7 สัตว์โลกดึกดำบรรพ์ที่มีอยู่จริง

ได้ยินได้ฟังกันเรื่องเกี่ยวกับสัตว์ประหลาดยุคดึกดำบรรพ์ หรือสัตว์เทพนิยายในตำนาน ใครจะรู้ว่ามีอยู่จริงมั้ย
เพราะปัจจุบันยังไม่เคยมีใครหรือเครื่องมืออะไรหามันพบ ยกเว้นแต่จะโผล่ออกมาให้เห็นเอง แต่บางอย่างก็ยืนยันแล้วว่ายังมีชีวิตอยู่
แม้ว่าจะเคยคิดว่ามันสูญพันธ์ุไปแล้วก็ตาม และนี่คือสิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์ 7 ชนิด ที่เราค้นพบได้โดยบังเอิญ...

นับตั้งแต่โลกนี้มีสภาพอากาศและสภาวะแวดล้อมเหมาะสม ก็ได้ปรากฏสิ่งมีชีวิตต่างๆมากมายถือกำเนิดบนโลกใบนี้
แต่ท่านรู้มั้ยว่า โลกที่เราอาศัยอยู่ในตอนนี้ ยังมีสิ่งมีชีวิตสมัยดึกดำบรรพ์รอดจากภัยพิบัติต่างๆและอาศัยอยู่กับเราด้วย
วันนี้จะพาไปพบกับ 7 สัตว์โบราณที่ยังมีชีวิต แถมหน้าตาน่ารักน่าชังซะด้วย ไปดูกันเลย


อันดับที่ 7: Goblin shark

Goblin shark หรือ ฉลามก็อบลิน มีชีวิตตั้งแต่สมัย 124 – 112 ล้านปีก่อน อาศัยอยู่ในทะเลน้ำลึกแถบมหาสมุทรแปซิฟิคตอนใต้
ไล่ไปจนถึงมหาสมุทรแอตแลนติคและมหาสมุทรอินเดียตอนใต้ พบครั้งแรกที่ประเทศญี่ปุ่น ลักษณะของมัน คือ เหมือนฉลามทั่วๆ ไป
แต่จะมีครีบที่ค่อนข้างมาก แต่ส่วนที่เห็นได้ชัดเลยว่าแตกต่างไปจากฉลามตัวอื่น คือ เป็นส่วนที่ยื่นออกมาจากหน้าผากมัน
หรือก็คือจมูกที่มีลักษณะแบนราบซึ่งจะ เป็นตัวช่วยให้ฉลามก็อบบลินหาเหยื่อได้ โดยจะมีอวัยวะที่ทำงานคล้ายเซนเซอร์ไฟฟ้าอยู่ข้างในจมูกของมัน
คอยส่งสัญญาณให้ฉลามก็อบลินรู้ว่าเหยื่ออยู่ที่ไหน แต่บางทีมันก็ใช้การดมกลิ่นแทน และปากของมันสามารถยืดออกมาได้อีกด้วย
ส่วนขนาดความยาวทั้งตัวตั้งแต่หัวถึงหางของฉลามก็อบบลินก็ยาวประมาณ 11-15 ฟุตหรือ 3.3 -4.5 เมตร








อันดับที่ 6: Giant River stingray

Giant River stingray หรือ กระเบนราหู มีชีวิตมาตั้งแต่สมัยยุคจูราสสิค หรือประมาณ 100 ล้านปีก่อน กระเบนนั้น เป็นสัตว์น้ำที่อาศัยอยู่ในตะกอนใต้น้ำ ซึ่งดูภายนอกแล้ว ไม่มีพิษมีภัยซักเท่าไหร่ แต่ถ้าหากไปแหย่มันละก็ มันจะใช้หางพิษแทงเข้าที่ตัวเหยื่อ ซึ่งร้อยทั้งร้อย ตายชัวร์ และกระเบนน้ำจืดยักษ์ขนาดที่ใหญ่ที่สุดที่เคยวัดได้ มีขนาดถึง 4.3 เมตร !! ซึ่งจับได้ที่แม่น้ำบางปะกง ประเทศไทยเีรานี่เอง






อันดับที่ 5: Frilled Shark

Frilled Shark หรือ ฉลามครุย ในภาษาไทย เป็นฉลามที่มีรูปร่างเรียวยาวคล้ายปลาไหล มีผิวสีน้ำตาลหรือเทาเข้ม
มีซี่กรองเหงือก 6 คู่ และพู่กางออกเหมือนซาลาแมนเดอร์บางชนิด ทำให้ดูแลเหมือนครุย ปากกว้างเลยตำแหน่งของตา ภายในปากมีฟันที่แตกเป็นดอกแหลม ๆ 3 แฉก ซึ่งแต่ก่อนนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า ปลาฉลามสายพันธุ์นี้เคยสูญพันธ์ไปเมื่อยุคครีเตเซียส หรือประมาณ 95 ล้านปีก่อนแต่ในเดือน มกราคม ค.ศ. 2007 ปลาฉลามชนิดนี้ก็ถูกชาวประมงชาวญี่ปุ่นจับตัวได้ที่ชายฝั่งใกล้สวนน้ำอะวาชิมา ในเมืองชิซุโอกะทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงโตเกียว ซึ่ง สาเหตุที่จับได้นั้น เนื่องจากมันทนสภาวะที่ระดับอุณหภูมิในน้ำสูงขึ้นไม่ไหว จึงลอยมาเกยตื้นและตายไปในที่สุด ดังนั้น นักวิทยาศาสตร์จึงสรุปได้ว่า ปลาฉลามครุยนั้นเป็นซากดึกดำบรรพ์ที่ยังมีชีวิตในโลกปัจจุบันนี้



อันดับที่ 4: Alligator Gar

ปลาปากจระเข้เป็นสิ่งมีชีวิตที่อาศัยเมื่อประมาณ 100 ล้านปีก่อน โดยปลาปากจระเข้เป็นปลาพื้นเมืองของสหรัฐอเมริกา แถบฟลอริดาและแถบลุ่มแม่น้ำมิซิซิปปี้ เป็นปลาที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มปลาการ์ ลักษณะของมันคือ มีปากคล้ายกับจระเข้รูปร่างกลมยาว ภายในปากมีฟันแหลมคม 2 แถว ตากลมสีดำ บริเวณลำตัวจรดหางคล้ายปลา มีครีบเล็กใต้ท้อง 2 ครีบคู่ ใต้ท้องสีขาว ที่บริเวณปลายหาง ใกล้หางมีครีบใหญ่อีก 2 ครีบ
ขนาดเมื่อโตเต็มวัยประมาณ 350 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 127 กิโลกรัม





อันดับที่ 3: Giant Chinese Salamander

สำหรับ ซาลามานเดอร์ยักษ์จีน ที่กลบกระแสแพนด้าเพื่อนร่วมประเทศไปได้มาก โดย ซาลามานเดอร์ชนิดนี้มีชีวิตมาตั้งแต่ 30 ล้านปีก่อน และยังเป็นซาลามานเดอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก (อันดับที่สองคือซาลามานเดอร์ยักษ์ญี่ปุ่น) โดยมีความยาวได้ถึง 180 ซม. รูปร่างภายนอก จะมีลักษณะตัวที่ใหญ่ หัวแบน ปากกว้าง ลิ้นใหญ่ หางยาวและมีขนาดถึง 60 เปอร์เซ็นต์ของความยาวทั้งตัว ผิวหนังจะมีลักษณะขรุขระ มีรอยย่นมากมาย และมีปุ่มๆทั่วทั้งตัว มีตั้งแต่สีน้ำตาลเข้ม สีดำไปจนกระทั่งสีเขียว ขนาดโดยทั่วไปยาวประมาณ 1 เมตร น้ำหนักประมาณ 25-30 กิโลกรัม และมีอายุได้ถึง 50 ปี





อันดับที่ 2: Triops

Triops หรือ กุ้งไดโนเสาร์ หรือ กุ้งโบราณ (แล้วแต่จะเรียก) เป็นสัตว์ดึกดำบรรพ์ เกิดในยุคไทรแอสสิก
หรือเมื่อ 200 ล้านปีที่แล้ว ถูกยกให้เป็นฟอสซิลมีชีวิต ไม่มีกระดูกสันหลัง อาศัยในน้ำจืด มีขนาดเล็ก ขนาดตัวประมาณ 1-3 นิ้ว ลักษณะลำตัวเป็นแท่งยาว แบ่งเป็นปล้องๆ บริเวณหัวเป็นช้างน้อย มีลักษณะแบนปกคลุม 2 ใน 3 ส่วนของช่องอก มี 3 ตา มีขามากถึง 35-71 คู่ รูปร่างคล้ายแมงดาทะเล ไม่มีกระดูกสันหลัง จัดอยู่ประเภทเดียวกับสัตว์น้ำจืดที่มีเปลือกแข็งจำพวกกุ้งหรือปู สัตว์โบราณชนิดนี้มีทีเดียว 2 เพศ สามารถผสมพันธุ์ได้ในตัวเองแต่พบไม่บ่อย ส่วนใหญ่เป็นเพศผู้ หรือเพศเมีย อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งกุ้งไดโนเสาร์ตัวเมียจะใช้ขาสร้างถุงใส่ไข่ ดังนั้นไข่จะถูกหุ้มด้วยเปลือก ทั้งนี้เพื่อรักษาตัวอ่อนให้มีชีวิตอยู่ได้ภายใต้สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อการฟักตัว เช่น ร้อนจัด หนาวจัด ไข่จะถูกฟักเป็นตัวต่อเมื่อไข่แห้งเต็มที่ แล้วกลับมาเปียกน้ำอีกครั้งในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ตรงนี้เป็นสาเหตุว่าทำไม ตระกูลมันจึงอยู่รอดได้มาจวบจนทุกวันนี้ ปัจจุบันมีประเทศต่างๆกำลังนิยมเลี้ยงกุ้งไดโนเสาร์ รวมถึงประเทศไทยด้วย



อันดับที่ 1: Lamprey
ปลาแลมเพรย์นั้น ต้นตระกูลเดิมคือ ออสตราโคเดิร์ม ( Ostracoderm) ซึ่งสูญพันธ์ไปแล้วในปัจจุบัน ฟอสซิลที่ถูกค้นพบครั้งล่าสุด พบว่า มีอายุกว่า 500 ล้านปีมาแล้ว เป็นปลาที่ถูกจัดว่าไม่มีขากรรไกร ลักษณะคล้ายปลาไหล ลำตัวด้านหลังมักจะเป็นสีดำ มีครีบหลังและครีบหาง แต่ไม่มีครีบคู่ ไม่มีเกล็ด ปากจะอยู่ค่อนลงมาทางด้านท้อง มีลักษณะเป็นวงกลมใช้สำหรับดูด มีฟันแหลมคมจำนวนมากอยู่ในอุ้งปาก จมูกมี 1 รูซึ่งอยู่กึ่งกลางด้านบนของหัว มีตา 1 คู่ ถุงเหงือก 7 ถุง และมีช่องเหงือก 7 ช่อง โครงร่างเป็นกระดูกอ่อนและเส้นใย เส้นประสาทหลัง มีการพัฒนาเป็นสมองซึ่งมีเส้นประสาทสมอง 8-10 คู่ ทางเดินอาหารไม่มีกระเพาะอาหาร ส่วนลำไส้บิดเป็นเกลียว มีลักษณะเพศแยกออกเป็นเพศผู้และเพศเมียชัดเจนปลาแลมเพรย์แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ แบบธรรมดา กับ แบบปรสิต แบบธรรมดานั้น จะอาศัยอยู่ตามลำธาร ช่วงชีวิตส่วนใหญ่จะเป็นระยะตัวอ่อนที่กินอาหารแบบกรอง ตัวเต็มวัยมีชีวิตอยู่ 3-4 สัปดาห์ โดยไม่กินอาหารเนื่องจากทางเดินอาหารสลายตัว เหลือเพียงสายของเนื้อเยื้อที่ไม่มีหน้าที่การทำงานและจะตายไปหลังวางไข่ ส่วนแบบปรสิต จะมีปากคล้ายแว่นดูดและมีอุ้งปาก คล้ายถ้วยลึกลงไปในอุ้งปาก และลิ้นมีฟันที่เจริญดีอยู่ มันจะใช้ปากเกาะเหยื่อและใช้ฟันและลิ้นครูดเอาเนื้อออกและให้เลือดของเหยื่อไหลผ่านได้สะดวก ปลาแลมป์เพรย์จะสร้างสารป้องกันการตกตะกอนของเลือดส่งไปที่ปากแผล เมื่อดูดเลือดของเหยื่อจนตัวเหยื่อแห้งก็จะปล่อยแล้วหาเหยื่อใหม่



แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่