก.ก. เท่ากับเกษตรกรผู้เลี้ยงต้องมารับผลกรรมที่ไม่ได้ก่อ ทั้งๆที่ต้องจำยอมกับภาวะขาดทุนมานานกว่า 3 ปี และยังต้องก้มหน้าแบกรับกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากการป้องกันโรคแอฟริกันสไวน์ฟีเวอร์ (ASF) จนไทยเป็นประเทศเดียวในภูมิภาคเอเชียที่ปลอดจากโรคนี้ คนไทยไม่ต้องกินหมูแพงเหมือนประเทศอื่นที่มีปัญหา ASF
น.สพ.วิวัฒน์ กล่าวว่าปัญหาดังกล่าวข้างต้น สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจรวมกว่า 4,500 ล้านบาท จากราคาสุกรที่ลดลงคิดเป็นมูลค่ากว่า 2,500 ล้านบาท จากการผลิต1.85 ล้านตัวต่อเดือนและการส่งออกสุกรมีชีวิตที่ต้องหยุดชะงักเป็นมูลค่าสูงกว่า 2,000 ล้านบาท ซึ่งยังไม่มีผู้รับผิดชอบ
น.สพ.วิวัฒน์ กล่าวอีกว่า ก่อนหน้านี้เรียกร้องให้รัฐบาลช่วยแก้ปัญหา ผ่านนายกรัฐมนตรี และนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และกรมปศุสัตว์ แต่ยังหาข้อสรุปไม่ได้ และไร้วี่แววว่าเมื่อไหร่การส่งออกสุกรจะเกิดขึ้น
“เรื่องนี้ประชุมไปหลายครั้ง โดย 7ธันวาคม รองนายกฯ จุรินทร์ นั่งหัวโต๊ะ โดยที่แท้จริงแล้วกระทรวงพาณิขย์ดูแลเรื่องตลาดน่าจะตัดสินใจ ทำอะไรสักอย่าง และยังได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีมาดำเนินการ แต่หลังประชุมหารือแล้วเสร็จ ก็ยังให้เกษตรกรรอคำตอบโดยไม่มีกำหนด นั่งดูความเสียหายต่อไป ส่วนกระทรวงเกษตรเป็นผู้ผลิตถือว่ามีผลงานที่ดีเยี่ยมเกษตรกรขอชื่นชม แต่กรมปศุสัตว์เป็นผู้มีอำนาจโดยตรงเรื่องกฎระเบียบควรจะตัดสินใจ ตามอำนาจหน้าที่ ซึ่งหากไม่ทำจะเกิดการละเว้นตามมาตรา157 ได้ ด้านข้อโต้แย้งเรื่องการค้าเสรีในการเป็น AEC ต้องเป็นหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศ ใครจะไปร้องเรียนเชิญที่กระทรวงนี้และท่านควรเข้ามาร่วมทำหน้าที่เช่นกัน ตามนโยบาย “เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด ค้าเสรีต่างประเทศ”
น.สพ.วิวัฒน์ กล่าวว่าขณะนี้เกษตรกรเดือดร้อนอย่างหนักเพราะต้องขายหมูขาดทุน ภาครัฐและเอกชนร่วมกรมปศุสัตว์ลงทุนปัองกันโรค ASF จนสำเร็จ ผลประโยชน์น่าจะตกกับเกษตรกรและประเทศชาติแต่ทำไมจึงโยนปัญหานี้ไปมา หาคนรับผิดชอบไม่ได้ หรือมีผู้มีอิทธิพลแสวงหาประโยชน์บนความลำบากของเกษตรกรอยู่เบื้องหลัง
“คนเลี้ยงหมูทั่วประเทศจึงจะนัดรวมตัวกันครั้งใหญ่ เพื่อไปทวงถามคำตอบจากท่านนายกฯ ที่ทำเนียบรัฐบาล ภายใน 7 วัน นับจากการประชุม 5 ฝ่ายที่กระทรวงพาณิชย์ ครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 17 ธันวาคมที่ผ่านมา ซึ่งผลการประชุมยังต้องรอเสนอให้ท่าน รมว.พาณิชย์ พิจารณาก่อน โดยไม่ได้กำหนดว่าจะให้คำตอบได้เมื่อใด รออย่างไร้ความหวัง พวกเราทุกคนไม่อยากก่อความวุ่นวายให้กับรัฐบาล แต่ก็ไม่มีทางออกและกลัวว่าจะต้องล้มตายกันหมด” น.สพ.วิวัฒน์ กล่าว