รับมือ “หนี้เสีย” พุ่งหลังจบพักหนี้สิ้นปี “ออมสิน” ตั้งสำรองเพิ่ม
https://www.thairath.co.th/news/business/finance-banking/1992836
เตรียมรับหนี้เสียหลังโครงการพักหนี้ ซึ่งมีหนี้รวม 1.1 ล้านล้านบาท จบสิ้นปี 63 “ออมสิน” สั่งตั้งสำรองเพิ่ม 12,400 ล้านบาท สั่งดูแลลูกหนี้ใกล้ชิดทั้งปัญหารายได้ และลูกหนี้ที่ติดต่อไม่ได้ พร้อมจ่อขยายระยะเวลามาตรการพักหนี้สูงสุดออกไปอีก 6 เดือน ระบุลูกหนี้ที่พักหนี้กว่า 4 แสนล้านเป็นข้าราชการ
นาย
วิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ในสิ้นปีนี้ ธนาคารจะตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญส่วนเกินจำนวน 12,400 ล้านบาท เพื่อรองรับการเกิดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) จากมาตรการพักชำระหนี้ที่จะเกิดขึ้นจากสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งในส่วนของออมสินจะสิ้นสุดในเดือน ธ.ค.นี้ ทั้งนี้ การตั้งสำรองดังกล่าว ยังไม่นับรวมการตั้งสำรองกรณีที่สถาบันการเงินของรัฐทั้งหมดจะต้องตั้งสำรองหนี้สำหรับลูกหนี้จัดชั้นตามมาตรฐานบัญชีใหม่ที่จะมีการบังคับใช้ในปี 2565 ตามแนวทางของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) โดยธนาคารจะต้องตั้งสำรองในจำนวนสูง เนื่องจากลูกหนี้ของธนาคารส่วนใหญ่เป็นรายย่อยไม่มีหลักประกัน หากไม่มีการผ่อนผันระยะเวลาบังคับธนาคารก็จะต้องเตรียมวงเงินไว้กันสำรองเพิ่มขึ้น
“ปัจจุบันออมสินสำรองหนี้สงสัยจะสูญแล้ว 100% คิดเป็นเงินประมาณ 4,000 ล้านบาท หรือมีระดับเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงกว่า 15% และมีหนี้เสียอยู่ที่ 55,000 ล้านบาท”
ทั้งนี้ การตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญส่วนเกินดังกล่าว จะทำให้ผลกำไรในปีนี้ของธนาคารลดลงเหลือประมาณ 18,000 ล้านบาท ต่ำกว่าระยะหลายปีที่ผ่านมาที่ธนาคารมีกำไรเฉลี่ยหลัก 20,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้ ธนาคารยังประเมินไม่ได้ว่า ลูกหนี้ที่เข้ามาตรการพักชำระหนี้ของธนาคารประมาณ 1 ล้านล้านบาท หรือ 50% ของพอร์ตสินเชื่อ 2.1 ล้านล้านบาทนั้น จะไหลมาเป็นหนี้เสียจำนวนเท่าไหร่ ดังนั้น จึงต้องตั้งสำรองส่วนเกินไว้ในระดับสูง เพื่อให้ธนาคารมีความแข็งแรง ทั้งนี้ ในปีที่ผ่านมา ตั้งสำรองไปประมาณ 200 ล้านบาทเท่านั้น
นาย
วิทัยกล่าวต่อว่า ยอดการพักชำระหนี้จำนวน 1.1 ล้านล้านบาท เป็นลูกหนี้ที่ยังมีความสามารถในการชำระหนี้สูง โดยเป็นลูกหนี้ที่เป็นข้าราชการถึง 400,000 ล้านบาท ส่วนที่เหลืออีก 400,000 ล้านบาท เป็นสินเชื่อบ้านและตกแต่ง ซึ่งสินเชื่อเหล่านี้ จะเป็นสินเชื่อที่ลูกหนี้จะสามารถชำระได้ดี และอีกราว 300,000 ล้านบาท เป็นสินเชื่อทั่วไป ในจำนวนนี้ มี 60,000 ล้านบาท เป็นสินเชื่อเอสเอ็มอี
“ธนาคารเป็นห่วงลูกหนี้ที่อาจจะมีปัญหาเรื่องของรายได้ และไม่สามารถติดต่อได้ ดังนั้น จึงมอบโจทย์ให้เจ้าหน้าที่ไปคิดแผนในการติดตามหนี้ เพื่อให้หนี้สามารถกลับมาปกติ”
อย่างไรก็ตาม ธนาคารจะให้ความสำคัญกับการดูแลหนี้ โดยขณะนี้ แบ่งลูกหนี้ออกเป็น 3 ระดับ คือ เขียว คือมีความสามารถชำระหนี้ เหลือง คือมีความสามารถชำระหนี้แต่ไม่สม่ำเสมอ และแดง คือไม่มีความสามารถชำระหนี้ ทั้งนี้ ระดับเขียวที่สามารถกลับมาชำระได้ส่วนหนึ่งแต่ยังไม่เต็มประสิทธิภาพ จะให้กลับมาจ่ายเงินต้นแต่จะให้พักชำระดอกเบี้ยส่วนหนึ่งไปก่อน โดยเบื้องต้นให้เวลาอีก 6 เดือน ส่วนกลุ่มที่มีปัญหาธนาคารจะมีมาตรการดูแลพิเศษ ซึ่งเราจะพัฒนาให้สามารถเจรจาปรับโครงสร้างหนี้บนแอปพลิเคชัน mymo ได้
ทั้งนี้ สำหรับแนวโน้มการปล่อยสินเชื่อใหม่ในปีหน้านั้น ในขณะนี้ ประเมินว่า น่าจะยังอยู่ในระดับทรงตัวตั้งแต่เกิดโควิด-19 โดยภาคธุรกิจบางตัวอาจจะเริ่มฟื้นตัวบ้าง แต่บางธุรกิจยังไม่สามารถไปได้ หรือในธุรกิจเดียวกัน อาจจะดีขึ้นในบางพื้นที่ เช่น ธุรกิจท่องเที่ยวอาจจะดีขึ้นในบางจังหวัด เป็นต้น จึงต้องติดตามสถานการณ์ในแต่ละภาคของเศรษฐกิจต่อไปอย่างใกล้ชิด
“เศรษฐกิจในปีหน้าเรายังต้องประเมินอีกครั้ง เพราะขณะนี้โควิด-19 ยังไม่รู้จะจบเมื่อไหร่ อย่างไรก็ตาม ภายใต้สถานการณ์ดังกล่าว ยังมีบางจุดดีบางจุดไม่ดี เช่น ธุรกิจท่องเที่ยวก็ดีในบางจุดบางจังหวัด”.
ชาวบ้านบ่นอุบ! ตำรวจเปิดเส้นทางจราจร แต่ไม่เอาตู้คอนเทนเนอร์ออก หวิดเกิดอุบัติเหตุ
https://www.matichon.co.th/politics/news_2481066
ชาวบ้านบ่นอุบ! ตำรวจเปิดเส้นทางการจราจรกรุงเทพฯชั้นในแล้ว แต่ไม่เอาตู้คอนเทนเนอร์ออก หวิดเกิดอุบัติเหตุหลายราย
เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการปิดการจราจร โดยใช้ตู้คอนเทนเนอร์ปิดกั้นกลุ่มผู้ชุมนุมวานนี้ บริเวณเขตกรุงเทพฯชั้นในและในวันเดียวกันนี้ (11 ธ.ค.) ทางเจ้าหน้าที่ได้ทำการเปิดเส้นทางจราจร แต่ยังไม่ได้นำตู้คอนเทนเนอร์ดังกล่าวออก จึงทำให้ประชาชนที่ใช้เส้นทางสับสน และเกือบที่เกิดอุบัติเหตุหลายราย เนื่องจากประชาชนไม่ทราบเส้นทาง ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ได้เปิดการจราจร ช่วงสะพานศรีอยุธยา มุ่งหน้าลานพระรูปทรงม้า ตรงไปแยกกองพลที่1 มุ่งหน้าแยกสี่เสาเทเวศร์ ทำให้การจราจรติดขัดอย่างหนัก ทั้งรถยนต์ของประชาชนทั่วไป และรถโดยสารประจำทาง ต่างต้องกลับรถจนเกือบประสบอุบัติเหตุ ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ ไม่มีการประสานหรือประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนผู้ใช้เส้นทางทราบแต่อย่างใด ทำให้ประชาชนต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า หากยังไม่เคลียร์พื้นที่ดังกล่าว ก็ยังไม่ควรที่จะเปิดการจราจร หรือหากเปิดการจราจรก็ควรที่จะประชาสัมพันธ์ให้กับผู้ใช้เส้นทางได้รับทราบ ทั้งนี้ รถยนต์ที่มุ่งหน้าไปทางแยกสี่เสาเทเวศร์ได้แต่ไม่สามารถทะลุออกไปยังพื้นที่เขตพระนครได้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับเส้นทางที่เจ้าหน้าที่ใช้ตู้คอนเทนเนอร์ปิดกั้นเส้นทางคือ บริเวณแยกเทวกรรม แยกเทเวศร์ และแยกสะพานมัฆวาน
JJNY : รับมือหนี้เสียพุ่ง/ชาวบ้านบ่นอุบ!ตร.ไม่เอาตู้คอนเทนเนอร์ออก/วรวัจน์สลดใจข่าวแจกยาหาเสียง/สายด่วนกกต.พบส่วนใหญ่ถาม
https://www.thairath.co.th/news/business/finance-banking/1992836
เตรียมรับหนี้เสียหลังโครงการพักหนี้ ซึ่งมีหนี้รวม 1.1 ล้านล้านบาท จบสิ้นปี 63 “ออมสิน” สั่งตั้งสำรองเพิ่ม 12,400 ล้านบาท สั่งดูแลลูกหนี้ใกล้ชิดทั้งปัญหารายได้ และลูกหนี้ที่ติดต่อไม่ได้ พร้อมจ่อขยายระยะเวลามาตรการพักหนี้สูงสุดออกไปอีก 6 เดือน ระบุลูกหนี้ที่พักหนี้กว่า 4 แสนล้านเป็นข้าราชการ
นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ในสิ้นปีนี้ ธนาคารจะตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญส่วนเกินจำนวน 12,400 ล้านบาท เพื่อรองรับการเกิดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) จากมาตรการพักชำระหนี้ที่จะเกิดขึ้นจากสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งในส่วนของออมสินจะสิ้นสุดในเดือน ธ.ค.นี้ ทั้งนี้ การตั้งสำรองดังกล่าว ยังไม่นับรวมการตั้งสำรองกรณีที่สถาบันการเงินของรัฐทั้งหมดจะต้องตั้งสำรองหนี้สำหรับลูกหนี้จัดชั้นตามมาตรฐานบัญชีใหม่ที่จะมีการบังคับใช้ในปี 2565 ตามแนวทางของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) โดยธนาคารจะต้องตั้งสำรองในจำนวนสูง เนื่องจากลูกหนี้ของธนาคารส่วนใหญ่เป็นรายย่อยไม่มีหลักประกัน หากไม่มีการผ่อนผันระยะเวลาบังคับธนาคารก็จะต้องเตรียมวงเงินไว้กันสำรองเพิ่มขึ้น
“ปัจจุบันออมสินสำรองหนี้สงสัยจะสูญแล้ว 100% คิดเป็นเงินประมาณ 4,000 ล้านบาท หรือมีระดับเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงกว่า 15% และมีหนี้เสียอยู่ที่ 55,000 ล้านบาท”
ทั้งนี้ การตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญส่วนเกินดังกล่าว จะทำให้ผลกำไรในปีนี้ของธนาคารลดลงเหลือประมาณ 18,000 ล้านบาท ต่ำกว่าระยะหลายปีที่ผ่านมาที่ธนาคารมีกำไรเฉลี่ยหลัก 20,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้ ธนาคารยังประเมินไม่ได้ว่า ลูกหนี้ที่เข้ามาตรการพักชำระหนี้ของธนาคารประมาณ 1 ล้านล้านบาท หรือ 50% ของพอร์ตสินเชื่อ 2.1 ล้านล้านบาทนั้น จะไหลมาเป็นหนี้เสียจำนวนเท่าไหร่ ดังนั้น จึงต้องตั้งสำรองส่วนเกินไว้ในระดับสูง เพื่อให้ธนาคารมีความแข็งแรง ทั้งนี้ ในปีที่ผ่านมา ตั้งสำรองไปประมาณ 200 ล้านบาทเท่านั้น
นายวิทัยกล่าวต่อว่า ยอดการพักชำระหนี้จำนวน 1.1 ล้านล้านบาท เป็นลูกหนี้ที่ยังมีความสามารถในการชำระหนี้สูง โดยเป็นลูกหนี้ที่เป็นข้าราชการถึง 400,000 ล้านบาท ส่วนที่เหลืออีก 400,000 ล้านบาท เป็นสินเชื่อบ้านและตกแต่ง ซึ่งสินเชื่อเหล่านี้ จะเป็นสินเชื่อที่ลูกหนี้จะสามารถชำระได้ดี และอีกราว 300,000 ล้านบาท เป็นสินเชื่อทั่วไป ในจำนวนนี้ มี 60,000 ล้านบาท เป็นสินเชื่อเอสเอ็มอี
“ธนาคารเป็นห่วงลูกหนี้ที่อาจจะมีปัญหาเรื่องของรายได้ และไม่สามารถติดต่อได้ ดังนั้น จึงมอบโจทย์ให้เจ้าหน้าที่ไปคิดแผนในการติดตามหนี้ เพื่อให้หนี้สามารถกลับมาปกติ”
อย่างไรก็ตาม ธนาคารจะให้ความสำคัญกับการดูแลหนี้ โดยขณะนี้ แบ่งลูกหนี้ออกเป็น 3 ระดับ คือ เขียว คือมีความสามารถชำระหนี้ เหลือง คือมีความสามารถชำระหนี้แต่ไม่สม่ำเสมอ และแดง คือไม่มีความสามารถชำระหนี้ ทั้งนี้ ระดับเขียวที่สามารถกลับมาชำระได้ส่วนหนึ่งแต่ยังไม่เต็มประสิทธิภาพ จะให้กลับมาจ่ายเงินต้นแต่จะให้พักชำระดอกเบี้ยส่วนหนึ่งไปก่อน โดยเบื้องต้นให้เวลาอีก 6 เดือน ส่วนกลุ่มที่มีปัญหาธนาคารจะมีมาตรการดูแลพิเศษ ซึ่งเราจะพัฒนาให้สามารถเจรจาปรับโครงสร้างหนี้บนแอปพลิเคชัน mymo ได้
ทั้งนี้ สำหรับแนวโน้มการปล่อยสินเชื่อใหม่ในปีหน้านั้น ในขณะนี้ ประเมินว่า น่าจะยังอยู่ในระดับทรงตัวตั้งแต่เกิดโควิด-19 โดยภาคธุรกิจบางตัวอาจจะเริ่มฟื้นตัวบ้าง แต่บางธุรกิจยังไม่สามารถไปได้ หรือในธุรกิจเดียวกัน อาจจะดีขึ้นในบางพื้นที่ เช่น ธุรกิจท่องเที่ยวอาจจะดีขึ้นในบางจังหวัด เป็นต้น จึงต้องติดตามสถานการณ์ในแต่ละภาคของเศรษฐกิจต่อไปอย่างใกล้ชิด
“เศรษฐกิจในปีหน้าเรายังต้องประเมินอีกครั้ง เพราะขณะนี้โควิด-19 ยังไม่รู้จะจบเมื่อไหร่ อย่างไรก็ตาม ภายใต้สถานการณ์ดังกล่าว ยังมีบางจุดดีบางจุดไม่ดี เช่น ธุรกิจท่องเที่ยวก็ดีในบางจุดบางจังหวัด”.
ชาวบ้านบ่นอุบ! ตำรวจเปิดเส้นทางจราจร แต่ไม่เอาตู้คอนเทนเนอร์ออก หวิดเกิดอุบัติเหตุ
https://www.matichon.co.th/politics/news_2481066
ชาวบ้านบ่นอุบ! ตำรวจเปิดเส้นทางการจราจรกรุงเทพฯชั้นในแล้ว แต่ไม่เอาตู้คอนเทนเนอร์ออก หวิดเกิดอุบัติเหตุหลายราย
เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการปิดการจราจร โดยใช้ตู้คอนเทนเนอร์ปิดกั้นกลุ่มผู้ชุมนุมวานนี้ บริเวณเขตกรุงเทพฯชั้นในและในวันเดียวกันนี้ (11 ธ.ค.) ทางเจ้าหน้าที่ได้ทำการเปิดเส้นทางจราจร แต่ยังไม่ได้นำตู้คอนเทนเนอร์ดังกล่าวออก จึงทำให้ประชาชนที่ใช้เส้นทางสับสน และเกือบที่เกิดอุบัติเหตุหลายราย เนื่องจากประชาชนไม่ทราบเส้นทาง ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ได้เปิดการจราจร ช่วงสะพานศรีอยุธยา มุ่งหน้าลานพระรูปทรงม้า ตรงไปแยกกองพลที่1 มุ่งหน้าแยกสี่เสาเทเวศร์ ทำให้การจราจรติดขัดอย่างหนัก ทั้งรถยนต์ของประชาชนทั่วไป และรถโดยสารประจำทาง ต่างต้องกลับรถจนเกือบประสบอุบัติเหตุ ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ ไม่มีการประสานหรือประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนผู้ใช้เส้นทางทราบแต่อย่างใด ทำให้ประชาชนต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า หากยังไม่เคลียร์พื้นที่ดังกล่าว ก็ยังไม่ควรที่จะเปิดการจราจร หรือหากเปิดการจราจรก็ควรที่จะประชาสัมพันธ์ให้กับผู้ใช้เส้นทางได้รับทราบ ทั้งนี้ รถยนต์ที่มุ่งหน้าไปทางแยกสี่เสาเทเวศร์ได้แต่ไม่สามารถทะลุออกไปยังพื้นที่เขตพระนครได้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับเส้นทางที่เจ้าหน้าที่ใช้ตู้คอนเทนเนอร์ปิดกั้นเส้นทางคือ บริเวณแยกเทวกรรม แยกเทเวศร์ และแยกสะพานมัฆวาน