JJNY : ขายปลีกหมูพุ่งแตะ 182บ.│ผู้เลี้ยงไก่ จี้รัฐปล่อยกู้│ร้านส้มตำซัดรัฐ│เพื่อไทยผุดไอเดียแก้ปมสินเชื่อธุรกิจรากหญ้า

ด่วน! ปรับราคาขายปลีกหมู อีก มีผลวันนี้ ราคาพุ่งแตะ 182บาท
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_6932946

ด่วน ปรับราคาขายปลีกหมู อีก 8 บาท/กิโลกรัม มีผลวันนี้ สมาคมผู้เลี้ยงสุกกรแห่งชาติ เผย สาเหตุปรับขึ้นตามแรงกดดันของต้นทุนอาหารสัตว์
 
วันที่ 10 มี.ค.2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ฟาร์ม ขึ้นราคาหมูเป็นกิโลกรัมละ 4 บาท ดันราคาปลีกเพิ่มขึ้น 8บาท/ก.ก. แตะ 182 บาท โดยรายงานข่าวจาก สมาคมผู้เลี้ยงสุกกรแห่งชาติ แจ้งว่า สภาวะตลาดสุกรมีชีวิตหน้าฟาร์ม (สัปดาห์ที่ 10/2565) ประจำวันพระที่ 10 มี.ค.2565 ว่า สมาคมฯได้ปรับขึ้นราคาสุกรมีชีวิตหน้าฟาร์มเพิ่มขึ้นทุกภูมิภาค
 
โดย ภาคเหนือ ปรับขึ้น 2 บาท/ก.ก. จาก 86 บาท/ก.ก. เป็น 88 บาท/ก.ก. ส่งผลให้ราคาขายปลีกเนื้อหมูปรับเพิ่มขึ้น 4บาท/ก.ก. ราคาอยู่ที่อยู่ที่ ก.ก.ละ  174-176 บาท, ภาคตะวันออก ปรับขึ้น 4 บาท/ก.ก.จาก 86 บาท/ก.ก. เป็น 90 บาท/ก.ก. ทำให้ราคาขายปลีกปรับเพิ่ม 8 บาท/ก.ก. ราคาอยู่ที่ 178-180บาท/ก.ก.
 
ภาคอีสาน ปรับขึ้น 2 บาท/ก.ก. จาก 88บาท/ก.ก. เป็น 90 บาท/ก.ก. ทำให้ราคาขายปลีกปรับเพิ่ม 4 บาท/ก.ก. ราคาอยู่ที่ 178-180 บาท, ภาคเหนือ ปรับขึ้น 4 บาท/ก.ก. จาก 87 บาท/ก.ก.เป็น 91 4 บาท/ก.ก. ทำให้ราคาขายปลีกปรับเพิ่ม 8 บาท/ก.ก. ราคาอยู่ที่ 180-182 บาท/ก.ก.และภาคใต้ราคาทรงตัว ก.ก.ละ 88 บาท ราคาขายปลีกอยูที่ 174-176บาท
 
สาเหตุที่ราคาสุกรขุนหน้าฟาร์มปรับขึ้นตามแรงกดดันของต้นทุนอาหารสัตว์ ผู้บริโภคเริ่มรับราคาเนื้อสุกรในปัจจุบันมากขึ้น ห้างค้าปลีก Balance Part จัดส่วนต่างราคาตามความต้องการของตลาดได้ดี และสร้างราคาชิ้นส่วนทางเลือกที่สนองนโยบายรัฐ ถึงแม้ต้นทุนอาหารสัตว์ ค่าพลังงานน้ำมัน เพิ่มเป็นรายวัน กระทบทั้งต้นทุนการผลิตและต้นทุนการขนส่ง ในขณะที่ราคาจำหน่ายเนื้อสุกรและสุกรขุนหน้าฟาร์มยังคงถูกจับตาโดยภาครัฐเป็นรายสัปดาห์
 
ขณะที่ราคาข้าวโพดหน้าโรงงานอาหารสัตว์สูงสุดที่กรุงไทยอาหารสัตว์ บ้านบึง ที่กิโลกรัมละ 13.05 บาท โดย CPF บางนาและเซ็นทาโกอยู่ที่ 13.00  บาท โดยปัจจัยที่ท้าทายภาคปศุสัตว์ไทยในสถานการณ์สงครามที่เป็นปัญหาหนัก นอกเหนือจากปัญหาราคาน้ำมัน คือราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ เพราะรัสเซียและยูเครนเป็นผู้ส่งออกพืชวัตถุดิบอาหารสัตว์รายใหญ่ของโลก โดยมีปริมาณการส่งออกข้าวสาลีรวมกันราว 29% ของปริมาณการส่งออกทั่วโลก
 
และมีสัดส่วนการส่งออกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สูงถึง 19% ของตลาดโลก สร้างปัจจัยบวกให้การค้าข้าวโพดในประเทศให้ขึ้นอย่างต่อเนื่องแบบไร้การเข้ามาควบคุมราคา ทั้ง ๆ ที่ Corn CBOT เมื่อวาน 9 มีนาคม 2565 รอบส่งมอบเดือนพฤษภาคม 2565 ราคาย่อตัวมาปิดที่ 722.1 เซนต์/บุชเชล ( เทียบเท่า 9.380 บาทต่อกิโลกรัม ณ THB32.9983/USD)
 

  
ผู้เลี้ยงไก่ จี้รัฐปล่อยกู้ 1.5 หมื่นล้าน หลังน้ำมัน-อาหารสัตว์แพง วอนอย่าคุมราคาไข่
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_6932037
 
ผู้เลี้ยงไก่ จี้รัฐปล่อยกู้ 1.5 หมื่นล้าน ชี้ภาวะสงคราม น้ำมันแพง ราคาอาหารสัตว์พุ่ง วอนอย่าคุมราคาไข่ เผยที่ผ่านมาขาดทุนหลักพันล้านบาท
 
เมื่อวันที่ 9 มี.ค. 2565 นางฉวีวรรณ คำพา นายกสมาคมส่งเสริมการเลี้ยงไก่แห่งประเทศไทยและประธานกรรมการบริหารบริษัทในเครือฉวีวรรณ กรุ๊ป เปิดเผยในการสัมมนา “สงครามบานปลาย ซัพพลายมีปัญหา ทางรอด อยู่ตรงไหน” ว่า ไทยได้นำเข้าข้าวสาลีจายูเครนถึง 29 % จากปริมาณการนำเข้าทั้งหมด ดังนั้น สงครามที่เกิดขึ้นจึงทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้นแน่นอน การจะหันไปนำเข้าเพิ่มขึ้นจากอินเดีย บราซิล อาเจนตินา ช่วงนี้มีปัญหาไปหมด เพราะภัยแล้ง
 
“ไทยที่ยังต้องพึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบจึงอยู่ในฐานะ ที่ต้องปรับตัว หาวิธีการ นำวัตถุดิบทางเลือกมาทดแทน แล้วต้องได้คุณค่ามีคุณภาพที่ดีเป็นที่ยอมรับด้วย นับเป็นโจทย์ที่ท้าทายภาคปศุสัตว์อย่างมาก นอกเหนือจากปัญหาโควิดระบาดในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ผู้ประกอบการรายใหญ่ ขาดทุนหลักพันล้านบาท รายเล็กขาดทุนหลักร้อยล้านบาท”
 
“ลูกไก่มีราคาแพง ทำให้ต้องลดปริมาณการเลี้ยง ซ้ำเติมด้วยปัญหาราคาน้ำมันขึ้นราคา ขาดแคลนตู้คอนเทรนเนอร์ และธนาคารพาณิชย์ไม่ปล่อยสินเชื่อ ทำให้โอกาสการส่งออก ช่วงไฮซีซั่น ในอียู ญี่ปุ่น จีน ที่มีความต้องการเนื้อไก่สูงมาก”
 
นางฉวีวรรณ กล่าวต่อว่า อยากให้รัฐบาลพิจารณาให้ความช่วยเหลือ โดยการสนับสนุนวงเงินสินเชื่อ เช่นเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นกรณีเกิดการระบาดไข้หวัดนกเมื่อปี 2547 ที่คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) เห็นชอบปล่อยกู้ 15,000 ล้านบาท รวมทั้งรัฐบาลควรลดกำแพงภาษีการนำเข้ากากถั่วเหลือง 2% เพื่อช่วยเหลือกลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์ให้สามารถดำเนินการต่อไปได้
 
ด้าน นายมาโนช ชูทับทิม นายกสมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ กล่าวว่า ราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์แพงเกิดขึ้นก่อนจะมีสงคราม 30-40% แต่สงครามทำให้ราคาแพงขึ้นไปอีก วัตถุดิบอาหารสัตว์บางชนิดไม่ได้นำเข้าก็ปรับแพงขึ้นตามไปด้วย เกษตรกรต้องปรับตัว ระวัดระวังการเลี้ยง และติดตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างใกล้ชิด อะไรที่สามารถลดต้นทุนได้ก็ต้องทำ ที่สำคัญราคาไข่ไก่ควรปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาด รัฐไม่ควรคุมราคา
 


ร้านส้มตำซัด ถ้าทำตามที่รัฐแนะนำ ลูกค้าหายแน่ ลั่นใช้มะขามเปียกแทนไม่ได้
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_6932864
 
ร้านส้มตำไก่ย่างชื่อดังโคราช ยันใช้มะขามเปียกเเทนมะนาวตามที่รัฐบาลแนะนำทำไม่ได้ เพราะรสชาติไม่เหมือนกัน มีหวังลูกค้าหายแน่
 
หลังจากที่นายอุดม ศรีสมทรง รองอธิบดีกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ยอมรับว่าราคามะนาวในตลาดปรับสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยราคาขายส่งปรับขึ้นเป็นลูกละ 5 บาท เพราะผลผลิตออกสู่ตลาดลดลง 60-70% จากปัญหาภัยแล้งและอากาศที่แปรปรวน ทำให้มะนาวออกลูกน้อยกว่าปกติ เบื้องต้นขอให้ผู้บริโภคหาสินค้าชนิดอื่นที่ทดแทนมะนาวมาใช้ก่อน เช่น มะม่วง และมะขามเปียก จนกลายเป็นที่วิจารณ์ของประชาชนจำนวนมากนั้น

ล่าสุด วันที่ 10 มี.ค. 65 ผู้สื่อข่าวได้ลงพื้นที่สำรวจร้านอาหารที่ใช้มะนาวเป็นส่วนประกอบอาหาร เช่นที่ร้านไก่ย่างโค้งวัดป่าสาละวัน ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา ซึ่งมีเมนูส้มตำ และลาบ ที่ต้องใช้มะนาวเป็นเครื่องปรุงสำคัญ พบว่าไม่ได้มีการเปลี่ยนไปใช้มะขามเปียกแต่อย่างใด
 
นางเฉลียว เจ้าของร้านไก่ย่างโค้งวัดป่าสาละวัน กล่าวว่า ตอนนี้ยอมรับว่ามะนาวมีราคาแพงมาก โดยเฉพาะมะนาวแป้นที่เป็นเครื่องปรุงหลัก สำหรับเมนูลาบ และส้มตำ ที่ขาดไม่ได้เลย ขณะนี้มีราคาสูงถึง 3 เท่าตัวจากช่วงปกติ แต่ทางร้านก็ยังจำเป็นต้องใช้มะนาวเป็นเครื่องปรุงอยู่
 
ส่วนที่กระทรวงพาณิชย์แนะนำให้ไปใช้มะขามเปียกแทนมะนาวนั้น แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย เพราะมันเป็นเครื่องปรุงคนละอย่างกัน โดยมะขามเปียกเหมาะกับเป็นเครื่องปรุงประเภทต้มยำมากกว่า ถ้าจะให้มาใส่ส้มตำก็จะทำให้รสชาติแย่ลงทันที มีหวังลูกค้าหายหมดแน่ เนื่องจากมะนาวจะมีรสเปรี้ยวนำและมีกลิ่นหอมกว่ามะขามเปียก
  
อีกทั้งไม่ทำให้ส้มตำมีสภาพเหนียวจากเนื้อมะขามเปียกด้วย ดังนั้นจึงนำมะขามเปียกมาใช้ทดแทนมะนาวไม่ได้ แม้ว่ามะนาวจะราคาแพง แต่ทางร้านก็ยังไม่ขึ้นราคาอาหาร เพราะเชื่อว่าคงจะแพงเพียงระยะสั้น ๆ เท่านั้น แต่ก็อยากให้รัฐบาลช่วยแก้ไขปัญหาสินค้าชนิดอื่นๆ ที่แพงด้วย เพราะตอนนี้อะไรก็แพงขึ้นพร้อมกันจนลำบากกันถ้วนหน้าแล้ว
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่