ขอสอบถามเรื่อง ป.พ.พ มาตรา 217 ครับ เพิ่งเรียนกฎหมายครับ

วันนี้มีสอบกฎหมายแพ่ง ฯ ครับ เรื่องเกี่ยวกับหนี้-ละเมิด
โจทย์คร่าวๆประมาณว่า

 นายแดงยืมรถนายดำ กำหนดคืน 13 เมษายน 2563 พอถึงเวลากำหนดคืนนายแดงไม่คืน หลังจากนั้นอีก 3 วันเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง มีพายุทำให้เสาไฟฟ้าล้มใส่รถของนายดำ นายแดงต้องรับผิดชอบค่าเสียหายแก่นายดำหรือไม่

ผมก็ยกหลัก ป.พพ. มาตรา 217  ลูกหนี้จะต้องรับผิดชอบในความเสียหายบรรดาที่เกิดแต่ความประมาทเลินเล่อในระหว่างเวลาที่ตนผิดนัด ทั้งจะต้องรับผิดชอบในการที่การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยเพราะอุบัติเหตุอันเกิดขึ้นในระหว่างเวลาที่ผิดนัดนั้นด้วย เว้นแต่ความเสียหายนั้นถึงแม้ว่าตนจะได้ชำระหนี้ทันเวลากำหนดก็คงจะต้องเกิดมีอยู่นั่นเอง

เห็นหลายคนบอกว่า มาตรานี้ ลูกหนี้ต้องรับผิดชอบในกรณีที่เกิดจาก การกระทำของมนุษย์เท่านั้น ส่วนกรณีที่เป็นภัยพิบัติ พายุ ฝนฟ้าคะนอง น้ำท่วม
หรือที่เรียกว่า Act of God ลูกหนี้ถึงแม้จะผิดนัดก็ไม่ต้องรับผิดในกรณีภัยพิบัติต่างๆ บางคนก็เลยตอบว่านายแดงไม่ต้องรับผิดเพราะเป็น Act of God 

แต่ผมวินิจฉัยไปว่านายแดงยังคงต้องรับผิด เพราะผมคิดว่าหากนายแดงคืนรถตามกำหนด รถก็จะไปอยู่ที่บ้านนายดำแทนบ้านนายแดง รถของนายดำก็อาจจะไม่ถูกเสาไฟฟ้าล้มทับก็ได้  โจทย์ไม่ได้บอกว่าบ้านของคนทั้งคู่ก็เกิดพายุฝนฟ้าคะนองด้วยหรือเปล่า เข้ากับประโยคที่ว่า " เว้นแต่ความเสียหายนั้นถึงแม้ว่าตนจะได้ชำระหนี้ทันเวลากำหนดก็คงจะต้องเกิดมีอยู่นั่นเอง" นั้นหมายความว่า มันเป็นความเสียหายที่อาจไม่เกิดขึ้นหากนายแดงไปคืนรถทันตามกำหนดหรือเปล่า? เพราะรถก็จะไปอยู่ที่บ้านนายดำแทน 
แต่ผมลืมไปว่า เรื่องนี้เขาพูดเกี่ยวกับอุบัติเหตุ ซึ่งคำว่าอุบัติเหตุ มันหมายถึงการกระทำของมนุษย์อย่างเดียวใช่ไหมครับ หรือจริง ๆ แล้วเจตนาของมาตรานี้ต้องการแบบไหนครับ ขอบคุณครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่