(Mollisquama mississippiensis - American Pocket Shark)
เมื่อวันที่ 22 ก.ค. 2019 สำนักข่าว CNN ได้รายงานข่าวการค้นพบ ฉลามจิ๋วที่สามารถหลั่งสารพิเศษซึ่งช่วยทำให้ลำตัวของมันเรืองแสงได้
โดยมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า American Pocket Shark (อเมริกัน พ็อกเก็ต ชาร์ก) ขนาดลำตัวยาวราว 14 ซม. จัดเป็นฉลามสายพันธุ์ที่หาพบได้ยากมาก โดยถูกพบที่อ่าวเม็กซิโก และถูกส่งต่อมายังมหาวิทยาลัย Tulane University ในรัฐลุยเซียนา ทางใต้ของสหรัฐฯ เพื่อให้นักวิชาการได้ทำการศึกษาและบันทึกข้อมูล
ก่อนหน้านั้นนักวิทยาศาสตร์ได้พบฉลามสปีชีส์นี้มาก่อนจากนั้นก็ไม่มีใครสังเกตเห็นมันอีกเลย และเมื่อปี 2010 นักวิทยาศาสตร์จะพบฉลามสปีชีส์นี้อีกครั้งโดยบังเอิญขณะศึกษาวาฬสเปิร์มในอ่าวเม็กซิโกที่ระดับความลึก 3,000 ฟุต (914 เมตร) ซึ่งในปี 2013 องค์การบริหารมหาสมุทรและบรรยากาศแห่งชาติ สหรัฐ (โนอา) ได้ระบุว่าเป็นฉลาม Pocket Shark นอกจากนั้นยังมีการพบฉลามจิ๋วดั้งเดิมอีกสปีชีส์ที่มหาสมุทรแปซิฟิกด้วย
ความน่าสนใจของฉลามสายพันธุ์นี้อยู่ตรงที่มันแตกต่างจากฉลามทั่วไป เนื่องจาก โดยนิสัยปกติของฉลามจะทำการติดตามเหยื่ออย่างนิ่งเงียบ และคอยหาจังหว่ะในการเข้าจู่โจมเหยื่ออย่างรวดเร็ว แต่สำหรับฉลามจิ๋วสายพันธุ์นี้ลำตัวจะมีสีเทาและครีบมีสีเข้มกว่า โดยมันจะปล่อยสารที่ทำให้ร่างกายของมันเรืองแสง พอเหยื่อเผลอมันก็จะตะครุบเหยื่อจากความมืดแล้วกินเป็นอาหารทันที โดยแสงของฉลามพันธุ์นี้เปล่งออกมาจากต่อมผลิตแสงขนาดจิ๋วใกล้ครีบหน้า เพื่อช่วยให้ดึงดูดเหยื่อเข้ามาใกล้ ก่อนจู่โจมสายฟ้าแลบ
American Pocket Shark สายพันธุ์ใหม่จากอ่าวเม็กซิโกในปี 2010
ชื่อมาจากต่อมรูปกระเป๋าที่ด้านใดด้านหนึ่งของลำตัวฉลาม ช่องเปิดกระเป๋าอยู่ด้านหลังเหงือก
American Pocket Shark | Mark A. Grace NOAA / MMFS / SEFSC / Mississippi Laboratories
สำหรับฉลามตัวที่จับได้ระหว่างภารกิจศึกษาการให้อาหารวาฬสเปิร์มในครั้งแรกนี้ ต่อมาในปี 2013 Mark Grace จาก NMFS Mississippi Laboratories ของ NOAA'S และนักวิจัยของTulane University เริ่มศึกษาปลาฉลามจากตัวอย่างที่เก็บรวบรวมไว้ในระหว่างการสำรวจ NOAA โดยตรวจสอบคุณสมบัติภายนอกของมันรวมทั้งการเอ็กซ์เรย์และการสแกน CT และจากความช่วยเหลือของ European Synchrotron Radiation Facility (ESRF) ในฝรั่งเศสซึ่งผลิตรังสีเอกซ์ พบว่าสารเรืองแสงที่ฉลามจิ๋วผลิตออกมาสว่างกว่ารังสีเอกซ์ที่ใช้ในโรงพยาบาลถึง 100 พันล้านเท่า
นักวิจัยระบุว่า มีความแตกต่างที่น่าสังเกตหลายประการระหว่างปลาฉลาม Pocket ดั้งเดิมในมหาสมุทรแปซิฟิก กับสายพันธุ์ที่ค้นพบจากอ่าวเม็กซิโก โดยแม้ฉลามทั้งสองชนิดผลิตของเหลวเรืองแสงเหมือนกัน แต่พวกมันมีจำนวนกระดูกสันหลังและฟันที่แตกต่างกัน โดยตัวอย่างของสายพันธ์ดั้งเดิมมีต่อม photophores ที่ผลิตแสงที่ให้แสงครอบคลุมร่างกายส่วนใหญ่
(ฉลาม Pocket ที่พบในมหาสมุทรแปซิฟิกนอกเปรู เป็นตัวเมียที่โตเต็มวัยขนาด 16 นิ้ว/400 มม (ที่เพิ่งคลอดฉลามตัวผู้ขนาด 5.6 นิ้ว/142 มิลลิเมตร) โดยมีกระเป๋าอยู่ข้างๆ ครีบหน้าแต่ละอันเพื่อผลิตสารเรืองแสง)
ฉลามจิ๋ว Pocket ในปี 2010 นี้ ตอนแรกนักวิทยาศาสตร์ประกาศว่ามันเป็นฉลาม American Pocket Shark ขนาดเล็ก จนกระทั่งปี 2015 มีการวิเคราะห์เพิ่มเติมอีกครั้ง จากนั้นปี 2019 ได้รับการตั้งชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Mollisquama mississippiensis (ภาษาละติน) ซึ่งตั้งชื่อตามแม่น้ำมิสซิสซิปปี
ผลงานการศึกษาได้ถูกตีพิมพ์ลงในวารสาร Zootaxa เมื่อต้นปี 2019 ปัจจุบันฉลามตัวนี้อยู่ในพิพิธภัณฑ์สัตววิทยาในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย
(ชื่อวิทยาศาสตร์ของ Pocket Shark ตัวแรกสปีชีส์นี้ถูกค้นพบในปี 1984 คือ Mollisquama parini ได้รับการตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่นักสัตวศาสตร์ที่ว่าด้วยปลา Dr. Nikolai Vasilevich Parin, Mollisquama parini ที่ค้นพบมันด้วยความลึก 1,083 ฟุต)
อย่างไรก็ตาม การล่อเหยื่อด้วยแสงไม่ใช่วิธีใหม่ เพราะนักวิจัยพบว่า 90% ของนักล่าที่อาศัยอยู่ใต้ทะเลลึกชนิดที่ว่าแสงส่องไปไม่ถึงต่างก็ใช้วิธีนี้ แต่สำหรับฉลามแล้วพวกเขายังไม่เคยพบสายพันธุ์ที่ล่าเหยื่อด้วยวิธีนี้มาก่อน แต่ก็ยังมีสายพันธุ์อื่น ๆ ของฉลามที่มีขนาดเล็กแบบนี้อยู่อีกหลายสายพันธุ์ เช่น
- Panama ghost catshark ยาว 22 ซม. พบได้ที่ปานามา
- Pale catshark ยาว 20 ซม. นอกเกาะบอร์เนียว ที่ระดับความลึก 655 ม.
- Dwarf lantern shark สายพันธุ์ฉลามที่เคยได้รับการบันทึกว่าเป็น สายพันธุ์ที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก ที่ความยาว 17.5 ซม.
swell sharks ( Cephaloscyllium ventriosum )
เป็นปลาฉลามออกหากินเวลากลางคืนที่พบในแปซิฟิกตะวันออก ตั้งแต่แคลิฟอร์เนียถึงเม็กซิโกตอนใต้และนอกชิลีตอนกลาง พบได้ทั่วไปที่ความลึก 16-132 ฟุต (5 - 40 เมตร) แต่ได้รับการบันทึกว่าพบที่ความลึกถึง 1,500 ฟุต (457 ม.)
ตัวเต็มวัยจะวางไข่และทารกจะพัฒนาอยู่ภายในไข่ก่อนฟัก เนื่องจากมีขนาดเล็กและมีลวดลายที่สวยงามพวกมันจึงตกเป็นเป้าหมายของการค้าตู้ปลา
แต่สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) ได้ประเมินสัตว์เหล่านี้ว่ามีความกังวลน้อยที่สุด ( LC)
เมื่อพวกมันยังไม่ได้กินอาหาร มันสามารถเติมน้ำเข้ากระเพาะให้ดูเหมือนใหญ่กว่าที่เป็นอยู่ได้ (ดังนั้นจึงมีชื่อสามัญว่า 'swell shark') ฉลามเหล่านี้ยังมีความสามารถที่ผิดปกติในการส่งเสียงเห่าเหมือนสุนัขเมื่อขึ้นจากน้ำ และยังโค้งงอร่างกายให้เป็นรูปตัวยูได้ด้วย
taillight shark (Euprotomicroides zantedeschia)
เป็นฉลามน้ำลึกอีกชนิดหนึ่ง ต่อมผลิตเรืองแสงของมันพบได้ในกระเป๋าที่หน้าท้อง สิ่งนี้ทำให้เกิดแสงสีฟ้าเรืองแสงที่ด้านล่างและหาง นอกจากนี้ยังมี photophores ขนาดเล็กที่ให้แสงอยู่ทั่วตัว โดยปกติแล้วปลาฉลามชนิดนี้ล่องลอยอยู่ในโตเกียว
ฉลามเรืองแสงตะเกียงนินจา(Ninja Lantern Shark)
เป็นปลาฉลามชนิดใหม่ได้ถูกค้นพบนอกชายฝั่งของประเทศคอสตาริกา มันมีความพิเศษกว่าฉลามสายพันธุ์อื่นเพราะสามารถเรืองแสงได้ในความมืด
โดยเหตุที่มันสามารถเรืองแสงได้ในความมืดนั้นเพราะ Photophores ในผิวหนังสีดำของมัน ที่ทำให้มันสามารถเรืองแสงในความมืดของท้องทะเลลึกที่มันอาศัยอยู่ได้
นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบฉลามตะเกียงนินจา หรือชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Etmopterus benchleyi เรืองแสงอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกที่ความลึกประมาณ 1 กิโลเมตร คาดกันว่าแสงสว่างที่พวกมันเปล่งออกมานั้นใช้ในการสื่อสารกันและดึงดูดเหยื่อให้เข้ามาหา
การศึกษาที่ถูกตีพิมพ์ในนิตยสารมูลนิธิวิทยาศาสตร์มหาสมุทร ค้นพบปลาฉลามพันธุ์นี้อยู่สี่ตัวจากเจ็ดพื้นที่การศึกษา โดยพบพวกมันสองตัวอยู่ในบริเวณใกล้ชายฝั่งของประเทศคอสตาริกา ความยาวเฉลี่ยของพวกมันอยู่ที่ 51.5 เซนติเมตรเท่านั้น ซึ่งเป็นความยาวที่พอกับแมวบ้าน หรือเล็กกว่าฉลามขาวถึงหนึ่งในสิบ
ชื่อวิทยาศาสตร์ของพวกมันถูกตั้งขึ้นตามชื่อผู้เขียนเรื่อง “JAWS” คือ Peter Benchley ซึ่ง Vicky Vásquez นักวิจัยประจำศูนย์วิจัยฉลามแห่งมหาสมุทรแปซิฟิก (PSRC) ได้คิดขึ้นมาหลังจากที่เธอได้ปรึกษาเรื่องการตั้งชื่อกับญาติสี่คนซึ่งชื่นชอบฉลาม ส่วนชื่อสามัญว่าฉลามตะเกียงนินจานั้นเนื่องจากพฤติกรรมหลบซ่อนในห้วงลึกของมหาสมุทร เปรียบดังนินจาญี่ปุ่นที่มักหลบซ่อนตัว
ที่มา :
https://www.smithsonianmag.com/smart-news/new-shark-species-looks-like-tiny-sperm-whale-180972704/
https://edition.cnn.com/2019/07/21/us/new-shark-species-bioluminescent-trnd/index.html
www.ibtimes.co.uk/ninja-lanternshark-glowing-shark-discovered-1km-deep-pacific-ocean-off-costa-rica-coast-1535422
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)
ฉลามจิ๋วสายพันธุ์เรืองแสง
โดยมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า American Pocket Shark (อเมริกัน พ็อกเก็ต ชาร์ก) ขนาดลำตัวยาวราว 14 ซม. จัดเป็นฉลามสายพันธุ์ที่หาพบได้ยากมาก โดยถูกพบที่อ่าวเม็กซิโก และถูกส่งต่อมายังมหาวิทยาลัย Tulane University ในรัฐลุยเซียนา ทางใต้ของสหรัฐฯ เพื่อให้นักวิชาการได้ทำการศึกษาและบันทึกข้อมูล
ก่อนหน้านั้นนักวิทยาศาสตร์ได้พบฉลามสปีชีส์นี้มาก่อนจากนั้นก็ไม่มีใครสังเกตเห็นมันอีกเลย และเมื่อปี 2010 นักวิทยาศาสตร์จะพบฉลามสปีชีส์นี้อีกครั้งโดยบังเอิญขณะศึกษาวาฬสเปิร์มในอ่าวเม็กซิโกที่ระดับความลึก 3,000 ฟุต (914 เมตร) ซึ่งในปี 2013 องค์การบริหารมหาสมุทรและบรรยากาศแห่งชาติ สหรัฐ (โนอา) ได้ระบุว่าเป็นฉลาม Pocket Shark นอกจากนั้นยังมีการพบฉลามจิ๋วดั้งเดิมอีกสปีชีส์ที่มหาสมุทรแปซิฟิกด้วย
ความน่าสนใจของฉลามสายพันธุ์นี้อยู่ตรงที่มันแตกต่างจากฉลามทั่วไป เนื่องจาก โดยนิสัยปกติของฉลามจะทำการติดตามเหยื่ออย่างนิ่งเงียบ และคอยหาจังหว่ะในการเข้าจู่โจมเหยื่ออย่างรวดเร็ว แต่สำหรับฉลามจิ๋วสายพันธุ์นี้ลำตัวจะมีสีเทาและครีบมีสีเข้มกว่า โดยมันจะปล่อยสารที่ทำให้ร่างกายของมันเรืองแสง พอเหยื่อเผลอมันก็จะตะครุบเหยื่อจากความมืดแล้วกินเป็นอาหารทันที โดยแสงของฉลามพันธุ์นี้เปล่งออกมาจากต่อมผลิตแสงขนาดจิ๋วใกล้ครีบหน้า เพื่อช่วยให้ดึงดูดเหยื่อเข้ามาใกล้ ก่อนจู่โจมสายฟ้าแลบ
(ฉลาม Pocket ที่พบในมหาสมุทรแปซิฟิกนอกเปรู เป็นตัวเมียที่โตเต็มวัยขนาด 16 นิ้ว/400 มม (ที่เพิ่งคลอดฉลามตัวผู้ขนาด 5.6 นิ้ว/142 มิลลิเมตร) โดยมีกระเป๋าอยู่ข้างๆ ครีบหน้าแต่ละอันเพื่อผลิตสารเรืองแสง)
ฉลามจิ๋ว Pocket ในปี 2010 นี้ ตอนแรกนักวิทยาศาสตร์ประกาศว่ามันเป็นฉลาม American Pocket Shark ขนาดเล็ก จนกระทั่งปี 2015 มีการวิเคราะห์เพิ่มเติมอีกครั้ง จากนั้นปี 2019 ได้รับการตั้งชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Mollisquama mississippiensis (ภาษาละติน) ซึ่งตั้งชื่อตามแม่น้ำมิสซิสซิปปี
ผลงานการศึกษาได้ถูกตีพิมพ์ลงในวารสาร Zootaxa เมื่อต้นปี 2019 ปัจจุบันฉลามตัวนี้อยู่ในพิพิธภัณฑ์สัตววิทยาในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย
(ชื่อวิทยาศาสตร์ของ Pocket Shark ตัวแรกสปีชีส์นี้ถูกค้นพบในปี 1984 คือ Mollisquama parini ได้รับการตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่นักสัตวศาสตร์ที่ว่าด้วยปลา Dr. Nikolai Vasilevich Parin, Mollisquama parini ที่ค้นพบมันด้วยความลึก 1,083 ฟุต)
อย่างไรก็ตาม การล่อเหยื่อด้วยแสงไม่ใช่วิธีใหม่ เพราะนักวิจัยพบว่า 90% ของนักล่าที่อาศัยอยู่ใต้ทะเลลึกชนิดที่ว่าแสงส่องไปไม่ถึงต่างก็ใช้วิธีนี้ แต่สำหรับฉลามแล้วพวกเขายังไม่เคยพบสายพันธุ์ที่ล่าเหยื่อด้วยวิธีนี้มาก่อน แต่ก็ยังมีสายพันธุ์อื่น ๆ ของฉลามที่มีขนาดเล็กแบบนี้อยู่อีกหลายสายพันธุ์ เช่น
- Panama ghost catshark ยาว 22 ซม. พบได้ที่ปานามา
- Pale catshark ยาว 20 ซม. นอกเกาะบอร์เนียว ที่ระดับความลึก 655 ม.
- Dwarf lantern shark สายพันธุ์ฉลามที่เคยได้รับการบันทึกว่าเป็น สายพันธุ์ที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก ที่ความยาว 17.5 ซม.
ชื่อวิทยาศาสตร์ของพวกมันถูกตั้งขึ้นตามชื่อผู้เขียนเรื่อง “JAWS” คือ Peter Benchley ซึ่ง Vicky Vásquez นักวิจัยประจำศูนย์วิจัยฉลามแห่งมหาสมุทรแปซิฟิก (PSRC) ได้คิดขึ้นมาหลังจากที่เธอได้ปรึกษาเรื่องการตั้งชื่อกับญาติสี่คนซึ่งชื่นชอบฉลาม ส่วนชื่อสามัญว่าฉลามตะเกียงนินจานั้นเนื่องจากพฤติกรรมหลบซ่อนในห้วงลึกของมหาสมุทร เปรียบดังนินจาญี่ปุ่นที่มักหลบซ่อนตัว
https://edition.cnn.com/2019/07/21/us/new-shark-species-bioluminescent-trnd/index.html