นักวิทยาศาสตร์ประเมินสัญญาณอันตรายที่อาจเกิดกับต้นไม้ทั่วโลก โดยพบว่าต้นไม้มากกว่า 1 ใน 3 กำลังเผชิญกับการสูญพันธุ์ในป่า
จากการเปิดเผยบัญชีรายชื่อสัตว์เสียงสูญพันธุ์ครั้งล่าสุด หรือบัญชีแดงของชนิดพันธุ์สัตว์ที่ถูกคุกคามขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (International Union for Conservation of Nature --IUCN) พบว่า
ในปัจจุบันจำนวนต้นไม้ที่ถูกคุกคามมีมากกว่านก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกที่ถูกคุกคามทั้งหมดรวมกัน
ข่าวดังกล่าวนี้เผยแพร่ที่เมืองกาลี ประเทศโคลอมเบีย ซึ่งผู้นำโลกเข้าร่วมประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพแห่งสหประชาชาติ สมัยที่ 16 หรือ COP 16 เพื่อประเมินความคืบหน้าเกี่ยวกับแผนกู้คืนธรรมชาติครั้งสำคัญ
ต้นไม้มีความสำคัญต่อชีวิต มันช่วยฟอกอากาศและดูดซับก๊าซคาร์บอน รวมถึงเป็นที่อยู่อาศัยของนก แมลง และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นับพันชนิด
นักวิทยาศาสตร์กว่า 1,000 คน ได้เข้าร่วมประเมินสถานะการอนุรักษ์ต้นไม้ ซึ่งมีการรวบรวมโดยองค์กรการกุศลเพื่อการอนุรักษ์พืช, สถาบันอนุรักษ์สวนพฤกษศาสตร์นานาชาติ (Botanic Gardens Conservation International-BGCI) และสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN)
เอมิลี บีช จากสถาบันอนุรักษ์สวนพฤกษศาสตร์นานาชาติ กล่าวว่า ปัจจุบันต้นไม้ทั่วโลก 38% ตกอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์
“ต้นไม้ถูกคุกคามอย่างหนักทั่วโลก แต่ตอนนี้เรามีเครื่องมือที่จำเป็นเพื่อทำให้แน่ใจว่า เราจะให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ในระดับพื้นที่เป็นอันดับแรก” เธอกล่าว
ต้นไม้พันธุ์ต่าง ๆ กำลังตกอยู่ในความเสี่ยงใน 192 ประเทศ โดยภัยคุกคามอันดับหนึ่งคือ การถางป่าเพื่อทำการเกษตรและการตัดไม้ และในภูมิภาคที่มีอากาศอบอุ่น ก็มีแมลงและโรคพืชที่คุกคามต้นไม้อีกด้วย
ต้นไม้ที่รู้จักกันดีเช่น ต้นแมกโนเลีย ถือเป็นต้นไม้ที่ถูกคุกคามมากที่สุด ขณะที่ต้นโอ๊ค เมเปิ้ล และไม้มะเกลือ ก็ตกอยู่ในความเสี่ยงเช่นกัน
นักวิทยาศาสตร์ที่สวนพฤกษศาสตร์คิว (Kew) ในกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร กำลังทำภารกิจเพื่ออนุรักษ์ต้นไม้ทั่วโลกด้วยการเก็บเมล็ดพันธุ์และปลูกต้นไม้ตัวอย่างในสวนพฤกษศาสตร์
สตีเวน บักแมน นักวิจัยด้านการอนุรักษ์กล่าวว่า ตัวเลขดังกล่าวถือเป็นเรื่อง “น่าตกใจ” เนื่องจากมีผลกระทบต่อพืชและสัตว์อื่น ๆ อีกหลายชนิดที่ต้องพึ่งพาต้นไม้
“ขณะนี้เราอยู่ในวิกฤตความหลากหลายทางชีวภาพ” เขากล่าว “ต้นไม้หลายสายพันธุ์ทั่วโลกเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของนก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม แมลง และเชื้อราสายพันธุ์อื่น ๆ อีกมากมาย”
“หากเราสูญเสียต้นไม้ไป เราก็จะสูญเสียสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์อื่น ๆ ไปด้วย”
นอกจากต้นไม้แล้ว การเปิดบัญชีรายชื่อสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ที่มีการปรับปรุงใหม่บัญชีล่าสุด ยังนำข่าวร้ายมาสู่พืชและสัตว์ชนิดอื่น ๆ
เม่น ( Erinaceus europaeus ) กำลังเข้าใกล้การสูญพันธุ์อีกก้าวหนึ่ง เนื่องจากประชากรเม่นในพื้นที่ส่วนใหญ่ของยุโรป รวมถึงสหราชอาณาจักร ลดจำนวนลง
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ผู้คนชื่นชอบกำลังสูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ เนื่องจากการขยายตัวของการทำเกษตรกรรมและการพัฒนาที่ดิน
นอกจากนี้ ยังมีข้อกังวลเกี่ยวกับการอยู่รอดของนกอพยพ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะอพยพไปยังพื้นที่ตามแนวชายฝั่งและปากแม่น้ำอันกว้างใหญ่ของอังกฤษ
นกชายฝั่ง 4 ชนิด ในสหราชอาณาจักร ได้แก่ นกหัวโตสีเทา นกชายเลนท้องดำ นกพลิกหิน และนกชายเลนปากโค้ง กำลังตกอยู่ในอันตรายมากขึ้นในบัญชีของสัตว์ใกล้สูญพันธุ์
ในการประชุม COP 16 ครั้งนี้ ผู้นำโลกเข้าร่วมประชุมเพื่อประเมินความคืบหน้าในการบรรลุคำมั่นสัญญาที่จะปกป้องผืนดิน ท้องทะเล และมหาสมุทร 30% ภายในปี 2030
การประชุมสุดยอดดังกล่าวสิ้นสุดไปเมื่อวันที่ 1 พ.ย. โดยมีประเด็นที่หารือกันหลายวาระ รวมถึงเงินทุนสำหรับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพทั่วโลก และการเสริมความแข็งแกร่งให้กับแผนระดับชาติเพื่อการปกป้องธรรมชาติ
https://www.bbc.com/thai/articles/cly2ky8ll0no
พบสัญญาณเตือนภัย ต้นไม้ 1 ใน 3 ทั่วโลกกำลังจะสูญพันธุ์
จากการเปิดเผยบัญชีรายชื่อสัตว์เสียงสูญพันธุ์ครั้งล่าสุด หรือบัญชีแดงของชนิดพันธุ์สัตว์ที่ถูกคุกคามขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (International Union for Conservation of Nature --IUCN) พบว่า
ในปัจจุบันจำนวนต้นไม้ที่ถูกคุกคามมีมากกว่านก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกที่ถูกคุกคามทั้งหมดรวมกัน
ข่าวดังกล่าวนี้เผยแพร่ที่เมืองกาลี ประเทศโคลอมเบีย ซึ่งผู้นำโลกเข้าร่วมประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพแห่งสหประชาชาติ สมัยที่ 16 หรือ COP 16 เพื่อประเมินความคืบหน้าเกี่ยวกับแผนกู้คืนธรรมชาติครั้งสำคัญ
ต้นไม้มีความสำคัญต่อชีวิต มันช่วยฟอกอากาศและดูดซับก๊าซคาร์บอน รวมถึงเป็นที่อยู่อาศัยของนก แมลง และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นับพันชนิด
นักวิทยาศาสตร์กว่า 1,000 คน ได้เข้าร่วมประเมินสถานะการอนุรักษ์ต้นไม้ ซึ่งมีการรวบรวมโดยองค์กรการกุศลเพื่อการอนุรักษ์พืช, สถาบันอนุรักษ์สวนพฤกษศาสตร์นานาชาติ (Botanic Gardens Conservation International-BGCI) และสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN)
เอมิลี บีช จากสถาบันอนุรักษ์สวนพฤกษศาสตร์นานาชาติ กล่าวว่า ปัจจุบันต้นไม้ทั่วโลก 38% ตกอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์
“ต้นไม้ถูกคุกคามอย่างหนักทั่วโลก แต่ตอนนี้เรามีเครื่องมือที่จำเป็นเพื่อทำให้แน่ใจว่า เราจะให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ในระดับพื้นที่เป็นอันดับแรก” เธอกล่าว
ต้นไม้พันธุ์ต่าง ๆ กำลังตกอยู่ในความเสี่ยงใน 192 ประเทศ โดยภัยคุกคามอันดับหนึ่งคือ การถางป่าเพื่อทำการเกษตรและการตัดไม้ และในภูมิภาคที่มีอากาศอบอุ่น ก็มีแมลงและโรคพืชที่คุกคามต้นไม้อีกด้วย
ต้นไม้ที่รู้จักกันดีเช่น ต้นแมกโนเลีย ถือเป็นต้นไม้ที่ถูกคุกคามมากที่สุด ขณะที่ต้นโอ๊ค เมเปิ้ล และไม้มะเกลือ ก็ตกอยู่ในความเสี่ยงเช่นกัน
นักวิทยาศาสตร์ที่สวนพฤกษศาสตร์คิว (Kew) ในกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร กำลังทำภารกิจเพื่ออนุรักษ์ต้นไม้ทั่วโลกด้วยการเก็บเมล็ดพันธุ์และปลูกต้นไม้ตัวอย่างในสวนพฤกษศาสตร์
สตีเวน บักแมน นักวิจัยด้านการอนุรักษ์กล่าวว่า ตัวเลขดังกล่าวถือเป็นเรื่อง “น่าตกใจ” เนื่องจากมีผลกระทบต่อพืชและสัตว์อื่น ๆ อีกหลายชนิดที่ต้องพึ่งพาต้นไม้
“ขณะนี้เราอยู่ในวิกฤตความหลากหลายทางชีวภาพ” เขากล่าว “ต้นไม้หลายสายพันธุ์ทั่วโลกเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของนก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม แมลง และเชื้อราสายพันธุ์อื่น ๆ อีกมากมาย”
“หากเราสูญเสียต้นไม้ไป เราก็จะสูญเสียสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์อื่น ๆ ไปด้วย”
นอกจากต้นไม้แล้ว การเปิดบัญชีรายชื่อสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ที่มีการปรับปรุงใหม่บัญชีล่าสุด ยังนำข่าวร้ายมาสู่พืชและสัตว์ชนิดอื่น ๆ
เม่น ( Erinaceus europaeus ) กำลังเข้าใกล้การสูญพันธุ์อีกก้าวหนึ่ง เนื่องจากประชากรเม่นในพื้นที่ส่วนใหญ่ของยุโรป รวมถึงสหราชอาณาจักร ลดจำนวนลง
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ผู้คนชื่นชอบกำลังสูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ เนื่องจากการขยายตัวของการทำเกษตรกรรมและการพัฒนาที่ดิน
นอกจากนี้ ยังมีข้อกังวลเกี่ยวกับการอยู่รอดของนกอพยพ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะอพยพไปยังพื้นที่ตามแนวชายฝั่งและปากแม่น้ำอันกว้างใหญ่ของอังกฤษ
นกชายฝั่ง 4 ชนิด ในสหราชอาณาจักร ได้แก่ นกหัวโตสีเทา นกชายเลนท้องดำ นกพลิกหิน และนกชายเลนปากโค้ง กำลังตกอยู่ในอันตรายมากขึ้นในบัญชีของสัตว์ใกล้สูญพันธุ์
ในการประชุม COP 16 ครั้งนี้ ผู้นำโลกเข้าร่วมประชุมเพื่อประเมินความคืบหน้าในการบรรลุคำมั่นสัญญาที่จะปกป้องผืนดิน ท้องทะเล และมหาสมุทร 30% ภายในปี 2030
การประชุมสุดยอดดังกล่าวสิ้นสุดไปเมื่อวันที่ 1 พ.ย. โดยมีประเด็นที่หารือกันหลายวาระ รวมถึงเงินทุนสำหรับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพทั่วโลก และการเสริมความแข็งแกร่งให้กับแผนระดับชาติเพื่อการปกป้องธรรมชาติ
https://www.bbc.com/thai/articles/cly2ky8ll0no